ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร เงินเฟ้อแตกต่างจากเงินฝืดอย่างไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

บทความนี้จะพานักลงทุนเจาะลึกถึง“ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)” สาเหตุของการเกิดขึ้น เราควรตั้งรับมือยังไงกับเหตุการณ์นี้ เพื่อให้สามารถวางแผนการเงินการลงทุนได้อย่างเหมาะสมโดยที่เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนน้อยที่สุด ในบทความนี้มีคำตอบให้นักลงทุน

ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร?

ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าดูจากค่าของเงินแล้วคำว่า เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เวลาที่เราจะซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือเงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้นนั่นเอง 


ตัวอย่างภาวะเงินเฟ้อ

เมื่อก่อนนาย A มีเงินอยู่ 50 บาท ด้วยเงินจำนวนนี้สามารถซื้อข้าวได้หลายจานเลย แต่ตอนนี้ราคาข้าวก็ขยับปรับเปลี่ยนขึ้นเรื่อย ๆ เลย กลายเป็น 50 บาท จึงทำให้ซื้อข้าวได้เพียงจานเดียว ดังนั้น ลองคิดดูเล่น ๆ ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าราคาจะต้องขยับเพิ่มขึ้นไปเป็นข้าวจานละ 100 บาทแน่นอนเลย


นอกจากภาวะเงินเฟ้อจะเป็นดัชนีชี้วัดในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจแล้วก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของนักลงทุน เพื่อใช้ตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับขึ้นหรือปรับลงก็มักจะจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น 


 ใครได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ

คนที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อคือ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว พ่อค้า หรือผู้ที่มีรายได้เป็นตัวเงินที่เปลี่ยนแปลงง่าย เนื่องจากสามารถขึ้นราคาสินค้าที่ขายได้ แตกต่างจากพนักงานกินเงินเดือนที่ต่อให้เงินเดือนเพิ่มก็จะเพิ่มในอัตราที่น้อยกว่าเงินเฟ้อ แม้เงินเดือนจะเพิ่มขึ้นแต่จำนวนเงินก็ยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ


 เงินเฟ้อเกิดขึ้นได้อย่างไร

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นได้แก่ กำลังความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากขึ้นหลังจากเศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัว แต่สินค้าและบริการผลิตกลับทำได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้จ่ายที่อัดอั้นมานาน (revenge spending) จากช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะคนที่มีเงินออมสะสมไว้เยอะในช่วงเวลาดังกล่าว


ยิ่งไปกว่านั้นต้นทุนการผลิตแพงขึ้นจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก ทองแดง เพราะการผลิตหยุดชะงักหรือชะลอลงไป ฟากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเจ้าใหญ่ในโลกก็รวมตัวกันจำกัดปริมาณการผลิตไว้ ตัวอย่างในช่วงเวลาที่เกิดโลกระบาดที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบจึงเปลี่ยนจาก record low ในช่วงปี 2020 ที่ล็อกดาวน์เข้มมาทำ record high หลังประเทศต่าง ๆ ทยอยเปิดเมือง 


ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นยังมาจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน (supply chain disruption) โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า และการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ความต้องการเยอะขึ้นมากอย่างเช่นในช่วง work from home จากเหตุการณ์โรคระบาด


เมื่อหันมามองสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน สัญญาณหลายอย่างกำลังส่อว่าเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ระบบการจ้างงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ 


หากประเทศไทยเราเกิดเข้าสู่ภาวะ Stagflation โดยที่อำนาจเงินในมือของเราน้อยลง ทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง ผู้ประกอบการขายสินค้าไม่ได้ จะทำให้เกิดการลดราคาลง ซึ่งนำไปสู่กำไรที่ลดน้อยลง ทำให้ไม่เกิดการขยายกิจการ สู่การปลดพนักงานออกทำให้เกิดอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น จนในที่สุดต้องปิดกิจการลง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ต่ำลง จึงเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีใครอยากให้เกิด


ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือเรียกว่าภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจจะดี ยังไงก็ต้องรอติดตามข่าวสารเศรษฐกิจกันต่อไป

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อมีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว ก็จะเกิดจาก 3 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่


1. ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation) แต่สินค้าและบริการนั้นกลับมีในตลาดไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายมีการปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น

  

2. ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (Cost Push Inflation) หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จึงทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นตามไปด้วย

   

3. เกิดจากการที่รัฐบาลพิมพ์เงินเพิ่มจำนวนมาก (Printing Money Inflation) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินในระบบ ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง 


แต่ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดทั่วโลกต้องเผชิญอยู่ตอนนี้ เป็นผลมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้


  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวได้แม้จะมีความท้าทายจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19 รวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ


  • เศรษฐกิจหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และตลาดเกิดใหม่หลายแห่ง มีการเติบโตที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและเอกชน


  • อัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของอุปทานที่ดีและมาตรการที่เข้มงวดของธนาคารกลาง


  • ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงทำให้ความต้องการลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์และการลงทุนทางธุรกิจ


  • นโยบายการคลังแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะผ่อนคลายนโยบายมากกว่าตลาดเกิดใหม่



จากข้อมูลอัปเดตแนวโน้มเศรษฐกิจโลก IMF ถึงเดือนมกราคม 2567 พบว่า เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตปานกลางที่ร้อยละ 3.1 ในปี 2567 และร้อยละ 3.2 ในปี 2568 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนเล็กน้อย เนื่องจากความยืดหยุ่นในสหรัฐอเมริกาและตลาดเกิดใหม่บางแห่ง อย่างไรก็ตาม การเติบโตยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากนโยบายการเงินที่ตึงตัว การสนับสนุนทางการเงินที่ลดลง และการเติบโตของผลิตภาพต่ำ 


จากที่อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงทั่วโลกช่วยลดความกังวลเรื่องการลงจอดอย่างหนัก แต่ความเสี่ยงยังคงอยู่จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และการหยุดชะงักของอุปทาน ผู้กำหนดนโยบายเผชิญกับความท้าทายในการจัดการอัตราเงินเฟ้อในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงการชะลอตัวของการเติบโต ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางที่สมดุลสำหรับนโยบายการเงินและการคลัง


เงินเฟ้อ

สาเหตุ

ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้า

และบริการเพิ่มสูงขึ้น

เกิดจากปัจจัยอะไร

ความต้องการของสินค้ามากขึ้น

และต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

เกิดผลกระทบ

                       · เงินมูลค่าลดลง

                       · ค่าครองชีพสูงขึ้น­

รัฐฯ แก้ไข

· ประกาศเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อดูดเงินที่มีเยอะเกินกลับเข้าคลัง

· ควบคุมราคาสินค้าที่ขาดตลาด

กลุ่มบุคคลผู้ได้เปรียบ

พ่อค้า, ผู้ถือหุ้น, นายธนาคาร, ลูกหนี้

กลุ่มบุคคลผู้เสียเปรียบ

ผู้มีรายได้ประจำ, เจ้าหนี้


หากย้อนดูเงินเฟ้อทั่วไปของไทย พบว่า ในปี 2517 เงินเฟ้อทั่วไปของไทยทะลุไปถึง 24.3 เปอร์เซ็นต์ เพราะราคาน้ำมันสูงขึ้น จากเหตุการณ์สงครามอิสราเอล กับกลุ่มประเทศอาหรับ


ปีที่เงินเฟ้อที่สูงรองลงมาคือปี 2523 เพราะสงครามอิรักกับอิหร่าน จากนั้นอัตราเงินเฟ้อลดลงเรื่อยๆ จนในปี 2541 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างหนักได้ดันเงินเฟ้อทั่วไปของไทยไปสูงถึง 7.89 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นมีการคุมเงินเฟ้อให้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์มาได้ จนปี 2551 ทะลุไป 5.51 เปอร์เซ็นต์ และกลับมาคุมได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์มาตลอดอีกหลายปี จนล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2565 ทะลุไปถึง 7.10 เปอร์เซ็นต์ในที่สุด เพราะสงครามรัสเซียถล่มยูเครนเป็นสาเหตุหลักในขณะนี้


ตัวอย่างบริษัทสามารถทำกำไรได้มหาศาลภายใต้ภาวะเงินเฟ้อ เพราะราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ในส่วนกิจการน้ำมันและก๊าซของไทยอย่างบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในครึ่งปีแรกนี้ ปตท. และบริษัทในกลุ่มทั้งในและต่างประเทศ มีรายได้ 1,685,419 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 64,419 ล้านบาท เติบโตขึ้น 12.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยกำไรสุทธิจำนวน 64,419 ล้านบาทนี้ มาจากผลการดำเนินงานของ ปตท. คิดเป็น 24% ส่วนที่เหลือมาจากผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ ปตท. ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องราวที่ดีในการสวนกระแสทำกำไรจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น


ข้อดีข้อเสียของภาวะเงินเฟ้อ

ข้อดีของภาวะเงินเฟ้อ

✅ การส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจ เพราะว่าเจ้าของธุรกิจสามารถขายสินค้าและบริการได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงมีอัตราการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น หมายความว่า ภาวะเงินเฟ้ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้น มีเงินรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการหมุนเวียนของเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง


✅ ลดอัตราการว่างงาน สภาวะเงินเฟ้อแบบนี้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต มีความต้องการลงทุนมากขึ้น จึงมีการจ้างงานมากขึ้นเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของการตลาด เพราะผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น


ข้อเสียของภาวะเงินเฟ้อ  

การที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือพุ่งสูงขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ซื้อทำการซื้อสินค้าได้น้อยลงก็จะทำให้ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าได้น้อยลงจึงทำให้มีรายได้ลดลงและอาจส่งผลให้อัตราการผลิตลดลงย่อมส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงานหรือมีการเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งภาวะ Hyper Inflation จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ภาวะเงินฝืด”

 

อำนาจการซื้อของเงินจะลดต่ำลง เพราะเงินเฟ้อนั้นส่งผลให้มูลค่าของเงินลดลง ดังนั้น หากคนใดที่เก็บเงินไว้แล้วไม่นำไปลงทุนให้เกิดมูลค่าเพิ่มก็จะทำให้เงินนั้นมีมูลค่าน้อยลงนั่นเองซึ่งจะทำให้ระบบกิจการขาดเสถียรภาพ


มาตรการหลักของตัวชี้วัดเงินเฟ้อและรายการสถิติที่เกี่ยวข้อง

อัตราเงินเฟ้อวัดได้อย่างไร ?

ทุกเดือน กระทรวงพาณิชย์จะเก็บข้อมูลราคาสินค้าและบริการจำนวน 430 รายการ มาคำนวณเป็นดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับปีก่อน คืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ ธปท. ใช้เป็นเป้าหมาย

ที่มา:สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)

ที่มา:สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) 


ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม  2567 เท่ากับ 110.3 เพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ปีฐาน2562 = 100)


เมื่อเทียบกับปี 2566

การเปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (YoY) ร้อยละ 1.11

ลดลง

1.11

ดัชนีราคาผู้บริโภค (MoM)

สูงขึ้น

0.02


นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (YoY) ในเดือนมกราคม 2567 คงที่ที่ระดับ 106.98 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 ที่มีระดับเป็น 108.18 นั้นเป็นสาเหตุให้มีการลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลงลงร้อยละ 1.11 (YoY) และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งเป็นต่ำสุดในรอบ 35 เดือน เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานจากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ รวมถึงราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดที่ยังคงลดลงต่อเนื่องโดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ฐานราคาเดือนมกราคม 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ


การเปรียบเทียบดัชนีราคาผู้บริโภค (MoM) ในเดือนมกราคม 2567 กับเดือนธันวาคม 2566 พบว่ามีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.28 โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 4 เดือน รวมถึงค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ที่มีการปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่มีการปรับลดลง เช่น เสื้อและกางเกงสตรี อาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีการลดลงร้อยละ 0.31 ตามการลดลงของข้าวสารเหนียว ขนมปังปอนด์ ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ผักสดและผลไม้ ส่วนสินค้าที่มีการปรับราคาเพิ่มเล็กน้อย ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ปลานิล กะทิสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำหวาน กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)

แล้วภาวะเงินเฟ้อลดลง? แตกต่างกับ เงินฝืดยังไง

เงินฝืดนั้นถือว่าตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลง หรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ อาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาหรือปิดตัวลงในที่สุด

เงินเฟ้อ

เงินฝืด

ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้า

และบริการเพิ่มสูงขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้า

และบริการลดลง


จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งหมด

เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร

ผลกระทบเงินเฟ้อต่อประชาชนทั่วไป

รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอานาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง อาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการใช้จ่าย


ผลกระทบเงินเฟ้อต่อผู้ประกอบการ

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจต้องชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น


ผลกระทบเงินเฟ้อต่อประเทศ

ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าจะล่าช้าออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน


ผลกระทบเงินเฟ้อต่อการดำรงชีพ

เงินเฟ้อส่งผลทำให้สินค้าต่าง ๆ อย่างเช่น เนื้อสัตว์ น้ำมัน ผัก ที่เราต้องซื้อในทุกวันแพงขึ้นไปอีก จากในตารางจะเห็นว่าภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในแต่ละปี ซึ่งก็เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เราต้องแบกรับขึ้นมากเรื่อย ๆ 


รายการ

ปี 2564/ราคาเฉลี่ย

ปี 2565/ราคาเฉลี่ย

ปี 2566/ราคาเฉลี่ยปี 2567/ราคาเฉลี่ย

หมูเนื้อแดง

137.5 บาท/กก.

205 บาท/กก.

125บาท/กก.

133.31 บาท/กก.

อกไก่

67.5 บาท/กก.

105 บาท/กก.

80บาท/กก.

80 บาท/กก.

ไข่ไก่

4.45 บาท/กก.

5 บาท/กก.

เบอร์ 3 3.83 – 4 บาท/ฟอง

เบอร์ 3 ราคา 3.9 บาท/ฟอง

พริกขี้หนูสวน

45 บาท/กก.

185 บาท/กก.

200บาท/กก.

50 - 250 บาท/กก.

ผักชี

130 บาท/กก.

175 บาท/กก.

123 บ./กก

84.00 บ./กก

น้ำมันถั่วเหลือง

53 บาท/ขวด

67 บาท/ขวด

55/ขวด

55/ขวด

ก๊าซหุงต้ม

318 บาท/ถัง

393 บาท/ถัง

423 /ถัง

423ถัง

น้ำมันดีเซล

28.29 บาท/ลิตร

34.94 บาท/ลิตร

33.44 บาท/ลิตร

40.24บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล์

28.75 บาท/ลิตร

37.15 บาท/ลิตร

35.08 บาท/ลิตร

39.15บาท/ลิตร


เมื่อเงินเฟ้อกำลังมา ควรปรับตัวอย่างไร?

วางแผนการลงทุน 

ในสถานการณ์ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งการวางแผนการลงทุน โดยนำเงินที่มีไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น ลงทุนหุ้น, ลงทุนในกองทุนรวม หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 


หลีกเลี่ยงการก่อหนี้เสีย 

หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่ทำให้เกิดรายได้หรือหนี้เสียนั่นเอง โดยที่ควรมีความยั้งคิดยั้งทำให้ทุก ๆ ครั้งที่จะนำเงินออกจากกระเป๋า และหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่จำเป็น และมีการวางแผนการใช้จ่ายรัดกุมให้มากขึ้น 


ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง 

การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและปลอดภัย เช่น ทองคำ เพราะทองคำนับว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองเสมอ และไม่เสื่อมสภาพตามกาลเวลา 


ติดตามข่าวสาร

ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพราะเรื่องเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน และการดำรงชีพของเราทุกคน ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมและรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้

ในสภาวะเงินเฟ้อควรลงทุนอะไรดี

ฝากเงินดอกเบี้ยสูง 

การฝากดอกเบี้ยเงินสูงเป็นบัญชีเงินฝากแบบประจำ โดยจะต้องฝากเงินเข้าบัญชีทุกเดือนและต้องฝากให้ครบตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนดไม่ว่าจะเป็นแบบ 12 เดือน หรือ 36 เดือน ซึ่งจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไป 


กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 

เนื่องจากอัตราค่าเช่าเป็นไปตามภาวะเงินเฟ้อ จึงไม่มีผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหุ้น การลงทุนในตลาดหุ้นจะได้เงินปันผล และส่วนต่างของราคาหุ้นที่อาจมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อความมั่นคงด้านการเงินในอนาคต สำหรับใครที่มีเงินเย็น การซื้ออสังหาริมทรัพย์ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะไม่ผันผวนตามภาคอุตสาหกรรมและตลาดหุ้น 


ตราสารหนี้ 

การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในช่วงที้เกิดภาวะเงินเฟ้อ แต่จำเป็นต้องเลือกตราสารหนี้ประเภท Floating Rate Bond หรือ Inflation Linked Bond ที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวดตามอัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป ควรเลือกซื้อตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือ และศึกษาอย่างละเอียดที่อาจให้ผลตอบแทนที่ดีในที่สุด


ทองคำ 

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงทางการเงิน และมีโอกาสการลงทุนในระยะยาว สามารถเก็งกำไรได้ตลอด เพราะ ยิ่งเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาทองคำก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการซื้อทองคำเพื่อเก็งกำไรจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนในยุคเงินเฟ้อ 


การสร้างโอกาสจากการเทรดทองคำนั้น จากประสบการณ์ของผู้เขียนวิธีที่นิยมที่สุด ก็คือการเทรด CFD ทำให้นักลงทุนสามารถ “เก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง” โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริง ๆ


หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ

เมื่อเกิดสถานการณ์เงินเฟ้อหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์คือ หุ้นกลุ่มธนาคาร หุ้นกลุ่มประกัน เป็นหลัก


กลุ่มหุ้นรายละเอียดสาเหตุ
หุ้นธนาคาร

เรายได้หลักของธนาคารคือดอกเบี้ยจากเงินกู้

ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นหุ้นกลุ่มธนาคารจึงจะมีกำไรที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

·กำไรสูงขึ้นจากส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ

· ผลตอบแทนสูงขึ้น จากการนำเบี้ยประกันไปลงทุนตราสารหนี้

หุ้นกลุ่มประกันมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเช่นพันธบัตรรัฐบาลอยู่แล้วและตามธรรมชาติแล้วอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลนั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับเงินเฟ้อดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้นก็จะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นกัน
หุ้นอาหารเนื่องจากสถานการณ์หลายอย่าง และหลายประเทศในโลกเริ่มเผชิญกับปัญหาด้านอาหารไม่เพียงพอทำให้หุ้นกลุ่มอาหารจะเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ

· เป็นสิ่งจำเป็นที่คนต้องกินต้องใช้

· มีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาสินค้า


สรุปภาวะเงินเฟ้อ

สรุปแล้ว เงินเฟ้อเมื่อความต้องการมากราคาสินค้าและบริการก็สูงขึ้น เงินเฟ้อจะทำให้เศรษฐกิจขยายและเติบโตได้ แต่ถ้าเงินเฟ้อมีสูงมากจนเกินไปก็จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า “Hyper Inflation” เมื่อภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นนักลงทุนเองก็สามารถสร้างกำไรโดยการลงทุนหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะดังกล่าวได้นั่นเอง


โดยทั่วไปแล้วเงินเฟ้อในระดับที่พอเหมาะนั้นจะดีต่อสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งต่างจากเงินฝืดที่มีระดับราคาลดลงและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอด้วย เพื่อไม่ให้พลาดกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและมีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ


ข้อมูลเพิ่มเติม: ภาวะเงินฝืด คืออะไร? ลงทุนอะไรดีกว่าในช่วงเงินเฟ้อ>>


อ้างอิง

botthairath

คำถามที่พบบ่อย

อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร?

อัตราเงินเฟ้อสามารถลดกำลังซื้อของการลงทุนได้ ผู้ลงทุนอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อป้องกันผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ เช่น การพิจารณาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์

อุตสาหกรรมใดบ้างที่มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูง?

สินค้าหลักสำหรับผู้บริโภค พลังงาน และวัสดุ มักจะทำงานได้ดีในช่วงเงินเฟ้อ เนื่องจากสามารถส่งต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้บริโภคได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากประสิทธิภาพของภาคส่วนเฉพาะอาจแตกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ

นักลงทุนจะสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในพอร์ตการลงทุนได้อย่างไร?

นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อได้โดยการกระจายพอร์ตการลงทุนของตนไปตามประเภทสินทรัพย์ย์ เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ และพันธบัตรที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การลงทุนในบริษัทที่มีอำนาจในการกำหนดราคาที่แข็งแกร่ง การเพิ่มเงินปันผล หรือธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สามารถช่วยลดผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุนได้

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์