วิเคราะห์หุ้น Intel ยังน่าลงทุนไหมและซื้อหุ้น Intel ยังไง
แม้กระแสจะไม่โดดเด่นเท่าหุ้นเทคโนโลยีอื่น แต่การเติบโตของเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ IoT หรือ Big Data ล้วนต้องอาศัยอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่เรียกว่า เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิปเซ็ต ซึ่งแม้ในปี 2023 นี้หุ้นกลุ่มนี้จะถูกกดดันด้วยปัจจัยทั้งด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อสูง มูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นในอุตสาหกรรมนี้ยังคงเติบโตอย่างน่าสนใจ และคราวนี้เราจะมาดูกันว่าในโอกาสแบบนี้นักลงทุนจะฉวยจังหวะลงทุนซื้อหุ้น intel ยังไงให้ได้ประโยชน์จากกระแสการเติบโตนี้กัน
ทำความรู้จักกับหุ้น intel
Intel (INTC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1968 โดย Gordon Moore ผู้เป็นเจ้าของ กฎของมัวร์ Robert Noyce และ Andrew Grove โดยเริ่มจากการผลิต SRAM และ DRAM ซึ่งกลายมาเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของธุรกิจในยุคแรก จนมาถึงปี 1971 ที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเฟื่องฟูก็เป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของบริษัทอย่างจริงจัง
ในปี 1983 บริษัทได้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ให้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM กลายเป็นบริษัทผู้นำด้านการผลิตชิปสำหรับคอมพิวเตอร์มาอย่างยาวนานนับสิบปี และนับเป็นการครองตลาดเซมิคอนดักเตอร์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเพียงเจ้าเดียวด้วยชิป Pentium
หลังปี 2000 เป็นต้นมา ความต้องการไมโครโพรเซสเซอร์เริ่มอิ่มตัว บวกกับการเข้ามาของคู่แข่งคนสำคัญอย่าง AMD ที่มาชิงส่วนแบ่งตลาดระดับกลางถึงล่างไป ดังนั้น Craig Barrett ซีอีโอในยุคนั้นจึงปรับกลยุทธ์ไปที่การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แต่ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการชิงส่วนแบ่งตลาดกลับมานัก
ถัดมาในปี 2005 Intel เริ่มจับตลาดชิปสำหรับธุรกิจ ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ และอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเปิดฉากการร่วมมือกับ Apple สำหรับการใช้ชิป x86 สำหรับเครื่องแมคอินทอช และก้าวข้ามจากยุค Pentium มาสู่ Intel Core Processor เป็นครั้งแรก พร้อมกับตลาดโน้ตบุ๊คที่เริ่มเติบโตและมีความต้องการใช้ชิปที่สูงขึ้น
การเปลี่ยนโฉมหน้าบริษัท Intel ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปี 2016 ที่บริษัทส่งชิปตระกูล 6th generation Core บน Skylake แต่โมเดลนี้ก็เลิกใช้ไปและแทนที่ด้วยชิปตระกูล 7th Gen พร้อมกับโครงการที่จะสร้างชิปที่ลดขนาดลงเหลือ 10 นาโนเมตร โดยใช้ชื่อว่า Canon Lake แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถผลิตชิปที่ย่อขนาดลงเหลือง 10 นาโนเมตรได้
จนปี 2018 Intel กลับมาพร้อมชิป 10 นาโนเมตรเป็นครั้งแรก แต่ก็มีความสามารถในการผลิตที่จำกัด โดยสามารถใช้ในโน้ตบุ๊คแค่รุ่นเดียว
ชิป 10 นาโนเมตรที่เป็นความหวังของ Intel ได้นำมาใช้อย่างจริงจังในปี 2019 แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาแทนที่ชิป 14 นาโนเมตรได้ทั้งหมดอยู่ดี ขณะที่คู่แข่งอย่าง AMD เริ่มฟื้นตัวจากข้อจำกัดในด้านการผลิต และการเข้ามาตีตลาด GPU ของ NVIDIA ที่ได้รับการสนับสนุนไปอีกขั้นด้วยกระแสการเติบโตของการขุดเหรียญคริปโตตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา
ปี 2021 Pat Gelsinger ซีอีโอในตอนนั้นได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์ของบริษัทให้สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีมากขึ้น กับหน่วยธุรกิจอื่น ๆ ที่แยกย่อยออกไป โดยหน่วยธุรกิจนี้จะเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยี และยังร่วมมือกับบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่อื่น ๆ เพื่อทำงานค้นคว้าวิจัยต่อไป
ปี 2022 ยังมีผลกระทบอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คนต้องเรียนและทำงานที่บ้านเพิ่มมากขึ้น และคอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในโลกหลังการแพร่ระบาด intel ได้เปิดตัวชิพ 12th Gen Intel Core ซีรีส์ H, S, U และ P และชิปตระกูล 13th Gen แต่การเปิดตัวชิปเหล่านี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นผลประกอบการในปีนั้นนักเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยังกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ในปีเดียวกันนี้ Intel เลือก New Albany รัฐโอไฮโอเป็นที่สร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ด้วยเงินลงทุน $20 พันล้าน และคาดว่าจะสามารถเริ่มเดินเครื่องการผลิตได้ในปี 2025 และยังสร้างโรงงานเพิ่มในเยอรมันด้วยเงินลงทุนกว่า 17 พันล้านยูโร และคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2027
ปัจจุบัน Intel ยังคงเป็นผู้ผลิต ไมโครโพรเซสเซอร์ และ ชิปเซ็ต เบอร์หนึ่งของโลก และกำลังปรับกลยุทธ์ที่ลดการพึ่งพิงการผลิตอุปกรณ์สนับสนุนคอมพิวเตอร์ ไปมุ่งรุกตลาดธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Centric Business) เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ แทน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเซมิคคอนดักเตอร์ Intel ยังคงมีคู่แข่งคนสำคัญในธุรกิจคือ Samsung, TSMC, Nvidia และ AMD
โครงสร้างธุรกิจและแนวโน้มผลประกอบการของบริษัท Intel
Intel ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตเจ้าใหญ่ของโลก แต่เมื่อ Pat Gelsinger ซีอีโอคนปัจจุบันของ Intel ได้เข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่ปี 2021 ก็ได้ประกาศยุทธ์ศาสตร์การเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นแต่ธุรกิจเดิมอย่างการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แต่ได้ขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มลูกค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Client computing group)
ประกอบด้วยชิปเซ็ตที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของลูกค้าบุคคลรองรับการใช้งานทั่วไปและเกมมิ่ง ทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 50% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2022 โดยทำรายได้ที่ $31.7 พันล้าน ลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อตลาดผู้บริโภค การศึกษา และธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก และมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานลดลง 60% มาอยู่ที่ $6.3 พันล้านอันเนื่องมาจากการลดลงของรายได้จากการขายโน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ต้นทุนและการสต็อกสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2. ดาต้าเซ็นเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (Data Center & AI)
ให้บริการเสนอทางเลือกการทำงานที่เหมาะสมและผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้ให้บริการคลาวด์และหน่วยงานธุรกิจ ในปี 2022 ส่วนนี้ทำรายได้ให้กับบริษัท $19.2 พันล้าน คิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ลดลง 15% จากปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากความท้าทายด้านเศรษฐกิจมหภาคและอุปสงค์ที่ตึงตัว ขณะที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานลดลง 73% ที่ $2.3 พันล้านจากการเพิ่มการลงทุนในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
3. Network และ Edge
เสนอทางเลือกให้กับผู้ให้บริการคลาวด์ เครือข่าย และการประมวลผลสำหรับปัญญาประดิษฐ์ ในปี 2022 ส่วนนี้สร้างรายได้ให้กับบริษัทที่ $8.9 พันล้าน เติบโต 11% จากปีก่อนหน้า ผลักดันจากตลาดเครือข่ายคลาวด์และการสื่อสาร อัตรากำไรจากการดำเนินงานของส่วนนี้อยู่ที่ $740 ล้าน ลดลงจาก $971 ล้านของปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนในผลิตภัณฑ์และการสต็อกสินค้าที่เพิ่มขึ้น
4. Mobileye
เป็นผู้นำระดับโลกในการเป็นตัวเลือกผลิตภัณฑ์เช่น แพลตฟอร์มประมวลผล การรับสัญญาณด้วย Machine Learning สำหรับยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและผู้ช่วยในการขับรถ ในปี 2022 ส่วนนี้ทำรายได้คิดเป็น 3% ของรายได้รวม หรือคิดเป็น $1.9 พันล้าน เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นสัดส่วนการเติบโตที่น่าติดตาม
5. ระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงและกราฟฟิก
นำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานประมวลผลอย่างเข้มข้น รวมทั้ง CPUs และ GPUs ที่มีการประมวลผลที่ยอดเยี่ยมรองรับการใช้งานทั้งเกมมิ่ง การประมวลผลดาต้า การใช้งานด้านสร้างสรรค์เนื้อหา รวมถึงพัฒนาทางเลือกในการใช้บล็อกเชน รายได้ในส่วนนี้ยังคิดเป็นสัดส่วนไม่มากต่อรายได้รวมทั้งบริษัท โดยคิดเป็น 1% ที่ $837 ล้านเท่านั้น แต่มีการเติบโตที่น่าสนใจที่ 8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
6. การให้บริการประกอบชิป
เป็นบริการที่ Intel เสนอให้ลูกค้าสามารถสร้างชิปที่ดีที่สุดจากระบบนิเวศน์ของ Intel เพื่อสนองความต้องการของธุรกิจที่แตกต่างกันไป รายได้ส่วนนี้คิดเป็น 1% ของรายได้รวมทั้งบริษัท ที่ $895 เติบโต 14% จากปีก่อนหน้า
ในปี 2022 Intel มีรายได้รวมทั้งปีที่ $63.054 พันล้าน ลดลง 20% จากปีก่อนหน้าอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อรายได้จากกลุ่มลูกค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำรายได้เป็นสัดส่วนมากที่สุดกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งบริษัท
วิเคราะห์หุ้น Intel น่าลงทุนไหมปี 2566
นับตั้งแต่ต้นปี 2566 ราคาหุ้น Intel ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 29.32% หุ้นตัวนี้จะยังน่าลงทุนหรือไม่ เราคงต้องมาดูหุ้นตัวนี้ในสองแง่มุมคือในเชิงพื้นฐานและในเชิงเทคนิคกันก่อน
การวิเคราะห์หุ้น Intel ทางปัจจัยพื้นฐาน
ธุรกิจหลักของ Intel คือการผลิตชิปที่มีตลาดทั่วโลกซึ่งมีแนวโน้มว่าตลาดนี้จะสามารถเติบโตได้ 80%ในอีก 7 ปีข้างหน้า ทำให้มูลค่าตลาดปัจจุบันที่ $5.50 แสนล้านสามารถขยายตัวเป็น $1 ล้านล้านในปี 2023 และคาดว่าจะสามารถสร้างการเติบโตเฉลี่ยต่อปีได้ 12.28% ไปจนถึงปี 2032 และถือเป็นตลาดใหญ่ที่คอยสนับสนุนเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2020 ความสามารถในการผลิตชิปของ Intel อยู่ในลำดับที่ 6 ของผู้ผลิตชิปทั่วโลก โดยมีกำลังการผลิต 884,000 ชิ้นต่อเดือน เทียบกับ Micron ผู้ผลิตชิปที่มีกำลังการผลิตเป็นลำดับ 3 ที่ 1,931,000 ชิ้นต่อเดือน การขยายโรงงานในโอไฮโอของ Intel ที่จะสามารถดำเนินการผลิตได้ในปี 2024 จึงเป็นปัจจัยที่น่าจับตามองสำหรับการเติบโตของบริษัทในอีกสองปีข้างหน้า และยังมีโรงงานอีกสองสามแห่งที่จะเปิดตามมา ซึ่งแม้การสร้างโรงงานใหม่จะใช้เงินลงทุนมหาศาล แต่การลงทุนนี้ยังได้เงินสนับสนุนจาก CHIPS Act 2022 ที่ส่งเงิน $52 พันล้านเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตชิปในสหรัฐอเมริการวมถึงประโยชน์ที่ได้จากรัฐบาลท้องถิ่น
การขยายความสามารถในการผลิตนี้รองรับการตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ ๆ นอกเหนือไปจากการผลิตชิปสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัท นั่นคือ การผลิตชิปเพื่อตอบโจทย์การประมวลผลในยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous vehicle) ที่สร้างกำไรเติบโต 35% ในปี 2022 และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับดาต้าที่ในปี 2021 สร้างรายได้ให้กับบริษัทเป็นสัดส่วน 48.6% ซึ่งธุรกิจศูนย์ดาต้านี้คาดว่าจะสามารถขยายตัวและสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 6.12% ต่อปีได้ไปจนถึงปี 2028 และสำหรับ Intel ธุรกิจส่วนนี้จะเริ่มขึ้นมามีบทบาทสำคัญจากการขยายตัวของการใช้ดาต้าและ AI ในอนาคต
สิ้นปี 2022 Intel ประกาศรายได้ทั้งปีที่ $63.054 พันล้าน คิดเป็นกำไร $8.01 พันล้าน โดยในปีนี้บริษัทมีกระแสเงินสดติดลบ $9.61 พันล้าน อันเนื่องมาจากรายจ่ายในการลงทุนที่จ่ายออกไป $26.505 พันล้านซึ่งเป็นรายจ่ายครั้งเดียวเพื่อการลงทุน ทำให้ทั้งปี intel มีผลตอบแทนต่อหุ้นคิดเป็น $1.95 ปรับลดลง 60% จากปีก่อนหน้า ซึ่งหากเศรษฐกิจสหรัฐหลีกเลี่ยงการชะลอตัวได้จุดนี้น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของผลประกอบการของ Intel ในช่วงหลายปี
ราคา Intel ในปัจจุบันปิดที่ $34.11 ขยับขึ้นมาแล้ว 29.32% จากต้นปี แต่ยังคงปรับตัวขึ้นเพียง 21.77% เมื่อคิดย้อนหลัง 12 เดือน ซึ่งถือว่าปรับตัวขึ้นน้อยกว่าผู้เล่นอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่ Nvidia ปรับตัวขึ้นแล้ว 231%, AMD ปรับตัวขึ้นแล้ว 38.42% และ Wold MSCI เซมิคอนดักเตอร์ก็ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 65.40% ดังนั้นหากมองหาตัวเลือกที่น่าสนใจและยังไม่แพงสำหรับกลุ่มผู้ผลิตชิป Intel ก็นับเป็นตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ
การวิเคราะห์หุ้น Intel ทางเทคนิค
หุ้น Intel เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดไว้สองครั้งในลักษณะ Double Tops ที่ $69.24 เมื่อเดือนมกราคม 2020 และ $69.19 เมื่อเดือนเมษายน 2021 พร้อมกับการทำสัญญาณขัดแย้งในขาลง (RSI Bearish Divergence) บนกราฟรายสัปดาห์ เมื่อราคาหลุด Neckline เดิมที่ $43.56 ราคาจึงไหลลงมาทำจุดต่ำสุดของรอบไว้ที่ $24.67 ในเดือนตุลาคม 2022 จากนั้นราคาเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ $24 - $30 พร้อมเกิดสัญญาณขัดแย้งของ RSI ในโซนขายมากเกินไปอีกครั้ง จึงมองได้ว่าขาลงที่เกิดมาต่อเนื่องจากจุดสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นนั้นได้จบลงแล้ว
การเคลื่อนไหวในกรอบราคา $24 - $30 พร้อมการเกิด RSI Bullish Divergence เป็นการสร้างฐาน เมื่อตามมาด้วยการเบรกเอาท์กรอบราคาและเส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์ ทำให้มองได้ว่าราคาหุ้น Intel เริ่มเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้นอีกครั้งโดยที่ยังมีแนวต้านที่ต้องระวังที่ $38.29, Neckline เดิมที่ $43.56 และมีแนวรับอยู่ที่ $32
อย่างไรก็ดีเนื่องจากการปรับขึ้นของราคาจากจุดต่ำสุดมีการแรลลี่ซึ่งอาจตามมาด้วยการปรับฐาน การเคลื่อนไหวของราคาขาขึ้นที่กำลังดำเนินไปจึงอาจเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบก่อนเกิดการแรลลี่ของราคาอย่างจริงจังต่อไปได้
วิธีลงทุนหุ้น Intel ที่ไทย
ปัจจุบันการซื้อหุ้น Intel ยังไงไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับนักลงทุนไทย เพราะมีโบรกเกอร์หลายเจ้าให้บริการซื้อขายหุ้น Intel ด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตอบสนองเป้าหมายการลงทุนที่หลากหลาย เช่น
1. เทรดหุ้น Intel ผ่าน CFD |
การเทรดหุ้น Intel ด้วย สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (Contract for Difference – CFD) เป็นสัญญาอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่อ้างอิงกับราคาหุ้น Intel ทำให้แม้นักลงทุนไม่ได้มีหุ้น Intel ในมือก็สามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นตัวนี้ได้ด้วยการวางเงินหลักประกันบางส่วน และอาศัยอัตราทดช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับเงินลงทุน
◆ ข้อดี
ใช้เงินลงทุนน้อย เงินทุนเริ่มต้นการเทรด CFD แตกต่างกันไปในแต่ละผู้ให้บริการ โดยอาจมีขั้นต่ำตั้งแต่ $0 ไปจนถึง $200
มีการใช้อัตราทด แม้จะใช้เงินลงทุนน้อยแต่นักลงทุนก็คาดหวังผลกำไรจำนวนมากได้ด้วยอัตราทดที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับเงินทุนได้
ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง CFD เป็นสัญญาอนุพันธ์ที่ให้กำไรจากส่วนต่างของราคา ดังนั้นไม่ว่าทิศทางราคาหุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง หากมีส่วนต่างของราคาก็สามารถสร้างผลกำไรได้
เปิดบัญชีได้ง่าย ใช้เอกสารไม่มาก ดำเนินการผ่านออนไลน์ได้โดยไม่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถยืนยันการเปิดบัญชีและเริ่มโอนเงินเข้าพอร์ตเพื่อเทรดได้ทันที
◆ ข้อเสีย
ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นจริง ๆ การเทรด CFD เป็นการซื้อขายตราสารจึงไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหุ้นจริง ๆ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิเหมือนผู้ถือหุ้น ไม่ได้ปันผลและไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก CFD มีการใช้อัตราทดช่วยขยายความสามารถในการทำกำไรของเงินทุน ในทางตรงกันข้ามก็เป็นการขยายผลขาดทุน ทำให้มีความเสี่ยงสูงและนักลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดได้
มีต้นทุนจากอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน (Swap) การถือ CFD ข้ามวันมีต้นทุนส่วนเพิ่มในระยะยาวคือดอกเบี้ยที่คิดจากจำนวน Lot ที่ถือสถานะ
◆ ผู้ให้บริการ
Mitrade เป็นโบรกเกอร์ผู้ให้บริการซื้อขาย Forex และ CFD ที่มีสำนักงานใหญ่ในออสเตรเลีย ให้บริการซื้อขาย CFD ที่อ้างอิงราคาสินค้าหลากหลาย รวมทั้งหุ้น Intel: INTC ด้วยขนาดขั้นต่ำในการเทรด 1 Lot ที่เท่ากับ 1 หุ้น และให้อัตราทดกับการเทรดหุ้นตัวนี้อยู่ที่ 1:10 นั่นคือสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของเงินลงทุนได้ถึง 10 เท่า และมีโอกาสได้กำไรเพิ่มขึ้น 10 เท่าด้วยเช่นกัน Mitrade ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ASIC, CIMA และ FSC ทำให้เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงอีกด้วย
2. ลงทุนหุ้น Intel ผ่านผู้ให้บริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศ |
ปัจจุบันผู้ให้บริการทางการเงินในประเทศไทยได้เสนอผลิตบริการในการซื้อขายหุ้นต่างประเทศด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยในประเทศไทยสามารถลงทุนในหุ้น และ ETF ต่างประเทศได้ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 50 บาท และมีขั้นตอนการซื้อขายไม่ต่างจากการซื้อหุ้นทั่วไปในตลาดหุ้นไทย
◆ ข้อดี
การซื้อหุ้นผ่านโบรกเกอร์ช่วยให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหุ้นจริง ๆ และมีสิทธิในความเป็นเจ้าของหุ้นทุกประการ มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามสัดส่วนและมีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
มีขั้นตอนการซื้อขายไม่ยาก ไม่ต้องแลกเงิน ด้วยการเปิดใช้แอปพลิคชั่นสั่งซื้อขายหุ้นได้ไม่ต่างจากการเทรดในตลาดหุ้นไทยและส่งคำสั่งซื้อขายได้ทันที
ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นต่ำเพียง 50 บาท
◆ ข้อเสีย
การซื้อหุ้นต่างประเทศสามารถทำกำไรได้เฉพาะทิศทางราคาหุ้นขาขึ้น
มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายสูง บางโบรกเกอร์อาจฟรีค่าธรรมเนียมในเงื่อนไขจำนวนครั้งที่จำกัด ซึ่งการซื้อขายนอกเหนือจากนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการ
มีเงื่อนไขทางภาษีทั้งในฝั่งของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา
ผลกำไรที่ได้จากการซื้อขายหุ้นเป็นไปตามส่วนต่างของราคาและมูลค่าเงินลงทุนแบบตรงไปตรงมา ไม่มีการใช้อัตราทด
◆ ผู้ให้บริการ
InnovestX ผู้ให้บริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศในเครือ SCBx รองรับการเทรดหุ้นในตลาดสหรัฐและฮ่องกง ตลาดสกุลเงินดิจิทัล ครอบคลุมหุ้นกว่า 10,000 บริษัททั่วโลกโดยไม่จำกัดเงินลงทุนขั้นต่ำ
Dime แอปเทรดหุ้นต่างประเทศจากกลุ่มการเงินภัทร ตัวช่วยการออมและการลงทุนที่ให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 50 บาท และฟรีค่าธรรมเนียม 1 ครั้งต่อเดือน
สรุป
คราวนี้เราได้มาดูกันแล้วว่าจะซื้อหุ้น Intel ยังไง ในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี ชิป ถือเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าโลกในอนาคต เช่น เทคโนโลยีไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งการจัดการข้อมูล จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าการชะลอตัวของผลประกอบการ Intel ในปีที่ผ่านมาเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิตในอนาคตนั้นจะเป็นวิสัยทัศน์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นไม่มาก intel ก็ถือเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่รอสะสมหุ้นเพื่อถือลงทุนในระยะยาว
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน