Recession คืออะไรและนักลงทุนแล้วควรเตรียมตัวรับมืออย่างไรกัน

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การเติบโตของเศรษฐกิจสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนักลงทุนได้ ในทางกลับกันการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ recession ก็สามารถชะลอผลกำไรที่จะงอกเงยจากการลงทุนได้เช่นกัน และในทุก ๆ ปีก็จะมีนักวิเคราะห์คอยประเมินสภาพทางเศรษฐกิจอยู่แล้วว่าจะเติบโตได้เท่าไหร่ ซึ่งนักลงทุนอาจมองตัวเลขเหล่านี้ในแง่ของการเติบโต แต่การไม่เติบโตของเศรษฐกิจก็สำคัญต่อการวางแผนลงทุนไม่แพ้กัน คราวนี้เราจึงจะมาลงลึกว่า recession คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสำหรับนักลงทุนแล้วควรเตรียมตัวรับมืออย่างไรกัน

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession คืออะไร?

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession คือ การชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญเป็นวงกว้าง ในระยะเวลายาวนานระดับหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์มักใช้ตัวเลขการถดถอยทางเศรษฐกิจติดต่อกัน 2 ไตรมาสขึ้นไป แต่หากเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 3 ปีและส่งผลให้การเติบโตทางเศษฐกิจติดลบเกินกว่า 10% ของจีดีพีจะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือ Depression ซึ่งเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ประเทศอเมริกา กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1929 ยาวนานไปจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1939 หรือเป็นเวลากว่า 10 ปี และนำมาซึ่งการว่างงานสูง ควบคู่ไปกับการตกต่ำของการผลิต การบริโภค และการลงทุน อันเป็นกลจักรสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ


นับตั้งแต่ประกาศอิสรภาพ เศรษฐกิจอเมริกาผ่านภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาแล้วกว่า 48 ครั้ง การเข้าสู่ recession แต่ละครั้งรวมถึงวันสิ้นสุด recession ของสหรัฐอเมริกาจะถูกประกาศโดยสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (National Bureau of Economic Research – NBER) และองค์กรวิจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่ง NBER ได้กำหนดคุณลักษณะของ recession ไว้ว่า “เป็นการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้างอย่างมีนัยสำคัญเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 ไตรมาส หรือ 6 เดือน โดยอาจใช้ปัจจัย เช่น GDP รายได้ อัตราการจ้างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงยอดค้าปลีกเป็นตัวชี้วัด”

อะไรทำให้เกิด Recession?

recession


การเกิด recession ยังเป็นหัวข้อที่นักเศรษฐศาสตร์ศึกษาอยู่ตลอด ซึ่ง recession สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างการเปลี่ยนแปลงของราคาต้นทุนการผลิต เช่น วิกฤตน้ำมัน ในช่วงปี 1950s และ 1970s ที่ผลักดันระดับราคาสินค้าทั่วไปให้ปรับตัวสูงขึ้นจนเกิดเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรง นำมาซึ่งการหดตัวอย่างรวดเร็วของกำลังซื้ออันเป็นกลจักรสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ recession ตามมา


การเกิด recession ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากมาตรการของภาครัฐที่พยายามจะสกัดและควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการบริโภคลง และหากเป็นการลดลงในระดับที่รุนแรงก็ส่งผลให้เกิด recession ได้


นอกจากนี้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ไกลนักในช่วงปี 2007 ก่อนการเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ ที่ระดับราคาสินทรัพย์พุ่งตัวสูงขึ้นพร้อมการขยายตัวของเครดิต ในทางกลับกันก็เกิดเป็นการสะสมหนี้จำนวนมหาศาลจนถึงจุดที่ภาคธุรกิจและครัวเรือนไม่สามารถชำระหนี้ได้อีกต่อไป การก่อหนี้ไว้จำนวนมากส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการลงทุนและการบริโภคซึ่งมาพร้อมกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการบริโภคที่เป็นกลจักรสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากมีสัดส่วนสูงเกินครึ่งของจีดีพีของประเทศในแต่ละปี 


Recession ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการชะลอตัวของความต้องการซื้อจากนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูง การชะลอตัวของประเทศคู่ค้าขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ จีน เยอรมัน หรือ ญี่ปุ่น จะมีผลต่อการเติบโตของประเทศนั้น ๆ ให้ชะลอตัวลงตาม ดังนั้นการเกิด recession ในประเทศหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นในประเทศใหญ่ ๆ จะสามารถส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ที่มีการพึ่งพิงเกี่ยวข้องกันได้ด้วย


ดังนี้จะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ recession นั้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุและมีความท้าทายในการคาดการณ์ นักเศรษฐศาสตร์จึงมักใช้ตัวแปรทางเศรษฐกิจบางตัว เช่น การขยายตัวของเครดิต การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ หรือแม้แต่อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวบ่งชี้การเกิด recession ที่ควรระวังตามมา

Recession ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี 2000

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession


อเมริกาเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่งผลต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อเมริกายังเป็นประเทศที่มีการศึกษาวิกฤตเศรษฐกิจย้อนหลังไว้มากมาย ทำให้เราสามารถเห็นภาพ recesion ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจทั้ง 3 ครั้งของประเทศอเมริกานับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา


1. วิกฤตดอทคอม (The Dot-Com Recession) มีนาคม 2001–พฤศจิกายน 2001

  • กินเวลา: 8 เดือน

  • การติดลบของ GDP จากสูงสุดถึงต่ำสุด: -0.3%

  • อัตราว่างงานสูงสุด: 6.3%

  • สาเหตุและการเกิด:

    จากการเก็งกำไรในภาคเทคโนโลยีของตลาดหุ้นสหรัฐทำให้เกิดการปรับลงของดัชนี NASDAQ100 กว่า 82% จากจุดสูงสุดที่ 4861 ลงมาทำจุดต่ำสุดที่ 850 ส่งผลต่อรายได้และการหดตัวของภาคการบริโภค ซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์ 9/11 จนธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 6.5% ในช่วงกรกฎาคม 2000 มาเป็น 1% ในช่วงกลางปี 2003 การถดถอยของเศรษฐกิจหลังภาวะวิกฤตดอทคอมจึงเป็นไปในช่วงสั้น ๆ 8 เดือนในช่วงปี 2001 และมีการถดถอยของการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มาก


2. การถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (The Great Recession) ธันวาคม 2007– มิถุนายน 2009

  • กินเวลา: 18 เดือน

  • การติดลบของ GDP จากสูงสุดถึงต่ำสุด:  -5.1%

  • อัตราว่างงานสูงสุด: 10.0%

  • สาเหตุและการเกิด: 

    การถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่หรือที่รู้จักกันในชื่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เกิดจากวิกฤตในภาคการเงินที่เริ่มจากการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาบ้านที่เดิมอยู่ในระดับ 140 ในปี 2000 ปรับขึ้นมาเป็น 220 ในปี 2006-2007 เมื่อราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกับเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่ใช้หนี้จากการกู้อสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อราคาบ้านปรับลดลงจึงเกิดเป็นความเสียหายจากเครื่องมือทางการเงินที่ไม่ได้ออกแบบให้กระจายความเสี่ยงได้ดีพอ เกิดเป็นความเสียหายจากภาคการเงินลามเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริง และเกิดเป็นการหดตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจรุนแรงถึง 5.1% ส่งผลให้มีผู้ว่างงานจำนวนมาก อัตราว่างงานสูงสุดอยู่ที่ 5.5%


    ช่วงปลายปี 2008 ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quanititative Easing) ด้วยวงเงินรวมแล้วกว่า $1.75 ล้านล้าน (เมื่อสิ้นปี 2009) และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงใกล้ 0  จากนั้นยังต้องเพิ่มวงเงินทำ QE อีกสองครั้งในปี 2010 และ 2012 เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้ดี การถดถอยของเศรษฐกิจที่ติดลบต่อเนื่องกว่า 18 เดือน หรือหนึ่งปีกว่าในครั้งนี้ไม่ส่งผลเฉพาะแค่กับเศรษฐกิจสหรับ แต่ส่งต่อวิกฤตลามไปยังกลุ่มประเทศยูโรโซนอีกด้วย


3. วิกฤตโควิด (The COVID-19 Recession) กุมภาพันธ์ 2020–เมษายน 2020

  • กินเวลา: 2 เดือน

  • การติดลบของ GDP จากสูงสุดถึงต่ำสุด: -19.2%

  • อัตราว่างงานสูงสุด: 14.7%

  • สาเหตุและการเกิด: 

    การเริ่มต้นแพร่ระบาดของโควิดเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2020 และกระจายเข้าสู่สหรัฐในช่วงเดือนมีนา ส่งผลให้เกิดการจำกัดการท่องเที่ยวและเดินทาง การติดเชื้อเป็นจำนวนมากส่งผลต่อการจ้างงานและการผลิตในอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งในด้านอุปสงค์ (การบริโภค) และอุปทาน (ภาคการผลิต) อัตราการว่างงานเริ่มไต่ระดับจาก 3.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ขึ้นไปสูงสุดราว 14.7% ในช่วงปลายปี 2021 ไม่เพียงภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงินก็เกิดความผันผวนของราคาสินทรัพย์ในระดับสูง 


ธนาคารกลางสหรัฐและรัฐบาลกลางได้เข้าแทรกแซงระบบด้วยแพ็กเกจนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการกลับมาทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอีกครั้ง (QE4) จนทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐกลับไปเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากเดิม $4.1 ล้านล้านจนใกล้แตะ $9 ล้านล้านในช่วงปลายปี 2021 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐยังถูกกดในระดับต่ำใกล้ 0.25% จนถึงเดือนมีนาคม 2022 

การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในช่วง recession

 

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession คืออะไร


เศรษฐกิจในช่วง recession จะมีการหดตัวในวงกว้างเป็นเวลานาน ซึ่งมักส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในระบบที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการหดตัวของเครดิตส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนต้องถอนทุนออกไป นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อปิดความเสี่ยงด้านลบ และเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีราคาค่อนข้างคงที่ เช่น ทองคำ พันธบัตร หรือสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ แทน  


ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการปรับลงของราคาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างรุนแรง ในเวลาแค่เดือนกว่า ๆ 


  • ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 38.40% จากจุดสูงสุดที่ 29,568.57 ทำจุดต่ำสุดที่ 18,213.65 

  • น้ำมันดิบ ปรับตัวลดลงเกือบ 98% จาก $54 ต่อบาร์เรล ลงไปทำจุดต่ำสุดไม่ถึง $1

  • ทองคำ ปรับตัวขึ้น 32% จากราคา1567 ดอลลาร์/ออนซ์ ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 2067 ดอลลาร์/ออนซ์

  • ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลสหรัฐ ปรับตัวลดลง 80% (แสดงว่านักลงทุนแย่งกันเข้าซื้อทำให้ราคาแพงขึ้น) จาก 1.672% ลงมาเป็น 0.322%


ในสถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงไม่ว่าจะทั้งจาก recession หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์มักไปในทิศทางที่ปิดรับความเสี่ยง (Risk-off) คือ นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลดการถือสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น หรือ น้ำมัน แต่หันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีแนวโน้มจะไม่สูญมูลค่าแทน และทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยมักให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง recession อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าสินทรัพย์ปลอดภัยจะให้ผลตอบแทนได้ดีไปตลอดช่วง recession เพราะรัฐบาลมักมีมาตรการเข้ามาแทรกแซงให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เช่น การเข้าทำ QE ของสหรัฐ ทำให้แม้ค่าเงินดอลลาร์จะมีฐานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยในปีนั้นค่าเงินดอลลาร์ให้ผลตอบแทนติดลบไปถึง 13.5% 


นักลงทุนที่มากประสบการณ์จะพบว่าเป็นการยากที่จะคาดการณ์การเกิดขึ้นของ recession แต่การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนสามารถข้ามผ่านทุกสถานการณ์ได้จะเป็นคำตอบที่เอื้อต่อการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาวมากที่สุด

สิ่งที่นักลงทุนควรและไม่ควรทำเมื่อเกิด Recession

ในช่วง recession ความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่คนในระบบจะเปลี่ยนสินทรัพย์ให้มีสภาพคล่องมากขึ้น เช่น การขายหุ้นเป็นเงินสด หรือมีการเปลี่ยนไปถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมีฐานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำและพันธบัตร ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรทำและไม่ควรทำเมื่อเกิด recession จึงมีดังนี้


❎ สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • เพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

    สินทรัพย์เสี่ยงคือสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนได้สูง ในทางตรงกันข้ามก็สามารถขาดทุนได้สูงเช่นกัน ในภาวะ recession ซึ่งมีความเสี่ยงด้านลบมากสินทรัพย์เสี่ยงจึงมีโอกาสให้ผลตอบแทนติดลบได้สูง และการเพิ่มความเสี่ยงที่จะให้ผลขาดทุนนั้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ควรทำ


  • ก่อหนี้ในระดับสูง

    สำหรับนักลงทุนแล้วทุก recession เป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานดีราคาถูก การก่อหนี้ในระดับสูงทำให้รายได้ต้องถูกนำไปชำระหนี้ก่อนและเป็นการลดความสามารถในการใช้จ่ายและลงทุนในระยะยาว การก่อนหนี้ในระดับสูงในช่วง recession จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนไม่ควรทำ


  • กู้ด้วยดอกเบี้ยแบบลอยตัว

    ARM (Adjustable-Rate Mortgage) หากต้องมีการกู้นักลงทุนควรระมัดระวังการกู้ดอกเบี้ยแบบ ARM หรืออัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนได้ในช่วง recession เพราะช่วงต้นของ recession รัฐบาลมักกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับขึ้นไป ทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้เสียความสามารถในการชำระหนี้ได้


✅ สิ่งที่ควรทำ

  • ปลี่ยนการลงทุนเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

    สินทรัพย์ปลอดภัยให้ความมั่นใจได้ว่าในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ปกติเงินทุนของนักลงทุนจะไม่สูญไป ในช่วงต้นของ recession สินทรัพย์ปลอดภัยบางประเภทยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกับพอร์ตการลงทุนได้ สินทรัพย์ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ควรมีติดพอร์ตการลงทุนไว้


  • ยึดแหล่งรายได้ที่มีความมั่นคง

    เช่น งานประจำ เพื่อสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ และนำรายได้ไปลงทุนต่อ โดยใช้จังหวะที่สินทรัพย์มีราคาไม่แพงในช่วง recession หาหุ้นดีราคาถูกเก็บเข้าพอร์ตการลงทุน


  • กู้ด้วยดอกเบี้ยแบบคงที่ FRM (Fixed-Rate Mortgage)

    อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่คือการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเปลี่ยนไป ผู้กู้ก็ยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยที่อัตราเดิมไปจนหมดอายุสัญญากู้ยืม โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดวิกฤตจะตามมาด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำสำหรับการกู้ยืมระยะยาว เช่น การกู้ซื้อบ้าน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หากนักลงทุนกำลังมองหาการกู้ซื้อบ้านควรมองเป็นตัวเลือกในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ recession


สรุป

การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่นักลงทุนสามารถสังเกตได้และได้รับการบอกกล่าวจากนักวิเคราะห์กันอยู่แล้ว แต่ช่วงเศรษฐกิจถดถอย หรือ recession คือช่วงที่นักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุนไม่แพ้กัน เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่สามารถชี้วัดความอยู่รอดของพอร์ตการลงทุนได้ในระยะยาว การคาดการณ์การเกิด recession ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นักลงทุนที่มากประสบการณ์จะเตรียมความพร้อมของพอร์ตการลงทุนเพื่อเตรียมรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยเฉพาะการมาถึงของช่วง recession เสมอ และสำหรับนักลงทุนที่เตรียมพร้อม ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือ recession จะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนที่งอกงามในอนาคตต่อไป


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์