AMD: พลิกเกมเซมิคอนดักเตอร์ สู่ยุคทองคำครั้งใหม่

ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้น เทคโนโลยี และเซมิคอนดักเตอร์ AMD (Advanced Micro Devices) เป็นชื่อที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักในหมู่นักลงทุนและผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการแข่งขันในตลาดที่ทวีความรุนแรงขึ้น บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหุ้นของ AMD ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการ เทคโนโลยีใหม่ๆ และความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม ของหุ้น AMD ก่อนตัดสินใจลงทุน
ภาพรวมของ AMD
ในช่วงปีที่ผ่านมาหุ้น AMD มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ โดยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการในตลาดคอมพิวเตอร์พกพาและการประมวลผลขั้นสูง นอกจากนี้ AMD ยังได้ขยายการเข้าถึงไปยังตลาดของเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ ซึ่งแสดงถึงโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดทาง AMD รายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2024 ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 24% เป็น 7,658 ล้านเหรียญ แต่กำไรลดลง 28% เหลือ 482 ล้านเหรียญ จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และรายการผลกระทบทางภาษีที่เพิ่มขึ้น 17% ซึ่งจะบันทึกรายการผลกระทบทางภาษี (Income tax provision) ที่เป็นรายการพิเศษ จำนวน 14,120 ล้านบาท แม้ว่าธุรกิจหลักอย่าง Data Center และ Client จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะรายได้จาก Data Center ที่เพิ่มขึ้น 69% แต่ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ส่งผลให้นักลงทุนผิดหวัง และราคาหุ้นร่วงลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ที่ทำราคาไฮสูงสุดที่ 227$ ตั้งแต่มีนาคม 2567 เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันกับ Nvidia ในตลาดชิป AI ที่ AMD ยังตามหลังอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานและอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะสั้น
การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัท AMD
ที่มา www.googlefinance.com
AMD ประกาศผลประกอบการสำหรับไตรมาสที่ 4 และทั้งปี 2024 โดยในไตรมาสที่ 4 บริษัทมีรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7.7 พันล้านดอลลาร์ กำไรขั้นต้นอยู่ที่ 51% กำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 871 ล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิ 482 ล้านดอลลาร์ และกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.29 ดอลลาร์
AMD ทำสถิติรายได้และกำไรที่แข็งแกร่งในปี 2024 โดยเฉพาะจากกลุ่มศูนย์ข้อมูลและโปรเซสเซอร์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ที่รายได้เติบโตเกือบสองเท่า เนื่องจากความต้องการโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และชิปประมวลผล AI ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่ากลุ่มเกมมิ่งและอุปกรณ์ฝังตัวจะมีรายได้ลดลง ในปี 2025 บริษัทมุ่งเน้นขยายตลาด AI และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานราคาหุ้น AMD
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถนำมาพิจารณาเพื่อประเมินราคาหุ้น AMD ในปัจจุบันได้ดังนี้:
ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ราคาหุ้นบวกขึ้น
การเติบโตในตลาด AI: AMD ได้ลงทุนอย่างมากในการพัฒนาชิปสำหรับ AI ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ความต้องการชิปประมวลผลประสิทธิภาพสูงสำหรับงาน AI ทำให้ AMD มีโอกาสในการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
การแข่งขันกับ Intel และ Nvidia: AMD ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel และ Nvidia ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด CPU และ GPU สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเซิร์ฟเวอร์
ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง: ผลประกอบการของ AMD ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
การขยายตลาด: AMD ได้ขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่น ผู้ให้บริการคลาวด์ และผู้ผลิตอุปกรณ์เกม ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการเติบโตในอนาคต
ปัจจัยลบที่ส่งผลให้ราคาหุ้นลดลง
ความผันผวนของตลาด: ตลาดเทคโนโลยีมีความผันผวนสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น AMD ได้
การแข่งขันที่รุนแรง: การแข่งขันในตลาดชิปยังคงรุนแรง โดยมีคู่แข่งหลายรายที่พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะหลังที่ฝั่งของจีนเองเปิดตัวแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ต้นทุนต่ำ ที่ชื่อ ดีพซีค (DeepSeek) และได้รับความนิยมสูง ยอดดาวน์โหลดพุ่ง จนเขย่าตลาดหุ้นสหรัฐ เป็นตัวกดดันภาพรวมของตลาดเทคโนโลยีของฝั่งอเมริกาและยุโรปอย่างมาก
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ: สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์ของ AMD ได้
เหตุผลสนับสนุนราคาหุ้น AMD ในปัจจุบัน
ราคาหุ้น AMD ในปัจจุบันได้รับแรงหนุนจากปัจจัยบวกหลายประการ เช่น การเติบโตในตลาด AI ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และการขยายตลาด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยลบและความเสี่ยงต่างๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน
ราคา AMD แบบเรียลไทม์
คนไทยจะลงทุนหุ้น AMD ได้อย่างไร
นักลงทุนชาวไทยสามารถลงทุนหุ้น AMD (Advanced Micro Devices, Inc.) ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
1.ผ่านหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (Direct Investment): นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดสหรัฐฯ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ ที่รองรับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ เช่น Interactive Brokers หรือ Charles Schwab
ข้อดี: สามารถเข้าถึงหุ้นต่างประเทศได้หลากหลาย ไม่จำกัดเฉพาะหุ้น AMD
ข้อเสีย: อาจมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า และต้องมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตลาดต่างประเทศ
2.ผ่านกองทุนรวม (Mutual Funds): นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีหุ้น AMD อยู่ในพอร์ตการลงทุน ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงและไม่ต้องซื้อหุ้นโดยตรง
ข้อดี: สะดวกและง่ายกว่าการลงทุนผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ มีบริการสนับสนุนภาษาไทย
ข้อเสีย: อาจจะมีค่าธรรมเนียมอาจสูงกว่า เพราะต้องมีค่าบริหารจัดการกองทุนเพิ่มเข้ามา
3.ผ่านรูปแบบของ CFD (Contracts for Difference): นักลงทุนสามารถใช้บริการแพลตฟอร์ม หรือแอพพลิเคชั่นที่ทำการซื้อขาย CFD เช่น Mitrade หรือ eToro ที่อนุญาตให้ซื้อขายหุ้น AMD โดยไม่จำเป็นต้องถือหุ้นจริง โดยมีเลเวอเรจหรืออัตราทด ทำให้สามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้อย่างยืดหยุ่น
ข้อดี: สามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง และใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อหุ้นจริง มีสินค้าให้เลือกหลากหลายนอกจากเฉพาะหุ้น ยังมี ค่าเงิน ทองคำ คริปโต น้ำมัน เป็นต้น
ข้อเสีย: มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในหุ้นจริง และอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น ค่า Swap

เหตุผลที่เลือกลงทุนของหุ้น AMD มีอะไรบ้าง
การเติบโตของตลาดเซมิคอนดักเตอร์: AMD เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในตลาดโปรเซสเซอร์และการ์ดจอสำหรับคอมพิวเตอร์ การขยายตัวของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเล่นเกมระดับสูง มีแนวโน้มส่งผลดีต่อบริษัท
ผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้: AMD มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะสายผลิตภัณฑ์ Ryzen และ EPYC ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้และบริษัทในด้านการประมวลผล ทำให้บริษัทสามารถกลับมาแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel และ NVIDIA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความแข็งแกร่งทางการเงิน: AMD มีผลการดำเนินงานทางการเงินที่ดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีการเพิ่มรายได้และปรับปรุงกำไรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการทุนนั้นดี
การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา: AMD มีการลงทุนจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาตำแหน่งในตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย
ข้อควรระวังสำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน AMD
ความผันผวนของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมชิปมีวัฏจักรขึ้นลงค่อนข้างชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาหุ้น ความต้องการและราคาชิปอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสภาวะตลาด
การแข่งขันที่รุนแรง AMD แข่งขันโดยตรงกับ Intel ในตลาด CPU และ NVIDIA ในตลาด GPUคู่แข่งมีทรัพยากรและงบวิจัยพัฒนาจำนวนมาก ทำให้การรักษาความได้เปรียบทางเทคโนโลยีทำได้ยาก
ความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้ผลิตภายนอก AMD ไม่มีโรงงานผลิตชิปเป็นของตัวเอง ต้องพึ่งพา TSMC เป็นหลักหากเกิดปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน อาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้า
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ต้องลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องหากพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ทันคู่แข่ง หรือมีปัญหาด้านคุณภาพ อาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
นักลงทุนควรหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งเชิง Fundamental และ Technical เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อหรือขาย และวิธีการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมด้วย
สรุป
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลผลประกอบการของ AMD ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ การขยายตลาด และความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้นในตลาด AI ดังนั้น AMD ยังคงเป็นบริษัทที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพิจารณาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
3 จุดแข็งที่สนับสนุนเข้าลงทุนในหุ้น AMD
การเติบโตในตลาด AI AMD ได้ลงทุนอย่างมากในกา รพัฒนาชิปสำหรับ AI ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ความต้องการชิปประมวลผลประสิทธิภาพสูงสำหรับงาน AI
AMD ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Intel และ Nvidia ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด CPU และ GPU
ผลประกอบการของ AMD ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ช่องทางการลงทุนในหุ้น AMD ที่นิยมในปัจจุบัน
วิธีการนิยมในปัจจุบันคือ CFD หรือ สัญญาส่วนต่าง เพราะนักลงทุนสามารถเข้าซื้อหรือขายในหุ้นอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องถือหุ้นจริง โดยมี Leverage หรืออัตราทด ซึ่งสูงถึง 1:200 ช่วยให้ใช้เงินลงทุนน้อยลงเพียง 50 USD ทำกำไรได้มากขึ้น และเลือกลงทุนได้ทั้ง สองฝั่ง BUY หรือ SELL ตามสถานการณ์ตลาด นักลงทุนควรศึกษาข้อดีข้อเสียของการลงทุนใน CFD
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน