คาดการณ์ราคา EUR/USD: ทรงตัวได้เหนือระดับ 1.1150 แนวโน้มเชิงบวกยังคงแข็งแรง

FXStreet
อัพเดทครั้งล่าสุด
Mitrade
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

  • EUR/USD แข็งค่าขึ้นเข้าใกล้ระดับ 1.1055 ในช่วงต้นเซสชั่นยุโรปของวันจันทร์

  • คู่สกุลเงินดังกล่าวยังคงมีมุมมองเชิงบวกเหนือเส้น EMA 100 วันที่สําคัญ แต่ดัชนี RSI แสดงโมเมนตัมตลาดเป็นกลาง

  • แนวต้านแรกในขาขึ้นปรากฏที่ 1.1185  ด้านระดับแนวรับที่สําคัญอยู่ที่ 1.1000 


คู่ EUR/USD ซื้อขายด้วยแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อยที่บริเวณระดับ 1.1055 ซึ่งสิ้นสุดการวิ่งขาลงติดต่อกันสามวันในช่วงต้นของเซสชั่นยุโรปในวันจันทร์ จุดยืนการผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กำลังกดดันค่าเงินดอลลาร์และให้การสนับสนุนแก่คู่เงิน EUR/USD 


ในขณะนี้ตลาดการเงินกําลังประเมินมูลค่าในโอกาสเกือบ 70% ที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐาน (bps) โดยเฟดในเดือนกันยายน ในขณะที่โอกาสที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยลง 50 bps อยู่ที่ 30% ตามเครื่องมือ CME FedWatch  ความสนใจของตลาดจะเปลี่ยนไปที่ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ เพื่อสังเกตไว้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นในเดือนกันยายน


ในทางเทคนิค แนวโน้มขาขึ้นของ EUR/USD ยังคงแข็งแรงเมื่อคู่หลักนี้วิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) 100 วันที่สําคัญในกรอบเวลารายวัน  อย่างไรก็ตามการปรับฐานในกรอบเพิ่มเติมยังคงเป็นไปได้ได้ เนื่องจากดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (RSI) 14 วันลอยตัวอยู่บริเวณเส้นกึ่งกลาง ซึ่งบ่งชี้ถึงโมเมนตัมตลาดที่เป็นกลางในแนวโน้มปัจจุบัน

ระดับแนวต้านทันทีสําหรับคู่เงินหลักนี้ปรากฏที่ 1.1185 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 28 สิงหาคม  แล้วต่อไปในทางเหนือ แนวต้านถัดไปจะเห็นได้อยู่ที่ขอบบนของกรอบ Bollinger Band ที่ 1.1230  แล้วการทะลุเหนือระดับนี้อย่างชัดเจนจะทำให้เห็นการพุ่งขึ้นไปสู่ 1.1275 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 18 กรกฎาคม

ในสถานการณ์ที่ราคาวิ่งเป็นขาลง ระดับแนวรับที่อาจเกิดขึ้นจะอยู่ที่ระดับทางจิตวิทยาที่ 1.1000  การทะลุระดับนี้จะทำให้ราคาลดลงไปที่ 1.0950 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของวันที่ 15 สิงหาคม แนวรับในขาลงเพิ่มเติมที่ต้องจับตามองจะอยู่ใกล้เส้น EMA 100 วันที่ 1.0893  ตามมาด้วยขอบล่างของแถบ Bollinger Band ที่ 1.0863  


กราฟรายวัน EUR/USD

 

 


สกุลเงินยูโร (EUR): คําถามที่พบบ่อย


ยูโรคืออะไร?

ยูโรเป็นสกุลเงินสําหรับ 20 ประเทศในสหภาพยุโรปที่อยู่ในยูโรโซน เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2022 คิดเป็น 31% ของธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งหมด โดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน คู่เงิน EUR/USD เป็นคู่สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลกโดยคิดเป็นประมาณ 30% จากธุรกรรมทั้งหมด ตามด้วย EUR/JPY (4%), EUR/GBP (3%) และ EUR/AUD (2%)


ECB คืออะไรและส่งผลกระทบต่อเงินยูโรอย่างไร?

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เป็นธนาคารกลางของยูโรโซน โดยทาง ECB ทำการกําหนดอัตราดอกเบี้ยและจัดการนโยบายการเงิน หน้าที่หลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาซึ่งหมายถึงการควบคุมอัตราเงินเฟ้อหรือกระตุ้นการเติบโต เครื่องมือหลักคือการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง – หรือความคาดหวังของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น – มักจะเป็นอานิสงส์ต่อค่าเงินยูโรและในทางกลับกันด้วย  สมาชิกสภาปกครองของ ECB ทําการตัดสินใจนโยบายการเงินในการประชุมที่จัดขึ้นแปดครั้งต่อหนึ่งปี การตัดสินใจทําโดยหัวหน้าธนาคารแห่งชาติยูโรโซนและสมาชิกถาวรหกคน ซึ่งรวมถึงประธาน Christine Lagarde ของ ECB เองด้วย


ข้อมูลเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อมูลค่าของเงินยูโรอย่างไร?

ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนซึ่งวัดโดยดัชนีราคาผู้บริโภคที่สอดคล้องกันภายใน (HICP) เป็นเศรษฐมิติที่สําคัญสําหรับเงินยูโร หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ ECB จะทําให้ ECB ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมักจะเป็นอานิสงส์ต่อค่าเงินยูโร เนื่องจากทําให้ภูมิภาคนี้น่าดึงดูดยิ่งขึ้นในฐานะสถานที่สําหรับนักลงทุนทั่วโลกในการพักเงินของพวกเขา


ข้อมูลทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อมูลค่าของเงินยูโรอย่างไร?

การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจจะวัดสุขภาพของเศรษฐกิจและอาจส่งผลกระทบต่อเงินยูโรได้ ตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น GDP, ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ การจ้างงาน และการสํารวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ล้วนมีอิทธิพลต่อทิศทางของสกุลเงินยูโร เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งที่ดีสําหรับค่าเงินยูโร ไม่เพียงแต่เป็นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ยังอาจกระตุ้นให้ ECB ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะทําให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นโดยตรง  โดยกลับกัน หากข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ ค่าเงินยูโรก็มีแนวโน้มที่จะลดระดับลง ข้อมูลเศรษฐกิจสําหรับประเทศฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดสี่แห่งในเขตยูโร (ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน) มีความสําคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากคิดเป็น 75% ของปริมาณเศรษฐกิจในยูโรโซน


ตัวเลขดุลการค้าส่งผลกระทบต่อเงินยูโรอย่างไร?

การเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญอีกประการหนึ่งสําหรับเงินยูโรคือดุลการค้า ตัวบ่งชี้นี้วัดความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ประเทศได้รับจากการส่งออกและจำนวนการใช้จ่ายในการนําเข้าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่กําหนด  หากประเทศใดผลิตสินค้าส่งออกที่เป็นที่ต้องการอย่างมากสกุลเงินของประเทศนั้นจะได้รับมูลค่าจากความต้องการเป็นพิเศษที่สร้างขึ้นจากผู้ซื้อต่างชาติที่ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ ดังนั้นยอดดุลการค้าสุทธิที่เป็นบวกทําให้สกุลเงินแข็งแกร่งขึ้น และในทางกลับกันสําหรับยอดดุลการค้าที่ติดลบก็จะส่งผลให้สกุลเงินอ่อนค่าลง

เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
DBS ประเมิน EUR/USD: จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องภายในช่วงราคาสามสัปดาห์EUR/USD ดีดตัวขึ้นจากระดับแนวรับที่สําคัญที่ 1.10 ได้ 0.6% มาเป็น 1.1074 หลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป  โดยตามที่คาดการณ์ไว้ ECB ได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 25 bps มาเป็น 3.50%  Philip Wee นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาด FX ของ DBS รายงาน
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 14 วัน เสาร์
EUR/USD ดีดตัวขึ้นจากระดับแนวรับที่สําคัญที่ 1.10 ได้ 0.6% มาเป็น 1.1074 หลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป  โดยตามที่คาดการณ์ไว้ ECB ได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 25 bps มาเป็น 3.50%  Philip Wee นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาด FX ของ DBS รายงาน
placeholder
วิเคราะห์ราคา NZDUSD: แนวโน้มดูสดใส การปรับตัวขึ้นสามารถยืนยันการฟื้นตัวในตลาดลงทุนอเมริกาวันพฤหัสบดี ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นตัวจากการลดลงในวันก่อนหน้า คู่ NZDUSD ขยับขึ้น 0.75% สู่ระดับสูงสุดที่ 0.6180 เนื่องจากตลาดกระทิงเข้าควบคุมตลาด
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 13 วัน ศุกร์
ในตลาดลงทุนอเมริกาวันพฤหัสบดี ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นตัวจากการลดลงในวันก่อนหน้า คู่ NZDUSD ขยับขึ้น 0.75% สู่ระดับสูงสุดที่ 0.6180 เนื่องจากตลาดกระทิงเข้าควบคุมตลาด
placeholder
คาดการณ์ราคา AUDUSD: มีโอกาสที่จะเกิดแนวโน้มขาลงระยะสั้นต่อเนื่องAUDUSD ปรับตัวลดลงต่อจากแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่เริ่มต้นหลังจากการกลับตัวลงจากระดับสูงสุดของวันที่ 29 สิงหาคม
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 11 วัน พุธ
AUDUSD ปรับตัวลดลงต่อจากแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่เริ่มต้นหลังจากการกลับตัวลงจากระดับสูงสุดของวันที่ 29 สิงหาคม
placeholder
EURUSD: ปรับตัวลดลงเล็กน้อย – RabobankJane Foley นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาดสกุลเงินของ Rabobank ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อดูการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร พบว่า EUR/USD ในวันศุกร์มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมาก สาเหตุแรกเป็นเพราะรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ และสาเหตุที่สองเป็นเพราะตอบสนองต่อคําพูดของประธานเฟดหลายๆ ท่าน
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 10 วัน อังคาร
Jane Foley นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาดสกุลเงินของ Rabobank ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อดูการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร พบว่า EUR/USD ในวันศุกร์มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมาก สาเหตุแรกเป็นเพราะรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ และสาเหตุที่สองเป็นเพราะตอบสนองต่อคําพูดของประธานเฟดหลายๆ ท่าน
placeholder
คาดการณ์ราคา USDJPY: แนวโน้มขาลงกลับมาอีกครั้ง ได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ที่ลดลงในช่วงท้ายตลาดลงทุนอเมริกาเหนือของวันศุกร์ USDJPY ปรับตัวลดลงต่อ ราคาได้รับแรงหนุนจาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับตัวลดลง เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่ม G8 ส่วนใหญ่ ยกเว้นสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เยนญี่ปุ่น ในขณะที่เขียน ทั้งคู่ยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลง
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 09 วัน จันทร์
ในช่วงท้ายตลาดลงทุนอเมริกาเหนือของวันศุกร์ USDJPY ปรับตัวลดลงต่อ ราคาได้รับแรงหนุนจาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับตัวลดลง เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่ม G8 ส่วนใหญ่ ยกเว้นสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เยนญี่ปุ่น ในขณะที่เขียน ทั้งคู่ยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลง