Divergence คืออะไรและวิธีเทรด Divergence ทำอย่างไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Divergence คือ สัญญาณขัดแย้ง ที่อินดิเคเตอร์ไม่ได้บ่งชี้ไปในทางที่สอดคล้องกับราคาที่เกิดขึ้น สัญญาณ Divergence ทั่วไปที่นิยมใช้มักเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแนวโน้ม (Reversal Pattern) แต่ก็ยังมีสัญญาณขัดแย้งบางรูปแบบที่เป็น Hidden Divergence สามารถนำมาใช้ในการยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา (Continuous Pattern) ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คราวนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับ Divergence ให้มากขึ้น แล้วมาดูกันว่า Regular divergence และ Hidden Divergence มีความแตกต่างกันอย่างไร และจะนำไปใช้ในการเทรดได้อย่างไรบ้าง

Divergence คืออะไร

Divergence คือ สัญญาณขัดแย้งระหว่าง ราคา และ อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค ที่ไม่ได้ชี้ไปในทิศทางเดียวกันทำให้อาจไม่สามารถใช้อินดิเคเตอร์ชี้วัดและส่งสัญญาณได้อย่างที่ควรเป็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอินดิเคเตอร์นี้จะบอกผิดพลาดจนใช้ไม่ได้เลย เพราะ Divergence หรือสัญญาณขัดแย้งเหล่านี้ยังสามารถนำมาบ่งชี้สถานการณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีความเป็นไปได้ 4 ทาง คือ


1. เมื่อราคาปรับตัวลงอย่างแข็งแกร่ง 

แต่อินดิเคเตอร์ไม่ได้บ่งชี้ไปในทิศทางที่ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคาขาลง จนเกิดสัญญาณขัดแย้งเป็นขาขึ้น (Bullish Divergence) ซึ่งแสดงว่าแนวโน้มราคาที่กำลังดำเนินไปนี้อาจไม่ถูกต้องและมีแนวโน้มที่จะเกิดการกลับตัวขึ้นของราคาในที่สุด 


2. เมื่อราคาปรับตัวลงอย่างแข็งแกร่ง 

แต่อินดิเคเตอร์ไม่ได้บ่งชี้ไปในทิศทางที่ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคาขาขึ้น จนเกิดสัญญาณขัดแย้งเป็นขาลง (Bearlish Divergence) ซึ่งแสดงว่าแนวโน้มราคาที่กำลังดำเนินไปนี้อาจไม่ถูกต้องและมีแนวโน้มที่จะเกิดการกลับตัวลงของราคาในที่สุด 


3. เมื่อราคาปรับตัวลงอย่างแข็งแกร่ง  

และอินดิเคเตอร์ไม่ได้ยืนยันไปในทิศทางเดียวกับราคา แต่แสดงความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคาขาลง จนเกิดเป็นสัญญาณขัดแย้ง (Hidden Bearlish Divergence) แสดงว่าการดำเนินไปของแนวโน้มนี้ยังไม่สิ้นสุดลงและราคามีโอกาสจะกลับไปเคลื่อนไหวตามแนวโน้มขาลงเช่นเดิม 


4. เมื่อราคาปรับตัวลงอย่างแข็งแกร่ง 

และอินดิเคเตอร์ไม่ได้ยืนยันไปในทิศทางเดียวกับราคา แต่แสดงความแข็งแกร่งของแนวโน้มราคาขาขึ้น จนเกิดเป็นสัญญาณขัดแย้ง (Hidden Bearlish Divergence) แสดงว่าการดำเนินไปของแนวโน้มนี้ยังไม่สิ้นสุดลงและราคามีโอกาสจะกลับไปเคลื่อนไหวตามแนวโน้มขาขึ้นเช่นเดิม 

Divergence บอกอะไรได้บ้าง?

Divergence คืออะไร


Divergence เป็นการวิเคราะห์เครื่องมือทางเทคนิค (Indicators) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งอินดิเคเตอร์ที่นำมาใช้มักเป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Oscillator หรือ MACD ที่นำมาบ่งชี้ความแข็งแกร่งของโมเมนตัมราคาได้ เพื่อดูว่าการเคลื่อนไหวของแนวโน้มที่กำลังดำเนินอยู่มีความความแข็งแกร่งของแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ 


ดังนั้นสิ่งแรกที่ Divergence สามารถบอกกับนักเทรดได้ก็คือความสอดคล้องของราคาที่เกิดขึ้นและความแข็งแกร่งของแนวโน้มที่ดำเนินไปว่าถูกยืนยันด้วยอินดิเคเตอร์หรือไม่ ซึ่งหากไม่ถูกยืนยันจนเกิดเป็นสัญญาณขัดแย้ง แสดงว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นกำลังอ่อนกำลังลง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นการกลับตัวของราคา ราคา (Reversal Pattern)


อย่างไรก็ดี Divergence ที่เกิดในลักษณะ Hidden Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณขัดแย้งระหว่างราคาที่อ่อนกำลังและอินดิเคเตอร์ที่ไม่ได้บ่งชี้ความอ่อนแอของแนวโน้ม กรณีนี้จะไม่เป็นการบอกความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม แต่จะเป็นการยืนยันความต่อเนื่องของแนวโน้มราคา (Continuous Pattern) แทน

อินดิเคเตอร์ยอดนิยมในการสังเกตสัญญาณ Divergence

อินดิเคเตอร์ที่นิยมนำมาใช้สังเกตสัญญาณ Divergence มักเป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Oscillator หรือ MACD ที่สามารถนำมาบอกโมเมนตัมของราคาได้ ตัวอย่างเช่น 


1. MACD 

เป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่มแนวโน้ม (Trend) ที่เกิดจากการใช้เส้นค่าเฉลี่ยสองเส้นมาใช้เป็นเครื่องมือบอกจังหวะซื้อขาย หาก MACD มีค่าบวกและบวกมากขึ้น แสดงว่าแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้นที่มีความแข็งแรงของแนวโน้ม ในทางตรงกันข้ามหาก MACD มีค่าลบและเคลื่อนต่ำลงเรื่อย ๆ แสดงว่าแนวโน้มราคาเป็นขาลงที่มีความแข็งแรง การเทรด MACD Divergence เกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดสูงสุดหรือต่ำสุดใหม่เรื่อย ๆ แต่ MACD เริ่มไม่ส่งสัญญาณในทิศทางเดียวกัน


2. RSI 

เป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Oscillator ที่ใช้บ่งชี้ภาวซื้อมากเกินไป (Overbought) และ ภาวะขายมากเกินไป (Oversold) RSI ที่บอกค่ามากกว่า 70 แสดงถึงภาวะซื้อมากเกินไปและราคามีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง ขณะที่ RSI ที่บอกค่าต่ำกว่า 30 แสดงภาวะขายมากเกินไปและราคามีแนวโน้มที่จะรีบาวน์ การเกิดสัญญาณ Divergence ที่การเคลื่อนที่ของราคาไม่ถูกยืนยันด้วย RSI ในพื้นที่ทั้งสองเป็นจุดสังเกตการเกิด RSI Divergence


3. Williams Percent Range 

เป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่ม Oscillator ที่ใช้บ่งชี้ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ขายมากเกินไป (Oversold) ด้วยค่า Williams %R ที่บอกค่า 0 - 100 ค่า %R ที่มากกว่า 80 บ่งชี้ภาวะซื้อมากเกินไปจะบอกแนวโน้มที่ราคาจะปรับฐาน ในทางตรงกันข้าม %R ที่ต่ำกว่า 20 แสดงภาวะขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะรีบาวน์ และการเกิด Divergence ในพื้นที่สองบริเวณนี้จะเป็นจุดสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้ดี

ประเภทของ Divergence และการนำไปประยุกต์ในการเทรด

การเกิด Divergence เป็นภาวะความขัดแย้งของราคาและอินดิเคเตอร์ที่ไม่ได้บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกัน นักเทรดสามารถนำ Divergence ไปคาดการณ์ได้ทั้งการกลับตัวของแนวโน้ม หรือ การดำเนินของแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการระบุประเภทของ Divergence ที่เกิดขึ้นจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์เทรดว่าควรเป็นการเทรดบนการกลับตัวของแนวโน้ม หรือการเทรดบนความต่อเนื่องของแนวโน้ม 


โดย Divergence ที่พบได้มี 2 ประเภท ได้แก่


1. สัญญาณ Divergence แบบทั่วไป (Regular divergence)


สัญญาณขัดแย้งทั่วไป (Regular Divergence) คือ สัญญาณขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มราคาดำเนินไปอย่างแข็งแกร่ง แต่ไม่ถูกยืนยันด้วยความแข็งแกร่งของอินดิเคเตอร์ในทิศทางเดียวกัน ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการกลับตัวของแนวโน้มราคา (Reversal Pattern)


สัญญาณขัดแย้งทั่วไป (Regular Divergence)


  • Bullish divergence 

Bullish divergence คือ Regular Divergence ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายของแนวโน้มขาลง เมื่อราคาปรับลงอย่างต่อเนื่อง แต่อินดิเคเตอร์ไม่ได้ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลง (ไม่ลงต่อหรือเริ่มปรับขึ้น) เป็นการแสดงถึงความอ่อนแอของแนวโน้มราคาขาลง และราคามีโอกาสที่จะกลับตัวเป็นขาขึ้นอย่างรุนแรงได้


  • Bearish divergence 

Bullish divergence  คือ Regular Divergence ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายของแนวโน้มขาขึ้น เมื่อราคาปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อินดิเคเตอร์ไม่ได้ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้น (ไม่ขึ้นต่อหรือเริ่มปรับลง) เป็นการแสดงถึงความอ่อนแอของแนวโน้มราคาขาขึ้น และราคามีโอกาสที่จะกลับตัวเป็นขาลงอย่างรุนแรงได้


 ◆ วิธีเทรด Regular Divergence 

  1. มองหารูปแบบที่มีแนวโน้มว่าราคาจะกลับตัว 

    เช่น การเกิดจุดสูงที่สูงขึ้น (Higher High) หรือ Double Tops ในปลายแนวโน้มขาขึ้น, และการเกิดจุดต่ำที่ต่ำลง (Lower Low) หรือ Double Bottoms ในปลายแนวโน้มขาลง


  2. สังเกตอินดิเคเตอร์ 

    เช่น MACD RSI Stochastic W%R โดยเฉพาะเมื่ออินดิเคเตอร์เริ่มเข้าโซนซื้อมากเกินไป (Overbought) แล้วไม่ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มด้วยการปรับตัวขึ้นต่อ (อินดิเคเตอร์เริ่มปรับตัวลง) หรือ โซนขายมากเกินไป (Oversold) แล้วไม่ยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มด้วยการปรับลงต่อ (อินดิเคเตอร์เริ่มปรับขึ้น)


  3. อจังหวะที่มีสัญญาณกลับตัวของราคา 

    เช่น แท่งเทียนเริ่มทำรูปแบบกลับตัว หรือ ราคาเริ่มวิ่งกลับไปที่เส้นค่าเฉลี่ยแล้วแสดงการกลับตัวของราคา เมื่อราคายืนยันการกลับตัวให้หาจังหวะเข้าเปิดสถานะในแนวโน้มฝั่งตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้า (Reversal Pattern) 


2. สัญญาณ Divergence แบบแฝง (Hidden divergence)

สัญญาณขัดแย้งแบบแฝง (Hidden Divergence) คือ สัญญาณขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มราคามีการเหวี่ยงตัวแบบอ่อน แต่อินดิเคเตอร์มีการเคลื่อนไหวในทางบ่งชี้ความแข็งแกร่งจนเกิดเป็นสัญญาณขัดแย้ง และไม่ยืนยันการเหวี่ยงตัวของราคาที่เกิดขึ้น ทำให้ทิศทางแนวโน้มราคาเดิมยังคงดำเนินต่อไป (Continuous Pattern)


สัญญาณขัดแย้งแบบแฝง (Hidden Divergence)


  • Hidden Bullish divergence

Hidden Bullish divergence คือ สัญญาณขัดแย้งที่เกิดเมื่อราคาเริ่มมีการเหวี่ยงตัวขึ้น แต่อินดิเคเตอร์ยังคงส่งสัญญาณเป็นขาลงอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งบอกความขัดแย้งระหว่างราคาและสัญญาณจากอินดิเคเตอร์ สถานการณ์นี้บ่งบอกว่าแนวโน้มราคาในขาขึ้นยังไม่สิ้นสุดลงและนักเทรดควรถือสถานะในฝั่งซื้อ (Long) ต่อไป


  • Hidden Bearish divergence

Hidden Bearish divergence คือ สัญญาณขัดแย้งที่เกิดเมื่อราคาเริ่มมีการเหวี่ยงตัวลง แต่อินดิเคเตอร์ยังคงส่งสัญญาณเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งบอกความขัดแย้งระหว่างราคาและสัญญาณจากอินดิเคเตอร์ สถานการณ์นี้บ่งบอกว่าแนวโน้มราคาในขาลงยังไม่สิ้นสุดลงและนักเทรดควรถือสถานะในฝั่งขาย (Short) ต่อไป


 ◆ วิธีเทรด Hidden Divergence 

  1. มองหารูปแบบราคาที่เริ่มมีแนวโน้มการเกิดสัญญาณขัดแย้ง (Hidden Divergence)

    คือ การเกิดจุดสูงที่ต่ำลง (Higher High) หรือ Double Tops ในแนวโน้มขาขึ้น, และการเกิดจุดต่ำที่สูงขึ้น (Higher Low) หรือ Double Bottoms ในแนวโน้มขาลง


  2. สังเกตสัญญาณอินดิเคเตอร์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ยืนยันความอ่อนแอของการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้น

    เช่น เมื่อราคาทำจุดสูงที่ต่ำลง (ราคาขึ้นแบบอ่อนแรง) อินดิเคเตอร์ยังแสดงการขึ้นของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง หรือ เมื่อราคาทำจุดต่ำที่ยกสูงขึ้น (ราคาลงแบบอ่อนแรง) อินดิเคเตอร์ยังแสดงการลงของแนวโน้มที่แข็งแกร่ง แสดงว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นยังไม่สิ้นสุดลง และราคามีแนวโน้มกลับมาเคลื่อนตัวตามแนวโน้มเดิมที่เกิดขึ้น (Continuous Pattern)


  3. เมื่อราคาเบรกกรอบแนวโน้มกลับไปในทิศทางเดิม

    นักเทรดสามารถใช้กลยุทธ์ซื้อเมื่อราคาเบรคเอาท์พร้อมการตั้งจุดตัดขาดทุน

ตัวอย่าง Divergence ในการเทรดฟอเร็กซ์

Regular Bullish Divergence


Regular Bullish Divergence



  1. Regular Bullish Divergence มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาก่อนหน้าเป็นขาลงอย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับอินดิเคเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่โซนขายมากเกินไป (Oversold) ที่ RSI ปรับตัวต่ำกว่า 30 เป็นจุดเฝ้าสังเกตสัญญาณ Bullish Divergence ที่ราคามีแนวโน้มกลับตัว (Reversal)


  2. เมื่อการปรับลงของราคายังดำเนินไปเรื่อย ๆ และทำจุดต่ำสุดใหม่ (Lower Low) พร้อมเกิดสัญญาณขัดแย้ง (Divergence) ที่ RSI ไม่ได้บ่งชี้การปรับลงในทิศทางเดียวกัน แสดงว่าแนวโน้มราคาที่เป็นขาลงเริ่มชะลอตัวลงและมีโอกาสที่จะเกิด Regular Bullish Divergence


  3. การเกิดแท่งเทียนสีเขียวยาวแท่งแรกเป็นจุดเสี่ยงซื้อ ด้วยการตั้งจุดตัดขาดทุนไม่ต่ำกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า


Regular Bearish Divergence



16951065658329Regular Bearish Divergence



  1. Regular Bearish Divergence มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาก่อนหน้าเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับอินดิเคเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่โซนซื้อมากเกินไป (Overbought) ที่ RSI ปรับตัวสูงกว่า 70 เป็นจุดเฝ้าสังเกตสัญญาณ Bealish Divergence ที่ราคามีแนวโน้มกลับตัว (Reversal)


  2. เมื่อการปรับลงของราคายังดำเนินไปเรื่อย ๆ และทำจุดสูงสุดใหม่ (Higher High) พร้อมกับเกิดสัญญาณขัดแย้ง (Divergence) ที่ RSI ไม่ได้บ่งชี้การปรับขึ้นในทิศทางเดียวกัน แสดงว่าแนวโน้มราคาที่เป็นขาขึ้นเริ่มชะลอตัวลงและมีโอกาสที่จะเกิด Regular Bearish Divergence


  3. การเกิดแท่งเทียน shooting star เป็นจุดเสี่ยงขาย (Short) ด้วยการตั้งจุดตัดขาดทุนไม่สูงกว่าเทียนก่อนหน้า 


Hidden Bullish Divergence


Hidden Bullish Divergence



  1. Hidden Bullish Divergence มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาค่อย ๆ ไต่ระดับเป็นขาขึ้นในกรอบอินดิเคเตอร์ปกติที่ RSI เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 30 – 70 แต่ราคาเริ่มมีการแกว่งลงแบบทำจุดต่ำที่ยกสูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher Low)


  2. การปรับตัวของราคายังคงแกว่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อินดิเคเตอร์เริ่มส่งสัญญาณขัดแย้งด้วยการปรับตัวต่ำลงและทำจุดต่ำที่ต่ำลง (Lower Low) การปรับตัวขึ้นของราคาจึงไม่ได้ถูกยืนยันด้วย RSI เกิดเป็น Hidden Bullish Divergence ที่ราคาจะยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง


  3. เมื่อราคาเบรคกรอบบนที่เคยทำไว้ด้วยแท่งเทียนสีเขียว นักเทรดสามารถเข้าซื้อที่ราคาเปิดของแท่งเทียนถัดไป และตั้งจุดตัดขาดทุนที่ราคาต่ำสุดของแท่งเทียนก่อนหน้า และคาดหวังกำไรจากการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของแนวโน้มราคา


Hidden Bearish Divergence


Hidden Bearish Divergence



  1. Hidden Bearish Divergence มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาค่อย ๆ ไต่ระดับลงในกรอบอินดิเคเตอร์ปกติที่ RSI เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 30 – 70 แต่ราคาเริ่มมีการรีบาวน์แบบทำจุดสูงสุดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower High) 


  2. การปรับตัวของราคายังคงแกว่งตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่อินดิเคเตอร์เริ่มส่งสัญญาณขัดแย้งด้วยการปรับตัวขึ้นและทำจุดสูงที่ยกตัวขึ้น (Higher High) การปรับตัวลงของราคาจึงไม่ได้ถูกยืนยันด้วย RSI และเกิดเป็น Hidden Bearish Divergence ที่ราคาจะยังปรับตัวลงต่อไป


  3. เมื่อราคาเบรคกรอบล่างที่เคยทำไว้ นักเทรดสามารถขาย (Short) เมื่อราคาหลุดกรอบลงมา และตั้งจุดตัดขาดทุนที่ราคากรอบบน และคาดหวังกำไรจากการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของแนวโน้มราคา

ข้อควรระวังในการเทรด Divergence

แนวโน้ม (Trend) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเทรดตามคำกล่าวที่ว่า “Trend is King” และ Divergence เป็นสัญญาณหนึ่งที่ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุจุดกลับตัวหรือการดำเนินไปของแนวโน้มได้อย่างคร่าว ๆ อย่างไรก็ดีการเกิด Divergence อาจไม่ได้ตามมาด้วยสถานการณ์ที่นักเทรดคาดหมายแบบทันที เพราะอาจเกิดการ Divergence ได้หลายครั้งก่อนที่ราคาจะเป็นไปในทิศทางที่คาดหมาย ดังนั้นแม้จะเกิดสัญญาณ Divergence ขึ้นเป็นโอกาสในการเปิดสถานะ นักเทรดก็ควรเลือกจุดเข้าเปิดสถานะที่ได้เปรียบและตั้งจุดตัดขาดทุนประกอบด้วยทุกครั้ง

mitrade    

ทดลองเทรดด้วยเงินเสมือนฟรี $50,000    

   
dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
dago กราฟแบบเรียล์ไทม์และอินดิเคเตอร์ต่างๆ ฟรี   
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

สรุป

Divergence คือเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักเทรดในการคาดการณ์แนวโน้มราคาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเทรด Divergence อาจไม่ใช่สัญญาณที่แม่นยำ 100% แต่แสดงถึงความเป็นไปได้และโอกาสของแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากนักเทรดสามารถทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้แม่นยำว่าสถานการณ์ไหนเป็น Regular Divergence สถานการณ์ไหนเป็น Hidden Divergence ร่วมกับการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม แค่เครื่องมือ Divergence ตัวเดียวก็สามารถสร้างผลกำไรให้กับพอร์ตการลงทุนได้แบบไม่ยาก

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์