Gold Futures คืออะไร?สามารถซื้อขายได้อย่างไร?
สำหรับผู้ที่สนใจในภาคธุรกิจทองคำ Gold Futures เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสามารถเรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการก้าวเข้าสู่ตลาดทองคำ มีหลายวิธีในการลงทุนในโลหะมีค่า หนึ่งในกลยุทธ์ทั่วไปคือการลงทุนผ่าน Gold Futures
Gold Futures คืออะไร?
ก่อนที่จะอธิบายว่า Gold Futures คืออะไร เรามารู้จักกับ Futures เสียก่อนนะ
Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือการซื้อขายสินค้าอ้างอิง (Underlying asset) ตามทีระบุไว้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีกําหนดส่งมอบตามวันหมดอายุของสัญญา โดย ณ วันที่ตกลงซื้อขายได้มีการกําหนดราคาล่วงหน้าไว้แล้ว และทั้ง 2 ฝั่ายมีภาระผูกพันตามที่ตกลงกันไว้
สินค้าอ้างอิง (Underlying asset) สามารถเป็นข้าวโพด น้ำตาล นั้ำมัน ทองคำหรืออัตราดอกเบี้ย ดัชนีหุ้นก็ได้ เมื่อสินค้าอ้างอิงเป็น Gold (ทองคำ) ก็จะเรียกว่า Gold Futures (โกลด์ฟิวเจอร์ส)
ข้อมูลเพิ่มเติม |
ข้อดีในการซื้อขาย Gold Futures
เพิ่มโอกาสในการซื้อขาย
สะดวกดี ชำระราคาเป็นเงินสด
ใช้เงินทุนไม่มากและขยายกำไรได้
ช่วยเพิ่มความคล่องตัว
กระจายความเสี่ยงของการลงทุน
Gold Futures เปิดโอกาสให้ลงทุนทั้งในช่วงเวลาที่ราคาทองคำลงและขึ้นด้วย ในขณะที่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนเมื่อหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นเพียงอย่างเดียว
ในการเทรดแบบ Gold Futures นี้ จะไม่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายทองคำจริงระหว่างคู่สัญญา แต่จะใช้วิธีการจ่ายชำระเงินด้วยเงินสด เรียกว่า การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash settlement)
การลงทุนใน Gold Futures จะใช้เงินทุนไม่มากและขยายกำไรได้ เพราะใช้มาร์จิ้นกับเลเวอเรจ ยิ่งเลเวอเรจสูงเท่าไร ยิ่งต้องการมาร์จิ้นที่น้อย การใช้เลเวอเรจนี้เองจะเป็นตัวช่วยขยายกำไรได้หลายเท่า โดยปกติเลเวอเรจจะอยู่ที่1:5, 1: 10
ด้วยระบบ T+0 ซึ่งต่างจากการซื้อขายหุ้นที่ใช้ระบบ T+1 ทำให้เกิดสภาพคล่อง ซื้อขายกันได้ภายในวันเดียว
ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย Gold Futures ก็ต่ำกว่าการซื้อขายหุ้น
การขึ้นลงของราคาทองคำไม่ได้อิงอยู่กับราคาของตลาดหุ้น ช่วยกระจายความเสี่ยงของการลงทุนได้
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures
ความเสี่ยงบางประการที่เกี่ยวข้องกับ Gold Futures มีดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงซึ่งสามารถทำให้บุคคลมีความรู้สึกหวาดระแวงระหว่างการเทรดได้ ราคาทองคำสามารถผันผวนได้ตลอดเวลาและมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนจะสูญเสียเงินลงทุนหากราคาลดลงอย่างมากนับจากเวลาที่ลงนามในข้อตกลงและวันรับการส่งมอบ
Gold Futures มีความผันผวนและมีโอกาสที่ตลาดจะพังทลายหรือเข้าสู่ช่วงที่ไม่มีเสถียรภาพได้
วิธีการซื้อขาย Gold Futures และการเปิดบัญชี
การลงทุนแบบ Gold Futures ที่นักลงทุนมีโอกาสทำกำไรจากราคาคาดการณ์ของทองคำทั้งขาลงและขึ้นนี้ สามารถที่จะซื้อแล้วขายหรือแม้แต่ขายก่อนแล้วซื้อก็ได้เช่นกัน
ในด้านการซื้อขายนั้น เนื่องจากราคา Gold Futures ที่มีเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน มีเพิ่มขึ้น ลดลง หลังซื้อขายกัน โบรกเกอร์จะเป็นผู้คิดคำนวนจำนวนกำไรขาดทุนของผู้ลงทุนทุกวันทำการ ผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้นตามที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ก่อนซื้อขาย หลักประกันที่ต้องให้ความสนใจได้แก่ หลักประกันต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin)
ส่วนในด้านการเปิดบัญชีสำหรับซื้อขาย Gold Futures ก็จะคล้าย ๆ กับการซื้อขายของตลาดหุ้น กล่าวคือนักลงทุนจะซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของ ตลาดสัญญาซื้อขายล่างหน้า (TFEX) หลังจากนั้นคำสั่งซื้อจะถูกส่งมายังระบบของ TFEX โดยโบรกเกอร์ของผู้ลงทุนเพื่อเข้ากระบวนการจับคู่ซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดซื้อขาย Gold Futures 2 ประเภท ได้แก่ 10 Baht Gold Futures(ชื่อย่อ GF10) และ 50 Baht Gold Futures(ชื่อย่อ GF)
ตารางนี้เป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีบริษัทสมาชิกประเภทตัวแทนทั่วไป รวม 40 บริษัท (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มกราคม 2563) ในจำนวนบริษัทสมาชิกทั้ง 40 บริษัท มีบริษัทสมาชิกที่เปิดให้บริการซื้อขายอนุพันธ์ผ่านอินเทอร์เน็ต 36 บริษัท เราได้สรุปบริษัทสมาชิก 10 แห่งให้ท่าน
รายชื่อบริษัทสมาชิก | |
บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) | www.aecs.com |
บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) | www.aira.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด | www.aslsecurities.com |
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด | www.asiaplus.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด | www.asiawealth.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) | www.bualuang.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด | www.bualuang.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) | www.cgsec.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด | www.cimbsecurities.co.th |
บริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด | www.cimbsecurities.co.th |
เมื่อได้มีการจับคู่ผู้ซื้อผู้ขายแล้ว รายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังสำนักหักบัญชี สำนักหักบัญชีจะเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลชำระราคา ดูแลการจ่ายเงินรับเงิน รวมทั้งคิดกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทั้งนี้สำนักบัญชีจะจัดการการชำระกำไรและขาดทุนในวันถัดไปหลังจากที่มีการซื้อขายใน TFEX
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน