Scalping คืออะไรและจะเริ่ม Scaping ได้ยังไง

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การลงทุนในปัจจุบันเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ราคาหุ้นในปัจจุบันกับราคาในอีกหนึ่งชั่วโมงถัดไปอาจต่างกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ การถือสถานะเป็นเวลานานกลายเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยง ซึ่ง Scalping สามารถถูกนำมาใช้แก้ปัญหานี้ได้ เพราะ Scalping คือรูปแบบการเทรดที่ใช้ในการล็อกกำไรระยะสั้นและให้ความคล่องตัวสูง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนรายย่อย คราวนี้เราจึงขอชวนทุกท่านมาทำความรู้จักว่า Scalping คืออะไร สำหรับนักลงทุนรายย่อยจะนำการเทรดนี้ไปใช้ได้อย่างไร และ Scapling นี้มีจุดเด่นและข้อควรระวังอะไรบ้าง 

ทำควมรู้จัก Scalping คืออะไร ทำงานอย่างไร

Scalping คือ รูปแบบการเทรดที่คาดหวังผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเพียงเล็กน้อยและใช้เวลาในการถือสถานะ (Hold Period) สั้นมากในระดับชั่วโมงจนถึงไม่กี่วินาที โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคนิคเพื่อหาโอกาสบนความผันผวนของราคา ซึ่งในทางทฤษฎีการเกิดความผันผวนด้วยช่วงราคาเล็ก ๆ สามารถเกิดได้บ่อยกว่าการเกิดแนวโน้มราคาขนาดใหญ่ที่ใช้เวลาในการฟอร์มตัวนาน การ Scapling จึงสามารถทำได้บ่อยและหาโอกาสเข้าเทรดได้ง่ายกว่าการเทรดรูปแบบอื่น


ด้วยการอาศัยความแม่นยำและความรวดเร็วในการเปิดปิดสถานะ Scalping สามารถนำมาใช้ทำกำไรได้ทั้งการซื้อถูกขายแพง การซื้อแพงขายแพงกว่า การขายแพงแล้วซื้อกลับในราคาถูก หรือแม้แต่การขายในราคาถูกเพื่อซื้อกลับในราคาที่ถูกกว่า จะเห็นได้ว่า Scaping คือรูปแบบการเทรดที่อาศัยความคล่องตัวสูงในการสร้างผลกำไร


แต่แม้ Scalping จะเป็นการเทรดเพื่อหวังกำไรจากส่วนต่างราคาเล็กน้อย ในระยาวผลกำไรจาก Scalping อาจไม่ได้ต่างไปจากการเทรดรูปแบบอื่น เพราะการเทรดแบบ Scalping อาศัยขนาดของสถานะขนาดใหญ่หรือการใช้อัตราทด (Leverage) เข้ามาเป็นตัวช่วย ทำให้สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าได้บนความเสี่ยงในการถือสถานะที่น้อยกว่า ขณะที่การ Day Trading จะเปิดและปิดสถานะในวันเพื่อลดความเสี่ยงในการถือสถานะข้ามวันและอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน แต่การเทรดแบบ Scapling มักปิดสถานะในช่วงเวลาซื้อขาย (Trading Session) หรือในเวลาราว 2 – 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดการซื้อขายในช่วงเวลาต่อไป

เงื่อนไขในการ Scalping


จากการที่ Scalping อาศัยความเร็วและความแม่นยำของราคาในการเทรด เงื่อนไขที่เอื้อให้การ Scapling ทำได้ง่ายจึงขึ้นอยู่กับ


  • สภาพคล่อง (Liquidity)

    สภาพคล่องส่งผลต่อราคาซื้อขาย ซึ่งสำหรับการ Scalping แล้วราคาซื้อขายที่ผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยอาจส่งผลมหาศาลต่อผลกำไรและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการลงทุนได้


  • ความผันผวนของราคา (Volatility)

    การ Scapling ทำกำไรจากความผันผวนของราคา การ Scalp ที่ให้ผลดีควรมีความผันผวนของราคาเล็กน้อยเพียงพอที่จะทำกำไรได้ แต่ไม่ควรเป็นความผันผวนขนาดใหญ่ที่เป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับการเทรด และความผันผวนขนาดใหญ่จะเหมาะกับการเทรดในรูปแบบอื่น เช่น โมเมนตัม หรือ สวิงเทรด มากกว่า


  • ต้นทุนการเทรด (Trading Cost)

    การ Scalping เป็นการทำซ้ำหลายครั้งเพื่อเก็บกำไรเล็ก ๆ ไปตลอดทาง ซึ่งต้นทุนการเทรดจะเกิดขึ้นตลอดทางเช่นกัน ซึ่งหากต้นทุนส่วนนี้มีสูงจะทำให้ส่วนของกำไรที่ได้ในแต่ละการเทรดน้อยลง จนอาจทำให้นักเทรดต้องเสี่ยงมากขึ้นเพื่อให้ได้กำไรชดเชยต้นทุน หรือหากไม่เสี่ยงเพิ่มก็จะได้ผลกำไรที่น้อยลงกว่าที่ควรเป็น


  • การควบคุมความเสี่ยง (Risk Management)

    คือการวางแผนจุดเข้าและจุดออกของการ Scalping ซึ่งหมายถึงทั้งจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุน รวมถึงการคำนวณขนาดสถานะในการเทรด ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การ Scalping อยู่รอดได้ในระยะยาว

เครื่องมือที่ใช้ในการ Scalping

เครื่องมือที่ใช้ในการ Scalping เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ทำให้นักเทรดสามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาที่จะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น 


  • รูปแบบราคา (Price Action)

    คือการเทียบรูปแบบการเคลื่อนตัวของราคาที่เคยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เพื่อนำมาคาดการณ์แนวโน้มที่มีโอกาสเกิดขึ้นต่อไป 


  • เส้นค่าเฉลี่ย (Simple Moving Agerage)

    เป็นอินดิเคเตอร์กลุ่มแนวโน้มที่สามารถนำมาใช้หาแนวรับแนวต้านและจุดกลับตัวของแนวโน้ม ซึ่งเป็นตัวช่วยในการคาดการณ์แนวโน้มราคาที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน


  • RSI (Relative Strength Index)

    เป็นอินดิเคเตอร์สายโมเมนตัมที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม สามารถนำมาใช้คาดการณ์ความแข็งแกร่งของแนวโน้มรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม


เครื่องมือทางเทคนิคเหล่านี้อาจดูคล้ายกับการเทรดรูปแบบอื่น แต่จุดเด่นสำหรับการใช้อินดิเคเตอร์ในการ Scalping คือการลดช่วงเวลา (Timeframe) ให้สั้นลง อาจใช้ระดับ 5 – 3 นาที หรือหากเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายสูงอาจใช้ช่วงเวลาให้สั้นลงในระดับต่ำกว่านาทีก็ได้ และเน้นการใช้อินดิเคเตอร์เหล่านี้เพื่อบ่งชี้สัญญาณที่เร็วและทิศทางที่แม่นยำโดยไม่เน้นขนาดของผลตอบแทน เพื่อตอบโจทย์การเทรดที่กินคำเล็กและเน้นการทำซ้ำบ่อย ๆ แทน

ตัวอย่างกลยุทธ์ในการ Scalping

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scapling ที่สามารถนำไปออกแบบระบบเทรด Scalping ของตัวเองได้ เช่น 


  • การ Scalping บนการเบรคเอาท์ (Breakout Trading) 

    เป็นการ Scapling บนรูปแบบราคาที่บีบตัวหรือมีการพักตัวมาก่อนหน้าแล้วมีการเลือกทิศทางการเคลื่อนที่ต่อของราคา เป็นรูปแบบที่สามารถใช้อินดิเคเตอร์ตรวจหาได้และมีความแม่นยำสูง แต่มักเกิดขึ้นไม่บ่อย


  • การ Scalping ในช่วงราคา (Trading the Spread)

    เป็นการ Scalping บนรูปแบบราคาที่มีการเคลื่อนที่ในกรอบ ซึ่งเป็นได้ทั้งกรอบชาแนลในขาขึ้น กรอบชาแนลในขาลง หรือกรอบชาแนลที่เป็นการเคลื่อนออกข้างแบบไม่มีแนวโน้ม มักเป็นรูปแบบราคาที่เกิดขึ้นบ่อย จึงเป็นกลยุทธ์การ Scalping ที่ได้รับความนิยมใช้บ่อยวิธีหนึ่ง

จะเริ่ม Scalping ได้ยังไง


การ Scalping เป็นการเทรดที่มีความคล่องตัวสูงและไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเทรดมาก ทำให้เป็นวิธีที่นักลงทุนรายย่อยสามารถนำไปใช้ได้ โดยมีการเริ่มต้นจาก


1. ต้องมีพื้นฐานการวิเคราะห์ทางเทคนิค 

เพราะการเทรดและการออกแบบระบบเทรดของ Scapling มีการวิเคราะห์ราคาและอินดิเคเตอร์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคตอันใกล้ การวิเคราะห์เชิงเทคนิคตอบโจทย์นี้ได้ดีบนสมมติฐานที่ว่าราคาได้รวมเอาข้อมูลทุกอย่างไว้แล้ว ด้วยเครื่องมือทางเทคนิคช่วยให้นักเทรดสามารถ Scalping ได้ไปแล้วกว่าครึ่ง


2. ค้นหาตลาดและสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด 

การเลือกตลาดและสินทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการ Scalping เป็นการเพิ่มโอกาสในการชนะให้กับการเทรดของนักเทรด การเทรดบนตลาดที่มีเงื่อนไขเอื้อต่อการเทรดทำให้นักเทรดไม่ต้องเครียดกับการตัดสินใจมากเกินไป โดยตลาดที่ว่าต้องมีสภาพคล่องสูงและมีความผันผวนของราคาบ้าง แต่ไม่มากจนเกินไป เช่น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ


3. วางกลยุทธ์การเทรด 

เป็นการเริ่มวางแผนการเทรดแบบคร่าว ๆ ว่าจะใช้กลยุทธ์แบบไหน และจะให้น้ำหนักกับการเทรดหน้าซื้อ (Long) หรือหน้าขาย (Short) มากกว่า ซึ่งขั้นตอนนนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินตลาดสินทรัพย์ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ เป็นหลัก และสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสภาพแวดล้อมในตลาดเปลี่ยนแปลงไป


4. ออกแบบระบบควบคุมความเสี่ยง 

เป็นการออกแบบระบบเทรดว่าจะใช้อินดิเคเตอร์ตัวใดเป็นตัวกำหนดจุดเข้าซื้อ จุดขาย และจุดตัดขาดทุน รวมทั้งกำหนดขนาดของสถานะที่จะใช้เทรด ในขั้นตอนนี้นักเทรดจะสามารถประเมินความเสี่ยงของสถานะการเทรดของตัวเองได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้เท่าไหร่และหากขาดทุนจะต้องขาดทุนแค่ไหน สุดท้ายแล้วด้วยความเสี่ยงนี้จะคุ้มค่ากับการเปิดสถานะหรือไม่


5. ลงมือ 

เมื่อกำหนดแผนการเทรดไว้อย่างรอบคอบแล้ว นักเทรดสามารถเริ่มการ Scalping ได้ โดยอาจเริ่มทดลองจากขนาดสถานะน้อย ๆ เพื่อทดสอบระบบที่สร้างขึ้นก่อนได้


เร่ิมเทรด Forex ด้วยการ Scalping ง่ายๆ กับแพลตฟอร์มการเทรด Mitrade เดี๋ยวนี้↓↓↓

จุดเด่นและข้อควรระวังของการ Scalping

เช่นเดียวกับการเทรดในรูปแบบอื่น ๆ Scalping มีจุดเด่นที่นักเทรดสามารถนำไปใช้ได้ผลดี แต่ก็มีข้อเสียที่ในบางเงื่อนไขอาจไม่ได้ให้ผลตามที่คาดหวังและต้องระวังดังนี้


▲ ข้อดี

  • ใช้เงินลงทุนน้อย เน้นการทำซ้ำ ทำให้เหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนไม่มากก็สามารถทำกำไรสะสมเป็นเงินทุนก้อนใหญ่ได้


  • ใช้ระยะเวลาในการถือสถานะสั้น ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่ถือสถานะอยู่ได้ 


  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการถือสถานะข้ามคืน


  • ไม่จำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์พื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์บริษัทหรืออุตสาหกรรมก็สามารถทำกำไรได้


▲ ข้อเสี

  • เรียกร้องเวลาในการเทรดสูง เนื่องจากจังหวะในการ Scalping อาศัยความเร็ว ซึ่งช่วงเวลาไม่กี่วินาทีก็มีผลต่อกำไร/ขาดทุนที่จะได้รับ นักเทรดจึงต้องใช้เวลาเฝ้าจอตลอดการเทรด


  • สร้างความเครียดได้สูง เนื่องจากการ Scalping อาศัยการตัดสินใจซ้ำ ๆ หลายครั้ง ซึ่งอาจสร้างความเครียดและความเหนื่อยล้าให้กับนักเทรดได้ง่าย

  • เรียกร้องความมีวินัยในระดับสูง นั่นคือเมื่อวางแผนแล้วจำเป็นต้องเปิดหรือตัดขาดทุน ก็ต้องทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพราะมีผลต่อการควบคุมความเสี่ยงที่แม้สถานะที่ใช้เทรดจะมีขนาดไม่ใหญ่แต่ด้วยการใช้อัตราทดก็สามารถสร้างความเสียหายจำนวนมากให้กับพอร์ตการลงทุนได้


สรุป

Scalping คือหนึ่งในรูปแบบการเทรดที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในตลาดที่มีสภาพคล่องสูงและความผันผวนไม่มาก เช่น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Forex) ตลาดหุ้น/ดัชนี หรือแม้กระทั่งตลาดที่มีความผันผวนสูงอย่างทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งแม้การเทรดในรูปแบบนี้จะใช้เงินลงทุนไม่มากแต่ด้วยการทำซ้ำบ่อยครั้งก็สามารถสะสมเป็นผลกำไรระยะยาวได้ไม่แพ้การเทรดแบบรันเทรนหรือสวิงเทรด นักเทรดที่มีความเชี่ยวชาญยังไม่ต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาอันเนื่องมาจากเรื่องไม่คาดฝันเนื่องจากใช้เวลาในการถือสถานะสั้นมาก การเทรดแบบ Scalping จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักเทรดในการสร้างพอร์ตให้เติบโตได้ในระยะยาวเช่นกัน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์