ตราสารทางการเงิน: มีอะไรบ้าง พามือใหม่เข้าใจครบจบในที่เดียว
ในโลกของการลงทุนและการเงิน การทำความเข้าใจ "ตราสารทางการเงิน" เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งนักลงทุนมือใหม่และผู้ที่สนใจด้านการบริหารเงินทุน ตราสารทางการเงินนั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของเงินทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินไม่ว่าจะเป็นการสร้างผลตอบแทน การป้องกันความเสี่ยง บทความนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อให้นักลงทุนนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
ตราสารทางการเงิน คืออะไร
ตราสารทางการเงิน คือ เอกสารที่แสดงถึงสิทธิและความรับผิดชอบทางการเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมีมูลค่าที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ตลาด สภาพเศรษฐกิจ หรือความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย หรือเปรียบเทียบง่ายๆ: คิดว่าตราสารทางการเงินเหมือนใบสัญญาที่บอกว่าคุณมีสิทธิ์อะไรบ้างในสินทรัพย์นั้นๆ เช่น หุ้นก็คือใบสัญญาที่บอกว่าคุณเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นๆ
- ตราสารทางการเงินที่มีความซับซ้อน เป็นเครื่องมือการลงทุนที่มีโครงสร้างทางการเงินหลายชั้นและมีความเสี่ยงสูงขึ้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์และความรู้เพียงพอ ตัวอย่าง ได้แก่ ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) ตราสารหนี้แบบแปลงสภาพ (Convertible Bonds) เป็นต้น
- ตราสารทางการเงินที่ไม่ซับซ้อน มักเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับนักลงทุนทั่วไปหรือผู้เริ่มต้น เพราะมีความเสี่ยงที่สามารถเข้าใจและประเมินได้ง่าย ตราสารเหล่านี้มักมีโครงสร้างที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อน ตัวอย่างได้แก่ หุ้น (Stocks) พันธบัตร (Bonds) เงินฝากประจำ (Fixed Deposits) กองทุนรวม (Mutual Funds) เป็นต้น
ประเภทของตราสารทางการเงิน
นักลงทุนควรความเข้าใจประเภทของตราสารทางการเงินจะช่วยให้นักลงทุนเลือกตราสารที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้ แบ่งเป็นดังนี้
1. ตราสารทุน (Equity Securities)
- หุ้น (Stocks): เป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์ในบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิร่วมในการตัดสินใจสำคัญของบริษัท และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล หุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ หุ้นสามัญ มีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น และมีสิทธิได้รับเงินปันผลและหุ้นบุริมสิทธิ คือ ไม่มีสิทธิออกเสียง แต่มีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ
- ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrants): เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นของบริษัทในราคาที่กำหนดไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
2. ตราสารหนี้ (Debt Securities)
- พันธบัตร (Bonds): เป็นตราสารที่แสดงถึงหนี้สินที่รัฐบาลหรือบริษัทเอกชนกู้ยืมมา โดยผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ยเป็นระยะ และเมื่อครบกำหนดจะได้รับเงินต้นคืน
- หุ้นกู้ (Corporate Bonds): เป็นพันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชน
- ตั๋วเงิน (Bills): เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น มักมีอายุไม่เกิน 1 ปี
3. ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives)
- ฟิวเจอร์ส (Futures): เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องทำการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคตตามราคาที่ตกลงกันไว้
- ออปชัน (Options): เป็นสัญญาที่ให้สิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคตตามราคาที่กำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมอไป
- สวอป (Swaps): เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต
4. ตราสารอื่นๆ
- กองทุนรวม (Mutual Funds): เป็นนิติบุคคลที่รวบรวมเงินจากผู้ลงทุนจำนวนมากมาลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ
- ETF (Exchange Traded Fund): เป็นกองทุนรวมที่ซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
- REITs (Real Estate Investment Trusts): เป็นบริษัทที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ตารางแสดงเปรียบเทียบตราสารการเงินรูปแบบต่างๆ
ประเภทตราสาร | ความเสี่ยง | รูปแบบผลตอบแทน | สิ่งที่ต้องระวัง |
หุ้น | สูง | ปันผล ,ส่วนต่างราคา | ความผันผวนตลาด |
พันธบัตร | ต่ำ | ดอกเบี้ย | ผลตอบแทนน้อย |
หุ้นกู้ | ต่ำ | ดอกเบี้ย | ผิดชำระหนี้เมื่อ DUE |
สัญญาส่วนต่าง(CFD) | สูง | ส่วนต่างราคา | ใช้เลเวอเรจไม่เหมาะสม |
ETF | ปานกลาง | ส่วนต่างหน่วยลงทุน | ความผันผวนตลาด |
ข้อดีข้อเสียของตราสารทางการเงิน
ตราสารทางการเงินมีบทบาทสำคัญในตลาดการเงินและการลงทุน ซึ่งแต่ละประเภทของตราสารมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการและระดับความเสี่ยงของนักลงทุน ต่อไปนี้คือข้อดีและข้อเสียโดยรวมของตราสารทางการเงิน:
ข้อดีของตราสารทางการเงิน:
✅ ความหลากหลายในการลงทุน เช่น หุ้น พันธบัตร ตราสารอนุพันธ์ ซึ่งแต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกัน ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้
✅ สภาพคล่อง (Liquidity) ตราสารทางการเงินหลายประเภท สามารถซื้อขายในตลาดได้ ทำให้มีสภาพคล่องสูง นักลงทุนสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว
✅ กระจายความเสี่ยง สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี โดยไม่ต้องนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งทั้งหมด เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหลายสินทรัพย์ ทำให้นักลงทุนลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขาดทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง
✅ รายได้สม่ำเสมอ ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หรือเงินฝากประจำ ให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นประจำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรายได้ที่มั่นคง เช่น ผู้ที่ต้องการรายได้ระยะยาวในวัยเกษียณ
ข้อเสียของตราสารทางการเงิน:
❌ ความเสี่ยงจากการลงทุน แม้ตราสารทางการเงินบางประเภทจะให้ผลตอบแทนที่สูง เช่น หุ้น แต่ก็มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะจากความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดได้
❌ ความซับซ้อน ตราสารบางประเภท เช่น ตราสารอนุพันธ์ (ฟิวเจอร์ส ออปชั่น) หรือ Structured Notes มีโครงสร้างที่ซับซ้อน และนักลงทุนต้องมีความรู้และความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจทำให้มือใหม่รู้สึกสับสนหรือประเมินความเสี่ยงได้ไม่ดีพอ
❌ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรบริษัท มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ หากบริษัทผู้ออกตราสารประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือเงินต้นตามที่กำหนด
❌ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย การลงทุนในตราสารทางการเงินบางประเภท เช่น กองทุนรวม มีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ ซึ่งอาจลดทอนผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับหากค่าธรรมเนียมสูงเกินไป
วิธีการเลือกตราสารทางการเงินที่เหมาะสม
การเลือกตราสารทางการเงินที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแต่ละตราสารมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน ทั้งในแง่ของความเสี่ยง ผลตอบแทน และเป้าหมายการลงทุน ต่อไปนี้คือแนวทางในการเลือกตราสารทางการเงินที่เหมาะสม:
1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน
การเลือกตราสารทางการเงินควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น
สร้างรายได้ที่มั่นคง: หากต้องการรายได้สม่ำเสมอ ตราสารหนี้อย่างพันธบัตรหรือเงินฝากประจำอาจเหมาะสม
การเติบโตของเงินทุน: หากคุณต้องการการเติบโตในระยะยาว เช่น การเพิ่มมูลค่าของเงินทุน การลงทุนในหุ้นอาจเหมาะสมเพราะมีศักยภาพในการเติบโตสูง
การป้องกันความเสี่ยง: สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากตลาด อาจเลือกใช้ตราสารอนุพันธ์เช่น ออปชั่น หรือสวอป
2. ประเมินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ความเสี่ยงของแต่ละตราสารทางการเงินมีความแตกต่างกัน ควรเลือกตราสารที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่คุณสามารถยอมรับได้:
ความเสี่ยงต่ำ: เงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หรือตั๋วเงินคลัง ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนอาจไม่สูงมาก
ความเสี่ยงปานกลาง: หุ้นกู้ หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท
ความเสี่ยงสูง: หุ้น ตราสารอนุพันธ์ หรือตราสารหนี้ที่มีเครดิตต่ำ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงแต่มีความเสี่ยงสูงตาม
3. คำนึงถึงระยะเวลาการลงทุน
ระยะสั้น: หากต้องการใช้เงินในอนาคตอันใกล้ ตราสารที่มีระยะเวลาสั้นและสภาพคล่องสูง เช่น ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรระยะสั้น อาจเป็นทางเลือกที่ดี
ระยะกลางถึงระยะยาว: การลงทุนในหุ้นหรือพันธบัตรระยะยาวมักให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะยาว
4.ตราสารทางการเงินที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
การเลือกตราสารทางการเงินสำหรับการเทรดที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความรู้ของผู้เทรด ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และวัตถุประสงค์ของการเทรด ต่อไปนี้คือกลุ่มตราสารทางการเงินที่นิยมสำหรับการเทรด ตัวอย่างตราสารทางการเงินยอดนิยม
1. หุ้น (Stocks) การเทรดหุ้นคือการซื้อและขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
ข้อดีมีโอกาสทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นและเงินปันผลและ เหมาะสำหรับ: ผู้เทรดที่ต้องการลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว
2. ฟอเร็กซ์ (Forex) หรือการเทรดสกุลเงิน ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีข้อดีคือ ตลาดฟอเร็กซ์เปิดทำการ 24 ชั่วโมง และมีสภาพคล่องสูง รวมถึงเหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการเทรดระยะสั้นและใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อทำกำไร เช่น คู่เงิน USD/JPY EUR/USD และUSD/THB เป็นต้น
3. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) คือ สัญญาที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีข้อผูกพันในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่ราคากำหนดไว้ล่วงหน้า ช่วยนักลงทุนให้การบริหารความเสี่ยงโดยการป้องกันความผันผวนของราคา เหมาะกับผู้เทรดที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในสินค้าจำพวกสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทองคำ
4. CFD (Contract for Difference) หรือสัญญาส่วนต่างเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ช่วยให้ผู้เทรดสามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์โดยไม่ต้องถือสินทรัพย์จริง
และเป็นตราสารทางการเงินที่ยอดนิยมในปัจจุบัน จุดเด่นคือ ใช้เลเวอเรจได้สูง ทำให้สามารถทำกำไรได้แม้มีเงินทุนเริ่มต้นน้อย รวมถึงสามารถเทรดทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ตามสภาพตลาด เหมาะกับผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น ฟอเร็กซ์ ทองคำ หุ้นสหรัฐ เป็นต้น
ราคา XAUUSD แบบเรียลไทม์
5. ETF (Exchange-Traded Funds) กองทุนที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งติดตามผลการดำเนินงานของดัชนีหรือกลุ่มสินทรัพย์ ทำให้การกระจายความเสี่ยงและต้นทุนในการเทรดต่ำ เน้นนักลงทุนที่ต้องการการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน
ข้อควรระวังสำหรับมือใหม่ สำหรับลงทุนในตราสารการเงิน
การลงทุนในตราสารการเงินมีความเสี่ยงที่มือใหม่ควรระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น นี่คือข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับมือใหม่:
ศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน
เหตุผล: การไม่รู้จักตราสารที่ลงทุนอย่างถ่องแท้สามารถนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาด
ข้อควรทำ: อ่านและศึกษาเกี่ยวกับตราสารที่สนใจ เช่น หุ้น ฟอเร็กซ์ หรือพันธบัตร เรียนรู้เกี่ยวกับตลาดและเครื่องมือการเทรด รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาของตราสารเหล่านั้น
เริ่มต้นด้วยเงินทุนที่น้อย
เหตุผล: การลงเงินมากเกินไปในครั้งแรกสามารถทำให้เกิดการสูญเสียที่ใหญ่โดยไม่จำเป็น
ข้อควรทำ: เริ่มด้วยเงินทุนที่คุณสามารถยอมรับได้หากเกิดการขาดทุน และควรเป็นเงินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
หลีกเลี่ยงการใช้เลเวอเรจ (Leverage) สูงเกินไป เพราะเลเวอเรจหรืออัตราทดทำให้คุณ
สามารถใช้เงินลงทุนมากกว่าที่คุณมีจริง ซึ่งเพิ่มโอกาสทั้งการทำกำไรและการขาดทุน ดังนั้นควรใช้เลเวอเรจในระดับต่ำเพื่อป้องกันการขาดทุนมากเกินไปในช่วงที่ตลาดผันผวน
สรุป
ตราสารทางการเงินเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่โลกแห่งการลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร หรือตราสารอนุพันธ์ ต่างก็มีเอกลักษณ์และศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจถึงกลไกและความเสี่ยงของแต่ละตราสาร จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายและตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตราสารการเงินที่ไม่ซับซ้อน คืออะไร
คือเครื่องมือทางการเงินที่เข้าใจง่าย ไม่มีกระบวนการที่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับนักลงท ุนทั่วไปหรือผู้เริ่มต้นลงทุน เพราะมีความเสี่ยงที่สามารถเข้าใจและประเมินได้ง่าย เช่น หุ้น พันธบัตร เงินฝากประจำ เป็นต้น
นักลงทุนประเภทไหนเหมาะกับตราสารการเงินประเภทสัญญาส่วนต่าง (CFD)
ตราสารการเงินประเภท CFD หรือสัญญาส่วนต่าง ถือว่ามีความเสี่ยงสูง และใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่ไม่มาก เพราะมีเลเวอเรจช่วยให้ขนาดของเงินต้นมากขึ้น ดังนั้นเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก และเข้าใจในลักษณะของการจัดการเงินทุนที่ดี
ทำไมนักลงทุนจึงควรศึกษารูปแบบต่างๆของตราสารการเงินให้เข้าใจ
ช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายและตอบโจทย์เป้าหม ายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งผลตอบแทนและควบคุมความเสี่ยง เพราแต่ละตราสารการเงินมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน