แนวรับ แนวต้าน คืออะไร ทำไมนักลงทุนควรให้ความสนใจด้วย

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

สำหรับนักเทรด การรู้ว่า แนวรับ แนวต้านคืออะไร ก็เหมือนการติดอาวุธให้กับตัวเองไปแล้วกว่าครึ่ง เพราะเพียงแค่การประยุกต์ใช้แนวรับแนวต้านอย่างเดียวก็ทำให้สามารถสร้างระบบเทรดอย่างง่ายเป็นของตัวเองได้แล้ว นอกจากนี้แนวรับแนวต้านยังสามารถบอกจุดเข้าซื้อและขายที่ได้เปรียบให้กับนักลงทุนได้ด้วย ซึ่งกว่าจะมาเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ได้จริงนั้นก็มีรายละเอียดที่เราจำเป็นต้องสนใจ และคราวนี้เราก็จะมาลงรายละเอียดในเรื่องนี้ให้ทุกคนได้นำไปใช้กันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้างในการเทรด?

แนวรับแนวต้านเป็น ความพยายามการคาดการณ์ การเคลื่อนที่ของราคาเพื่อหาโซนเข้าทำรายการ (Action Zone) ที่ได้เปรียบ โดยใช้เครื่องมือทางกราฟเทคนิคเป็นตัวช่วย โดยที่


  • โซนของแนวรับ (Area of Support) คือ โซนของราคาที่แนวโน้มก่อนหน้าเป็นขาลง แล้วมีแนวโน้มที่จะหยุดลงหรือกลับตัวเป็นขาขึ้น 


  • โซนของแนวต้าน (Area of Resistance) คือ โซนของราคาที่แนวโน้มก่อนหน้าเป็นขาขึ้น แล้วมีแนวโน้มที่จะหยุดหรือกลับตัวเป็นขาลง


แนวรับและแนวต้านที่แข็งแกร่งมักมีการถูกทดสอบหลายครั้งด้วยปริมาณการซื้อขายจำนวนมาก จนแนวรับที่แข็งแกร่งนี้ถูกเบรคเอาท์ก็จะกลายเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับที่หากแนวต้านที่แข็งแกร่งถูกเบรคเอาท์ก็จะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกัน


ตัวอย่างแนวรับแนวต้าน


การหาแนวรับแนวต้านนี้เป็นวิธีทางเทคนิคที่ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ก็สามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิดทั้งทางเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา เช่น


- อธิบายด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์

ในทางเศรษฐาสตร์ราคาปรับขึ้นลงได้เพราะความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) โดยระดับราคาใดที่มีแรงขายส่วนเกิน (Excess Supply) จะกดดันให้ราคาต่ำลง และระดับราคาใดที่มีแรงซื้อส่วนเกิน (Excess Demand) จะกดดันให้ราคาปรับตัวขึ้น ดังนั้นเราจะสามารถอธิบายแนวรับแนวต้านด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ว่า


* แนวรับ (Support) เกิดขึ้นใน แนวโน้มราคาขาลง ซึ่งมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อ (Excess Supply) มาตลอด จนกดดันให้ราคาต่ำลงเรื่อย ๆ จนถึงระดับราคาหนึ่งที่ความต้องการซื้อสามารถชดเชยแรงขายได้อย่างสมดุล ราคาก็จะหยุดลงจนเกิดเป็นแนวรับที่ราคาจะไม่ไหลลงต่อและกลายเป็นโซนเข้าทำรายการของนักเทรด 


* แนวต้าน (Resistance) เกิดขึ้นใน แนวโน้มราคาขาขึ้น ซึ่งมีแรงซื้อมากกว่าแรงขาย (Excess Demand) มาตลอด จนผลักดันให้ราคาปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับราคาหนึ่งที่ความต้องการขายสามารถชดเชยแรงซื้อได้อย่างสมดุล ราคาก็จะหยุดขึ้นจนเกิดเป็นแนวต้านที่เราคาจะไม่พุ่งขึ้นต่อและกลายเป็นอีกหนึ่งโซนเข้าทำรายการของนักเทรดได้


- อธิบายด้วยแนวคิดทางจิตวิทยา

 ในทางจิตวิทยามองว่าแนวรับและแนวต้านเกิดจากจิตใจและอารมณ์ของผู้ที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ซึ่งมองว่าแนวรับแนวต้านนี้คือจุดที่เป็นปราการหรือแนวที่ราคาจะไม่สามารถปรับตัวไปต่อได้ แต่จะมีการหยุดแนวโน้มก่อนหน้าหรือแม้แต่เปลี่ยนแนวโน้มไปได้ ซึ่งในตลาดจะแบ่งผู้ซื้อขายออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ


  1. กลุ่มที่ซื้อและรอให้ราคาปรับตัวขึ้น

  2. กลุ่มที่ขายและรอให้ราคาปรับตัวลง

  3. กลุ่มที่มือว่าง-ยังไม่มีสถานะ และกำลังรอเพื่อทำรายการ


* แนวรับ (Support) เกิดขึ้นเมื่อราคาปรับลงมาที่ ณ ระดับราคาหนึ่งที่คนในตลาดมองว่าราคาจะไม่ต่ำไปกว่านี้แล้ว กลุ่มคนที่ซื้อมาก่อนจะไม่ลังเลที่จะซื้อเพิ่มเพราะมองว่าราคาจะยังดีดกลับขึ้นไปได้ ขณะที่ ณ ระดับราคาเดียวกันนั้นคนที่ขาย (Short) ไปแล้วก็มองว่าเป็นจุดที่ต้องซื้อกลับ (Buy to Cover) เพราะราคาสามารถดีดกลับได้ และสำหรับคนที่ไม่มีสถานะก็มองว่าเป็นจุดที่น่าเข้าซื้อ ทำให้ ณ ระดับราคานี้มีแรงซื้อกลับเข้ามาและกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งได้ในทางจิตวิทยา


* แนวต้าน (Resistance) เกิดขึ้นเมื่อราคาเริ่มปรับตัวขึ้นไปถึง ณ ระดับราคาหนึ่งและทุกคนในตลาดเห็นตรงกันว่าราคาจะไม่ปรับเพิ่มไปกว่านี้แล้ว คนที่ซื้อมาก่อนหน้ามีแนวโน้มที่จะขายหุ้นออกมา ขณะที่คนที่ขายหุ้นมาก่อนหน้านี้แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเฉลี่ยขาย (Short) เพิ่ม ส่วนคนที่ไม่มีสถานะก็สามารถขาย (Short) ได้ ทำให้จุดนี้มีแรงกดดันราคาให้ไม่สามารถไปต่อได้ และกลายเป็นแนวต้านทางจิตวิทยาในที่สุด


ซึ่งจุดที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นแนวรับแนวต้านทางจิตวิทยาเช่น จุดสูงสุด-ต่ำสุดของรอบ ค่าเฉลี่ยของรอบการซื้อขาย หรือจุดที่เป็นตัวเลขกลม ๆ เป็นต้น

5 เทคนิคการหาแนวรับแนวต้านที่นักเทรดควรรู้

หลังจากทำความรู้จักกับแนวรับแนวต้านว่าคืออะไรกันไปแล้ว คราวนี้ก็ลองมาดูกันต่อเลยว่าเราจะมีเครื่องมือทางเทคนิคอะไรบ้างที่สามารถช่วยหาแนวรับแนวต้านอย่างง่ายเพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับการเทรดได้บ้าง


1. การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นแนวโน้ม (Trendline)

การหาแนวรับแนวต้านในกรอบอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นแนวโน้ม (Trend) การดูแนวรับแนวต้านด้วยตาเปล่าอาจเป็นเรื่องยาก จึงจำเป็นต้องตีเส้นแนวโน้ม (Trendline) เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น 


การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นแนวโน้มในกราฟราคาขาขึ้น (Up Trend)


* การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นแนวโน้มในกราฟราคาขาขึ้น (Up Trend) ทำได้ด้วยการตีเส้นแนวโน้มผ่านจุดต่ำที่ยกสูง (Higher Low) เข้าด้วยกันกลายเป็น แนวรับ และการตีเส้นแนวโน้มผ่านจุดสูงสุด (Higer High) เข้าด้วยกัน กลายเป็น แนวต้าน 


การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นแนวโน้มในกราฟราคาขาลง (Down Trend)


* การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นแนวโน้มในกราฟราคาขาลง (Down Trend) ทำได้ด้วยการตีเส้นแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower High) เข้าด้วยกันกลายเป็น แนวต้าน และการตีเส้นแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Low) เข้าด้วยกัน กลายเป็น แนวรับ


2. การหาแนวรับแนวต้านด้วยตัวเลขกลม ๆ (Round Number)

การหาแนวรับแนวต้านด้วยตัวเลขกลม ๆ (Round Number)


แนวต้านที่เป็นตัวเลขกลม ๆ (Round Number) คือตัวเลขที่ลงท้ายด้วย 0 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีผลทางจิตวิทยา นั่นคือหากตัวเลขมีการปรับขึ้นหรือลงกว่านั้นจะมีผลให้ความรู้สึกของคนเปลี่ยนไปมากกว่าปกติ เช่น 


  • การปรับลงของราคามาที่ $10 จะถูกมองว่าเป็นแนวรับ เพราะหากราคาปรับตัวต่ำลงไปกว่านี้เป็น $9 จะถูกมองว่าหน่วยเปลี่ยนไปและเป็นราคาที่ถูก ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นจุดซื้อที่คนเห็นร่วมกัน


  • การปรับขึ้นของราคาจาก $99 เป็น $100 ซึ่งแม้จะเป็นการปรับเพิ่มแค่ $1 แต่ก็ทำให้คนมองว่าราคาแพงและเชื่อว่าราคาจะผ่านไปได้ยาก ทำให้จุดนี้กลายเป็นแนวต้านทางจิตวิทยาคนมีแนวโน้มจะขายออกมา


3. การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) 

    เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เกิดจากการนำราคาปิดย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 5 ของกราฟรายวัน จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 5 วัน ซึ่งสามารถมองคร่าว ๆ ได้ว่าเป็นต้นทุนเฉลี่ยของคนที่ซื้อขายในช่วง 5 วันที่ผ่านมา ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยสามารถถูกมองเป็นแนวรับแนวต้านได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลา (Timeframe) ที่มีนัยยะ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 วันที่หมายถึงช่วงเวลาครึ่งเดือน หรือ เส้นค่าเฉลี่ย 52 สัปดาห์ที่หมายถึงช่วงเวลา 1 ปี


การหาแนวรับแนวต้านด้วยเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)


* การใช้เส้นค่าเฉลี่ยในกราฟราคาขาขึ้น (Up Trend) จะใช้ได้เฉพาะเป็นแนวรับ (Support) เนื่องจากในแนวโน้มราคาขาขึ้น ราคามักจะปรับตัวสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเสมอ


* การใช้เส้นค่าเฉลี่ยในกราฟราคาขาลง (Down Trend) จะใช้ได้เฉพาะเป็นแนวรับ (Resistance) เนื่องจากในแนวโน้มราคาขาลง ราคามักจะเคลื่อนไหวอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยเสมอ


4. การหาแนวรับแนวต้านด้วยฟิโบนักชี (Fibonacci) 

ฟิโบนักชี (Fibonacci) หรือ สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) เป็นลำดับตัวเลขที่เป็นผลรวมของตัวเลขสองตัวก่อนหน้าจนไปถึงค่าอนันต์ ได้แก่  0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377… เชื่อกันว่าสัดส่วนเหล่านี้สามารถพบได้ในธรรมชาติและงานศิลปะที่ได้รับการยอมรับ ชุดตัวเลขเหล่านี้จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของนักเทรด นั่นคือ Fibonacci Retracement


Fibonacci Retracement เป็นชุดเส้นแนวนอนที่มาพร้อมกับสัดส่วน 23.6%, 38.2%, 61.8%, และ 78.6% เชื่อกันว่าการดีดกลับของราคามักมีสัดส่วนตาม Golden Ration นี้ ดังนั้นนักเทรดจึงสามารถนำตัวเลขฟิโบนักชีมาประกอบการหาแนวรับแนวต้านของราคาได้ เช่น 


หุ้นที่เป็นขาขึ้นราคา $10 เมื่อปรับลง 23.6%มาที่ $7.64 จะเป็นแนวรับแรกที่นักเทรดมองว่าเป็นจุดที่น่าซื้อ

 

ในทางกลับกัน หากหุ้นเป็นขาลงมาทดสอบราคา $100 แล้วรีบาวน์ เมื่อราคาดีดกลับไปที่ $123.6 (+23.6%) ก็เป็นแนวต้านแรกที่นักลงทุนมองว่าเป็นจุดที่ควรขาย เป็นต้น



การหาแนวรับแนวต้านด้วยฟิโบนักชี (Fibonacci)


5. การหาแนวรับแนวต้านด้วยช่องว่างราคา (Window Gap)

ช่องว่างราคา (Window Gap) คือ ช่วงราคาที่ไม่มีการซื้อขาย เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างฉับพลันทำให้ราคากระโดดขึ้นหรือลงโดยเว้นช่องว่างจากราคาก่อนหน้า สามารถแบ่งออกได้เป็น


  • Breakaway Gap คือช่องว่างราคาที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม เช่น จากไซด์เวย์เป็นขาขึ้น มักเกิดขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายจำนวนมาก 


  • Runaway Gap หรือ Common Gap เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ทำให้เทรนเปลี่ยนไป มีปริมาณการซื้อขายไม่มาก มักมีการปรับตัวของราคามาปิดช่องว่างที่เปิดไว้ แต่ไม่ย้อนเกินช่องว่างที่เคยเปิดไว้


  • Exhaustion Gap มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายของแนวโน้มที่เป็นขาขึ้นหรือขาลงที่แข็งแรง พร้อมกับเกิดความขัดแย้งของอินดิเคเตอร์ที่บ่งชี้ความแข็งแรงของแนวโน้ม เมื่อเกิดการเปิดช่องว่างแล้วมักไหลลงมาปิดแล้วราคาไม่กลับไปเคลื่อนไหวในแนวโน้มเดิม แต่เปลี่ยนกลับเป็นแนวโน้มฝั่งตรงข้ามไปเลย การใช้แนวรับแนวต้านกับกรณีนี้มักไม่เป็นผล


ในทางจิตวิทยาช่องว่างราคาของ Breakaway Gap และ Runaway Gap มักเป็นช่วงราคาที่คนไม่ซื้อขาย ทำให้สามารถถูกมองเป็นแนวรับแนวต้านได้ นั่นคือ


* ในแนวโน้มราคาขาขึ้น ราคากระโดดเปิดช่องว่างไว้ แล้วย้อนกลับลงมาทดสอบโดยไม่ปิดช่องว่าง จากนั้นสามารถปรับตัวขึ้นไปต่อได้ จะหมายความว่าช่องว่างนี้เป็นแนวรับสำคัญที่แข็งแรงได้


* ในแนวโน้มราคาขาลง ราคาหลุดลงไปโดยเปิดช่องว่างไว้ แล้วรีบาวน์กลับขึ้นมาโดยไม่ปิดช่องว่าง จากนั้นราคาไหลลงต่อ จะหมายความว่าช่องว่างนี้เป็นแนวต้านสำคัญที่นักลงทุนควรขายหุ้นออกไปนั่นเอง


การหาแนวรับแนวต้านด้วยช่องว่างราคา (Window Gap)


การประยุกต์ใช้แนวรับแนวต้านกับการเทรด

เมื่อเราหาแนวรับแนวต้านของกราฟราคาได้เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะเตรียมกลยุทธ์สำหรับการเทรดที่อ้างอิงกับแนวรับแนวต้าที่หามาได้ดังนี้


 1. การเทรดในกรอบ (Trading Range)

การเทรดในกรอบ (Trading Range หรือ Side way) เป็นกลยุทธ์ใช้ได้กับราคาที่มีแนวโน้มไม่ชัดเจน แต่มีการเคลื่อนไหวในกรอบ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกรอบแนวรับแนวต้านทั่วไป และกรอบที่มีลักษณะเป็นรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) หรือแบบธง (Flag) 


กลยุทธ์ที่ใช้สำหรับแนวรับแนวต้านรูปแบบนี้ คือ การซื้อที่แนวรับ-ขายที่แนวต้าน และระมัดระวังการเปลี่ยนแนวโน้ม


การเทรดในกรอบ (Trading Range)


2. การเทรดเมื่อราคากลับตัว (Price Reversal)

การเทรดเมื่อราคากลับตัว (Price Reversal) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้กับการเคลื่อนไหวของราคาที่มีลักษณะเป็นแนวโน้ม เช่น


* กราฟราคาที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น เมื่อชนกับแนวต้าน มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนกลับเป็นขาลง และกลยุทธ์สำหรับแนวรับแนวต้านนี้ทำได้ด้วยการ ขายที่แนวต้าน


* กราฟราคาที่มีแนวโน้มเป็นขาลง เมื่อชนกับแนวรับ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น และกลยุทธ์สำหรับแนวรับแนวต้านนี้ทำได้ด้วยการ ซื้อที่แนวรับ


การเทรดเมื่อราคากลับตัว (Price Reversal)


3. การเทรดเมื่อราคาเบรคเอาท์ (Breakout) 

การเทรดเมื่อราคาเบรคเอาท


 รูปแบบราคาแบบเบรคเอาท์ (Breakout) มักเป็นรูปแบบที่ตามมาจากการแกว่งตัวของราคาในกรอบ (Side way) ที่ตามมาด้วยการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างรุนแรงจนทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้านที่มีอยู่ไปได้พร้อมปริมาณการซื้อขายจำนวนมาก 


* การเบรคเอาท์ของราคาขาขึ้น จะเกิดขึ้นหลังจากมีการทดสอบแนวต้านหลายครั้งจนถูกมองว่าเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง หลังจากนั้นราคาจะทะลุผ่านแนวต้าน (Breakout) อย่างรุนแรง ณ จุดนี้แนวต้านที่เคยแข็งแกร่งจะเปลี่ยนกลับไปเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง และราคามีแนวโน้มที่จะตกกลับมาทดสอบแนวรับใหม่จึงค่อยปรับตัวขึ้นอย่างแท้จริง 


กลยุทธ์สำหรับการเบรคเอาท์ของราคาขาขึ้นทำได้ด้วยการ ซื้อ เมื่อราคาทะลุผ่านแนวต้น หรือ ซื้อ เมื่อราคาตกกลับมาทดสอบแนวรับใหม่แล้วไม่หลุดกลับลงไป


* การเบรคเอาท์ของราคาขาลง จะเกิดขึ้นหลังจากมีการทดสอบแนวรับหลายครั้งจนถูกมองว่าเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง หลังจากนั้นราคาจะหลุดแนวรับ (Breakout) อย่างรุนแรง ณ จุดนี้แนวรับที่เคยแข็งแกร่งจะเปลี่ยนกลับไปเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง และราคาที่ตกลงไปมีแนวโน้มที่จะรีบาวน์กลับมาทดสอบแนวต้านใหม่นี้อีกครั้งจึงค่อยปรับตัวลงอย่างแท้จริง 


กลยุทธ์สำหรับการเบรคเอาท์ของราคาขาลงทำได้ด้วยการ ขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับ หรือ ขาย เมื่อราคารีบาวน์กลับมาทดสอบแนวต้านใหม่แล้วไม่ทะลุผ่านกลับขึ้นไป

ข้อควรระวังของการใช้แนวรับแนวต้านในการเทรด

สำหรับการใช้แนวรับแนวต้านในการเทรดก็ยังมีข้อควรระวังที่ทำให้นักลงทุนพลาดได้ นั่นคือ


1. ระมัดระวังการเทรดสวนเทรน   

ยังคงจริงเสมอกับคำกล่าวที่ว่าแนวโน้มคือเพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุน (Trend is your friend) เพราะแม้นักลงทุนจะเข้าทำรายการผิดจุดแต่ก็จะสามารถกู้สถานการณ์ขึ้นมาได้เสมอ เช่น ในแนวโน้มขาขึ้น การซื้อหุ้นที่จุดสูงสุดก็อาจเป็นแค่จุดสูงสุดชั่วคราว แต่ในแนวโน้มขาขึ้นราคาจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น


ในทางตรงกันข้าม หากนักลงทุนเปิดสถานะขาย (Short) ในแนวโน้มขาขึ้น แม้จะทำรายการได้ที่แนวต้านที่เป็นจุดสูงสุดของรอบ แต่ก็อาจเป็นแค่จุดสูงสุดชั่วคราวแล้วราคาสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นผลขาดทุนจำนวนมากได้

 

ดังนั้น แม้จะใช้แนวรับแนวต้านช่วยหาจุดเข้าทำรายการที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ควรขายที่แนวต้านในแนวโน้มขาขึ้น และซื้อที่แนวรับในแนวโน้มขาลงโดยไม่มีการควบคุมความเสี่ยงที่ดีพอ


2. ระมัดระวังการเทรดบนแนวรับแนวต้านที่มีการทดสอบจำนวนมาก   

การเทรดด้วยแนวรับแนวต้านมักมีความแม่นยำกับแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งและผ่านการทดสอบมาหลายครั้ง แต่นักลงทุนก็ควรระลึกไว้เสมอว่าในรูปแบบราคาที่กำลังดำเนินอยู่มีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยิ่งแนวรับแนวต้านนั้นเกิดขึ้นเป็นเวลานานเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่เทรนใหม่กำลังจะเกิดขึ้นมีมากเท่านั้น ไม่ควรเทรดเพลินและลืมควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผิดแผนได้


3. ระมัดระวังการเบรคของราคาที่ไม่จริง (False Breakout)

การเบรคของราคาที่ไม่จริง (False Breakout) เกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนที่ทะลุผ่านแนวรับแนวต้านไปแล้ว แต่ไม่ได้เกิดเทรนใหม่เพราะเหวี่ยงกลับเข้ามาเคลื่อนที่ในกรอบเดิม ทำให้กลยุทธ์ซื้อ/ขายเมื่อราคาเบรคเอาท์ก่อให้เกิดความเสียหายกับพอร์ตการลงทุน


การสังเกตง่าย ๆ สำหรับการเบรคที่ไม่จริงมักมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขาย (Volume) ที่เบาบาง ซึ่งหมายความว่าเป็นเพียงแค่การกระชากราคาขึ้นไป แต่ไม่ได้ถูกยืนยันด้วยนักเทรดคนอื่น ๆ ในตลาด ทำให้ราคาไม่สามารถทะลุผ่านแนวรับแนวต้านนั้นไปได้อย่างแท้จริง ซึ่งหากนักลงทุนคนไหนที่เสี่ยงทำรายการ (Bet) ด้วยกลยุทธ์ซื้อขายเมื่อราคาทะลุแนวรับแนวต้านก็ควรมีจุดตัดขาดทุนที่ราคาจะต้องไม่ย้อนกลับลงมาด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเบรคของราคาที่ไม่จริงนี้เอง

บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >>>

· EMA คืออะไร

· RSI คืออะไร

· Stochastic Oscillator คืออะไร


บทสรุป

และนี่ก็คือบทความที่เรานำมาตอบคำถามที่ว่าแนวรับแนวต้านคืออะไร ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงการประยุกต์ใช้ ใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้วก็ไม่ควรรู้ไว้เฉย ๆ แต่การทดลองและสังเกตจากสถานการณ์จริงจะช่วยให้เห็นภาพและการประยุกต์ใช้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในแบบที่ยิ่งฝึกบ่อยยิ่งชำนาญเลยทีเดียว

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2568คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2568 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 19 พ.ค. 2023
คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2568 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
placeholder
วิธีอ่านกราฟแท่งเทียนในการเทรด Forex สำหรับมือใหม่หากคุณต้องการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในการเทรด Forex การอ่านกราฟแท่งเทียนให้แตกฉานถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกราฟแท่งเทียนเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานที่คุณสามารถพบได้บนทุกแพลตฟอร์ม และเทรดเดอร์หลายคนสามารถทำกำไรก้อนโตจากฟอเร็กซ์โดยอาศัยเพียงการอ่านกราฟแท่งเทียนเพียงอย่างเดียว บทความนี้จะสอนวิธีการอ่านกราฟแท่งเทียนในการเทรด Forex หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเทรดเดอร์มือใหม่ทุกท่านนะครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 26 ก.ค. 2023
หากคุณต้องการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จในการเทรด Forex การอ่านกราฟแท่งเทียนให้แตกฉานถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกราฟแท่งเทียนเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานที่คุณสามารถพบได้บนทุกแพลตฟอร์ม และเทรดเดอร์หลายคนสามารถทำกำไรก้อนโตจากฟอเร็กซ์โดยอาศัยเพียงการอ่านกราฟแท่งเทียนเพียงอย่างเดียว บทความนี้จะสอนวิธีการอ่านกราฟแท่งเทียนในการเทรด Forex หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเทรดเดอร์มือใหม่ทุกท่านนะครับ
placeholder
ตลาด Forex เปิดกี่โมง(เวลาไทย)และเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด Forexการประสบความสำเร็จในการเทรด Forex คุณจำเป็นจำต้องรักษาสมดุลระหว่างหลักการและกลยุทธ์ หากพยายามมองเกมในมุมสูงคุณอาจจะเห็นภาพรวม แต่ก็อาจจะตกมาเจ็บก็ได้ ดังนั้นการมองหลายๆ ด้านถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของ VI โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่าง “เวลา” ในการเปิดปิดของตลาด Forex ในแต่ละประเทศ ซึ่งหากคุณมองข้อได้เปรียบจากจุดนี้ออกคุณจะทราบช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำกำไรของคุณ และแน่นอนสำหรับเวลาที่เสี่ยงที่สุดที่คุณควรหลีกเลี่ยง เวลาในแต่ละตลาดจะต่างกันไปตามโซนทวีปซึ่งผลจะอธิบายโดยอ้างอิงตามเวลาไทยเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน นอกจากนี้เราจะไปติดตามผลกระทบของข่าวในตลาด Forex ว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างกำไรได้อย่างไรอีกด้วย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
การประสบความสำเร็จในการเทรด Forex คุณจำเป็นจำต้องรักษาสมดุลระหว่างหลักการและกลยุทธ์ หากพยายามมองเกมในมุมสูงคุณอาจจะเห็นภาพรวม แต่ก็อาจจะตกมาเจ็บก็ได้ ดังนั้นการมองหลายๆ ด้านถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของ VI โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่าง “เวลา” ในการเปิดปิดของตลาด Forex ในแต่ละประเทศ ซึ่งหากคุณมองข้อได้เปรียบจากจุดนี้ออกคุณจะทราบช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำกำไรของคุณ และแน่นอนสำหรับเวลาที่เสี่ยงที่สุดที่คุณควรหลีกเลี่ยง เวลาในแต่ละตลาดจะต่างกันไปตามโซนทวีปซึ่งผลจะอธิบายโดยอ้างอิงตามเวลาไทยเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน นอกจากนี้เราจะไปติดตามผลกระทบของข่าวในตลาด Forex ว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างกำไรได้อย่างไรอีกด้วย
placeholder
Forex เล่นยังไง? วิธีเทรด Forex สำหรับมือใหม่ 2567Forex เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีปริมาณการซื้อขายสูงชนิดหนึ่งของโลก ในปี 2566 ตลาด Forex มีปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนต่อวันกว่า $6.6 ล้านล้าน ด้วยสภาพคล่องจำนวนมากและเครื่องมือในการเทรด Forex ที่หลากหลายจึงเปิดโอกาสให้นักเทรดหลากหลายกลุ่มเข้มาแสวงหากำไรจากตลาดนี้ได้ไม่ยาก คราวนี้เราจะจึงมาดูกันว่า Forex เล่นยังไง? และสำหรับนักเทรดทั่วไปจะมีวิธีเทรด Forex ได้อย่างไรบ้าง?
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
Forex เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีปริมาณการซื้อขายสูงชนิดหนึ่งของโลก ในปี 2566 ตลาด Forex มีปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนต่อวันกว่า $6.6 ล้านล้าน ด้วยสภาพคล่องจำนวนมากและเครื่องมือในการเทรด Forex ที่หลากหลายจึงเปิดโอกาสให้นักเทรดหลากหลายกลุ่มเข้มาแสวงหากำไรจากตลาดนี้ได้ไม่ยาก คราวนี้เราจะจึงมาดูกันว่า Forex เล่นยังไง? และสำหรับนักเทรดทั่วไปจะมีวิธีเทรด Forex ได้อย่างไรบ้าง?
placeholder
เทรด forex โบรกไหนดี?10 อันดับโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือในปี 2025คราวนี้เรามาชวนคุยเรื่องโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือ และนำเสนอ 10 อันดับโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือให้เพื่อน ๆ ได้ลองพิจารณากัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
คราวนี้เรามาชวนคุยเรื่องโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือ และนำเสนอ 10 อันดับโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือให้เพื่อน ๆ ได้ลองพิจารณากัน
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์