Oversold Overbought คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Oversold Overbought คือ ตัวบ่งชี้ภาวะการซื้อขายมาเกินไปและการซื้อมากเกินไป ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สำคัญของนักเทรดที่ช่วยให้ไม่ต้องเข้าซื้อที่ราคาแพงเกินไปและขายที่ราคาถูกเกินไป ซึ่งนักเทรดคงคุ้นเคยกับคำนี้อยู่แล้วแต่อาจยังมีคำถามอยู่ว่าแล้วจะมองหาภาวะ Oversold Overbought นี้อย่างไร คราวนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับการวิเคราะห์ตัวนี้รวมถึงอินดิเคเตอร์ที่จะมาช่วยบ่งชี้ให้มีความแม่นยำในการเทรด รวมถึงการประยุกต์ใช้เพื่อการเทรดฟอเร็กซ์ในท้ายที่สุด

Oversold Overbought คืออะไร?

Oversold Overbought คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้อินดิเคเตอร์มาชี้วัดความถูกแพงของราคาที่เกิดขึ้นอ้างอิงจากราคาหรือปริมาณซื้อขายที่เคยเกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้า แล้วนำมาบ่งชี้ว่า ณ ช่วงราคาที่กำลังพิจารณานั้นมีแนวโน้มที่จะมีการซื้อมากเกินไป (Overbougth) หรือขายมากเกินไป (Oversold) หรือไม่

 

Oversold Overbought

ภาวะขายมากเกินไป (Oversold)

ภาวะขายมากเกินไป (Oversold) คือ สัญญาณที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังถูกขายมากเกินไปจนทำให้ราคาปรับตัวต่ำกว่าที่ควรเป็น (ถูกเกินไป) และมีแนวโน้มที่แรงขายจะอ่อนตัวลงและมีแรงซื้อเข้ามาแทนที่ ในช่วงของราคาที่เป็นภาวะ Oversold จึงมีแนวโน้มที่ราคาจะชะลอการปรับตัวลงและสามารถรีบาวน์กลับได้


ภาวะขายมากเกินไปสามารถชี้วัดได้ด้วยการใช้อินดิเคเตอร์กลุ่ม Oscillator เช่น Stochastic Oscillator บอกค่าต่ำกว่า 20 หรือ RSI บอกค่าต่ำกว่า 30 เมื่อราคาเข้าสู่ภาวะขายมากเกินไปนักลงทุนไม่ควร “ขาย” เพราะอาจเป็นการขายที่ราคาถูกเกินไป และควรพิจารณาหาจุด “ซื้อ”


ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought)

ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) คือ สัญญาณที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังถูกซื้อมากเกินไปจนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่ควรเป็น (แพงเกินไป) และมีแนวโน้มที่แรงซื้อจะเริ่มอ่อนตัวลงและมีแรงขายเข้ามาแทนที่ ในช่วงของราคาที่เป็นภาวะ Overbought จึงมีแนวโน้มที่ราคาจะชะลอการปรับตัวขึ้นและสามารถกลับตัวลงได้


ภาวะขายซื้อเกินไปสามารถชี้วัดได้ด้วยการใช้อินดิเคเตอร์กลุ่ม Oscillator เช่น Stochastic Oscillator บอกค่าสูงกว่า 80 หรือ RSI บอกค่าสูงกว่า 70 เมื่อราคาเข้าสู่ภาวะซื้อมากเกินไปนักลงทุนไม่ควร “ซื้อ” เพราะอาจเป็นการซื้อที่ราคาแพงเกินไป และควรพิจารณาหาจุด “ขาย”


ด้วยการวิเคราะห์แนวนี้ทำให้ Oversold Overboguth เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) โดยไม่เกี่ยวข้องกับการชี้วัดความถูกแพงที่อ้างอิงจากราคาเหมาะสม (Fair Price) ตามการวิเคราะห์พื้นฐาน (Fundamental Analysis)

อินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกภาวะ Overbought Oversold

อินดิเคเตอร์ยอดนิยมที่ถูกนำมาใช้บอกภาวะ Overbought และ Oversold มักใช้อินดิเคเตอร์ MACD หรือ อินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Oscillator ที่บอกค่าในช่วง 0 – 100 และอินดิเคเตอร์ยอดนิยมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ RSI และ Stochastic

 

Relative Strength Index

RSI (Relative Strength Index) เป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Momentum ที่บอกอัตราส่วนของราคาในช่วงที่เป็นขาขึ้น เทียบกับ อัตราส่วนของราคาในช่วงที่เป็นขาลง ตามสูตร


RSI = 100 - (100 /1 + RS)


โดยที่


RS = ค่าเฉลี่ยราคาของวันที่ราคาปรับขึ้นในช่วง 'N' วัน / ค่าเฉลี่ยราคาของวันที่เป็นขาลง 'N' วัน


ค่า RSI ที่คำนวณได้จะมีค่าในกรอบ 0 – 100 ซึ่งสามารถนำมาบอกโมเมนตัมราคาและความถูกแพงของราคา (Overbought/Oversold) ได้ (อ่านเพิ่มเติม RSI คลิก)


RSI นำมาใช้ในการบอกภาวะ Overbought Oversold ได้โดย


  • RSI สูงกว่า 70 บอกภาวะ Overbought ที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการซื้อมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับฐานหรือกลับตัวลง


  • RSI ต่ำกว่า 30 บอกภาวะ Oversold ที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะรีบาวน์หรือกลับตัวขึ้น


อย่างไรก็ดี กรอบ RSI สูงกว่า 70 และต่ำกว่า 30 เป็นตัวบอกภาวะ Overbought Oversold นี้เป็นเพียงกรอบมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป กรอบนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับพฤติกรรมราคาของแต่ละสินทรัพย์ในการนำไปใช้ในการเทรดจริง

 

Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ในกลุ่มโมเมนตัมที่บอกว่าราคาปิดในช่วงที่พิจารณานั้นอยู่ส่วนไหนของช่วงราคาสูงสุด-ต่ำสุดของช่วงเวลาที่นำมาคำนวณ สามารถคำนวณค่าได้ตามสูตร


%K = [ ( ราคาปิด – ราคาต่ำสุดในรอบ 14 วัน ) / ( ราคาสูงสุดในรอบ 14 วัน – ราคาต่ำสุดในรอบ 14 วัน ) ] x 100


%D = ค่าเฉลี่ย %K 3 วันย้อนหลัง


Stochastic Oscillator หรือ %K ที่ได้จะบ่งชี้ค่าระหว่าง 0 – 100 ซึ่งสามารถนำมาใช้บอกโมเมนตัมราคาและความถูกแพงได้

Stochastic Oscillator นำมาใช้ในการบอกภาวะ Overbought Oversold ได้โดย


  • %K สูงกว่า 80 บอกภาวะ Overbought ที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการซื้อมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับฐานหรือกลับตัวลง


  • %K ต่ำกว่า 20 บอกภาวะ Oversold ที่หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะรีบาวน์


ถึงอย่างนั้น Overbought/ Oversold ก็ไม่ใช้การบอกจุดซื้อขายในทันที การนำการวิเคราะห์นี้ไปใช้ในการเทรดจึงควรใช้อย่างมีรูปแบบเพื่อให้การเทรดมีความแม่นยำยิ่งขึ้น


วิธีเทรดฟอเร็กซ์ Overbought Oversold

การนำ Overbought Oversold ไปเทรดสามารถใช้ได้ทั้งการเทรดบนจุดกลับตัว (Reversal) และการเทรดในกรอบ (Sideway) ตัวอย่างเช่น การเทรดบน Mean Reversal สำหรับการเทรดในกรอบ และ การเทรดบน Divergence สำหรับการเทรดบนจุดกลับตัว


1. Mean Reversa

Mean Reversal เป็นกลยุทธ์ที่มองว่าราคาสูงและต่ำของราคาเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และราคามีแนวโน้มที่จะดึงตัว (Pull Back) กลับสู่ค่าเฉลี่ย การเทรด Mean Reversal จึงจะมีการกำหนดกรอบการเทรดและใช้การซื้อขายบริเวณจุดที่เกิดการ Pull Back ของราคา


นักเทรดนิยมใช้ Mean Reversal ในการเทรดเมื่อราคาไม่ได้มีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง คือ ไม่ได้เป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หรือ แนวโน้มขาลงอย่างแข็งแกร่ง เพราะกรณีนี้จะไม่เหวี่ยงกับสู่ค่าเฉลี่ยและใช้ Mean Reversal ไม่ได้


◆ ตัวอย่างกลยุทธ์เทรด Mean Reversal ด้วย RSI

1)  ระบุแนวโน้มราคา ด้วยการใช้ MA200 หากราคาเคลื่อนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยหมายถึงแนวโน้มราคาขาขึ้น ขณะที่ราคาเคลื่อนอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยหมายถึงแนวโน้มราคากำลังเป็นขาลง หรือราคาที่เคลื่อนไปกับเส้นค่าเฉลี่ยจะหมายถึงการไม่มีแนวโน้ม (Sideway)


2)  หาช่วง Overbought / Oversold ของ RSI ที่จะเป็นจุดเข้าทำรายการ เช่น อาจใช้โซน Overbought ที่ RSI > 90 และ Oversold ที่ RSI < 10 เป็นจุดซื้อขาย


3)  จุดเข้าทำรายการเกิดขึ้นเมื่อราคาแตะจุดที่กำหนดให้เป็นจุด Overbought / Oversold ที่กำหนดไว้


4)  จุดปิดสถานะ เกิดขึ้นเมื่อราคาปรับตัวเข้าสู่เส้นค่าเฉลี่ย SMA5


◆ ตัวอย่างกาเทรด USDJYP, 2H

1)  สังเกตการเคลื่อนตัวของราคาที่เริ่มเบรกทำแนวโน้มขาขึ้นเหนือเส้น MA200 แล้วเริ่มแกว่งตัวแนวกรอบแนวโน้มขาขึ้น และสังเกตได้ว่าจากการเบรกเส้น MA200 มีการ Pull Back ของราคาเพื่อลงไปทดสอบเส้น MA200 อีกครั้ง แสดงถึง MA200 สามารถใช้เป็นแนวรับบอกแนวโน้มราคาขาขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นหากราคาหลุดเส้น MA200 ลงมาถือเป็นการจบรอบการเทรดกลยุทธ์นี้ทั้งหมด


2)  จากการเป็นแนวโน้มขาขึ้น ทำให้ราคาจะไม่ Oversold มาก ขณะที่มีแนวโน้มจะ Overbought ได้อ่อน ๆ เซ็ตค่า RSI Overbought ที่ 75 และ Oversold ที่ 35


3)  จากการเป็นแนวโน้มขาขึ้น ให้เลือกใช้กลยุทธ์ ซื้อ ที่จุด Oversold เป็นหลัก และหลีกเลี่ยงการขาย (short) ที่จุด Overbought


4)  หลังจากการซื้อที่จุด Oversold ให้ปิดสถานะ หรือ ขายออกไปเมื่อราคาปรับเข้าสู่ MA25


อย่างไรก็ดีสมมติฐานของ Mean Reversal จะเป็นจริงต่อเมื่อตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ (Sideway) ไม่ว่าจะเป็นการแกว่งตัวในกรอบขาขึ้นหรือแกว่งตัวในกรอบขาลง ดังนั้นการใช้กลยุทธ์ Mean Reversal ที่ได้ผลจึงควรนำไปใช้กับราคาที่มีแนวโน้มอย่างอ่อนหรือ Sideway

 

2. Divergence

Divergence คือ ภาวะที่อินดิเคเตอร์ โดยเฉพาะอินดิเคเตอร์ที่บ่งบอกความแข็งแกร่งของแนวโน้ม บ่งบอกสัญญาณขัดแย้งกับการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น ในขณะที่ราคากำลังวิ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อินดิเคเตอร์กลับบอกสัญญาณความอ่อนแอของแนวโน้ม หรือ ในขณะที่ราคากำลังปรับลงอย่างรุนแรง อินดิเคเตอร์กลับบอกสัญญาณความอ่อนแอของแนวโน้ม ทำให้มีโอกาสที่ราคาจะเปลี่ยนแกลับแนวโน้มอย่างรุนแรงได้ 


นักเทรดนิยมใช้ Divergence ในการเทรดที่จุดเปลี่ยนของแนวโน้ม ซึ่งการบ่งชี้ของ Divergence จะมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้แม่นยำเมื่อเกิดราคาเกิด Overbought Oversold ไปพร้อมกัน


◆ ตัวอย่างกลยุทธ์เทรด Divergence ด้วย RSI

1)  มองหาสินทรัพย์ที่ก่อนหน้ามีแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้นหรือขาลงอย่างชัดเจน แล้วราคาเริ่มฟอร์มรูปแบบกลับตัวของแนวโน้ม เช่น Double Tops, Double Bottoms, หรือ Head and Shoulder


2)  สังเกต RSI บอกค่า Overbought Oversold ซึ่งขัดแย้งกับแนวโน้มราคาที่กำลังเกิดขึ้น


3)  จุดเข้าทำรายการเกิดขึ้นเมื่อราคามีการยืนยันการกลับตัวของแนวโน้ม เช่น ตัดเส้น MA5 เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม


4)  จุดปิดสถานะเกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มใหม่เริ่มอ่อนตัวหรือสิ้นสุดลงด้วยการเริ่มบอกสัญญาณการกลับตัวอื่น ๆ อีกครั้ง


◆ ตัวอย่างกาเทรด WTI, 2H

1)  สังเกตการย่อตัวของราคาก่อนหน้าที่มีโอกาสทำ Double Bottoms หรือ ทำจุดต่ำที่ต่ำลงกว่าเดิม (Lower Low) ที่แสดงถึงการเป็นแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่อง


2)  สังเกตค่า RSI เริ่มเข้าใกล้โซน Oversold ซึ่งแสดงถึงการขายมากเกินไป พร้อมกับที่ RSI เริ่มส่งสัญญาณขัดแย้งกลับตัวเป็นขาขึ้น (RSI Bullish Divergence) ที่ RSI เริ่มไม่ทำจุดต่ำ (Lower Low) ตามราคา แต่เริ่มยกจุดต่ำสุดให้สูงกว่าเดิม (Higher Low) แทน


ตัวอย่างกลยุทธ์เทรด Divergence ด้วย RSI


3)  จุดเข้าซื้อเกิดขึ้นเมื่อราคาเบรกทะลุเส้นค่าเฉลี่ย MA25 ขึ้นไป โดยตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ที่จุดต่ำก่อนหน้าที่เคยทำไว้


4)  การปิดสถานะจะเกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มที่ดำเนินอยู่เริ่มอ่อนแรงหรือมีการเปลี่ยนแนวโน้มเป็นรูปแบบอื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อราคาไม่สามารถยืนบนเส้นค่าเฉลี่ย MA25 ที่ถูกใช้เป็นเส้นแนวรับที่บอกแนวโน้มขาขึ้น หรือการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบ RSI Bearish Divergence ที่จะตามมาก็ได้

สรุป

Oversold Overbought คือเครื่องมือสำคัญของนักเทรดที่ช่วยให้ไม่ต้องขายหมูและซื้อของแพงเกินไป ลำพังแค่เครื่องมือตัวเดียวก็สามารถช่วยให้การเทรดหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดไปได้อย่างหนึ่ง แต่เมื่อนำมาใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ก็ยิ่งช่วยให้นักเทรดสามารถสร้างระบบเทรดเพื่อใช้บอกจุดซื้อขายของตัวเองได้อย่างแม่นยำขึ้น อย่างไรก็ดีทุกเครื่องมือทางเทคนิคมีทั้งจุดเด่นและข้อควรระวังในการใช้ ดังนั้น Oversold Overbought ที่เป็นการบอกจุดซื้อขายแบบตรง ๆ จึงเป็นสิ่งที่นักเทรดควรระมัดระวังที่จะต้องตามมาด้วยการยืนยันสัญญาณจากเครื่องมืออื่น ๆ เสมอ

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์