ซื้อหุ้น Google ยังไงให้เกาะกระแสธีมหุ้นแห่งอนาคต

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

หากจะมองหาธีมการลงทุนในรอบสามถึงห้าปีข้างหน้านี้แล้วไม่พูดถึงหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีก็ดูเหมือนจะยังขาดอะไรไป เพราะใคร ๆ ต่างก็คาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีและกระแสดิจิทัลจะเข้ามาดิสรับปทั้งธุรกิจดั้งเดิมรวมทั้งวิถีชีวิตของคนทั่วไปอย่างสิ้นเชิง และเพื่อเกาะกระแสการลงทุนแห่งอนาคตแบบนี้ หุ้น Google อาจจะเป็นหนึ่งในลิสต์ที่ใครหลายคนหมายตาไว้ แต่ไม่รู้ต้องซื้อยังไง ดังนั้นในคราวนี้เราจึงจะมาชวนคุยถึงวิธีซื้อหุ้น Google ยังไงให้เกาะกระแสธีมหุ้นแห่งอนาคตด้วยความเสี่ยงแบบเบา ๆ กัน


จะซื้อหุ้น Google ยังไง วิธีซื้อหุ้น Google มีอะไรบ้าง

วิธีซื้อหุ้น Google ที่เราแนะนำจะมี 2 วิธี ได้แก่ ซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ และ ซื้อหุ้นกับโบรกเกอร์ CFD


1. ซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์


นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อหุ้นต่างประเทศกับบริษัทหลักทรัพย์และซื้อหุ้น Google ได้ แต่การเปิดบัญชีจะใช้เอกสารเยอะ และต้องมีเงินตั้งต้นพอสมควร 


วิธีนี้จะเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนจำนวนเยอะและลงทุนระยะยาวมากกว่า


2. ซื้อหุ้นกับโบรกเกอร์ CFD

CFD (Contract for Difference) หมายุถึงสัญญาซื้อขายส่วนต่าง การซื้อหุ้นด้วย CFD เป็นการซื้อหุ้นแบบอนุพันธ์ หมายถึงนักลงทุนสามารถเทรดบนความเคลื่อนไหวของราคา Google แต่ไม่ต้องการเป็นเจ้าของหุ้นที่ซื้อนั้น ด้วยวิธีนี้ นักลงทุนสามารถเทรดด้วยอัตราทด ซึ่งจะช่วยลดเงินทุนตั้งต้นหรือขยายเงินทุนเป็นหลายเท่า นอกจากนี้แล้ว นักลงทุนยังสามารถเทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง และยังได้เปรียบจากการเปิดบัญชีก็ง่ายกว่าใช้เอกสารน้อย และค่าใช้จ่ายในการเทรดก็ต่ำด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่มีความเสียงสูงจากการใช้อัตราทดเพราะอัตราทดก็จะขยายผลขาดทุนได้ด้วย


วิธีนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนไม่ค่อยมาก เทรดแบบเก็งกำไรหรือระยะสั้น และมีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่สูงมากกว่า 


ที่หากมีการใช้เครื่องมืออย่าง CFD หรือ Contract for Difference กับ MiTrade ก็สามารถเริ่มขั้นตอนการซื้อขายได้อย่างง่ายดายและสั้นกระชับที่สุด โดยเริ่มจาก


1 เปิดบัญชี

การเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ CFD กับ MiTrade ทำได้โดยการใช้เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หรือบัญชี Google/FB/APPLE เพื่อสมัครขอไอดีการซื้อขาย หลังจากนั้นลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวพร้อมทำแบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุนและยืนยันตัวตนตามขั้นตอนของโบรกเกอร์ให้เรียบร้อย เมื่อครบจบก็สามารถได้รับการยืนยันและเปิดบัญชีได้ในแทบจะทันที


นอกจากนี้ MiTrade ยังมีบัญชีทดลอง (Demo Account) สำหรับการซื้อขายที่มาพร้อมเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์เพื่อให้นักลงทุนฝึกฝนทักษะการเทรดและคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มการเทรดของ MiTrade ให้มากขึ้น 


สำหรับการเปิดบัญชีทดลองกับ MiTrade เรายังไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนตัวกับทางเว็บไซต์ ไม่ต้องทำแบบประเมินความเหมาะสม ทั้งยังไม่ต้องยืนยันตัวตนใด ๆ เพียงแค่ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หรือเชื่อมต่อกับบัญชี Google/FB/APPLE ก็สามารถสร้างบัญชีทดลองได้เลยในทันที หลังจากนั้นหากเราพร้อมและต้องการเปิดบัญชีซื้อขายจริงก็สามารถอัปเดทบัญชีทดลองให้กลายเป็นบัญชีซื้อขายจริงได้เลย เพียงเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นลงไป โดยไม่ต้องขอเปิดบัญชีใหม่แต่อย่างใด 


16357548114461


2 ฝากเงินเข้าบัญชี

หลังจากที่สร้างบัญชีเทรดจริงได้เรียบร้อยแล้วก็สามารถฝากเงินเข้าบัญชีเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับเริ่มซื้อขายหุ้น Google ได้โดยผ่านหลากหลายช่องทางที่ MiTrade สนับสนุน คือ Skrill และ ธนาคารออนไลน์เจ้าต่าง ๆ ของไทยผ่าน QR Code/ Online Banking ซึ่งธนาคารที่ MiTrade รองรับการทำธุรกรรม ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร TMB ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงศรี โดยที่เงินฝากจะเข้าบัญชีได้ทันที


16365094721561


3 เปิดคำสั่งซื้อขาย

เมื่อบัญชีและเงินทุนพร้อมในบัญชีเรียบร้อยแล้ว เราสามารถค้นหาหุ้น Google ได้ด้วยการกรอกสัญลักษณ์ ‘GOOG’ หรือชื่อ “ตัวอักษร” แล้วก็เปิดคำสั่งซื้อหุ้น Google ได้เลยในทันที 


การเทรด CFD ที่ MiTrade ยังอนุญาตให้นักลงทุนเปิดคำสั่งขายได้ โดยคำสั่งนี้จะทำหน้าที่สำหรับทำกำไรในทิศทางราคาขาลง ซึ่งหากคาดว่าราคา GOOG จะลดลง นักลงทุนสามารถเปิดคำสั่ง Short เพื่อสร้างกำไรได้ด้วยเทคนิคการขายแพง-ซื้อถูก แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่ควรทำด้วยระมัดระวัง


นอกจากนี้ MiTrade ยังเสนอเลเวอเรจให้นักลงทุนได้เลือกใช้เพื่อขยายความสามารถในการทำกำไร โดยนักลงทุนสามารถเลือกใช้ตามความต้องการและประสบการณ์เทรด จากที่ MiTrade เสนออัตราเลเวอเรจไว้ที่ เรจ 2/5/10/20 เท่า (2x/5x/10/20x) แต่แม้ว่าเลเวอเรจจะช่วยขยายโอกาสในการทำกำไรและเรียกร้องเงินลงทุนไม่มาก แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้นอันมาจากความเสี่ยงด้านเงินทุนและความเสี่ยงจากการถูกบังคับปิดสัญญา (Force Sell) โดยยิ่งใช้เลเวอเรจสูงความเสี่ยงก็ยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงเสนอให้นักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์การเทรดน้อยปิดการใช้ตัวเลือกนี้ไปก่อน นั่นคือปรับเลเวอเรจเป็น 1X และเมื่อมีประสบการณ์พอสมควรแล้วจึงค่อยปรับใช้ค่าเลเวอเรจให้สูงขึ้นได้ 


ปรับอัตราเลเวอเรจ


ด้านการส่งคำสั่งซื้อขาย ที่ MiTrade คุณสามารถเปิดคำสั่งซื้อขายได้ 2 ประเภท นั่นคือ คำสั่งตามราคาตลาด (Market Order) และ คำสั่งที่จำกัดราคา (Limit Order) ซึ่ง 


-คำสั่งตามราคาตลาด (Market Order) คือ การส่งคำสั่งซื้อขายที่ราคาตลาดทันที ซึ่งคำสั่งนี้จะทำให้นักลงทุนได้รับการยืนยันคำสั่งซื้อขายทันที แต่ราคาที่ได้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดในขณะนั้น เหมาะกับการเทรดในระยะสั้นที่ต้องการถือคำสั่งไว้ในทันที 


-คำสั่งแบบจำกัดราคา (Limit Order) เป็นการเปิดสถานะรอค้างไว้ในระบบ ซึ่งแม้จะต้องรอการยืนยันคำสั่งและมีโอกาสที่คำสั่งจะไม่ถูกยืนยัน แต่ก็แลกมาด้วยการที่นักลงทุนสามารถกำหนดราคาที่ต้องการซื้อขายได้อย่างแน่นอนและมักจะได้ราคาที่ดีสำหรับการเปิดสถานะนั้น ๆ


สำหรับเครื่องมือจัดการความเสี่ยง MiTrade เสนอครื่องมือการจัดการความเสี่ยงให้ใช้ได้ฟรี ทั้งคำสั่ง Take Profit, Stop Loss, Trailing Stop รวมถึงระบบป้องกันยอดเงินคงเหลือติดลบซึ่งช่วยให้นักลงทุนควบคุมความเสี่ยงได้มากขึ้น และหากเปิดคำสั่งเรียบร้อยแล้วต้องการแก้ไขทีหลังก็สามารถทำได้


16357554965004


อย่างไรก็ดีเนื่องจากความต่างของเวลาในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาทำให้เวลาซื้อขายหุ้นในช่วงเวลาที่ตลาดสหรัฐเปิดตอนเช้า จะตรงกับเวลาไทยตอนกลางคืน ดังนั้นนักลงทุนจึงจำเป็นต้องสังเกตช่วงเวลาซื้อขายที่แตกต่างไปจากปกติอยู่บ้าง


การซื้อขายหุ้น Google กับ MiTrade ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ทั้งยังมีค่าเสปรดต่ำ จึงช่วยลดต้นทุนในการซื้อขาย หากกรณีที่ใช้เลเวอเรจ 1 เท่าจะไม่มีการคิดค่า Swap แต่หากมีการถือคำสั่งข้ามคืน MiTrade จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งข้ามคืน (Swap) เล็กน้อยที่ประมาณ 0.02% 


4 เฝ้ารอและปิดคำสั่ง

หลังจากเปิดคำสั่งซื้อขายแรกเรียบร้อยแล้ว เราจำเป็นต้องเฝ้ารอราคาและปฏิบัติตามกลยุทธ์การลงทุนที่ได้วางเอาไว้ เมื่อระดับราคาปรับมาจนถึงจุดที่เราพอใจก็ปิดคำสั่งและรับรู้ผลกำไร/ขาดทุนจากสถานะนั้น

 

แต่เพื่อให้ประหยัดเวลาและสามารถควบคุมราคาที่ต้องการส่งคำสั่งได้อย่างถูกต้อง เรายังสามารถตั้งระดับราคาสำหรับปิดสถานะด้วยคำสั่ง Take Profit, Stop Loss, Trailing Stop สถานะนั้น ๆ ก็จะถูกปิดและรับรู้เป็นผลกำไร/ขาดทุนแบบอัตโนมัติ


★★ ฝึกฝนเทรดหุ้นกับ Mitrade ด้วยเงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์ 💰💰💰↓↓↓


mitrade
dago เงินทุนมีความปลอดภัยในระดับสูง
dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
dago เริ่มต้นด้วยเงินต้นเพียงเล็กน้อย
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 💸
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

★ ตัวอย่างการเทรด GOOG ด้วยเลเวอเรจ 1:20 กับ MiTrade ★

การเทรดหุ้น Google กับ MiTrade จะมีเพียง GOOG ให้เลือกทำการซื้อขาย เนื่องจากการซื้อขายผ่าน CFD จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนผู้ถือหุ้น แต่เน้นการทำกำไรบนส่วนต่างของราคาเท่านั้น


สมมติว่าราคา GOOG ปัจจุบันอยู่ที่ 1,723.50 ดอลลาร์ เงื่อนไขการซื้อขาย CFD กับ MiTrade เป็นดังนี้

ซึ่งหมายความว่าการซื้อขาย GOOG ด้วย CFD นี้มีขนาดสัญญาขั้นต่ำ 1 Lot โดยที่แต่ละ Lot มีมูลค่าเท่ากับหุ้น GOOG 1 หุ้นหรือ 1,723.50 ดอลลาร์ และเมื่อมีการใช้ Leverage ที่ 1:20 นักลงทุนก็สามารถวางเงินขั้นต่ำสำหรับการซื้อขาย CFD GOOG 1 Lot ได้ที่ 86.18 ดอลลาร์


- หากเรามองว่าราคา GOOG กำลังเป็นขาขึ้น ให้เปิดสถานะ Long หุ้น GOOG ที่ราคา 1,723.50 ดอลลาร์ โดยวางเงินลงทุนเพียง 86.18 ดอลลาร์ และเมื่อราคา GOOG ปรับขึ้นไปตามที่คาดไว้ก็ปิดสถานะ ซึ่งหากปิดได้ที่ราคา 1,823.50 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่าส่วนต่างของผลกำไรที่นักลงทุนจะได้เท่ากับ 100 ดอลลาร์ ด้วยการวางเงินตั้งต้นเพียง 86.18 ดอลลาร์ หรือคิดเป็น 116% นั่นเอง


- หากว่าเรามองราคา GOOG กำลังเป็นขาลง และคาดว่าราคากำลังจะปรับตัวลงไปอีก ให้เปิดสถานะ Short หุ้น GOOG ที่ราคา 1,723.50 ดอลลาร์ โดยวางเงินลงทุนตั้งต้นที่ 86.18 ดอลลาร์ และเมื่อราคา GOOG ปรับลงไปถึงจุดที่คาดไว้ก็ปิดสถานะเพื่อรับรู้กำไร ซึ่งหากปิดได้ที่ราคา 1,623.50 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่าส่วนต่างของผลกำไรที่นักลงทุนจะได้เท่ากับ 100 ดอลลาร์ ด้วยการวางเงินตั้งต้นเพียง 86.18 ดอลลาร์ หรือคิดเป็น 116% นั่นเอง และ CFD ถือเป็นการลงทุนเพียงไม่กี่วิธีที่ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากสินทรัพย์ในทิศทางขาลงแบบนี้ได้



ซื้อขายหุ้น GOOG ที่ตลาดหุ้นสหรัฐ

ซื้อหุ้น GOOG ด้วย CFD

ราคาเปิด

1,723.50 USD

1,723.50 USD

ราคาปิด

1,823.50 USD

1,823.50 USD

ขนาดการซื้อขาย1 ล็อต1 ล็อต
เลเวอเรจ

0

1:20

เงินทุนเริ่มต้น

1,723.50 USD

86.18 USD

กำไร(ไม่คิดค่าใช้จ่ายอื่น)

100 USD

100 USD

อัตราผลตอบแทน

6%

116%


ทำความรู้จักบริษัท Google

จริงอยู่ที่คนทั่วไปมักจะรู้จัก Google ในการเป็นผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจิ้นรายใหญ่ของโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทนี้มีอะไรที่ทำเยอะกว่านั้นมากมาย


หลังจากการก่อตั้งในปี 1998, Google กลายเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับโฆษณา การให้บริการอีเมล พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ และเทคโนโลยีกระเป๋าเงินบนโทรศัพท์มือถือ


นอกจากนี้ Google ยังเป็นเจ้าของ Youtube และยังพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองในชื่อ Chrome OS

 

เดิมธุรกิจของ Google ทำกำไรจากการขายพื้นที่โฆษณาบนพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งบริษัทต่าง ๆ จะจ่ายเงินให้กับ Google เพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ บล็อก ยูทูป รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ที่บริษัทมีให้ 


สำหรับคู่แข่งรายใหญ่ของ Google ก็คงหนีไม่พ้น Apple ผู้ให้บริการระบบปฏิบัติการ iOS และ Apple Pay ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Android และ Google Pay


หากไม่รวม Apple บริษัท Google ก็ยังต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่เป็นบริษัทบิ๊กเทคต่าง ๆ อย่าง Microsoft, Amazon, Facebook, Yahoo และ AOL


ปัจจุบัน Google เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าบริษัทสูงที่สุดในโลก เฉพาะมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดคิดเป็นราว ๆ 8.33 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ 

วิธีการวิเคราะห์หุ้น Google


ราคาหุ้น GOOGLE เรียลไทม์ (ที่มา: MiTrade)    
   

สำหรับการซื้อหุ้นสักตัว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างแรกก็คือทำการบ้านและหาข้อมูลให้มาก ๆ เพื่อทำการตรวจสอบบริษัทที่เราสนใจลงทุน แต่ในบรรดาวิธีตรวจสอบและคัดเลือกหุ้นนั้นก็มีทั้งที่ใช้ได้ดีและใช้ไม่ค่อยได้ผล ซึ่งคราวนี้เราจะมาดูและอธิบายกันต่อไป


อย่างแรกคือเราต้องคิดไว้เสมอว่านักลงทุนแต่ละคนก็มีวิธีการคัดเลือกหุ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จเพียงสูตรเดียวที่จะสามารถบอกได้เลยว่าหุ้นตัวนี้จะสร้างกำไรให้กับคุณได้อย่างแน่นอน เพราะตลาดหุ้นนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยงและปัจจัยที่ยากจะคาดเดา แต่เราก็ยังพอจะมีเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์หุ้นที่พอจะใช้ได้อยู่เหมือนกันนั่นคือ 


 ●  การวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน (Fundamental Analysis) 

เป็นการพิจารณาพื้นฐานของบริษัทเพื่อประเมินความแข็งแกร่งและสถานะทางการเงินของบริษัท ซึ่งการวิเคราะห์ในแนวนี้เรามักจะใช้ตัวช่วยที่เป็นสัดส่วนทางการเงิน เช่น 


อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เป็นตัวบอกสินทรัพย์ต่อหนี้สินหมุนเวียนในระยะสั้น ที่จะบ่งบอกถึงสภาพคล่องของกิจการที่จะมีสำหรับการชำระหนี้ระยะสั้น 


อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เป็นตัวบอกระดับหนี้สินต่อส่วนของทุน ซึ่งยิ่งมีค่ามากยิ่งแสดงถึงความเปราะบางของสถานะทางการเงินของบริษัท


อัตราผลตอบแทนจากทรัพย์สิน (ROA) ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนที่บริษัททำได้เทียบกับสินทรัพย์ ซึ่งยิ่ง ROA มีค่ามาก ยิ่งแสดงว่าสินทรัพย์ใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ


กำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) คือส่วนต่างของรายได้หักลบด้วยต้นทุน ทำให้สามารถประเมินผลกำไรของบริษัทแบบคร่าว ๆ ได้


นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลจากงบการเงินมาคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุนและความถูกแพงของหุ้นได้จาก

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) คือผลกำไรที่คิดเป็นสัดส่วนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งยิ่งมีค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 15% แสดงว่าบริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้สูงโดยไม่ต้องใช้ส่วนของทุนมาก


Earnings per Share (EPS) คือ กำไรต่อหุ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนทางการเงินที่ใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะสามารถนำไปคำนวณค่า PE ต่อได้ ซึ่งสัดส่วนทางการเงินตัวนี้จะบอกว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่จากการถือหุ้นบริษัท 1 หุ้น สามารถใช้เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างการถือหุ้นบริษัทต่าง ๆ ได้


อัตราเงินปันผล (หากหุ้นมีการจ่ายปันผล) เป็นอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล ยิ่งหุ้นตัวไหนมีอัตราเงินปันผลสูงยิ่งแสดงว่าให้ผลตอบแทนได้มาก


PE (Price/Earning Per Share) คือสัดส่วนที่บอกถึงราคาต่อ ESP สามารถใช้บอกราคาถูกแพงของหุ้นได้ ยิ่งหุ้นมีค่า PE ต่ำ ยิ่งมีราคาถูกและน่าลงทุน


การวิเคราะห์เชิงพื้นฐานสามารถใช้ประเมินความแข็งแกร่งของบริษัท การดำเนินงาน ซึ่งเป็นหนทางในการสร้างผลกำไรที่จะนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการเติบโตของราคาหุ้นและเงินลงทุนในท้ายที่สุด 


 ●  การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) 

เป็นการวิเคราะห์ในอีกกระบวนการหนึ่งที่พิจารณาจากแนวโน้มราคาหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดเพื่อคาดการณ์และชี้วัดว่าหุ้นตัวนี้ควรที่จะซื้อหรือไม่ ด้วยวิธีวิเคราะห์หุ้นแบบนี้เราจะดูจากสิ่งที่ราคาหุ้นตัวนี้เคยเป็นในอดีตเพื่อประเมินว่าในอนาคตราคาของหุ้นตัวนี้จะเป็นอย่างไร


เครื่องมือหลักที่นักวิเคราะห์เชิงเทคนิคนิยมเลือกใช้คือกราฟราคาที่แสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา และอินดิเคเตอร์ที่ใช้ชี้วัดเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของราคาในอนาคต


แต่หากคุณยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน จงยึดขั้นตอนพื้นฐานเอาไว้

ถ้าคุณกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้น Google หรือเปล่า ให้โฟกัสที่กับข้อมูลที่เข้าใจได้ง่ายและหาได้ไม่ยาก นั่นคือ


-งบการเงินของบริษัท

-งบดุลและหนี้สินที่บริษัทกำลังแบกรับอยู่

-การรายงานผลประกอบการรายไตรมาส

-กระแสเงินสด

-คุณภาพของทีมบริหาร

-โมเดลธุรกิจทั้งหมด

-แผนการเติบโตของธุรกิจในอนาคต


รายละเอียดเหล่นี้จะทำให้คุณเห็นจุดแข็งของบริษัท และสามารถคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของบริษัทในอนาคตได้ อย่างไรก็ดีเราจำเป็นต้องเข้าใจว่าแม้ข้อมูลที่เห็นจากรายงานต่าง ๆ นั้นจะดูดีขนาดไหน ก็ไม่ได้แปลว่าจะสามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นตัวนั้น ๆ ได้


นอกจากนี้ในการเลือกซื้อหุ้นเราอาจต้องคำนึงถึงช่วงเวลาในการเข้าซื้อ (Market Timing) ที่หมายถึงว่า เราควรซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาไหน หรือควรขายไปในเวลาไหน เพื่อให้สามารถสร้างผลกำไรสูงสุด (Maximized Profits)


อย่างไรก็ดี เรื่องที่ยุ่งยากก็คือตลาดหุ้นไม่ได้มีแบบแผนที่สามารถคาดเดาได้แม้แต่ในวันที่ตลาดเป็นใจที่สุดก็ตาม ทำให้แม้คุณจะทำการบ้านมาแล้วอย่างดี ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้เหมือนกัน ดังนั้นการวางแผนให้รัดกุมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี


กลับมาดูที่ราคาหุ้น Google ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าแนวโน้มราคาจะเป็นขาขึ้นตลอด แต่ก็ยังมีช่วงเวลาที่หุ้นย่อตัวอย่างรุนแรงอยู่เหมือนกัน

วิธีลดความเสี่ยงในการซื้อหุ้น Google

การซื้อขายหุ้นได้ชื่อว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับกลางค่อนไปทางสูง ในวันหนึ่ง ๆ หุ้นตัวหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะหุ้นเติบโตสูงอย่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงราคาได้สูงถึง 2 – 7% และการปรับฐานครั้งหนึ่ง ๆ ก็สามารถเหวี่ยงตัวได้แรงจนทำให้มูลค่าเงินลงทุนหายไปเป็นจำนวนมากได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาแบบนี้เราสามารถทำได้โดย


กระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน (Diversify Your Portfolio)


ความเสี่ยง: การวางเงินลงทุนทั้งหมดไว้กับเฉพาะหุ้นเพียงหนึ่งหรือสองตัว ซึ่งหากหุ้นตัวใดตัวหนึ่งสูญมูลค่าไป นั่นก็หมายถึงเงินลงทุนจำนวนมากที่ต้องสูญเสียตามไปด้วย


จะจัดการความเสี่ยงตรงนี้อย่างไร: นักลงทุนควรซื้อหุ้นไว้ในพอร์ตการลงทุนจำนวนหนึ่งไม่ใช่แค่ซื้อ Google ตัวเดียว และควรซื้อในจำนวนที่มากพอจะลดความผันผวนในพอร์ตการลงทุนรวมได้ ในทางกลับกันก็ไม่ควรมีหุ้นในพอร์ตมากเกินไปจนดูแลติดตามความเคลื่อนไหวของราคาได้ไม่ทั่วถึง เป็นเหมือนการกระจายไข่ไปวางไว้ในตระกร้าหลาย ๆ ใบ ซึ่งจำนวนหุ้นที่พอเหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนควรอยู่ที่ราว ๆ 20 ถึง 30 ตัว


และนี่ก็นับว่าเป็นการขยายโอกาสการลงทุนของนักลงทุนไทยไปกับสินทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดโลกอย่างการลงทุนในบริษัท Google หุ้นเทคโนโลยีที่เทรดกันอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐที่เราคาดว่าจะเป็นบริษัทในฝันของใครหลาย ๆ คนที่คิดอยากจะมีติดพอร์ตการลงทุนเอาไว้อย่างแน่นอน ซึ่งวิธีซื้อหุ้น google ยังไงให้เกาะกระแสธีมหุ้นแห่งอนาคตด้วยความเสี่ยงแบบเบา ๆ นี้เราคาดว่าจะช่วยให้นักลงทุนได้ตัดสินใจลงทุนในบริษัทนี้ได้ง่ายขึ้น

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์