TFEX คืออะไร จะใช้ TFEX ทำอะไรได้บ้าง
TFEX คืออะไร? จริงอยู่ที่แม้ว่าเราจะเคยได้ยินคำนี้จากนักวิเคราะห์บ่อย ๆ แต่ก็อาจไม่คุ้นเคยเท่าตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยอย่าง SET ที่นักลงทุนต้องใช้เป็นตัวกลางซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว ดังนั้นคราวนี้เราจะขอพานักลงทุนไปทำความรู้จักกับ TFEX กันให้มากขึ้นว่า TFEX คืออะไรกันแน่ นักลงทุนรายย่อยสามารถเริ่มเทรด TFEX ได้อย่างไร และเราจะใช้ TFEX ให้เป็นประโยชน์ต่อพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้อย่างไร ตามมาดูได้เลย
ทำความรู้จัก TFEX คืออะไร
TFEX (Thailand Futures Exchange) หรือ บริษัทตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นตลาดศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่ปัจจุบันประกอบด้วย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) และออปชั่น (Options) ซึ่งหากมองว่า SET (Stock Exchange of Thailand) เป็นศูนย์กลางซื้อขายหุ้น TFEX ก็เป็นศูนย์กลางการเทรดสัญญาอนุพันธ์ และเนื่องจาก TFEX เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาอนุพันธ์ ในหลาย ๆ ครั้งเราจึงได้ยินหรือใช้ TFEX แทนการเทรดสัญญาอนุพันธ์ในประเทศไทย โดยเฉพาะ TFEXSET50
ลักษณะเฉพาะของสินค้าที่เทรดในตลาด TFEX คือ สินค้าทั้งหมดที่เทรดอยู่ที่นี่มีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ซื้อได้เป็นเจ้าของสินค้าที่ซื้อจริง ๆ เช่น ซื้อ (Long) สัญญา Single Stock Futures AAV ก็ไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหุ้น AAV แต่สามารถทำกำไรมูลค่าสัญญาที่เปลี่ยนไปตามราคาของหุ้น AAV ได้ นอกจากนี้ตราสารอนุพันธ์ที่เทรดใน TFEX ยังมีลักษณะที่สามารถทำรายการได้ทั้งการซื้อ (Long) และ ขาย (Short) ด้วยการใช้อัตราทด (Leverage) ทำให้สามารถทำกำไรได้ไม่ว่าราคาสินค้าอ้างอิงจะเป็นแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลงและมีความเสี่ยงสูง ซึ่งแตกต่างจากหุ้นสามัญที่ซื้อขายใน SET ที่นักลงทุนจะมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและทำกำไรได้จาแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น
สัญลักษ์ของสัญญาที่เทรดในตลาด TFEX สามารถอ่านได้จาก XXXX M YY เมื่อ XXXX คือชื่อย่อของสินค้าอ้างอิง, M คือเดือนที่หมดอายุ, YY คือปีที่หมดอายุ เช่น
S50Z23 คือ สัญญาฟิวเจอร์สอ้างอิงดัชนี SET50 (S50), หมดอายุเดือนธันวาคมปี 2024
ADVANCM24 คือ สัญญา Single Stock Futures อ้างอิงหุ้น Advance (ADVANC), หมดอายุเดือนมิถุนายนปี 2024
GFJ24 คือ สัญญา Gold Futures (GF), หมดอายุเดือนเมษายน 2024
**สัญลักษณ์เดือนที่สัญญาหมดอายุเรียงจากเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม: F, G, H J, K, M, N, Q, U, V, X, Z
ประโยชน์ของ TFEX จะใช้ TFEX ทำอะไรได้บ้าง
สินค้าที่ซื้อขายในตลาด TFEX มีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ไม่สามารถใช้ลงทุนได้เนื่องจากมีระยะเวลาถือครองจำกัดและมีความเสี่ยงสูงซึ่งอาจทำให้นักลงทุนสูญเงินไปเป็นจำนวนมากได้ แต่สินค้าที่เทรดในตลาด TFEX สามารถใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้ดังนี้
เก็งกำไร (Speculation)
นักลงทุนสามารถใช้การคาดการณ์แนวโน้มราคาเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของมูลค่าสัญญาได้ ด้วยความยืดหยุ่นของผลิตภัณฑ์ที่เอื้อให้สามารถทำกำไรได้ทั้งแนวโน้มราคาขาขึ้นและขาลง
ประกันความเสี่ยง (Hedge)
สำหรับผู้ที่ถือสินทรัพย์อยู่หรือคาดการณ์ว่าจะต้องได้สินทรัพย์มาหรือขายสินทรัพย์ออกไปบนราคาที่ไม่แน่นอนในอนาคตก็สามารถใช้ตราสารอนุพันธ์ในการประกันความเสี่ยงด้านราคา ณ เวลาปัจจุบันได้ เช่น หากในอนาคตนักลงทุนจะได้หุ้นปันผลจากบริษัท A ซึ่งไม่ทราบเลยว่าในอนาคตจะมีราคาเท่าไหร่แต่มองว่ามีแนวโน้มจะปรับลงต่ำกว่านี้ นักลงทุนสามารถขาย (Short) หุ้น A ที่จำนวนเท่ากัน ณ ราคาปัจจุบัน แล้วรับหุ้นจำนวนนั้นมาในอนาคต ซึ่งหากในอนาคตราคาหุ้น A ลดลงนักลงทุนจะได้กำไรจากการ Short สัญญาอนุพันธ์แล้วถือหุ้นต่อไป แต่หากราคาหุ้น A ปรับตัวขึ้น นักลงทุนสามารถขายหุ้นและปิดสัญญาอนุพันธ์อ้างอิงหุ้น A แบบไม่กำไรไม่ขาดทุน (คิดอย่างคร่าวไม่รวมต้นทุน) เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้มีการซื้อขายในตลาด TFEX
ผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ซื้อขายในตลาด TFEX ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สัญญาฟิวเจอร์ส (Futures) และ ออปชั่น (Options) ที่อ้างอิงราคากับสินค้าทางการเงินหลากหลายประเภท ได้แก่
อ้างอิงตราสารทุน ได้แก่ หุ้นรายตัว (Single Stock Future: SSF) และ ดัชนีราคาหุ้น (SET50)
อ้างอิงตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล และ อัตราดอกเบี้ย
อ้างอิงสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ โลหะมีค่า (GF - ทองคำ), โลหะพื้นฐาน (SVF - เงิน), สินค้าเกษตร (RSS3 - ยางแผ่นรมควันชั้น 3)
อ้างอิงดัชนีราคาอื่น ๆ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน (USD, EURUSD, USDJPY)
เวลาเปิดทำการของ TFEX
เวลาเปิดทำการของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) จะแตกต่างออกไปตามประเภทสิ้นค้าที่เทรด โดยรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
Source: bualuang.co.th
สามารถเปิดบัญชี TFEX ได้ที่ไหน
การเปิดบัญชีกับ TFEX (ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวเลือก) สามารถทำได้ที่บริษัทหลายแห่งที่เป็นสมาชิกของ TFEX ซึ่งมีการบริการ โดยดูรายชื่อได้ที่หน้ารายชื่อสมาชิก และเงื่อนไขที่แตกต่างกันไประหว่างบริษัทต่างๆ ดังนั้นการเลือกบริษัทที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญ
หากคุณกำลังมองหาสำหรับการเปิดบัญชี TFEX คุณสามารถพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:
1. บริษัทโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้: เลือกบริษัทที่มีชื่อเสียงและได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการเงินแห่งประเทศไทย (SEC)
2. ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ: ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย การโอนเงิน หรือค่าบริการอื่นๆ สำหรับบริษัทโบรกเกอร์ต่างๆ อาจแตกต่างกัน ควรตรวจสอบรายละเอียดเพื่อประเมินว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าใด
3. การสนับสนุนและการบริการ: คุณอาจต้องการพิจารณาถึงการสนับสนุนลูกค้า การฝึกอบรม หรือบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่บริษัทโบรกเกอร์มีพร้อมให้บริการ
4. แพลตฟอร์มการซื้อขาย: แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ใช้งานง่าย สะดวกและมีความเสถียรภาพสำหรับคุณใช้เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การซื้อขายผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
5. การศึกษาเพื่อการตัดสินใจ: ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชี ควรศึกษาข้อมูลและรีวิวเกี่ยวกับบริษัทโบรกเกอร์ต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถทำการตัดสินใจที่ดีที่สุด
เมื่อคุณได้เลือกบริษัทที่คุณต้องการที่จะเปิดบัญชี TFEX คุณสามารถติดต่อพวกเขาโดยตรงเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและเริ่มต้นกระบวนการเปิดบัญชี
สรุป
TFEX คือตลาดเทรดผลิตภัฑณ์ทางการเงินสำคัญของนักลงทุนไทยไม่น้อยไปกว่า SET และถือเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรและประกันความเสี่ยงในแบบที่เครื่องมือทางการเงินประเภทอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ดีการลงทุนในตลาด TFEX มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นเช่นกัน นักลงทุนจึงควรศึกษาความเสี่ยงและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์แต่ละตัวก่อนเริ่มเทรด และจนถึงตรงนี้ก็คงไม่มีสงสัยแล้วว่า TFEX คืออะไรอย่างแน่นอน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน