EKYC(Electronic Know-Your-Customer) คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

EKYC (Electronic Know-Your-Customer ) เป็นอีกหนึ่งวิธีของการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง ที่สามารถทำได้ง่ายๆผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประหยัดเวลาในการเดินทาง ปัจจุบันนี้มีการปรับใช้ทั้งในการลงทะเบียนกับภาครัฐและภาคเอกชน แต่อย่างไรก็ตามในความทันสมัยที่เข้ามาพร้อมความสะดวกสบายก็ย่อมมีปัญหาเล็กๆน้อยๆตามมาทีหลัง บทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้ว่า EKYC คืออะไร มาตราฐานของ EKYC มีอะไรบ้าง พร้อมทั้งบอกข้อดีและข้อด้อยของการยืนยันตัวตนในรูปแบบ EKYC มาศึกษารายละเอียดไปพร้อมกันเลย

EKYC คืออะไร

EKYC (Electronic Know-Your-Customer) คือ การรู้จักลูกค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนามาจากการยืนยันตัวตนด้วยระบบ KYC ซึ่งระบบการยืนยันตัวตนแบบ Face-to-Face โดยลูกค้าจะต้องเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่โดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลาและมีความยุ่งยาก ดังนั้นจึงมาการพัฒนามาเป็นรูปแบบการยืนยันตัวตนด้วยระบบอิเล็กนิกส์อย่าง EKYC โดยที่ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการระบุตัวตน (Identification) และยืนยันตัวตน (Verification) ลดภาระในการกรอกเอกสารด้วยตัวเอง พร้อมทั้งประหยัดเวลาในการทำการเป็นอย่างมาก สำหรับรูปแบบการยืนยันตัวตนที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันนี้ จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 


  • Biometric Authentication 

    คือ รูปแบบการยืนยันตัวตนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเป็นการเลือกใช้ข้อมูลแบบชีวมิติ ไม่ว่าจะเป็น การสแกนม่านตา ใบหน้า ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นตัวตนของเราจริงๆ ที่ทำการเข้าสู่ระบบในขณะนี้ ตัวอย่างของการใช้งานได้แก่ การล็อคอินเข้าสมาร์ทโฟน และการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking เป็นต้น


  • Optical Character Recognition (OCR) OCR 

    คือ รูปแบบการยืนยันตัวตนแบบสแกนเอกสารและรูปภาพ ตัวอย่างเช่น บัตรประชาชน สำเนา Bookbank สำเนาทะเบียน ทั้งหมดนี้จะถูกแปลงข้อมูลให้อยู่รูปแบบ Digital สามารถกระชับเวลาในการกรอกข้อมูลลงบนกระดาษ 


  • National Digital ID (NDID) NDID 

    คือ เป็นการยืนยันตัวตันผ่านระบบออนไลน์ ที่ระบบธนาคารในประเทศไทยนิยมเลือกใช้กัน เช่น การสแกนใบหน้าและบัตรประชาชน เป็นต้น

มาตราฐานของ EKYC มีอะไรบ้าง


การที่เราจะทำการเข้าสู่ระบบเพื่อทำรายการอะไรสักอย่างหนึ่งให้ผ่านและป้องกันการโดนแฮคเกอร์ จะต้องมีการระบบุตัวตนให้แน่ชัด สำหรับบุคคลธรรมดา จะใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ Email และการสแกนใบหน้า เป็นต้น


ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ก็ใช้ข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวในการอนุมัติเข้าสู่ระบบเช่นกัน ได้แก่ ชื่อนิติบุคคล เลขจดทะเบียนนิติบุคคล หรือที่ตั้งสำนักงานเป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีในส่วนของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน authenticator คือ สิ่งที่ตัวบุคคลนั้นๆครอบครองและควบคุมเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ประกอบด้วย


  • something you know สิ่งที่เรารู้อยู่คนเดียว เช่น Password

  • something you have สิ่งที่เรามี เช่น บัตรประชาชน

  • something you are สิ่งที่เราเป็น เช่น ลายนิ้วมือ

ข้อดีข้อด้อยของ EKYC

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นๆได้ว่า มีข้อดีที่น่าสนใจอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อด้อยอยู่เล็กน้อยที่จะต้องทำการพัฒนาและแก้ไขกันต่อไป โดยทางผู้เขียนได้เลือกหยิบตัวอย่างข้อดีและข้อเสียมาให้ผู้อ่านได้ที่ศึกษากัน โดยมีรายละเอียดดังนี้


ข้อดีของ EKYC

  • สะดวกสบายในการกรอกข้อมูล ประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปลงทะเบียน ประหยัดทรัพยากร ลดการใช้กระดาษ


  • ระบบจัดเก็บข้อมูลมีความปลอดภัย มีความถูกต้องและไม่ความน่าเชื่อถือ ไม่เกิดปัญหาการปลอมแปลงเอกสารภายหลังอย่างแน่นอน 


  • ผู้ใช้งานสามารถทำการลงทะเบียนได้ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของตัวเองและสามารถใช้งานได้ทั้งในภาคธุรกิจ ธนาคารการเงิน และภาครัฐ เป็นต้น


ข้อเสียของ EKYC

กลุ่มผู้สูงวัยที่ลงทะเบียนอาจจะเข้าถึงได้ยาก อาจจะนำมาสู่ปัญหาผู้ไม่หวังนำข้อมูลของกลุ่มคนเหล่านี้ไปก่อให้เกิดความเสียหาย ก็เป็นได้

E-KYC และ KYC ต่างกันอย่างไร

eKYC และ KYC จะมีความแตกต่างกันในหลายด้าน เช่น


กระบวนการตรวจสอบ

  • KYC: รวมถึงการตรวจสอบด้วยตนเองโดยใช้เอกสารทางกายภาพเช่นบัตรประชาชนหนังสือเดินทาง ฯลฯ

  • eKYC: การพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นไบโอเมตริกซ์ลายเซ็นดิจิทัลและ Aadhaar (ในบางพื้นที่) สำหรับการตรวจสอบระยะไกล


เอกสาร

  • KYC: ลูกค้าต้องสำเนาเอกสารระบุตัวตนและที่อยู่

  • eKYC: เนื่องจากการตรวจสอบจะดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารทางกายภาพ


วิธีการตรวจสอบ

  • KYC: โดยปกติจะต้องตรวจสอบด้วยตนเองซึ่งอาจใช้เวลานาน

  • eKYC: สามารถทำได้จากระยะไกลเพื่อความสะดวกของลูกค้า


ความเร็ว

  • KYC: กระบวนการตรวจสอบด้วยตนเองอาจใช้เวลาทำให้ลูกค้าเริ่มล่าช้า

  • eKYC: ให้กระบวนการตรวจสอบที่รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับการเริ่มต้นใช้งานของลูกค้าได้เร็วขึ้น


แม่นยำ

  • KYC: มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากการประมวลผลด้วยตนเองและการตรวจสอบ

  • eKYC: เนื่องจากวิธีการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลจึงมีความแม่นยำมากขึ้น


ความปลอดภัย

  • KYC: มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ จำกัด เนื่องจากเอกสารทางกายภาพอาจถูกปลอมแปลงหรือดัดแปลง

  • eKYC: เพิ่มความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสดิจิตอลและการรับรองไบโอเมตริกซ์ลดความเสี่ยงของการฉ้อโกง


ประสบการณ์ของลูกค้า

  • KYC: ขอให้ลูกค้ามาที่สาขาหรือสำนักงานด้วยตนเองซึ่งอาจไม่สะดวก

  • eKYC: มอบประสบการณ์ที่ราบรื่นและสะดวกสบายเนื่องจากการตรวจสอบสามารถทำได้จากระยะไกล


โดยสรุปแล้ว eKYC เหนือกว่า KYC แบบดั้งเดิมในแง่ของประสิทธิภาพ ความสะดวก ความแม่นยำ และความปลอดภัย เนื่องจากการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลและวิธีการตรวจสอบจากระยะไกล

บทสรุป

ในบทความนี้ เราได้ทำความรู้จักกัน EKYC คืออะไร แล้ว จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้การยืนยันตัวตนในหลายๆที่ เริ่มมีการนำเทคโนโลย EKYC เข้ามาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคธนาคาร ภาครัฐ ภาคธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าลงทุน เปิดพอร์ต ตลอดจนถึงการทำประกันต่างๆ ก็ล้วนแต่มีการลงทะเบียนแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานรั่วไหลและรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์