จิตวิทยาการลงทุน: 9 กับดักทางจิตวิทยา นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง!
“จิตยาการลงทุน” หรือบางคนเรียกว่ามายเซ็นทางการลงทุน เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญและมีส่วนการประสำเร็จหรือยอมแพ้ด้านการลงทุน ควบคู่ไปกับการศึกษาในกราฟเทคนิค และพื้นฐานการลงทุน ดังนั้นควรต้องศึกษาจิตวิทยาการลงทุนและไปปฏิบัติให้เกิดทักษะ พร้อมกับการลงทุนอย่างมีวินัย มีแผนการลงทุนจะเสมอจะช่วยทำให้เราสามารถเอาตัวรอดจากตลาดการลงทุนได้มากขึ้น
จิตวิทยาการลงทุน คืออะไร
จิตวิทยาการลงทุน คือสภาพจิตใจและสภาวะอารมณ์ในการลงทุนของเรา รวมถึงศึกษาพฤติกรรมทางจิตวิทยาของนักลงทุนหรือวิเคราะห์ว่าจิตวิทยามีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน. ซึ่งจิตวิทยาการลงทุนถือว่ามีความสำคัญมากในการลงทุน แต่เป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก ไม่เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ทำให้หลาย ๆ คนมองข้ามเรื่องนี้ไป ซึ่งเหตุผลที่นักลงทุนควรศึกษาในจิตวิทยาการลงทุนให้เข้าใจและปรับใช้กับการลงทุน ดังนี้
เข้าใจทัศนคติและอารมณ์ของนักลงทุน
จัดการกับอารมณ์เหล่านี้อาจช่วยให้นักลงทุนทำการตัดสินใจในการลงทุนโดยมีสติสูงขึ้น
ทราบถึงสภาพจิตใจของตนเองและผู้อื่นในสถานการณ์ทางการลงทุนอาจช่วยในการเสริมสร้างทักษะในการควบคุมความเสี่ยงและการจัดการกับความเครียด
จิตวิทยาการลงทุน Forex
"จิตวิทยาการลงทุน Forex" หมายถึงการศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำธุรกรรมบนตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือ Forex ซึ่งการลงทุนในตลาด Forex เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการตัดสินใจทางการเงินอย่างมีระบบ. สำหรับการลงทุนในคู่เงินต่างประเทศหรือ FOREX เรื่องของจิตวิทยาที่มักจะคุ้นเคยกัน เกี่ยวกับทั้งความโลภ ความกลัว รวมถึงไม่ทำตามแผนที่วางไว้ ดังนี้
โอเวอร์เทรด Overtrade
Overtrade หรือการซื้อขายมากเกินไปเกิดขึ้นจากความที่เรามั่นใจตัวเองมากเกินไป เช่น ในช่วงนั้นเราอาจจะลงทุนเข้าเป้าทุกตัว เข้าตัวไหนก็กำไรไปหมด ความมั่นใจนี้เองมันเลยทำให้เราไม่ยอมหยุดลงทุน แล้วทำให้เรายิ่งเข้าลงทุนไม้ใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เกินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ แล้วเมื่อผิดทางขึ้นมาทำให้เกิดความเสียหายกับพอร์ตอย่างมหาศาล เช่น EUR/USD ทำแผน Buy ที่แนวรับตามรูป แต่ไม่บริหารเงินทุนออก Lot Size ให้ดี แทนที่จะได้จุดเข้าราคาที่ดี อาจจะทำให้พอร์ตเสียหายได้ก่อนที่ราคาจะกลับขึ้นไป
เทรดชนข่าว ไม่รวยก็เจ๊งกันไปเลย ( Economic News Trading)
สำหรับการเทรด Forex ในช่วงตารางข่าวนั้น ถือว่าเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้ทั้งกราฟเทคนิคและพื้นฐานทางเศรษฐกิจมาวิเคราะห์คู่กัน ซึ่งทางจิตวิทยาแล้ว ช่วงข่าวทำให้เกิดช่วงของราคาสวิงขึ้นลงที่รุนแรง ทำให้นักเทรดมือใหม่ที่ไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้เหมาะ ทำความเสียหายต่อพอร์ตได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าไม่วางแผนมาให้เหมาะสม หรือจะมาวัดดวง 50/50 ไม่ควรเทรดช่วงข่าว
จิตวิทยาการลงทุน หุ้น
การศึกษาจิตวิทยาการลงทุนในหุ้นเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมและสภาพจิตใจของนักลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของพวกเขา ข้อแตกต่างของหุ้นคือ นักลงทุนได้กรรมสิทธ์ในการเป็นเจ้าของหุ้น และสามารถเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นได้ นี่คือบางประการที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการลงทุนในหุ้น
ที่มา: https://www.google.com/finance/quote
ต้นทุนจม (Sunk Cost Effect)
เมื่อนักลงทุนขาดทุนมาก ๆ จะไม่ยอมขายเพราะกลัวทำใจไม่ได้ถ้าราคาหุ้นกลับตัวขึ้นไป ทางจิตวิทยาการลงทุนในหุ้นนั้น มักจะหาเหตุผลที่มาซัพพอร์ตกับความคิดตัวเอง แต่ไม่ได้ไปดูที่กราฟราคาได้ก้าวสู่ขาลง หรือต้องตัดขาดทุน และหนักกว่าคือเข้าซื้อถัวเพิ่มในขาลงทำให้ต้นทุนจม ตัวอย่าง ด้านบน หุ้น Beauty ราคาลงมาตลอดในช่วง 5 ปีหลังและขาดทุนสูงสุดกว่า 90% ถ้าใครถือมา
ปรากฏการณ์หุ้นขึ้นเดือนมกราคม (January Effect)
ทฤษฎีที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม เป็นอีกหนึ่งจิตวิทยาการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนจะขายทำกำไรจากการลงทุนช่วงสิ้นปีก่อนหยุดยาว และช่วงเดือนมกราคมจะกลับเข้ามาลงทุนใหม่อีกครั้งในสินทรัพย์ที่ราคายังไม่แพง ซึ่งอาจจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดรอบโลกด้วย หรือสินทรัพย์อื่นในตลาดการลงทุน
จิตวิทยาการลงทุน ทองคำ
จิตวิทยาการลงทุนในทองคำเป็นการศึกษาพฤติกรรมและสภาพจิตใจของนักลงทุนที่เน้นการลงทุนในทองคำหรือตลาดทอง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการลงทุนในตลาดอื่น ๆ นี่คือบางประการที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการลงทุนในทองคำ:
ซื้อทองคำรอก่อนช่วงตรุษจีนหรือมีวิกฤต
ช่วงเทศกาลตรุษจีน ทองคำถือเป็นของขวัญล้ำค่า จึงมีการซื้อเป็นของขวัญให้แก่กันเพื่อเสริมสิริมงคล ทำให้ความต้องการทองคำคึกคัก เช่นเดียวกับเมื่อเกิดสถานการณ์ตึงเครียด เช่น เกิดความขัดแย้งทางการเมือง การประท้วง หรือสงคราม ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์หนึ่งที่ผู้คนต้องการซื้อเพิ่มสูงขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ในชาร์ตราคา มีข่าวเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งกัน ทำให้ราคาทองคำพุ่งทะลุขึ้นไปถึง 2,150$ ก่อนจะปรับตัวลงมาในวันเดียวกันที่บริเวณเดิม
จิตวิทยาการลงทุน CFD
จิตวิทยาการลงทุนในส่วนของ CFD (Contract for Difference) ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจและจัดการกับพฤติกรรมทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นในการซื้อขาย CFD ได้ดีขึ้น
- High Risk High Return & High Loss : การลงทุน CFD มีความเสี่ยงและใช้เงินเริ่มต้นที่น้อยลง จากอัตราทดที่สูงหรือเลเวเรจ ควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการตอบสนองต่อการขาดทุนหรือกำไรทำให้นักลงทุนสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้
- Money Management เกราะป้องกันพอร์ตเสียหาย ความเข้าใจในจิตวิทยาการจัดการเงินมีความสำคัญในการลงทุน CFD. การทราบถึงการจัดการทุน, การกำหนดขนาดการซื้อขายที่เหมาะสม
โดยนักลงทุนสามารถฝึกฝนการบริหารเงินทุนและวิธีการเทรด สำหรับการลงทุนในสินค้า CFD ได้ที่ Mitrade คุณสามารถซื้อขายทองคำได้ แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์เช่น Bitcoin, Forex, น้ำมัน, หุ้น หรือ Nasdaq ฯลฯ มีบัญชีเดโม่ให้ทดลองมูลค่าสูงถึง 50,000 USD ก่อนจะเข้าสนามจริงด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 50 USD
9 กับดักทางจิตวิทยา นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง!
เรามาแนะนำ 9 กับดักจิตวิทยาการลงทุนที่ไม่ว่ามือใหม่และมือเก่า ต่างพบเจอกับปัญหาเหล่านี้
1.เพราะราคาสูงเลยไม่ลงทุน
ความหมายของคำว่า ราคาสูงไปแล้วหรือเข้าไม่ทันจังหวะที่น่าเข้า ทั้งๆที่เมื่อเปิดดูกราฟหรือไปดูบทวิเคราะห์เป้าราคา อาจจะมากกว่านั้นอีก 20-30% แต่ด้วยเพียงเพราะราคาเริ่มขึ้นไปแล้ว แบบนี้ก็จะทำให้เราเสียโอกาสในการลงทุนไป ดังนั้นวิธีแก้ เราอย่าไปดูที่ราคาอย่างเดียว ให้โฟกัสที่จุดที่มันจะไปหรือเป้าหมายของราคาตามแผนการลงทุน
2.เชื่อคนอื่นมากเกินไปจนลังเล
ทำการบ้านหุ้นตัวนี้มาอย่างดีทั้งดูกราฟและวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ แต่ตอนที่เรากำลังจะกดออเดอร์ ดันมีไปอ่านข้อความหรือดู Live สด ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จะเทรดพอดี จนทำให้เกิดอาการไม่มั่นใจ ซึ่งฝึกตัดสินใจด้วยตัวเราเองแบบนี้มันจะทำให้เราได้พัฒนาการวางเทรดและวางแผน
3.ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
วางแผนมาอย่างดี แต่อยู่ๆก็"ความกลัว" เช่น กลัวเข้าแล้วขาดทุน กลัวราคาจะลงไปมากกว่านี้ และ "ความโลภ" ตัวอย่างเช่น ราคาทองคำขึ้นไปถึงเป้าหมายแล้วที่แนวต้านสำคัญ 2035$ แต่อยากได้กำไรมากกว่านี้ทำให้ลังเลไม่ขาย และราคาย้อนกลับมาขาดทุน ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง วิธีแก้ของข้อนี้คือ จดแผนใส่กระดาษหรือทำให้มองเห็นชัดๆ
4.กลัวความเสี่ยง
ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายพฤติกรรม ‘กลัวความเสี่ยง’ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากการขาดทุนอย่างหนัก เปรียบเหมือนการถูก ‘งูฉก’ (Snake Bite) ในพงหญ้า ก็จะทำให้เราไม่กล้าเดินเข้าไปใกล้ ๆ พงหญ้าอีกต่อไป ความเสี่ยงเป็นหัวข้อแรกๆที่นักลงทุนความให้ความสำคัญ แต่ไม่ใช่กลัวจนไม่สามารถวางแผนอะไรได้ ดังคำว่า “ความเสี่ยงลดลงได้ด้วยความรู้และเข้าใจ”
5.พยายามเอาคืนเอาให้
อารมณ์อยากเอาคืนหลังจากขาดทุนอย่างหนัก หรือติดต่อกัน จะทำให้นักลงทุนพยายามที่จะเพิ่มความเสี่ยง เพื่อทำให้กลบการขาดทุนให้ได้หรือกลับมากำไร แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เนื่องจากทำการซื้อขายด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล จิตวิทยาข้อนี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของบ่อนการพนัน
6.กับดับเรื่องราคาหุ้น
ภาพจำในอดีตได้ฝังเข้าไปในความทรงจำเรียบร้อย ทั้งๆที่มีสถานการณ์อื่นๆหรือช่วงเวลาคนละช่วงแล้ว ทำให้สูญเสียโอกาสหรือ ไม่กล้าตัดขาดทุนตามแผนที่วางไว้ เพราะต้องฝังใจว่าราคาต้องซื้อหรือขายเท่านี้เท่านั้น
7.หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
จิตวิทยาข้อนี้อธิบายการขาดทุนของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี โดยธรรมชาติ ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิด ‘ความเสียใจ’ หรือไม่ขายไม่ขาดทุน ทั้งที่จริงแล้วอาจจะเป็นจุดที่ปล่อยลามให้มากกว่าความเสี่ยงที่รับได้แล้ว มีสิทธิ์ทำให้เกิดการขาดทุนอย่างมหาศาลในอนาคตก็ได้ สบายใจวันนี้เหมือนหลอกตัวเองอยู่
8.กล้าเสี่ยงเมื่อมีกำไร
หรือ House Money หมายถึง เงินของเจ้ามือ ซึ่งมักถูกใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพนันหรือคาสิโน โดยนักลงทุนจะมีแนวโน้มลงทุนแบบเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไร เพราะเหมือนกับนำเงินของคนอื่นมาลงทุน หรือนำกำไรที่เทรดได้มาต่อยอด แน่นอนคือปิดประตูขาดทุนเรียบร้อย ซึ่งต้องระวังอย่าให้ถลำลึกจนกินทุนเข้าไปอีกครั้ง เพราะไม่มีความพอดี
9.เปรียบเทียบผลงานของตัวเองในอดีต
จุดไต้ตำตอ ที่คอยกลับมาย้ำเตือนในหัว บางทีไม่ทันสังเกตตัวนักลงทุนเองว่า ติดกับดักความสำเร็จเดิมๆ ทั้งที่ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไปแล้ว อดีตเคยปล่อยขาดทุน 30-40% แล้วกลับมากำไรได้ตลอด แต่ปัจจุบันอาจจะถลำไปถึงพอร์ตขาดทุนทั้งหมดก็เป็นไปได้
ผลกระทบของจิตวิทยานักลงทุนที่มีผลต่อการลงทุน
การศึกษาด้านนี้มีผลกระทบต่อการลงทุนในหลายด้าน นี่คือบางประการที่ผลกระทบของจิตวิทยานักลงทุนมีต่อการลงทุน
นักลงทุนมีนิสัยที่ไม่แสดงต่อการตัดสินใจทางตลาดอย่างราคาหุ้น ในทางกลับกัน, พวกเขามักตัดสินใจขึ้นอยู่กับปัจจัยทางจิตวิทยาเช่น ความกลัว, ความโลภ ซึ่งสามารถส่งผลให้มีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้มีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการลงทุน
ทางจิตวิทยานักลงทุนจะมีความกระตุ้นจากอารมณ์หรืออารมณ์ส่วนบุคคลที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจอย่างไม่คาดคิด
จิตวิทยานักลงทุนได้สังเกตพฤติกรรมในการตัดสินใจทางการเงินของนักลงทุน เช่น การเลือกทำธุรกิจทางการเงิน, การบริหารเงิน, และการวางแผนการเงินส่วนตัว สามารถทำให้มีการลงทุนที่มีมูลค่าทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จิตวิทยานักลงทุนสามารถช่วยในการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และพฤติกรรมทางการเงินของนักลงทุนแต่ละคนสำหรับวางแผนจัดการพอร์ตการลงทุน
ตัวอย่างกลยุทธ์การจัดการจิตวิทยานักลงทุนที่มีชื่อเสียง
จิตวิทยาการลงทุน: อคติจากความมั่นใจที่คุณมีมากเกินไป
(The Psychology of Investing : Overconfidence Bias) โดย จอห์น นอฟซิงเกอร์ (John R. Nofsinger) "ความมั่นใจที่มีมากเกินไป" ส่งผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ
ความมั่นใจที่มากเกินไปทำให้นักลงทุนมีการตัดสินใจซื้อขายหุ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล ซื้อขายบ่อยครั้งจนเกินไป รับความเสี่ยงมากเกินไป และสุดท้ายก็จบด้วยการขาดทุน... พวกเขาเชื่อมั่นในความคิดเห็นของตนเอง เชื่อมั่นในความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลที่ได้รับมา และเชื่อมั่นในการตีความข้อมูลเหล่านั้น การซื้อขายหุ้นบนความมั่นใจที่มีมากเกินไปนั้นเป็นอันตรายต่อการสะสมความมั่งคั่งของคุณ
FOMO (Fear of Missing Out) ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2003
โดย Patrick J. McGinnisหรือ การกลัวตกรถ หมายถึง อาการที่นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นที่พุ่งขึ้นแรงโดยไม่ได้สนใจว่าปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นดังกล่าวนั้นปรับตัวขึ้นมาเกิดจากอะไร พื้นฐานของหุ้น หรือ ทางกราฟเทคนิค จึงทำให้มีโอกาสที่จะผิดพลาดสูง (ติดดอย) โดยสิ่งที่มักทำให้นักลงทุนเกิดอาการ FOMO คือ อารมณ์และความโลภ ทำให้นักลงทุนตกหลุมพรางอาการกลัวตกรถที่หุ้นนั้นหลอกล่อไว้
สรุป จิตวิทยาการลงทุน
จิตวิทยาการลงทุนไม่ใช่เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมของนักลงทุนคนอื่น แต่เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการลงทุนของตัวเอง หรือต้องหาความรู้จากจิตใจของตัวเองให้ได้ ซึ่งสำคัญมากสำหรับการศึกษาในเรื่องจิตวิทยาการลงทุน ไม่แพ้เรื่องของพื้นฐานเศรษฐกิจหรือเรื่องของกราฟเทคนิคเลย ดังนั้นควรฝึกฝนให้เข้าใจและเก็บประสบการณ์ลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงกับดักต่างๆที่เกิดขึ้น
ทำไมจ ึงต้องศึกษาเรื่องจิตวิทยาการลงทุน
ยกตัวอย่าง จิตวิทยาการลงทุนมาจำนวน 3 ข้อ ที่นักลงทุนมักติดกับดักเป็นประจำ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน