ซื้อกองทุนอะไรดี แนะนำ 10 กองทุนรวมที่น่าซื้อปี 2566
อยากวางแผนออมเงินในระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินประจำจะต้องทำอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนที่มีความสนใจที่เริ่มอยากจะวางแผนการเงินหรือมองหาช่องทางการสร้างรายได้ให้สูงขึ้น โดยให้เงินทำงานเพียงแต่อย่างเดียว นั่นก็คือวิธีการออมเงินใน ”กองทุนรวม” และเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับ “กองทุนรวมคืออะไร” พร้อมทั้งแนะนำ 10 กองทุนรวมที่น่าซื้อในปี 2566 ใครที่กำลังมองหาว่าจะ ซื้อกองทุนอะไรดี ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้เลยค่ะ
กองทุนรวมคืออะไร
กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ การระดมเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยมารวมเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ จากนั้นก็นำเงินก้อนดังกล่าวเข้าไปลงทุนตามนโยบายที่กองทุนรวมนั้นๆ กำหนดไว้ โดยมี บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หรือ “ผู้จัดการกองทุน” ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่ช่วยบริหารจัดการเงินของกองทุนเพื่อให้เกิดกำไร
นอกจากนี้กองทุนรวมจะมีความเสี่ยงหลายระดับ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับความที่ 1- 8 ตามลำดับ ทั้งนี้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งก่อนลงทุนในกองทุนรวมจะมีแบบสอบถามให้ทำเพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของนักลงทุนทุกครั้ง
กองทุนรวมถือว่าเป็นอีกทางเลือกอีกหนึ่งรูปแบบที่เหมาะสมกับนักลงทุนมือใหม่และผู้มีเงินทุนน้อยเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าบางกองทุนรวมเริ่มต้นเพียงแค่เงิน 1 บาทเท่านั้น ดังนั้นหากคุณอยากจะออมเงินในระยะยาวและได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากประจำ การออมเงินในกองทุนรวม อาจจะเป็นวิธีการลงทุนที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับคุณก็เป็นได้
ประเภทของกองทุนรวม
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่ากองทุนรวมนั้นมีความเสี่ยงหลายระดับ ประเด็นนี้จะเป็นการแนะนำ ”ประเภทของกองทุนรวม” โดยกองทุนรวมที่มีการซื้อขายในประเทศไทยนั้นจะมีอยู่ 8 ประเภท แบ่งตามระดับความเสี่ยงจากต่ำสุดไปจนถึงความเสี่ยงสูงสุด โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กองทุนรวมตลาดเงิน
เป็นกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงต่ำที่สุด เนื่องจากว่าเป็นรูปแบบการลงทุนในเงินฝาก ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี แน่นอนว่าการลงทุนในกองทุนรวมลักษณะนี้ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนน้อยเช่นกัน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่มีความสามารถในการรับเสี่ยงระดับต่ำมาก
2. กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ
เป็นรูปแบบการลงทุนที่คล้ายกันกับการลงทุนในรูปแบบที่ 1 แต่มีความต่างกันคือกองทุนประเภทนี้จะมีการนำเงินทุนไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะมีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามทางกองทุนรวมประเภทนี้ได้มีการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนไว้อยู่แล้ว
3. กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
คือ รูปแบบการลงทุนที่นำเงินทุนไปปล่อยกู้ให้รัฐบาล หรือที่เรารู้จักกันอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล โดยจะมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี และมีความผันผวนในเรื่องของราคามากกว่ากองทุน 2 ประเภทแรก
4. กองทุนรวมตราสารหนี้
คือ ลักษณะการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชน สามารถลงทุนได้ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ตัวอย่างรูปแบบการลงทุนตราสารหนี้ที่เรารู้จัก ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน โดยกองทุนประเภทนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง คาดหวังผลตอบแทนที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอ และผู้ที่ต้องการกะจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนนั่นเอง
5. กองทุนรวมผสม
คือ รูปแบบการลงทุนแบบผสมทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน หรือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆรวมเข้าด้วยกัน สัดส่วนของกองทุนนั้นจะลงทุนในตลาดไหนมากกว่านั้น จะต้องพิจารณา “นโยบายการลงทุน” อีกที ซึ่งการลงทุนในกองทุนประเภทนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางจนถึงระดับสูง
6. กองทุนรวมตราสารทุน
จะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกองทุนประเภทนี้เราจะรู้จักกันในกองทุนแบบ SSF และ RMF นั่นเอง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงในระดับสูงได้ มีความรู้และความใจในตลาดหุ้นเป็นอย่างดี แต่ไม่มีเวลาบริหารพอร์ตการลงทุนของตัวเอง
7. กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม
คือ รูปแบบการลงทุนในกลุ่มหุ้นอุตสาหกรรมเป็นหลัก อาทิ หุ้นธนาคาร หุ้นพลังงาน หรือ หุ้นพยาบาล เป็นต้น
โดยกองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูง ในขณะเดียวก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ลงทุนจำเป็นความรู้เกี่ยวกับหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆ และสามารถรับความเสี่ยงในระดับที่สูงได้เป็นอย่างดี
8. กองทุนรวมทางเลือก
ลักษณะกองทุนรวมประเภทนี้ จะต้องมีพื้นความเข้าใจระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่ามีความเสียงสูงสุด เป็นการนำเงินทุนเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงและมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน ตัวอย่างการลงทุนในกองทุนรวมทางเลือก ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียในการลงทุนกองทุน
ก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม เราจะต้องมาทำการพิจารณาในด้านข้อดีที่เราจะได้รับ และข้อเสียที่เราจะต้องระวังจากการลงทุนในแต่ละครั้ง โดยทางผู้เขียนได้รวบรวมประเด็นดังกล่าวมาทุกท่านได้ศึกษากัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
▲ ข้อดีของกองทุนรวม
1. มีผู้เชี่ยวชาญและทีมงานคอยดูแลการลงทุน
จะมีผู้จัดการกองทุนรวม (Fund Manager) ทำหน้าบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท ทั้งนี้ยังเป็นบุคคลที่มีประสบการ์ณโดยตรงสามารถวิเคราะห์การตลาดได้เป็นอย่างดี
2. มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย
ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเลือกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้อย่างสบาย เพียงแค่เลือกระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง เนื่องจากว่าแต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว
3. มีสภาพคล่องในการซื้อ-ขาย
อีกข้อดีของกองทุนรวม ก็คือ มีสภาพคล่องในการขายคืนเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินอย่างกระทันหัน โดยส่วนมากจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุนที่เราเลือก
4. ใช้เงินลงทุนน้อย
การลงทุนในกองทุนรวม มีเงินหลักร้อยก็สามารถเข้าลงทุนได้ เพราะบางกองทุนเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ 1 บาท หรือขั้นต่ำ 500 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆ โดยแต่ละครั้งที่เข้าลงทุนไม่จำเป็นต้องลงทุนในแต่ละเดือนเท่ากันก็ได้ สามารถลงทุนตามยอดเงินที่เราสะดวก
▲ ข้อเสียของกองทุนรวม
1. ค่าธรรมเนียม
ประเด็นแรกที่เราต้องคำนึงในก็คือค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายกองทุนรวม เนื่องจากว่าค่าธรรมเนียมคือตัวแปรหนึ่งที่สามารถทำให้เราได้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าที่ควร ทั้งนี้กองทุนรวมประเภท Active ก็จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่เพียงกว่ากองทุนในรูปแบบอื่นๆ ดังนั้นนักลงทุนจะต้องอ่านรายละเอียดในหนังสือชี้ชวนก่อนลงทุนให้ละเอียด
2. ไม่มีสิทธิ์ในการเสนอความคิดเห็น
แม้ว่ากองทุนรวมที่เราทำการลงทุนจะมีเม็ดเงินของเราอยู่ในนั้น แต่เราก็สามารถเสนอความคิดเห็นต่างๆได้ ไม่สามารถกำหนดทิศทางการลงทุนได้ เนื่องจากว่าการลงทุนในกองทุนรวม จะมีผู้จัดการกองทุน คอยดำเนินการอยู่นั่นเอง
3. ความเสี่ยงในเรื่องของผลตอบแทน
ในการลงทุนทุกครั้งเราอาจจะสูญเสียเงินเล็กน้อยและเราอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนในจำนวนที่แน่นอนตามที่เราคาดหวังไว้ เนื่องจากว่าอาจจะมีความผันผวนในเรื่องของตลาดและความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบกองทุนรวมนั้นๆ
กองทุนที่ดี ดูยังไง เลือกยังไง
ปัจจัยสำคัญที่เราจะต้องทำก่อนที่จะตัดสินใจเข้าลงทุนในกองทุนรวม นั่นก็คือการมองหา “กองทุนที่ดี” ที่เหมาะสมสำหรับตัวเรา ซึ่งในประเด็นนี้ทางผู้เขียนได้ทำการแนะนำทริค 3 ข้อหลักๆ เกี่ยวกับวิธีการเลือกกองทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เลือกกองทุนรวมที่ตรงตามเป้าหมายการลงทุนของตัวเอง
กองทุนที่ดี คือ กองทุนที่เหมาะสมกับตัวผู้ลงทุนนั่นเอง แก่นหลักของการเลือกกองทุน ก็คือ การกำหนดเป้าหมายการลงทุนของตัวเองให้แน่ชัดว่าเราจะลงทุนในรูปแบบไหน เช่น
ลงทุนในระยะสั้น : ควรเลือกกองทุนเป็นรายตัว รู้ว่าสินทรัพย์นั้นสัมพันธ์กับ catalyst อย่างไร จะได้จัดพอร์ตให้เข้าใจง่ายขึ้น
ลงทุนเพื่อสะสมเงินก้อน เป้าหมายระยะกลาง/ยาว : ผู้ลงทุนควรที่จะกระจายความเสี่ยงภายในพอร์ตของตัวเอง อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ 30% และ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง 70% หรือสามารถแบ่งสัดส่วนได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง
2. ทำความเข้าใจในกองทุนว่ามีการบริหารจัดการลงทุนอย่างไร
สิ่งสำคัญอีกข้อก็คือผู้ลงทุนจะต้องทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจในกองทุนที่เราตัดสินใจลงทุนว่ากองทุนดังกล่าวนั้นนำเงินทุนของเราไปลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบไหน เช่น เงินสด ตราสารหนี้ หุ้น ทรัสต์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือสินทางเลือกอื่นๆ เนื่องจากว่าสินทรัพย์แต่ละรูปแบบจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
3. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกองทุน
หลังจากที่เราทราบแล้วว่ากองทุนที่เราสนใจมีการบริหารจัดการหรือลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดนั้น ในลำดับต่อมาก็คือเราจะต้องทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน นั่นก็คือ การศึกษารายละเอียดในหนังสือชี้ชวนหรือ“Fund Fact Sheet” ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่นักลงทุนทุกท่านจำเป็นที่จะต้องอ่านก่อนที่จะทำการตัดสินใจซื้อกองทุนนั้นๆ
ซื้อกองทุนอะไรดี 10 อันดับ กองทุนรวม ที่น่าสนใจปี 2566
วันนี้ทางผู้เขียนได้ทำการคัดสรร 10 อันดับ กองทุนรวม ที่น่าสนใจในปีนี้มาให้ทุกคนได้พิจารณากัน โดยได้มีการอ้างอิงมาจาก morningstarthailand.com ที่เป็นเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมไว้มากมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
กองทุนรวม | ผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 |
1AMSET50-RA | 0.0055 |
(70/30-D LTF) | -4.16% |
1US-OPP | 10.99% |
ABEG | 10.22% |
ABPCAP-A | 9.97% |
ABSM | 4.51% |
AFMOAT-HA | 14.15% |
ASP-DIGIBLOC-SSF | 82.39% |
SCBSEMI (SSFE) | 42.21% |
DAOL-CYBER | 36.10% |
1.กองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป (1AMSET50-RA)
กองทุนรวมประเภทตราสารทุน มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 เป็นกองทุนที่มีนโยนบายการลงที่เน้นลงทุนในหุ้นสามัญประมาณ 25 - 30 บริษัท ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 นอกจากนี้ 1AMSET50-RA ยังมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศอีกด้วย
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (+0.55%) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน
2.กองทุนเปิด 70/30 ปันผล หุ้นระยะยาว (70/30-D LTF)
คือ กองทุนรวมประเภทตราสารทุน มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 ไม่มีราคาขั้นต่ำในการเข้าซื้อกองทุน เหมาะแก่การลงทุนในระยะยาวแบบ DCA เป็นอย่างมาก สำหรับนโยบายการลงทุนก็คือจะเน้นลงทุนหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน เป็นหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (-4.16%)
3.กองทุนเปิด วรรณ ยูเอส รีคอฟเวอรี่ ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ (1US-OPP)
เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 โดยมีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยว เนื่องจากว่าเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ทางกองทุนรวมนั้นก็มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากว่าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 1 บาทเท่านั้น
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (10.99%)
4.กองทุนเปิด อเบอร์ดีน ยูโรเปี้ยน ซัสเทนเนเบิล เอคควิตี้ ฟันด์ (ABEG)
เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ ชื่อ Aberdeen Standard SICAV I - European Sustainable Equity Fund Z Acc USD ทั้งนี้ทางกองทุนหลักมีนโยบายเพิ่มมูลค่าเงินลงทุุนในระยะยาว โดยจะลงทุุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนหรือที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้้งในทวีปยุโรปเป็นหลัก การเข้าซื้อกองทุนครั้งแรกจะเริ่มต้นเพียง 1000 บาทเท่านั้น
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (10.22%)
5.กองทุนเปิด อเบอร์ดีน ลิสเต็ด ไพรเวท แคปปิตอล ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า (ABPCAP-A)
กองทุนมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ กองทุน Aberdeen Standard SICAV I – Listed Private Capital Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งตามระเบียบของ UCITS ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศลักเซมเบิร์ก โดยกองทุนจะลงทุนในรูปสกุลเงิน USD แน่นอนว่ามีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้อง แผนการลงทุนของกองทุนนี้จะเน้นลงทุนในกองทุนหลักไม่ต่ากว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (9.97%)
6.กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สมอล-มิดแค็พ - ชนิดสะสมมูลค่า (ABSM)
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่เหมาสำหรับคนที่มีเป้าหมายอยากจะลงทุนในระยะเวลาปานกลางจนถึงระยะยาว เนื่องจากว่าทางกองทุนนั้นลงทุนในหลักทรัพย์ และหรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งทุน โตามระยะเวลาที่กล่าวไปข้างต้นในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีที่มีมูลค่าการตลาดไม่เกิน 20,000 ล้านบาท เนื่องว่าเป็นหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้ระดับราคาที่เหมาะสม
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (4.51%)
7.กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า (AFMOAT-HA)
คือ กองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยกองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ภายใต้การบริหารจัดการของ VanEck Associates Corporation จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ CBOE ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับราคาและผลตอบแทนของดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus IndexSM ซึ่งเป็นดัชนีที่ Morningstar จัดทำโดยคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน จุดเด่นก็คือเข้าซื้อขั้นต่ำครั้งแรกแค่ 1000 บาท และครั้งถัดไปเข้าซื้อในราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 1 บาท เท่านั้น
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (14.15%)
8.กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน เพื่อการออม (ASP-DIGIBLOC-SSF)
คือ กองทุนหุ้นที่ลงทุนผ่านบริษัทหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies) โดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีชี้วัด ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลงทุนที่เหมาะสำหรับบุคคที่มีความสนใจในตลาด Cryptocurrency แต่ว่ามีความกลัวที่จะเข้าเทรดในตลาดด้วยตัวเอง ดังนั้นการเลือกลงทุนกองทุนรูปแบบนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สนใจ
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (82.39%)
9.กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Semiconductor (ชนิดเพื่อการออมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์) (SCBSEMI (SSFE) )
สำหรับกองทุนรวมตัวนี้ เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงระดับที่ 7 เนื่องจากว่าเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมอิเบล็กทรอนิกส์เป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจในกองทุนตัวนี้ก็คือ ราคาลงทุนขั้นต่ำเพียงแค่ 1 บาท เท่านั้น ดังนั้นใครที่มีงบน้อยแต่มีความสนใจที่อยากจะลงในกองทุนรวมหรืออยากจะออมเงินในระยะยาว กองทุนตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (42.21%)
10.กองทุนเปิด ดาโอ เน็กซ์ เจเนอเรชั่น อินเทอร์เน็ต (DAOL-CYBER)
ส่งท้ายด้วยกองทุนรวมประเภทตราสารทุน ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ ARK Next Generation Internet ETF (กองทุนหลัก) ในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ เพียงกองทุนเดียว มีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ ราคาเข้าซื้อขั้นต่ำเริ่มต้นเพียงแค่ 1 บาทเท่านั้น
สำหรับผลตอบแทนที่นับมาตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ (36.10%)
ค่าธรรมเนียมในการซื้อกองทุนรวมมีอะไรบ้าง
เนื่องจากว่าในการลงทุนในกองทุนนั้น เป็นการลงทุนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการบริหารจัดการพอร์ตให้เรา ย่อมมีค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายอยู่แล้ว ทั้งนี้ค่าธรรมเนียม ถือว่าเป็นปัจจัยหลักทุกนักลงทุนทุกคนจะต้องให้ความสนใจ เนื่องจากว่าอาจจะส่งผลต่อกำไรที่คุณจะได้รับอีกด้วย โดยค่าธรรมเนียมในการซื้อกองทุนมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย
ทุกครั้งที่เราทำการเข้าซื้อ-ขายกองทุนรวม หรือ มีการสับเปลี่ยนเข้ากองทุน จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ โดยอัตราค่าธรรมเนียมก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกอองทุนนั้นๆ อีกด้วย
2. ค่าธรรมเนี่ยมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะถูกหักเป็นรายปี โดยจะหักเฉลี่ยอยู่ประมาณ 1% - 1.5% ต่อปี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆด้วยเช่นกัน
เนื้อหาในบทความนี้ไม่ได้เป็นการชักชวนให้ทุกคนลงทุนแต่อย่างใด เป็นเพียงการนำเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและใช้เป็นเหตุผลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของตนเอง
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> |
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน