FOMC คืออะไร มีไว้ทำไม

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

มีนัดประชุม FOMC ทีไรเดาได้เลยว่าตลาดหุ้น (Stock) ตลาดทองคำ (Gold) ตลาดปริวรรตเงินตรา (Forex) โดยเฉพาะตลาดพันธบัตร (Bond) อาจเกิดความผันผวนขึ้นได้อย่างไม่เคยคาดคิด แต่ทำไมการประชุมที่ว่าถึงส่งผลต่อตลาดการเงินทั่วโลกได้ขนาดนั้น และเราในฐานะนักลงทุนควรทราบอะไรเกี่ยวกับ FOMC บ้าง คราวนี้เราจึงจะชวนคุยว่าตกลงแล้วการประชุม FOMC คืออะไรกันแน่ ตามมาดูได้เลย

FOMC คืออะไร มีไว้ทำไม

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Open Market Committee – FOMC) คือหน่วยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ประกอบด้วยบุคลากรระดับบริหารจำนวน 12 คน ทำหน้าที่ตัดสินใจทางนโยบายการเงินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการผ่านตลาดเงิน (Open Market Operations – OMOs) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2 ประการ คือ

 

1) การรักษาเสถียรภาพด้านราคาซึ่งมีตัวเลขที่ต้องติดตามคืออัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) 


2) เป้าหมายด้านการจ้างงาน ซึ่งมีตัวเลขที่ต้องติดตามคืออัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-Farm Payroll) 


เมื่อมีการกำหนดแนวนโยบายแล้วจะมีการออกแถลงการณ์ถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายนั้นต่อสาธารณะชน และเนื่องจากนโยบายทางการเงินที่ดำนินการผ่านตลาดเงิน (OMOs) ของ FOMC นั้นเกี่ยวเนื่องกับ อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) และ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Bond Yield) ซึ่งตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนับว่าเป็นตลาดเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกด้วยขนาดที่ใหญ่กว่า $51 ล้านล้าน การเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายของ FOMC จึงส่งผลต่อตลาดเงินได้เป็นวงกว้าง

สมาชิก FOMC มีใครบ้าง

17026224827944


การกำหนดนโยบายของ FOMC ขึ้นอยู่กับข้อมูลและดุลยพินิจของคณะกรรมการแต่ละคน การวิเคราะห์การประชุม FOMC แต่ละครั้งจึงอาจต้องวิเคราะห์แนวคิดของสมาชิก FOMC แต่ละคนด้วย คราวนี้เรามาดูกันต่อเลยว่าแล้วสมาชิก FOMC นั้นเป็นใครและมาจากไหนกันบ้าง


สมาชิก FOMC มี 7 คนที่มาจากบอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ, 1 คนที่เป็นประธาน Fed สาขานิวยอร์ค, และอีก 4 คนเลือกมาจากสาขา FED ที่เหลือ แต่ละคนจะดำรงตำแหน่ง 1 ปีและสลับให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน


คณะกรรมการ FOMC ชุดปัจจุบัน (2023) ประกอบด้วย


  • Jerome H. Powell, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ ดำรงตำแหน่งประธาน

  • John C. Williams, Fed สาขานิวยอร์ค ดำรงตำแหน่งรองประธาน

  • Michael S. Barr, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

  • Michelle W. Bowman, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

  • Lisa D. Cook, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

  • Austan D. Goolsbee, Fed สาขาชิคาโก

  • Patrick Harker, Fed สาขาฟิลาเดเฟีย

  • Philip N. Jefferson, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

  • Neel Kashkari, Fed สาขามินนีแอโพลิส

  • Adriana D. Kugler, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

  • Lorie K. Logan, Fed สาขาดัลลัส

  • Christopher J. Waller, บอร์ดบริหารของธนาคารกลางสหรัฐ

การประชุม FOMC มีกี่โมง และจัดขึ้นบ่อยแค่ไหน?

FOMC จัดขึ้นปีละ 8 ครั้ง หรือจัดขึ้นทุก ๆ 1 เดือนครึ่ง เพื่อติดตามและประเมินผลของนโยบายอย่างต่อเนื่อง การประชุมมักใช้เวลา 2 วันและมีการแถลงผลการประชุมในวันสุดท้ายที่เวลาไม่เกิน 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือไม่เกิน 02.00 น. ตามเวลาประเทศไทย และสำหรับปี 2024 มีการจัดประชุม FOMC ตามรอบดังนี้


  • 30 - 31 มกราคม 2024

  • 19 – 20 มีนาคม 2024

  • 30 – 1 พฤษภาคม 2024

  • 11 – 12 มิถุนายน 2024

  • 30 – 31 กรกฎาคม 2024

  • 17 – 18 กันยายน 2024

  • 6 -7 พฤศจิกายน 2024

  • 17 -18 ธันวาคม 2024

เครื่องมือที่ FOMC นำมาใช้ได้มีอะไรบ้าง

FOMC


จากหน้าที่ของ FOMC ที่เป็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราการจ้างงาน ผ่านนโยบายทางการเงิน ทำให้ FOMC มีเครื่องมือที่นำมาใช้ในแบบที่เราเห็นกันได้บ่อย ๆ คือการดำเนินการผ่านตลาดเงิน (Open Market Operations – OMOs) ที่ทำได้ 3 ทางคือ 


  • การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

    เป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในระบบโดยตรง จะเป็นนโยบายที่ถูกนำมาใช้เมื่อต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่นโยบายนี้มีผลที่ต้องระวังคืออาจตามมาด้วยเงินเฟ้อสูงและทำให้งบดุลของ Fed ขยายตัว


  • การขายพันธบัตรรัฐบาล

    เป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ มักเป็นนโยบายที่นำมาใช้เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงและเป็นการลดงบดุลของ Fed ให้หดตัวลง


  • การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate (FFR) FFR

    เป็นอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนที่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ใช้กู้ยืมเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งหาก FFR อยู่ในระดับสูงสถาบันการเงินจะลดการกู้เงินจาก Fed ลงส่งผลให้มีเงินมาปล่อยหมุนเวียนในระบบน้อยลง ในทางตรงกันข้ามหาก FFR อยู่ในระดับต่ำ สถาบันการเงินจะมีแรงจูงใจให้กู้ยืมเงินเพื่อมาหมุนเวียนสูงขึ้น 


ด้วยเครื่องมือทั้ง 3 ตัวนี้ช่วยให้ Fed สามารถดูแลสภาพคล่องและเสถียรภาพในระบบการเงิน เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานได้

มองแนวโน้มการดำเนินนโยบายของ FOMC ผ่าน Dot Plot

นอกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ FOMC ที่นักลงทุนต้องติดตามแล้ว Dot Plot ยังเป็นอีกหนึ่งอย่างที่นักลงทุนควรสังเกต ซึ่งตัว Dot plot จะแสดงออกมาพร้อมรายงานการประชุม FOMC ในแต่ละครั้งโดยมีลักษณะเป็นแผนภาพแบบจุด ซึ่งแต่ละจุดบนกราฟจะแสดงถึงความเห็นของกรรมการแต่ละท่านว่าในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไปอัตราดอกเบี้ยควรเป็นเท่าไหร่ และด้วยกราฟนี้จะทำให้นักลงทุนได้เห็นแนวโน้มการตัดสินใจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของ FOMC ในอนาคตได้


ตัวอย่าง Dot plot จากการประชุมวันที่ 13 ธันวาคม 2023

   ตัวอย่าง Dot plot จากการประชุมวันที่ 13 ธันวาคม 2023 Cr: federalreserve.go

หากจะถามว่า FOMC คืออะไร? ถึงตรงนี้ก็คงพอเห็นภาพกันไปบ้างแล้วว่า FOMC ก็คือคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับไทยก็คล้ายกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายทางการเงินเป็นรอบ ๆ ในแต่ละปี ซึ่งนโยบายที่ขับเคลื่อนโดย FOMC ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินอย่างกว้างขวางผ่านอัตราดอกเบี้ยและการควบคุมสภาพคล่อง ทำให้นักลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในตลาดเงินส่วนไหนก็ต้องจับตามองการเคลื่อนไหวของการประชุมนี้อย่างใกล้ชิดทุกครั้ง


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์