USD/JPY ทะลุ 150! ให้โฟกัสการประชุมอัตราดอกเบี้ย BOJ ในสัปดาห์นี้

Mitrade
อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ภาพรวมของตลาด

สัปดาห์ที่แล้ว (10/23-10/27) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.37% ในขณะที่สกุลเงินที่ไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีผลการดำเนินงานที่หลากหลาย เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 0.2% ในขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลง 0.3%


1.ภายใต้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจของยุโรปและอเมริกา EUR/USD ยังคงอยู่ในสภาวะกดดัน

สัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินยูโรยังคงอ่อนค่าลงด้วยเหตุผลสองประการหลัก ประการแรกคือข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงอ่อนแอ ในขณะที่สหรัฐฯ ยังคงความแข็งแกร่งเอาไว้ และประการที่สองนั้นธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณด้วยข้อความ Dovish ในระหว่างการประชุมอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา


ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมแสดงให้เห็นว่า PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นสำหรับเดือนตุลาคมในยูโรโซนลดลงจาก 43.4 เหลือ 43 และ PMI ภาคบริการเบื้องต้นลดลงจาก 48.7 เป็น 47.8 ดัชนี Composite PMI อยู่ที่ 46.5 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 47.4 และค่าก่อนหน้าที่ 47.2 ที่แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020


ในทางตรงกันข้าม ในเดือนตุลาคมดัชนี US PMI วัดได้เกินความคาดหมาย โดยดัชนี PMI เบื้องต้นที่ 51 ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบสามเดือน การเติบโตของ GDP ที่แท้จริงสำหรับไตรมาสที่สามอยู่ที่ 4.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เกินความคาดหมายของตลาด

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ธนาคารกลางยุโรปได้กดปุ่มหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่วางแผนไว้ชั่วคราว โดยระบุว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับจำกัดอยู่แล้วซึ่งจะช่วยลดดีมานด์และช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้ นักวิเคราะห์เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าวัฏจักรนโยบายการเงินเข้มงวด (Tightening cycle) ของ ECB ได้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว


ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนระหว่างเยอรมนีและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งยังคงสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินยูโร


การวิเคราะห์ของ Mitrade :

ประเด็นสำคัญในสัปดาห์นี้จะอยู่ที่การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และข้อมูลเงินเฟ้อเดือนตุลาคมในยูโรโซน หากอัตราเงินเฟ้อยังคงลดลง เงินยูโรอาจยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันและแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นของเงินยูโรล่าสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เราคาดว่าการเคลื่อนไหวขาลงของเงินยูโรจะถูกจำกัด


จากมุมมองทางเทคนิค คู่สกุล EUR/USD ได้ร่วงลงต่ำกว่า Moving Average 21 อีกครั้ง หากสามารถทะลุเหนือเส้น Moving Average 21 ได้และกลับสู่เส้นแนวโน้มขาขึ้นในสัปดาห์นี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะดีดตัวขึ้นอีก โดยมีแนวต้านประมาณ 1.07 ในทางกลับกัน หากไม่สามารถรักษาตำแหน่งนี้ได้ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะขาลงเพิ่มเติมสำหรับ EUR/USD โดยมีแนวรับประมาณ 1.045


2.USD/JPY พุ่งทะลุ 150! โฟกัสการประชุมอัตราดอกเบี้ย BOJ ในสัปดาห์นี้

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้เงินเยนแตะระดับต่ำสุดในรอบปี โดยทะลุระดับจิตวิทยาที่ 150 อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Risk averse (ความทนทานในความเสี่ยง) ที่เพิ่มขึ้น USD/JPY จึงถอยกลับต่ำกว่า 150


เนื่องจากเงินเยนตกลงต่ำกว่า 150 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เทรดเดอร์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงเริ่มระมัดระวัง เนื่องจากระดับนี้เคยกระตุ้นให้ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงมาก่อน


สัปดาห์นี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะประกาศผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยและเปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อล่าสุด รายงานล่าสุดในสื่อญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่าธนาคารกลางอาจพิจารณาปรับโปรแกรม Yield Curve Control (YCC) ในการประชุมครั้งนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะมีมุมมองที่แตกต่างกันไปก็ตาม


อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะขยายตัวมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมถึงความอ่อนค่าของเงินเยนที่เห็นได้ชัด ญี่ปุ่นก็ไม่มีความตั้งใจที่จะละทิ้งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนด้วยค่าจ้าง ในขณะเดียวกันก็รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อจากการนำเข้าทำลายกำลังซื้อในประเทศและชะลอการฟื้นตัวในประเทศ เห็นได้ชัดว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะยังคงเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก


การวิเคราะห์ของ Mitrade :

แม้ว่าตลาดปัจจุบันจะมองว่าการปรับนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นในการประชุมครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ต่ำ แต่เราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย Yield Curve Control (YCC) อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงรักษาจุดยืนในปัจจุบันอยู่ เงินเยนก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงอีกซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดการแทรกแซงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ


จากมุมมองทางเทคนิค USD/JPY ได้ย้อนกลับไปยัง Moving Average 21 หากในสัปดาห์นี้ทะลุระดับ 150 อีกครั้ง เป้าหมายถัดไปจะอยู่ที่ประมาณระดับสูงสุดก่อนหน้าใกล้กับ 152 ในทางกลับกัน หากในสัปดาห์นี้ไม่สามารถยืนเหนือเส้น Moving Average 21 ใกล้ 149.5 ได้ อาจเห็น USD/JPY มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วยแนวรับประมาณ 148


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
NZD/USD ลอยตัวต่ำกว่า 0.5650 เนื่องจาก GDP ที่อ่อนแอหนุนการเก็งการลดอัตราดอกเบี้ยของ RBNZในตลาดลงทุนเอเชียวันศุกร์ คู่ NZDUSD ยังคงอยู่ภายใต้แรงขายที่บริเวณ 0.5625
ผู้เขียน  FXStreet
เมื่อวาน 02: 01
ในตลาดลงทุนเอเชียวันศุกร์ คู่ NZDUSD ยังคงอยู่ภายใต้แรงขายที่บริเวณ 0.5625
placeholder
EUR/USD ยังคงอยู่ในแนวรับต่ำกว่า 1.0400 จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่เข้มงวดในตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี คู่ EURUSD ปรับตัวลดลงมาใกล้ 1.0370
ผู้เขียน  FXStreet
12 เดือน 19 วัน พฤหัส
ในตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี คู่ EURUSD ปรับตัวลดลงมาใกล้ 1.0370
placeholder
แนวโน้มราคา EUR/AUD: ปรับตัวขึ้นเหนือ 1.6500 ท่ามกลางบรรยากาศความเสี่ยงต่ำยูโรขยายการแข็งค่าต่อดอลลาร์ออสเตรเลียในวันอังคาร ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงอ่อนค่าลง
ผู้เขียน  FXStreet
12 เดือน 18 วัน พุธ
ยูโรขยายการแข็งค่าต่อดอลลาร์ออสเตรเลียในวันอังคาร ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงอ่อนค่าลง
placeholder
EUR/JPY ขยับขึ้นเหนือ 161.50 ก่อนการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน ECB ลาการ์ดในช่วงเช้าของตลาดลงทุนยุโรปวันจันทร์ คู่ EURJPY ปรับตัวขึ้นมาวิ่งใกล้ 161.65
ผู้เขียน  FXStreet
12 เดือน 16 วัน จันทร์
ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนยุโรปวันจันทร์ คู่ EURJPY ปรับตัวขึ้นมาวิ่งใกล้ 161.65
placeholder
การพุ่งขึ้นของ USD/JPY หยุดที่ 152.90 เพื่อรอข้อมูลเพิ่มเติมจากสหรัฐฯดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มขาขึ้นมาสามวันเมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น ทั้งคู่ปรับตัวลดลงปานกลาง นักลงทุนในตลาดให้ความสนใจไปที่ราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ขอรับสวัสสการว่างงานอย่างไรก็ตาม จากมุมมองที่กว้างขึ้น ทั้งคู่ยังคงมีแนวโน้มขาขึ้นในตอนนี้ ความคิดเห็นที่สนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากผู้กําหนดนโยบายใน BoJ ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเร่งรีบที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทําให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มที่จะทําให้เงินเย
ผู้เขียน  FXStreet
12 เดือน 16 วัน จันทร์
ดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มขาขึ้นมาสามวันเมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น ทั้งคู่ปรับตัวลดลงปานกลาง นักลงทุนในตลาดให้ความสนใจไปที่ราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ขอรับสวัสสการว่างงานอย่างไรก็ตาม จากมุมมองที่กว้างขึ้น ทั้งคู่ยังคงมีแนวโน้มขาขึ้นในตอนนี้ ความคิดเห็นที่สนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากผู้กําหนดนโยบายใน BoJ ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการเร่งรีบที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทําให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มที่จะทําให้เงินเย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์