หุ้น IPO คืออะไร? จองหุ้น IPO อย่างไร?
หากพูดถึงการลงทุน อาจจะเห็นภาพการเทรดหุ้นจากหน้าจอมอนิเตอร์ที่กำลังแสดงการขึ้นลงของกราฟ หรือไม่ก็คงจะเป็นการเข้าดูตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนจากการลงทุน สามารถเริ่มต้นจาก IPO ได้เช่นกัน เพราะการถือหุ้นในบริษัทดีๆ สักแห่งที่ตัวเราเองมั่นใจว่าจะสามารถบริหารเงินทุนของเราได้อย่างคุ้มค่าและสร้างผลกำไรในอัตราส่วนที่น่าพอใจ ทว่าตลาดการลงทุนในหุ้น IPO ค่อนข้างที่เซนซิทีฟพอสมควร จากสถิติพบว่าว่าหุ้นบางตัวมีราคาวิ่งไปถึง 200%
บทความนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะตอบข้อคำถามว่าหุ้น IPO คืออะไร ดูหุ้น IPO ได้ที่ไหน ตลอดจนจะจองหุ้น IPO อย่างไร เชิญพบกับคำตอบได้เลยครับ
หุ้น IPO คืออะไร
IPO หรือ Initial Public Offering คือ การเสนอขายหลักทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทหนึ่งๆ ให้แก่ประชาชนหรือบุคคลธรรมดาทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์หลักๆ
ก็คือเพื่อต้องการระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะอันจะสามารถนำไปพัฒนาและขยับขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทด้วย ในอีกมุมมองหนึ่งการที่บริษัทออกมาเสนอ IPO กันอย่างนี้เพราะมุ่งมั่นอยากสร้างการรับรู้ในแบรนด์หรือบริษัท และจะส่งผลต่อภาพลักษณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจอย่างมหาศาลในอนาคต
ข้อดีของ IPO
ผู้ลงทุน (IPO Investors) เกิดวามมั่นใจจากการดำเนินงานอยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์
ผู้ลงทุน (IPO Investors) จะได้รับการจัดสรรผลประโยชน์จากบริษัทอย่างเป็นธรรม
เมื่อสภาพเศรษฐกิจอยู่ในช่วงน่าลงทุนหรือเงื่อนไขด้านการตลาดอยู่ในขาขึ้นเป็นการลงทุนที่มีโอกาสในการทำกำไรสูงภายในช่วงเวลาสั้นๆ
หากคุณเป็นนักลงทุนที่เก็งกำไรระยะยาว IPO เหมาะสมกับคุณ
ไม่ได้ใช้กลยุทธ์หรือเทคนิคเฉพาะมากนัก วิเคราะห์ง่าย แต่ควรศีกษาโปรไฟล์ของบริษัทให้ดี
ข้อเสียของ IPO
บริษัทจะต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาจดทะเบียน เช่น ข้อมูลทางการเงิน งบกำไรขาดทุน ตลอดทั้งภาษีของบริษัท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องแสดงต่อสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งของบริษัทที่ได้รับผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้
การเสนอขายหุ้นด้วยวิธี IPO จะนำมาสู่การสร้างต้นทุนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งในเรื่องการปรับระบบการควบคุมภายในให้ดี (Check and Balance), งบการเงินที่จัดทำตามมาตรฐานบัญชี, ค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ, การสรรหาวาณิชธนกิจ (investment banking) เพื่อการรับคำแนะนำที่ถูกต้องอันมีส่วนโดยตรงในการลดอุปสรรคของกระบวนการ IPO เป็นต้น
จ้าของบริษัทอาจจะไม่ได้ถือหุ้นในปริมาณที่มากเหมือนเช่นเดิม อาจเป็นเพราะปัจจัยของราคาหุ้นจากเหตุที่ไม่สามารถขายหุ้นได้เป็นเวลาหลายปี
ผู้เป็นเจ้าของบริษัทอาจสูญเสียอำนาจการควบคุมในฐานะเจ้าของบริษัท นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดฯ กลุ่มงานบริหารจะมีอำนาจสามารถปลดเจ้าของบริษัทออกได้
การบริหารงานของบริษัทจะไปอยู่ที่ คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) ซึ่งอาจจะแตกต่างจากกลุ่มผู้บริหารชุดเดิม
บริษัทที่ IPO ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
สมบัติที่บริษัทควรมีเพื่อระดมทุนผ่านการขายหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์กำหนด เรียกว่า Initial Public Offering (IPO) มีข้อกำหนดและเงื่อนไขหลายประการที่บริษัทต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้ได้รับการอนุญาตจากก.ล.ต.ให้เสนอขายหุ้นได้ สำหรับบริษัทที่สนใจเข้าสู่การ IPO ควรมีลักษณะและเป็นไปตามข้อกำหนดเช่น มหาชนจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้ง เกณฑ์ทางธุรกิจและฐานะการเงินที่มั่นคง เกณฑ์การดำเนินการต่างๆ และการดูแลและควบคุมภายในบริษัท สุดท้าย บริษัทควรมีการดำเนินการเข้มแข็งเพื่อเตรียมความพร้อมตนเองในการระดมทุนผ่าน IPO อย่างเต็มที่
รายละเอียดดังด้านล่าง
มีสถานะทางธุรกิจเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
มีโครงสร้างทางธุรกิจที่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านฐานะการเงินและสภาพคล่องของบริษัท ซึ่งจะส่วนของผู้ถือหุ้นต้องมีอย่างน้อย 300 ล้านบาท และก่อนระดมเงินทุนด้วยวิธี IPO บริษัทต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นห้ามน้อยกว่า 0
ผลการดำเนินงานของบริษัทต้องเข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยบริษัทสามารถเลือกใช้เกณฑ์ใดก็ได้
- เกณฑ์กำไรสุทธิ: ในเวลา 2 หรือ 3 ปีต่อเนื่องกันล่าสุดจะต้องมีกำไรสุทธิรวมมากกว่า 50 ล้านบาท และในปีล่าสุดก่อนจดยื่นคำขอต้องมีกำไรสุทธิมากกว่า 30 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
- เกณฑ์ Market Cap: มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ในปีล่าสุดมากกว่า 7,500 ล้านบาท และในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ บริษัท “ต้องมีกำไร” ที่ก่อนจำนำไปหักต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (EBIT)
- ก่อนยื่นคำขอ บริษัทจะต้องมีผลการดำเนินงานมากกว่า 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี
มีสถานะของโครงสร้างการกระจายการถือหุ้นรายย่อย (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) ที่ชัดเจน และมีอัตราส่วนการถือหุ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
บริษัทที่ยื่นคำขอต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งดำเนินการเสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
การบริหารงานของบริษัทดังกล่าว จะต้องดำเนินงานภายใต้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมตามคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้
ดูแลกิจการและควบคุมภายในโดยกรรมการอิสระที่มีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งคอยกำกับดูแลภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
งบการเงินของบริษัทจะต้องมีลักษณะ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
บริษัทต้องดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทต้องจัดหาและแต่งตั้งนายทะเบียน ที่มาจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบ
บริษัทจะมีสถานะการห้ามขายหุ้น (Silent Period) หากพบผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders โดยมีผลถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าข่ายสามารถทยอยขายหุ้นได้ในอัตราส่วนไม่เกิน 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือน
บริษัทควรมีการดำเนินการ (Operation) ที่เข้มแข็ง เพื่อตอบรับกับศักยภาพในการเตรียมความพร้อมตนเองเข้าสู่การระดมทุนด้วยวิธี IPO
ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับ IPO
ทว่ากว่าที่หุ้น IPO จะเปิดตัวให้ผู้ลงทุนได้เข้ามาจับจองกันนั้น เบื้องหลังการเตรียมการของบริษัทมีรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญ กระบวนการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย รวมถึงใช้ระยะเวลาไม่น้อยเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และรูปแบบของบริษัทนั้นๆ โดยจะอธิบายให้เข้าใจพอสังเขป ดังต่อไปนี้
การเตรียมตัวสำหรับ IPO เริ่มต้นด้วยการศึกษากฎระเบียบและการติดต่อกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้คำปรึกษา
จัดเตรียมเอกสารสำหรับการขออนุมัติการเสนอขายหุ้น
แปรสภาพจากบริษัทจำกัดไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
กำหนดราคาขายหุ้น IPO และสร้างการประชาสัมพันธ์
ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและแต่งตั้งนายทะเบียนหลักทรัพย์
จัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้นและนำหุ้นเข้าฝากในระบบไร้ใบหุ้น
ยื่น Filing ขออนุญาติการสนอขายหุ้น IPO ต่อก.ล.ต.
ผู้ที่เกี่ยวข้องใน IPO
ตามคู่มือ IPO Roadmap ที่จัดทำขึ้นโดย SET ได้อธิบายถึงประเด็นว่า IPO ต้องเกี่ยวข้องกับใครบ้าง โดยสามารถทำความเข้าใจได้ดังนี้
ผู้ที่เกี่ยวข้องใน IPO | หน้าที่และการดูแล | |
1 | ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) | เป็นเสมือนศูนย์กลางที่อำนวยการซื้อขายหลักทรัพย์ และบริการในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ |
2 | กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) | แปลงสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด |
3 | ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาติ Auditor) | ให้คำแนะนำและตรวจาอบงบการเงินให้เป็นไปตามมาตราฐานบัญชี |
4 | ผู้ตรวจสอบระบบการเงินภายใน (Internal Control Auditor) | ตรวจสอบ ประเมิน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน |
5 | ที่ปรึกษากฎหมาย (Lawyer) | ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย และดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร ตลอดจนจัดการขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง |
6 | บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดหุ้น (Valuer) | ประเมินมูลค่าทรัพย์สินททที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมในตลาดทุน |
7 | บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด TSD | จัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง ให้บริการงานทะเบียนหลักทรัพย์ |
8 | ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) | ขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ต้องการระดมเงินทุนให้แก่ประชนชน ถือเป็นการช่วยกระจายหุ้น IPO |
9 | ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor: FA) | เป็นที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำตลอดการทำ IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
10 | สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) | ตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัท อนุญาตการเสนอขาย IPO และกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน |
ตั้งราคาของหุ้น IPO อย่างไร
หลายท่านอาจสงสัยว่าราคาหุ้น IPO ที่เสนอขายมานั้นตั้งราคามาจากปัจจัยใด? แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบในการตั้งราคาเหล่านี้?
กระบวนการตั้งราคาหุ้น IPO เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเนื่องจากการกำหนดราคาดังกล่าวจะมีผลอย่างมากต่อจำนวนการเข้าซื้อหุ้นบริษัทของนักลงทุน (IPO Investors) และยังถือเป็นการวัดประสิทธิภาพในการตั้งราคาที่ดำเนินการโดยสถาบันวาณิชธนกิจ (Investment banking) หรือ ที่ปรึกษาทางการเงิน ว่ามีความเหมาะสมมากเพียงใด ส่วนใหญ่การเข้าประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มทุนด้วยวิธีการ IPO จะตั้งในราคาที่ค่อนข้างต่ำ อันจะต้องสอดคล้องกับการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) ที่จำทำขึ้นมาโดยเฉพาะ
เช็คหุ้น IPO ได้ที่ไหน
สำหรับช่องทางการศึกษาหุ้น IPO คุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ SET ซึ่งได้อธิบายถึงหุ้นของบริษัทอย่างละเอียด รวมถึงคุณสามารถทราบได้ด้วยว่าจะมีบริษัทอะไรบ้างที่กำลังจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้คำแนะนำสำหรับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเว็บดังนี้
คุณจะต้องศึกษาดูว่า หุ้นของบริษัทที่คุณสนใจอยู่ใน “รายชื่อบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Upcoming IPO)” หรือ เป็นหุ้นที่ “เปิดตัวหุ้นใหม่ IPO”
ในเว็บไซต์จะปรากฎราคาการซื้อขายหุ้น IPO และราคา PAR (P/V Price) เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนงบประมาณการในการลงทุน
เพื่อทราบข้อมูลเชิงลึกสามารถดาวนน์โหลดไฟล์ที่แนบไว้ หรือเข้าตรงไปยังลิงก์ของแต่ละบริษัทประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของคุณ เช่น จุดประสงค์ในการระดมเงินทุน, ระยะเวลาในการเสนอขาย, มูลค่าการซื้อขาย เป็นต้น
IPO มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการระดมเงินทุนด้วยวิธี IPO มีจุดประสงค์โดยตรงจากบริษัทที่ต้องการเม็ดเงินมาพัฒนาหรือบริหารจัดการธุรกิจให้เติบโตกว่าเดิม ซึ่งในส่วนนี้เองอาจจะส่งผลกระทบทั้งด้านดีและเสียต่อเศรษฐกิจในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างมากในประเทศ หากมีการสนับสนุนด้วยเงินทุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจ นอกจากจะสร้างผลกำไรให้กับประเทศแล้วยังตอบแทนด้วยผลกำไรให้แก่นักลงทุนอย่างเป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย ในทางกลับกันหากบริษัทไม่มีการระดมทุนด้วย IPO อาจจะพบเจอกับอุปสรรคและการดำเนินงานที่อยู่นอกเหนือการควบคุม
นักลงทุนจะจองหุ้น IPO อย่างไร
การจ้องหุ้น IPO เป็นที่ทราบกันดีในวงการเทรดดิ้งว่าจะมีผู้ลงทุนจำนวนไม่กี่รายเท่านั้นที่มีโอกาสจะได้หุ้นที่จองเอาไว้ ผนวกกับบางบริษัทที่กำลังจะระดมทุนด้วยวิธี IPO ต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมตัวและการประเมินที่รัดกุม โดยแนวทางการจองหุ้น IPO แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้
◆ วิธีที่ 1 ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ก่อนเข้าสู่ตลาด (Primary Market)
ในการซื้อขายหุ้นส่วนนี้จะเริ่มจากบริษัทมีการเสนอขายหุ้นเพื่อการระดมเงินทุน ซึ่งดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. โดยประกาศผ่านทางเว็บไซต์ SET หรือ เว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงผ่านโบรกเกอร์ต่างๆ โดยผู้ที่มีความสนใจอยากลงทุนซื้อหุ้นดังกล่าวก็สามารถจองซื้อหุ้นภายในระยะเวลาการซื้อขายที่ได้กำหนดเอาไว้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ราคาการซื้อขายที่ถูกกำหนดเอาไว้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างต่ำและต่ำกว่าราคาหุ้นตัวเดียวกันเมื่อเข้าสู่ตลาดแล้ว การเก็งกำไรของนักลงทุนในลักษณะนี้จึงมักได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างพึงพอใจ
◆ วิธีที่ 2 การซื้อหุ้น IPO หลังเข้าสู่ตลาด (Secondary Market)
ตลาดการซื้อขายหุ้น IPO ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากสงสัยว่าหุ้น IPO ที่ปล่อยให้ซื้อในตลาดหลักทรัพย์มาจากไหนกันล่ะ? คำตอบก็คืออาจจะมาจาก ผู้ลงทุนในครั้งแรก (IPO Investors) ที่นำหุ้นของตนเองที่มีต่อบริษัทมาขายในตลาดหลักทรัพย์นี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเพียงเท่านั้น โดยนักลงทุนที่เคยพลาดโอกาสในการซื้อครั้งแรกสามารถใช้ช่องทางนี้ในการซื้อหุ้น IPO อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาหุ้นในช่วงแรกค่อนข้างเห็นได้อย่างชัดเจน และบางครั้งราคาหุ้นในตลาดอาจสูงกว่าตอนจองหลายเท่าตัว ดังนั้นถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่อาจลงทุนในหุ้น IPO จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจในบริบทของบริษัทเป็นอย่างสำคัญ
- การดำเนินงานแบบเดิม
ผู้ก่อตั้งบริษัท (Founder) จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% โดยมีรายละเอียดการลงทุนในส่วนผู้ถือหุ้น ดังนี้
จำนวน | |
จำนวนหุ้นของผู้ก่อตั้ง (Founder) | 1,800,000 หุ้น |
ราคาหุ้น (Par Value) | 2 บาทต่อหุ้น |
เงินลงทุนรวมที่ผู้ก่อตั้งนำมาลงทุนในบริษัท | 3,600,000 บาท |
- เมื่อบริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนด้วยวิธี IPO
บริษัทจะออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนหนึ่ง มาเสนอขายให้กับผู้ลงทุนใน IPO (IPO Investors) หลังจากที่การขายเสร็จสิ้น ผู้ก่อตั้งจะไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทเป็นผู้เดียวอีกต่อไป ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นตามตัวเลยดังนี้
ผู้ลงทุน (IPO Investors) | |
จำนวนหุ้น (ระดมทุนเพิ่มเข้ามา) | 800,00 หุ้น |
ราคาหุ้น (Par Value) | 2 บาทต่อหุ้น |
ราคา IPO | 15 บาทต่อหุ้น |
จากการระดมเงินทุนบริษัทได้มาทั้งหมด (Equity Funding) | 12,000,000 บาท (800,000 x 15) |
ผู้ก่อตั้งมีมูลค่าหุ้นทั้งหมดเท่ากับ | 27,000,000 บาท (15 x 1,800,000) |
ราคาหุ้น (Par Value) เหมือนเดิมเพราะเป็นราคาหุ้นเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจหรือจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นราคาที่บริษัทกำหนดมาตอนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
แต่สำหรับราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนซื้อ (IPO Price) จะต้องสูงกว่าราคาหุ้น P/V เพราะธุรกิจได้ดำเนินมาด้วยระยะเวลาพอสมควร อันประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมาแล้วระดับหนึ่ง โดยทราบได้ถึงความมั่นคงและความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นราคาที่ผู้ลงทุนจะต้องซื้อย่อมสูงกว่าราคา P/V
จำนวนหุ้นรวมทั้งบริษัทจะอยู่ที่ 2,800,000 หุ้น
- การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนด้วยวิธี IPO เสร็จสิ้น
ผู้ถือหุ้นจะเป็นเจ้าของบริษัทอยู่ 69.23% ในขณะที่เมื่อรวมผู้ลงทุน IPO จะถือว่าเป็นเจ้าของบริษัทอยู่ 30.77%
หุ้นของบริษัทจะนำมาจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์
ผู้ก่อตั้ง (Founder) และ ผู้ลงทุน (IPO Investors) สามารถที่จะนำหุ้นของบริษัทมาขายหรือซื้อเพิ่มในตลาดหลักทรัพย์นี้ได้ แน่นอนว่า ผู้ลงทุน (IPO Investors) รายใหม่หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน โดยลักษณะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นเรียกตลาดรอง (Secondary Market) ทางบริษัทจะไม่ได้เงินทุนเพิ่มเติมแต่อย่างใด จะเป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเพียงเท่านั้น
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความน่าสนใจของหุ้น IPO เราได้ทราบกันไปแล้วนะครับว่า หุ้น IPO คืออะไร ดูหุ้น IPO ได้ที่ไหน จนถึงจะจองหุ้น ipo อย่างไร เอาเข้าจริงแล้วบางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งเรื่องหุ้น หรือคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับตลาดหุ้นแบบนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นไม่มีคำว่าเก่งหรือไม่เก่งนะครับเพราะถ้าเราเทรดได้ เราได้กำไร คนอื่นก็อาจมองว่าเราเก่ง แน่นอนครับว่าเหตุการณ์จะตรงกันข้ามทันทีเมื่อเราพลาดหรือขาดทุน ดังนั้นการลงทุนหุ้น IPO ทุกคนสามารถเทรดได้ภายใต้ความรู้และความเข้าใจ ยิ่งศึกษามาก ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน