Market segmentation คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

แม้ว่าคุณจะมีกลยุทธ์ทางการตลาดดีแค่ไหน หากทำการตลาดโดยไม่มีการจัดแบ่งกลุ่มลูกค้าที่ตรงจุดก็อาจทำให้คุณพลาดเป้าหมายในการทำกำไรตามที่ต้องการได้ ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จแบบไม่เปลืองแรง มาลองดูกันว่าการแบ่งส่วนตลาด หรือ Market segmentation ทำอย่างไรและมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจแบบไหนบ้าง

ความหมายของการแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation)

Market segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาดด้วยเป้าหมายของบริษัทแบบเจาะกลุ่มตลาดที่สามารถเข้าไปทำกำไรได้ โดยบริษัทอาจปรับแต่งวิธีการขายและกลยุทธ์การตลาดเพื่อมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเป้าหมายตามความต้องการ ความสนใจ และลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน 


ในบริบทของนักลงทุนเราจะดูว่าบริษัทในมีอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) เท่าไหร่พอที่ดูได้ว่ามีแนวโน้มทำกำไรมากเท่าไหร่ที่ทำให้นักลงทุนพึงพอใจจนนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนกับบริษัทนั้น ๆ ได้


โดยภาพรวมแล้วการทำตลาดแบบถูกที่ถูกเวลากับบริษัทที่ถูกต้องเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ และการแบ่งส่วนตลาดจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถช่วยคุณได้ง่ายขึ้นเพราะเป็นวิธีที่สามารถปรับแต่งวิธีการวิเคราะห์และทำแผนการตลาดการลงทุนของคุณเพื่อกำหนดเป้าหมาย เพิ่มการมีส่วนร่วม และดึงดูดกลุ่มเฉพาะให้มีความแม่นยำมากขึ้น


เหตุใด Market segmentation จึงสำคัญกับการลงทุนของคุณ?

การแบ่งส่วนตลาดมีประโยชน์หลายประการเริ่มจากการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการตลาดในธุรกิจด้วยการโปรโมทการตลาดที่เข้าถึงฐานลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเข้าใจตลาดเป้าหมายของคุณดีขึ้นแล้วจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมว่าลูกค้าของคุณคือใครได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น


ยิ่งไปกว่านั้นหากพูดถึงเรื่องงบประมาณการตลาด การใช้การแบ่งส่วนตลาดก็จะช่วยคุณบริหารและใช้งบประมาณการตลาดของคุณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงนำไปสู่การลดต้นทุนการทำการตลาดโดยไม่จำเป็นออกได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการแบ่งส่วนตลาดได้ช่วยให้นักการตลาดหรือในที่นี้คือนักลงทุนสามารถทำข้อเสนอให้กับลูกค้าและตลาดที่ต้องการได้อย่างตรงจุด

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด

เราอาจแบ่ง Market segmentation ได้ดังต่อไปนี้

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด


การแบ่งกลุ่มประชากร (Demographic segmentation)

Market segmentation คือ กระบวนการแบ่งตลาดตามข้อมูลประชากรเป็นหนึ่งในวิธีการแบ่งกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าผู้ที่มีลักษณะนิสัยเหมือนกันจะมีความชอบเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณสนใจบริษัทกีฬา การกำหนดเป้าหมายกลุ่มตลาดของผู้ที่รักสุขภาพจะสามารถช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มที่กำลังมองหาสินค้าสุขภาพได้ดีขึ้น โดยอาจแบ่งกลุ่มได้จาก


  • อายุ

  • เพศ

  • รายได้

  • การศึกษา

  • อาชีพ

  • สถานภาพการสมรส


การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์(Geographic segmentation)

เป็นการแบ่งบริษัทตามที่ตั้งเพื่อโปรโมทกิจกรรมพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น เจ้าของธุรกิจมีข้อมูลสำคัญของลูกค้าเพื่อช่วยในการโปรโมทขายชุดว่ายน้ำให้กับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ชายทะเลโดยข้อมูลที่ต้องระบุมีดังต่อไปนี้


  • ประเทศ

  • ภูมิภาค

  • เมือง

  • จังหวัด


การแบ่งส่วนพฤติกรรม(Behavioral segmentation)

จัดหมวดหมู่บริษัทตามพฤติกรรมโดยเจ้าของธุรกิจมีข้อมูลสำคัญของลูกค้าสำหรับการพิจารณาจากกิจกรรมประจำวันของลูกค้า เช่น หากกล่าวถึงพฤติกรรมในการท่องโลกออนไลน์อาจดูถึงพฤติกรรมการค้นหา ประวัติการซื้อสินค้า และความชอบในผลิตภัณฑ์ที่อาจสะท้อนให้เห็นถึงความพึงพอใจของลูกค้า และความภักดีของลูกค้าในระยะยาวได้ หนึ่งในข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกลูกค้าประเภทนี้ เช่น 


  • ประวัติการค้นหา

  • นิสัยการซื้อ

  • การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์

  • ความภักดีของแบรนด์


การแบ่งกลุ่มตามบุคลิกภาพ ความสนใจ(Psychographic segmentation)

ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสร้างแคมเปญที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น สำหรับธุรกิจจิวเวอรี่ ให้แบ่งกลุ่มตลาดตามผู้ที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน หรือแหล่งที่มาเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้า หนึ่งในข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกลูกค้าประเภทนี้ เช่น 


  • สถานะทางสังคม

  • ค่านิยม

  • ทัศนคติ

  • ความสนใจ

  • ความเชื่อส่วนบุคคลและความคิดเห็น


การแบ่งส่วนทางองค์กร(Firmographic segmentation)

เหมือนกับการแบ่งส่วนตามข้อมูลประชากร ยกเว้นว่าเจ้าของธุรกิจมีข้อมูลสำคัญของลูกค้าที่เน้นเฉพาะข้อมูลประชากรจะพิจารณาที่บุคคล ในขณะที่บริษัทจะพิจารณาแบบองค์กรตามปัจจัยดังต่อไปนี้


  • อุตสาหกรรม

  • ขนาดของบริษัท

  • บทบาทหน้าที่

  • ที่ตั้ง

  • รายได้ประจำปี

กลยุทธ์ของการแบ่งส่วนตลาดที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน

ต่อมามาดูกันว่ากลยุทธ์ในที่จะช่วยให้การแบ่งส่วนตลาดของคุณประสบความสำเร็จ


ตั้งเป้ากลุ่มฐานลูกค้า

เริ่มต้นด้วยการระบุฐานลูกค้าที่มีศักยภาพทั้งหมดของบริษัท ตรวจสอบปัญหาของลูกค้า ความต้องการและให้แน่ใจว่าสินค้าของบริษัทที่คุณกำลังสนใจสามารถแก้ไขความต้องการนั้นได้


รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า

ใช้แบบสำรวจ โพล การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของคุณที่คุณสามารถใช้เพื่อระบุแนวโน้ม เครื่องมือวิเคราะห์ดิจิทัลช่วยให้คุณได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมบริษัทได้ชัดเจนมากขึ้น


ตรวจสอบศักยภาพในการทำกำไร

ให้ลองพิจารณาวิธีจัดหมวดหมู่ตลาดของคุณโดยเน้นไปที่กลุ่มบริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด ดูจำนวนเงินที่แต่ละกลุ่มใช้ไป รวมถึงรายได้รวม ราคาขายเฉลี่ย และความถี่ในการซื้อ คาดการณ์ว่าคุณจะได้รับผลกำไรมากขึ้นจากกลุ่มปัจจุบันของคุณได้อย่างไร


ศึกษาการแข่งขัน

ตรวจสอบว่าคู่แข่งของบริษัทโดยใช้วิธีจัดหมวดหมู่และดึงดูดกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างไร พิจารณาว่าธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของคุณเปรียบเทียบกับคู่แข่งหลักอย่างไร จากนั้นเลือกวิธีที่คุณสามารถทำให้แบรนด์ของคุณเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดลูกค้าของคุณได้


ทดสอบกลยุทธ์ของคุณ

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าพฤติกรรมของลูกค้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา คุณสามารถติดตามประสิทธิผลของกลยุทธ์การแบ่งส่วนของคุณได้โดยการรวบรวมข้อมูลลูกค้าและติดตามตัวชี้วัดหลักที่วัดการมีส่วนร่วม ค้นหาวิธีเชื่อมต่อกับแต่ละกลุ่มอย่างจริงจัง ติดตามว่าข้อมูลประชากรและความสนใจของผู้ชมของคุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดของคุณยังคงมีประสิทธิภาพ


Market segmentation สำหรับการลงทุนนั้นทำอย่างไร

กระบวนการ market segmentation คือ ขั้นตอนเริ่มต้นในการทำการตลาดธุรกิจของคุณ เมื่อตลาดของคุณแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คุณสามารถใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมเพื่อกำหนดเป้าหมายกลุ่มเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาดนั้นทำอย่างไร


ขั้นตอนที่ 1 กำหนดตลาดที่คุณต้องการ

การกำหนดขอบเขตของตลาด เช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ กลุ่มอายุ หรือระดับรายได้ พยายามรวบรวมภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณนำเสนอที่ชัดเจนและประเภทของบริษัทที่อาจต้องการซื้อ ยิ่งมีความเฉพาะเจาะจงสูง ยิ่งทำให้สามารถสร้างกลุ่มลูกค้าที่ดีขึ้นได้


ขั้นตอนที่ 2 แบ่งกลุ่มตลาดที่กำหนดไว้

แบ่งตลาดที่คุณระบุออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น พฤติกรรม ทัศนคติ ข้อมูลประชากร สถานที่ตั้ง ความเชื่อ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของคุณ


ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาตลาดของคุณเพื่อทำความเข้าใจเชิงลึก

บริษัทในแต่ละกลุ่มอาจมีความต้องการ ความปรารถนา และพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนนี้จึงเป็ยการศึกษาและค้นหาข้อมูลเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าของคุณ เช่น การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์


ขั้นตอนที่ 4 สร้างผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การตลาดของคุณ

จากนั้นให้คุณทำกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงแต่ละกลุ่มได้ดีที่สุด กลยุทธ์ของคุณควรบอกคุณว่าผลิตภัณฑ์แต่ละรายการเข้ากับตลาดได้อย่างไร เช่น ราคาที่จะเรียกเก็บ โปรโมชันที่จะดำเนินการ ช่องทางใดที่จะขาย เช่น ต้องการขายทางออนไลน์หรือออฟไลน์


ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบกลยุทธ์การตลาดของคุณ

ก่อนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญการตลาดใหม่ ให้ทดสอบกับกลุ่มเล็ก ๆ จากภายในกลุ่มนั้น เพื่อให้คุณมีเวลาปรับปรุงสินค้าก่อนที่จะดำเนินการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในขั้นตอนนี้เสียงตอบรับหรือรีวิวจากบริษัทอย่างจริงใจเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์


ขั้นตอนที่ 6 ความคิดเห็นจากผู้ใช้จริง

หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว ให้รวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าและตรวจสอบว่าประสบความสำเร็จเพียงใด ประเมินความสำเร็จโดยพิจารณาจากปริมาณการขาย อัตรากำไร และตัวชี้วัดสำคัญอื่น ๆ ทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น และใช้กระบวนการนี้อีกครั้งกับผลิตภัณฑ์หรือบริการในอนาคต

ตัวอย่างของ Market segmentation

การแบ่งส่วนตลาดสามารถใช้ได้ที่ไหนบ้าง มาดูกันได้เลย


  • เป้าหมายแบบ B2B: การแบ่งส่วนตลาดช่วยให้คุณสามารถกรองบริษัทที่ตรงกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายด้วยข้อเสนอที่โดนใจ

  • ใช้กับกลยุทธ์การขายและการตลาด:  ช่วยให้คุณปรับแต่งแคมเปญการตลาดและการขาย และเข้าถึงลูกค้าโดยรู้อย่างชัดเจนว่าลูกค้าต้องการอะไร และด้วยเหตุผลอะไร

  • ประเมินตลาดและโอกาสในธุรกิจ:ช่วยให้คุณเข้าใจศักยภาพในการขายโดยการจัดการกับสิ่งที่คุณค้นพบให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ

  • เพื่อแก้ไขปัญหาลูกค้าได้ตรงจุด: หากผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณพัฒนาไม่สามารถแก้ปัญหาที่ระบุไว้ของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่มีประโยชน์ ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะขายได้ยาก ในทางตรงข้ามหากคุณรู้ว่าแต่ละกลุ่มตลาดของคุณใส่ใจอะไรและใช้ชีวิตอย่างไร จะสามารถขายสินค้าง่ายกว่า


ข้อผิดพลาดของ Market segmentation ที่พบบ่อย

หนึ่งในข้อผิดพลาดอันดับต้น ๆ  ที่ควรระวังก่อนเริ่มต้นแบ่งส่วนตลาด


  • เจาะจงกลุ่มเล็กมากเกินไป: หากคุณแบ่มกลุ่มเล็กมากเกินไป อาจไม่สามารถวัดปริมาณหรือแม่นยำได้

  • มุ่งเน้นไปที่กลุ่มมากกว่ากำไร: หากกลุ่มที่ระบุไม่มีกำลังซื้อก็ไม่สามารถนำไปสู่การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน

  • ยึดติดกับกลุ่มที่คุณเลือกมากเกินไป: ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นอย่ายึดติดกับกลุ่มของคุณมากเกินไปแต่ให้เน้นการตรวจสอบสถานการณ์ตามจริง


ข้อดีข้อเสียของ Market segmentation

ข้อดีของmarket segmentation คืออะไรบ้าง?

1. ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่บริษัทที่ไม่สนใจ ด้วยการใช้การแบ่งส่วนตลาด บริษัทต่างๆ สามารถเพิ่มผลกำไรจากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้โดยเพราะเป็นการตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น


2.  มีความเข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง

บริษัทจะเข้าใจแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น เนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลประชากร และพฤติกรรม ดังนั้นด้วยการมีความเข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้งบริษัทต่าง ๆ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของบริษัทได้อย่างถึงตัว


3. การรักษาฐานลูกค้าระยะยาว

ฐานลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญของความก้าวหน้าของบริษัท เนื่องจากบริษัทมีบทบาทสำคัญในการเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัท เช่น หากบริษัทพบผลิตภัณฑ์ตามความคาดหวัง เขาก็จะแสดงความสนใจเชิงบวกต่อบริษัทโดยอัตโนมัติ การแบ่งส่วนตลาดช่วยในการระบุและกำหนดเป้าหมายกลุ่มเฉพาะ และช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้ลูกค้ามีความสุขและพึงพอใจมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลงทุนกับบริษัทต่อไป


4. ช่วยประหยัดต้นทุนการตลาด

บริษัทต่าง ๆ สามารถจับความต้องการของบริษัทและออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการได้อย่างง่ายดาย เพราะการแบ่งส่วนตลาดช่วยทำให้กลยุทธ์การตลาดเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นและคุ้มต้นทุนมากขึ้นพร้อมทั้งยังได้ผลพวงเพิ่มเติม เช่น ช่วยเพิ่มฐานลูกค้า อัตรากำไร และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ


ข้อเสียของmarket segmentation คืออะไรบ้าง?

1. บริษัทอาจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากการแบ่งส่วนตลาดบริษัทจะต้องพัฒนากลยุทธ์ที่แตกต่างกันเพื่อกำหนดเป้าหมายผู้ชมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ในบางครั้งพบว่ามีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายจากบริษัทในการทดลองกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการตลาดเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น


2. นำไปสู่เป้าหมายที่ไม่ได้ผลกำไร

เมื่อการแบ่งส่วนตลาดไม่ได้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเดียว แต่ต้องศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มต่าง ๆ และเมื่อใช้การแบ่งส่วนตลาด บางครั้งอาจนำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ไม่ได้ผลกำไร เพราะบางครั้งการศึกษาการแบ่งส่วนตลาดอาจผิดพลาดและไม่สามารถคาดการณ์พฤติกรรมที่แท้จริงของบริษัทได้ครบถ้วน


3. การสร้างสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการซื้อ

บางครั้งการแบ่งส่วนตลาดนำไปสู่การเลือกผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง อาจมีโอกาสเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ผิด ไม่เกี่ยวข้อง หรือมีความต้องการผู้ใช้ต่ำมาก และด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าได้อย่างถูกตรงกลุ่ม


สรุป Market segmentation

Market segmentation คือ หนึ่งในกลยุทธ์การทำการตลาดที่จำเป็นเพราะจะช่วยให้คุณเข้าใจบริษัทของคุณได้อย่างดีเยี่ยม การแบ่งส่วนตลาดเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับทุกธุรกิจ เนื่องจากช่วยให้บริษัททราบว่าลูกค้ารายใดเหมาะกับบริษัท และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้มากพอเพื่อให้มั่นใจว่าแบรนด์ประสบความสำเร็จ


คำถามที่พบบ่อย

1.Market segmentation มีอะไรบ้าง?

การแบ่งส่วนตลาดประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มประชากร, การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์, การแบ่งส่วนพฤติกรรม, การแบ่งกลุ่มตามบุคลิกภาพ ความสนใจ, การแบ่งส่วนทางองค์กร

2.การแบ่งส่วนตลาดเป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่?

หากมองโดยผิวเผินแล้วการแบ่งส่วนตลาดอาจดูเป็นเรื่องพื้นฐานจนหลานบริษัทมักจะลืมไป แต่โดนแก่นแท้แล้วเป็นวิธีการที่ช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากขึ้นและเป็นวิธีการที่ประหยัดต้นทุนมากวิธีหนึ่ง

3.Behavioral Segmentation คืออะไร?

หมายถึงการแบ่งส่วนพฤติกรรมตามการใช้ชีวิตของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์