Stagflation คืออะไร ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือไม่

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

หลายคนเริ่มกังวลว่าประเทศไทยของเรานั้นจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือไม่ ในบทความจะทุกคนได้รู้จักกับคำว่า Stagflation หรือเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รวมกับกลยุทธ์วิธีการลงทุนในภาวะ Stagflation ไปอ่านในบทความกันได้เลย


นิยามคำว่า Stagflation มาจาก 2 คำ ได้แก่

   - Stagnation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือไม่ขยายตัว

   - Inflation คือ ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น


โดยปกติ Stagflation จะเกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง เช่น การเจอภัยธรรมชาติพืชผลมีราคาแพงขึ้น และมีความเสียหายต่อภาคการผลิต


Stagflation คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร?

Stagflation คือภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง แต่เงินเฟ้อกลับสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติ เพราะช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวและมีอัตราการว่างงานที่สูง ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลงจากรายได้ที่น้อยลง ส่งผลกระทบธุรกิจขายสินค้าและบริการได้ลดลง นำไปสู่การลดราคาสินค้าและบริการ กดเงินเฟ้อลดลง 


แต่ในช่วง Stagflation 

ราคาสินค้าและบริการกลับปรับตัวสูงขึ้น ดันเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นมาจาก Cost Push Inflation หรือ เงินเฟ้อด้านอุปทาน อาจเกิดจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 


  •    ประวัติของ Stagflation 

Stagflation เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษที่ 70 โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะ Stagflation คือการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันในโลกอาหรับคว่ำบาตรชาติตะวันตกที่ให้ความช่วยเหลืออิสราเอล จนกลายเป็นวิกฤตน้ำมันโลก ทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นจนสูงเกิน 10% ท่ามกลางอัตราการว่างงานที่สูงใกล้ 10% 


แน่นอนว่าการแก้ปัญหา Stagflation ไม่ใช่เรื่องง่ายและกินเวลาอยู่นานหลายปี โดยระหว่างปี 1977-1980 ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการเปลี่ยนตัวถึง 3 คน เพื่อเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะแต่ก็ยังเอาไม่อยู่ จนคนสุดท้ายคือ Paul Volcker ต้องตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยถึง 18% ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ 


หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ปีกว่า ๆ ก็ยังกลับไปถดถอยอีก เรียกได้ว่าถดถอยถึงสองครั้งภายในหนึ่งปี หนักยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาล้มละลายเกือบทั้งภูมิภาคอีกด้วย


GDP โลกช่วงปี 1973-1975 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

GDP Growth

Q1

Q2

Q3 

Q4 

1973

10.3%

4.4%

-2.1%

3.8%

1974

-3.4%

1.0%

-3.7%

-1.5%

1975

-4.8%

2.9%

7.0%

5.5%


  •    วัฏจักรของ Stagflation

อย่างที่เกริ่นนำไปก่อนหน้านี้แล้วว่า Stagflation เป็นการรวมตัวกันของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้นเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นย้อนแย้งกัน


วัฏจักรของ Stagflation

ที่มา: ทีเอ็มบีธนชาต


จากรูปภาพภาวะ Stagflation จะอยู่ในระยะถดถอยที่สาม ลองนึกดูว่าการบริโภคเรามีกำลังที่ต่ำลง เงินในมือมีน้อยลง ผู้ประกอบการก็จะขายสินค้าและบริการไม่ได้ ทำให้กำไรจากการขายสินค้าและบริการลดลง ไม่เกิดการขยายกิจการหรือการจ้างงาน จนในที่สุดมีการปลดพนักงานออกเนื่องจากรายได้หรือกำไรลดลง ทำให้เกิดอัตราการว่างงานสูงขึ้น แรงงานไม่มีรายได้ ซึ่งส่งผลให้แรงงานไม่มีกำลังในการบริโภคใช้จ่าย จึงนำไปสู่ผลอัตราการขยายตัวของ GDP ต่ำไปอีก วนกันเป็นวัฏจักรต่อเนื่องกันที่ยากที่จะแก้ไขได้

ทำไม Stagflation จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ

Stagflation เป็นปัญหาที่น่ากังวลสำหรับทุกคน โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำ เพราะส่วนใหญ่แล้วเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศที่ร่ำรวย ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอย ประเทศเหล่านี้ย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าอยู่แล้ว และยิ่งในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีปัญหาในเรื่องของราคาสินค้า ประเภทอาหาร และสินค้าเกษตรกรรมที่พุ่งสูงขึ้น แต่คลองชีพยังคงอยู่เท่าเดิมไม่ขยายตัว


เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมุติว่าคนรายได้น้อย มีรายได้ 300 บาทต่อวัน กินข้าวราดแกงจานละ 60 บาท คิดเป็น 20% ของรายได้ ในขณะที่คนรวยมีรายได้วันละ 3,000 บาท ต่อให้กินบุฟเฟต์ 300 บาท ก็ยังคิดเป็นเพียง 10% ของรายได้เท่านั้น


จากประเด็นของราคาอาหารที่แพงขึ้นทำให้เกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะเมื่อราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องช่วยอุดหนุนราคาโดยนำงบประมาณมาใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะสามารถนำเงินก้อนนี้ไปใช้ในการลงทุนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นในระยะยาวแทน


นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดสารอาหาร (malnutrition) จากกลุ่มคนรายได้น้อยภายในประเทศบางคนอาจเลือกอดมื้อกินมื้อหรือเลือกกินอาหารที่ให้พลังงานสูงในราคาถูก ที่อาจไม่มีสารอาหารมากพอ ก่อให้เกิดปัญหาด้านทุนมนุษย์ และผลเสียต่อเศรษฐกิจไปอีกเป็นสิบ ๆ ปี


      - ปี 2563 ที่ผ่านมาประเทศไทยจะสามารถยืดอกอย่างภาคภูมิใจว่าเอาตัวรอดจากการระบาดของโควิด-19 มาได้ เศรษฐกิจไทยก็เจ็บหนักกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่หดตัว 3.2 เปอร์เซ็นต์ 


      - ปี 2564 ทั้งการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ใหม่กับวัคซีนที่ไม่มาตามนัด กองทุนการเงินระหว่างประเทศปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้เหลือเพียง 2.1


ดังนั้นเราคงไม่ต้องกังวลกับภาวะ Stagflation เพราะในสถานการณ์ตอนนี้เราควบคุมเงินเฟ้อได้ดีแต่เศรษฐกิจยังตกต่ำที่รัฐบาลยังแก้ไม่ได้ คือสภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้อย่างเชื่องช้า


ปัจจัยที่จะทำให้เกิด Stagflation สังเกตได้จาก 3 ปัจจัย

  •    อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ลดลง

มุมมองทางเศรษฐกิจจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)

   

  1.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.7% ในปี 2566 จาก 


         1. ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจน สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและเครื่องชี้เร็วภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 66 จะอยู่ที่ 22 ล้านคน (ยังไม่ได้ประมาณจีนเปิดประเทศ) 

         2. การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการบริการ รวมถึงการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น แต่ต้องระวังการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า 


   1.2 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดเศรษฐกิจไทยในปี 66 ขยายตัว 3.0 ถึง 3.5% โดยได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 20 ถึง 25 ล้านคน จากจีนเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 แต่มีความเสี่ยงจากภาคการส่งออก จากค่าเงินบาทที่แข็งและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กระทบผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ดันราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น


  •    การว่างงานที่เพิ่มขึ้น

จากกราฟด้านล่างจะเห็นว่าแนวโน้มอัตราว่างงานของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง

การว่างงานลดลงต่อเนื่อง ผู้ว่างงานมีจำนวน 4.9 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.23 เช่นเดียวกันกับการว่างงานในระบบที่ปรับตัวลดลง อยู่ที่ร้อยละ 1.99 

อัตราการว่างงานรวมและอัตราการว่างงานในระบบ

*อัตราการว่างงานในระบบ = สัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนมาตรา 33


การว่างงานระยะยาวลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีจำนวน 1.0 แสนคน ลดลงจาก 1.8 แสนคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

จำนวนผู้ว่างงานระยะยาว

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


  • อัตราเงินเฟ้อสูง 

สถิติอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)


ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 108.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 3.79 (YoY) เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือนมกราคม 2566 สูงขึ้น ร้อยละ 5.02) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ร้อยละ 5.03 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติปรับลด ราคาน้ำมัน ดีเซลลง 1 บาท/ลิตร รวมทั้งสินค้ากลุ่มอาหารสดหลายชนิดราคาลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา


ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เท่ากับ 108.05 ( ปีฐาน 2562 = 100)  

เมื่อเทียบกับ

การเปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

1. เดือนกุมภาพันธ์ 2565 (YoY)

สูงขึ้น

3.79

2. เดือนมกราคม 2566 (MoM)

ลดลง

-0.12

3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. – ก.พ.) ปี 2566    เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)

สูงขึ้น

4.40


เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยข้างต้นจะเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นมีโอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำที่จะเกิดภาวะ Stagflation จากข้อมูล DGP ปี 2566 เพราะในปีนี้ไทยได้รับแรงหนุนและการขยายตัวในส่วนของภาคการท่องเที่ยว อัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้มของการบริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ที่สูงขึ้นอีกด้วย ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ แม้ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สูงแต่เราก็ยังมองเห็นการชะลอตัวลง ทำให้เศรษฐกิจไทยของเราในปี 2566 ไม่เกิดภาวะ Stagflation อย่างแน่นอน


ปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง เสี่ยงเกิด Stagflation มีอยู่ 3 ประการ 

1. ความต้องการซื้อสินค้าบางอย่างมีเพิ่มขึ้น แต่อุปทานยังเท่าเดิม เช่น เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงเครื่องใช้ในครัวเรือน 

2. การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้โรงงานหลายแห่งในแถบเอเชียต้องปิดตัวชั่วคราว 

3. นโยบายภาครัฐที่อัดฉีดเงินเข้าระบบมหาศาล อาจนำไปสู่การเพิ่มปริมาณเงินและอัตราเงินเฟ้อ


จากธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 2/2566 ได้มีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2566 โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 2.4 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ ตามแรงกดดันด้านอุปทานจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันที่ทยอยคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากปี 2565 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ในปี 2566 ก่อนจะทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 2567 และอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดการณ์ไว้ เนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญภาวะต้นทุนสูงต่อเนื่อง อีกทั้งมีแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดต่อไป


ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation มั้ย?

ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเกิด Stagflation ยังมีแนวโน้มต่ำอยู่ เพราะได้รับแนวโน้มแรงหนุนจากการขายตัวของภาคท่องเที่ยวจากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวในไทยกันมากขึ้นในปี 2566 นี้ ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงแต่ก็ยังเห็นการชะลอตัวลงอยู่ในกรอบที่ไม่รุนแรง


  •    ความท้าทายของเศรษฐกิจไทยกับความเสี่ยงจากภาวะ stagflation

1. แนวโน้มที่บริษัทจะกลับมามีอำนาจตลาดมากขึ้น  

2. โลกอาจกำลังผ่านจุดสูงสุดของยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และต้นทุนการผลิตกำลังปรับตัวสูงขึ้น

3. การเพิ่มขึ้นของ Dependency ratio จะกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนทิศทางจะเพิ่มความท้าทายกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต จากอัตราดอกเบี้ยที่ต้องปรับขึ้นในภาวะที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

4. อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในอนาคต วิกฤตการธนาคารในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอาจลุกลาม อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการธนาคารของไทยก็พัฒนาไปมากเช่นกัน


  •    ความเสี่ยง Stagflation

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเกิด Stagflation อาจยังไม่เข้าข่าย ณ เวลานี้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลากหลายปัจจัยที่จะทำให้เกิด Stagflation ก็เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา และมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาล หรือแม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจต้องมีมาตรการออกมาล่วงหน้าเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวจะย้อนกลับมาทำร้ายเศรษฐกิจไทยในภายหลัง และนั่นจะส่งผลต่อศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาวได้


หากเราไปดูมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กนง. ยังมองว่าเศรษฐกิจไทย ไม่เข้าข่ายภาวะ Stagflation โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในปี 2023 จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศกับภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงจะทยอยคลี่คลายลงในช่วงต้นปี 2023

เราควรรับมือกับ Stagflation ได้อย่างไร?

เพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศ จะทำให้สินค้าออกมาจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น จะลดปัญหาเงินเฟ้อได้ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 


และต้องใช้ความร่วมมือของรัฐบาลธนาคารกลางร่วมกันแก้ปัญหา ถ้าหากเกิดการปล่อยไว้โดยไม่แก้ไขปัญหาอะไรเลยก็อาจทำให้ภาวะ Stagflation ถึงขั้นร้ายแรงได้ อย่างในกรณียุค 1970 ที่เกิดปัญหาน้ำมันแพงส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แต่รัฐบาลกลับไม่แก้ปัญหาน้ำมันแพง จนท้ายที่สุดปัญหานี้ได้กลับส่งผลต่อเศรษฐกิจเอง


กลยุทธ์การลงทุนหากเกิด Stagflation

อาจมองหาสินทรัพย์การลงทุนที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ เพื่อเป็นสินทรัพย์ที่จะอยู่กับเราเมื่อเศรษฐกิจอาจเกิดวิกฤต เช่น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นวัฏจักร ล้วนเป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยติดตามข่าวสารควบคู่ไปด้วย ถึงแม้ว่าการปรับพอร์ตการลงทุนอาจเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายดาย แต่คนอย่างเรา ๆ ก็ต้องยอมรับและรับมือกับการแก้ไขปัญหา Stagflation การดำเนินงานของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย เพราะปัญหาแบบนี้คนอย่างเรา ๆ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขเองได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว


ตัวอย่างการลงทุน สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างเช่น ทองคำ

ราคา ทองคํา แบบเรียลไทม์


ราคาทองคำได้รับการยอมรับอย่างมากในตลาดการเงินทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน และสามารถทำผลงานได้อย่างดีในช่วงวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ อย่างที่รู้กันดีว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อได้ หรือเรียกว่า หลุมหลบภัย ราคาทองคำจึงมีทิศทางเดียวกันกับอัตราเงินเฟ้อ เช่น เมื่อสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นผู้คนมีเงินมากขึ้น จะทำให้มีเงินลงทุนซื้อทองคำกันมากขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของค่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเมื่อทองคำเป็นที่ต้องการมากขึ้น ราคาทองคก็จะปรับตัวสูงขึ้นนั้นเอง ทองคำจึงถูกพิจารณาใช้เพื่อการบริการความเสี่ยง

สรุปภาวะ Stagflation

โดยสรุปแล้ว ถึงแม้วันนี้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังห่างไกลจากภาวะ Stagflation เป็นเพียงภาวะเงินเฟ้อสูงชั่วคราว แต่ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเผื่อใจและต้องรับมือไว้หากเกิดขึ้นจริง นักลงทุนควรมีการปรับพอร์ตการลงทุนจากสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนผูกกับเงินเฟ้อ อย่างเช่น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นวัฏจักร จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงสภาวะ Stagflation และเพื่อเป็นการกระจายพอร์ตการลงทุนด้วย แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

1.ทำไม Stagflation ถึงไม่ดี?

Stagflation คือการรวมกันของปัจจัยลบ 3 ประการ: การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง การว่างงานที่สูงขึ้น และราคาที่สูงขึ้น นี่คือการรวมกันที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ในตรรกะของเศรษฐศาสตร์ ราคาไม่ควรขึ้นเมื่อคนมีเงินใช้จ่ายน้อย

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์