ทรัสต์ (Trust) คืออะไร แตกต่างจาก REIT ยังไง

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ทรัสต์ (Trust) เป็นรูปแบบการบริหารจัดการสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่นักลงทุนอาจพอคุ้นชื่ออยู่บ้าง หรือเคยได้ยินนักวิเคราะห์พูดถึงกันอยู่บ้างแต่ก็อาจยังไม่เห็นภาพนักว่าทรัสต์ (Trust) คืออะไร แตกต่างจาก REIT ยังไง เหมือนหรือต่างจากกองทุนที่เรารู้จักกันดีหรือไม่ แล้วนักลงทุนรายย่อยอย่างเราจะสามารถลงทุนในกองทรัสต์เหล่านี้ได้อย่างไร คราวนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ ทรัสต์ (Trust) รวมถึงวิธีลงทุนในกองทรัสต์สำหรับนักลงทุนในประเทศไทยกัน

ทรัสต์ (Trust) คืออะไร

ทรัสต์ (Trust) คือ เครื่องมือทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการทรัพย์สิน โดยทรัสตี (Trustee) ที่ก่อตั้งขึ้นตามอำนาจของกฎหมายจะได้รับการโอนทรัพย์สินจากเจ้าของทรัพย์มาเพื่อบริหารจัดการตามเจตนาของเจ้าของทรัพย์ และนำผลตอบแทนที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้นมาจ่ายคืนให้กับผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ทรัสตีนำมาบริหารจะมีได้ทั้ง เงินทุน อสังหาริมทรัพย์ หุ้น พันธบัตร ธุรกิจกิจการต่าง ๆ งานศิลปะ หนี้สิน รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้


หากรวมความให้สั้นลง ทรัสต์ (Trust) ก็คือ หน่วยบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ออกแบบมาเพื่อบริหารสินทรัพย์ของเจ้าของ เพื่อนำผลตอบแทนที่ได้ไปจ่ายคืนให้กับบุคคลที่สาม


1. ประโยชน์ของทรัสต์

 จากแนวคิดการจัดการทรัสต์ทำให้ทรัสต์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เช่น


  • ช่วยให้สามารถส่งผลตอบแทนจากทรัพย์ไปยังบุคคลที่สามได้แม้ไม่ได้มีการโอนทรัพย์สิน ในช่วงแรกจึงมักมีการนำทรัสต์มาใช้สำหรับการจัดการมรดก จนถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการลงทุนในภายหลัง


  • ทรัสต์ช่วยให้การบริหารทรัพย์สินเป็นไปตามจุดประสงค์ที่เจ้าของทรัพย์ต้องการ เนื่องจากการจัดตั้งทรัสต์จำเป็นต้องระบุความแน่นอนของเจตนา (Curtainty of Word) ที่ทรัสตีต้องปฏิบัติตาม


  • ทรัสต์อาจให้ประโยชน์ด้านภาษี เนื่องจากการตั้งทรัสต์ไม่ได้มีการโอนทรัพย์สินให้กับบุคคลที่ 3 แต่เป็นการส่งผลประโยชน์ให้ การตั้งทรัสต์จึงอาจให้ประโยชน์ด้านภาษีขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ


  • การตั้งทรัสต์แบบเพิกถอนได้ช่วยให้มีมืออาชีพช่วยบริหารทรัพย์สินในช่วงที่เจ้าของทรัพย์ป่วยหรือไร้ความสามารถ และเมื่อเจ้าของทรัพย์สามารถกลับมาบริหารสินทรัพย์ก็สามารถเพิกถอนทรัสต์นั้นมาบริหารเองได้


  • ทรัสต์มีความยืดหยุ่นในการจัดตั้งและบริหารทรัพย์สิน เนื่องจากการตั้งทรัสต์เป็นการทำสัญญาทางแพ่งที่เป็นข้อตกลงระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงจึงมีความยืดหยุ่นกว่าตัวเลือกอื่น ๆ เช่น การจัดตั้งกองทุนที่ต้องมีการยื่นจดทะเบียนและขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


2. ประเภทของทรัสต์ 

นอกจากเงื่อนไขด้านการเพิกถอนทรัสต์ที่แบ่งทรัสต์ออกเป็น ทรัสที่เพิกถอนได้ (Revocable Trust) และ ทรัสต์ที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Trust) แล้ว เรายังสามารถแบ่งทรัสต์ออกได้เป็นประเภทอื่น ๆ อีก เช่น


  • ทรัสต์เพื่อการดูแลทรัพย์สิน (Asset Protection)

  • บลายด์ ทรัสต์ (Blind Trust)

  • ทรัสต์เพื่อการกุศล (Charitable Trust)

  • ทรัสต์เพื่อการจัดการมรดก (Genereation-Skipping Trust)

  • ทรัสต์เพื่อประโยชน์ด้านภาษี (Grantor Retained Annuity Trust) 

  • ทรัสต์เพื่อการจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Land or Real Estate Trust)

  • ทรัสต์เพื่อการจัดการสินสมรส (Marital Trust) 

  • ทรัสต์ที่ตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอื่น ๆ (Special Needs Trust)

การก่อตั้งทรัสต์ (Trust)

ทรัสต์ คืออะไร


แนวคิดการจัดตั้งทรัสต์ (Trust) เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคโรมันซึ่งถูกนำไปใช้กับการจัดการพินัยกรรม จนมาถึงยุคกลางในอังกฤษเริ่มมีการนำทรัสต์มาใช้กับการจัดการทรัพย์สินของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยขุนนางที่ต้องออกรบจะมอบที่ดินให้กับคนที่ไว้วางใจเพื่อจัดการผลประโยชน์และส่งต่อให้กับครอบครัวของขุนนางคนนั้น


การก่อตั้งทรัสต์จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินที่เกิดขึ้นโดยสัญญาที่ตั้งอยู่บนความไว้วางใจ โดยมีผู้เกี่ยวข้องในการตั้งทรัสต์ 3 กลุ่ม คือ


1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งทรัสต์

  • ผู้ก่อตั้งทรัสต์ หรือ เจ้าของทรัพย์ (Settlor) คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อเซ็นสัญญาจัดตั้งทรัสต์แล้วจะมีสถานะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์หรือดำเนินการกับทรัพย์สินที่โอนไปยังทรัสต์แล้วได้


  • ผู้จัดการทรัพย์ หรือ ทรัสตี (Trustee) มีหน้าที่บริหารจัดการกองทรัพย์ตามสัญญาจัดตั้งทรัสต์ โดยไม่มีส่วนในผลประโยชน์ที่จะได้จากกองสินทรัพย์นั้น แต่สามารถคิดค่าดำเนินการ/บริหารจัดการทรัพย์สินได้


  • ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) เป็นผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากทรัสต์ตามสัญญาจัดตั้งทรัสต์ นอกจากนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องความเสียหายหากทรัสตีบริหารทรัพย์โดยมิชอบและมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนด้วย


2. องค์ประกอบของการตั้งทรัสต์

เมื่อสามารถระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทรัสต์ทั้ง 3 ฝ่ายได้แล้ว การจัดตั้งทรัสต์ยังต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ


  • ความแน่นอนในเจตนาจัดตั้งทรัสต์ (Certainty of Word) คือมีการระบุสัญญาจัดตั้งทรัสต์อย่างชัดเจนระหว่างผู้ก่อตั้งและทรัสตี


  • ความแน่นอนของทรัพย์สินในกองทรัสต์ (Certainty of Subject Matter) มีกองทรัพย์ที่ชัดเจน มีอยู่จริง และมีแนวทางในการบริหารจัดการให้ได้ผลประโยชน์งอกเงย


  • ความแน่นอนของผู้รับผลประโยชน์ (Certainty of Object) ต้องมีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากกองทรัสต์นั้นจริง ๆ และเป็นไปได้ ไม่เป็นบุคคลสูญหายหรือเสียชีวิตไปแล้ว

ทรัสต์ vs REIT vs กองทุนรวม (Fund)

จากการเป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพย์สินทำให้ทรัสต์ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ REIT หรือ กองทุนรวม (Fund) แต่การจัดการทรัพย์สินทั้ง 3 รูปแบบนั้นมีความแตกต่างกัน ได้แก่


ทรัสต์ vs REIT


1. ทรัสต์ vs REIT

ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust – REIT) เป็นทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการบริหารจัดการผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ ทำให้ REIT แตกต่างจากทรัสต์ที่ข้อจำกัดในประเภทของทรัพย์สินที่บริหารจัดการ แต่โดยลักษณะของการจัดตั้งและบริหารผลประโยชน์นั้น ทรัสต์ และ REIT มีความเหมือนกัน นั่นคือไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและจัดตั้งขึ้นโดยสัญญาจัดตั้งทรัสต์เหมือนกัน 

 

2. ทรัสต์ vs กองทุนรวม (Fund)

กองทุนรวม (Fund) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการบริหารสินทรัพย์โดยนำเงินลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนไปลงทุนต่อตามวัตถุประสงค์ของกองทุนแล้วนำผลตอบแทนกลับมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ทำให้รูปแบบการบริหารทรัพย์สินของกองทุนและทรัสต์มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ฐานะทางกฎหมายของทรัสต์และกองทุนก็มีความแตกต่างกัน นั่นคือกองทุนมีฐานะเป็นนิติบุคคล ขณะที่ทรัสต์ไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

ทรัสต์ (Trust) ในประเทศไทยมีแบบไหนให้เลือกลงทุนบ้าง

ทรัสต์ในประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการระดมทุนในตลาดทุนเท่านั้น โดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกประกาศให้จัดตั้งทรัสต์ได้ใน 2 รูปแบบคือ


ประเภทของกองทรัสต์ในประเทศไทย

  • ทรัสต์สำหรับการบริหารและจัดการลงทุน (Active Trust) เป็นทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารทรัพย์สินให้เกิดผลประโยชน์งอกเงย เช่น ทรัสต์เพื่อการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันและรายใหญ่ (II/HNW Trust Fund) หรือ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) 


  • ทรัสต์สำหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชำระหนี้ (Passive Trust) เป็นทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลสินทรัพย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรัสต์เพื่อการออกและเสนอขายหุ้นให้กรรมการและพนักงา (ESOP), ทรัสต์เพื่อโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP) หรือ ทรัสต์ที่ใช้เพื่อตั้งบัญชีเงินสำรอง (Reserve Account) หรือเงินทุนทยอยชำระ (Sinking Fund) เพื่อการชำระหนี้หุ้นกู้ ฯลฯ


ดังนี้แล้วเราจะเห็นได้ว่า REIT ก็คือ ทรัสต์ รูปแบบหนึ่งนั่นเอง แต่จะไม่สามารถบอกได้ว่าทรัสต์คือ REIT เพราะทรัสต์โดยทั่วไปสามารถบริหารสินทรัพย์ได้มากกว่าอสังหาริมทรัพย์


ปัจจุบันทรัสต์ที่จัดตั้งในประเทศไทยได้รับการอนุญาตให้เกิดขึ้นเพื่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดถูกจัดตั้งขึ้นเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIT ทำให้การลงทุนในทรัสต์ของนักลงทุนทั่วไปยังจำกัดอยู่ที่ REIT แต่มีข้อดีในแง่ที่สามารถพิสูจน์สินทรัพย์ได้ไม่ยาก ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าซื้อขายลงทุนได้แม้เป็นนักลงทุนมือใหม่ก็ตาม


สรุป

โดยสรุปแล้วทรัสต์ (Trust) คืออะไร แตกต่างจาก REIT ยังไงไม่ใช่คำถามที่ตอบยาก เพราะทรัสต์ก็คือเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่แม้ในช่วงเริ่มแรกจะก่อตั้งขึ้นเพื่อการบริหารสินทรัพย์ที่เป็นมรดกเป็นหลัก แต่ปัจจุบันสามารถนำมาใช้บริหารจัดการทรัพย์สินได้เกือบทุกประเภท และหากทรัสต์นั้นมีสินทรัพย์ที่บริหารจัดการเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็จะสามารถเรียกได้ว่าทรัสต์นั้นคือ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ที่เมื่อทรัสตีบริหารได้รับผลตอบแทนกลับมาก็สามารถนำกลับมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้รับผลประโยชน์ซึ่งก็คือผู้ถือหน่วยลงทุนใน REIT ต่อไป และถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ใหญ่ ๆ โดยที่ไม่ได้มีเงินทุนตั้งต้นมากนัก


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์