ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
Lloyd Luo
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การลงทุนในปัจจุบันได้ชื่อว่าพัฒนาไปไกลจนมีเครื่องมือทางการเงินหลากหลายชนิดให้นักลงทุนได้เลือกใช้ เช่น การลงทุนในทองคำ นักลงทุนก็สามารถเลือกเครื่องมืออย่างการเข้าซื้อสินค้านั้นตรง ๆ (Gold Spot), หรือจะเลือกลงทุนผ่านกองทุน, หรือแม้แต่การลงทุนผ่านเครื่องมืออย่าง CFD ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง และในบรรดาเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดคงมีแต่ตราสารอนุพันธ์เพียงอย่างเดียวที่ขึ้นชื่อที่สุดด้วยความเสี่ยงที่จัดอยู่ในระดับสูง แต่คำถามที่ว่า ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คืออะไร นั้น คงมีนักลงทุนไม่มากที่จะเข้าใจและใช้เครื่องมือตัวนี้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นคราวนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเครื่องมือตัวนี้ให้มากขึ้นเพื่อให้นักลงทุนได้นำเครื่องมือตัวนี้ไปใช้จัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมกัน

ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คืออะไร?

ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คือ เครื่องมือทางการเงินที่เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำขึ้นในปัจจุบัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต ตราสารรูปแบบนี้จึงมีจุดเด่นตรงที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคาและปริมาณการซื้อขายกันได้ก่อนหน้าแม้ว่าจะยังไม่มีสินค้าในมือก็ตาม


ด้วยการตกลงราคากันในอนาคตแบบนี้ ทำให้ราคาของตราสารอนุพันธ์สามารถสะท้อนมุมมองราคาสินค้าในอนาคตได้ และหากในระหว่างช่วงเวลาส่งมอบราคาสินค้ามีความผันผวนเปลี่ยนแปลงไปก็จะเป็นช่องทางในการเข้าไปเก็งกำไรหาส่วนต่างของราคาได้


ตัวอย่างการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เช่น การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สในตลาดน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส สัญญาเดือนธันวาคม 2020 ตกลงราคากันที่ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นหมายถึงการส่งมอบน้ำมันดิบจริง ๆ ตอนปลายเดือนธันวา 2020 จะมีราคา 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นการประกันความเสี่ยงให้กับผู้ซื้อผู้ขายจะมีการส่งมอบสินค้าที่ราคานั้นอย่างแน่นอนไม่ว่าช่วงที่ส่งมอบนั้นราคาน้ำมันดิบจะปิดที่ราคาเท่าไหร่ก็ตาม ทำให้ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าในอนาคตจะได้สินค้าในจำนวนและราคาตามที่ต้องการ ส่วนผู้ขายก็มั่นใจได้ว่าสินค้าที่กำลังจะผลิตนั้นมีคนรับซื้อในราคาที่ตกลงไว้


ทั้งนี้เงื่อนไขในการชำระราคาและส่งมอบสินค้ายังขึ้นอยู่กับประเภทของตราสารอนุพันธ์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด

ประเภทของตราสารอนุพันธ์


จากสโคปอย่างกว้างที่ว่าการซื้อขายตราสารอนุพันธ์เป็นการซื้อขายตราสารที่ตกลงหรือให้สิทธิการซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต เรายังสามารถแบ่งประเภทของตราสารอนุพันธ์ลงไปอีกหลายชนิด เช่น


1.สัญญาฟอร์เวิร์ด (Forwards) 

สัญญาฟอร์เวิร์ดเป็นสัญญาที่มีข้อตกลงซื้อขายสินค้า มีการตกลงราคากันในวันนี้และจะส่งมอบสินค้าและชำระราคากันจริง ๆ ในอนาคต สัญญาฟอร์เวิร์ดมักเป็นการตกลงกันโดยตรงระหว่างคู่สัญญาและมีการส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ จึงมักเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีสภาพคล่องน้อย แต่มักใช้ในการประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าในอนาคต มักใช้ในการประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์เป็นหลัก


2. สัญญาฟิวเจอร์ส (Futures) 

สัญญาฟิวเจอร์สหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นอีกประเภทหนึ่งของสัญญา Forwards ที่ตกลงกันปริมาณและราคาของสินค้ากันในวันนี้ แต่จะมีการชำระราคาและส่งมอบสินค้าในอนาคต แต่สัญญา Futures จะแตกต่างจาก Forwards ตรงที่มีความเป็นมาตรฐานมากกว่า เช่น มีการกำหนดปริมาณที่เป็นมาตรฐานเดียว และทำการซื้อขายที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาอนุพันธ์เท่านั้น และที่เราพบเห็นกันบ่อยครั้งก็ได้แก่ ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัส เบรนท์ หรือแม้แต่ตลาดโคเม็กซ์ที่ใช้ซื้อขายทองคำ เป็นต้น


3. ออปชัน (Options) หรือสัญญาสิทธิ 

ออปชันเป็นสัญญาหรือตราสารที่ทำขึ้นในปัจจุบันเช่นกัน แต่ตราสารนี้จะให้สิทธิกับผู้ถือว่าจะใช้สิทธิตามตราสารหรือไม่ก็ได้ในอนาคต โดยผู้ซื้อตราสารต้องจ่าย “ค่าพรีเมี่ยม” เพื่อแลกกับสิทธินั้น ขณะที่ผู้ขายออปชั่นเมื่อได้รับค่าพรีเมี่ยมมาแล้วก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ให้สิทธิกับผู้ซื้อไว้


4. สว็อป (Swap) 

สว็อปเป็นข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งแตกต่างจากสัญญาอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ ที่อ้างอิงอยู่กับสินค้าอ้างอิง แต่ตราสารอนุพันธ์อย่างสว็อปจึงกลายเป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยและกระแสเงินสดใสอนาคตได้ด้วย


 5. สัญญาซื้อขายส่วนต่างราคา (CFD) 

สัญญาอนุพันธ์ตัวนี้ค่อนข้างแตกต่างจากสี่ตัวแรกที่กล่าวมาคือ ขณะที่ ฟอร์เวิร์ด ฟิวเจอร์ส ออปชั่น สว็อป มีการเปิดให้ผู้ซื้อและผู้ขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันจริง ๆ ในอนาคตหรือเลือกจะปิดสัญญาเพื่อ settle ป้องกันการส่งมอบจริง ๆ แต่ CFD จะเป็นการซื้อขายตราสารที่อ้างอิงกับราคาของฟิวเจอร์ส หรือ สินค้าอื่น ๆ อีกทีโดยที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันแต่อย่างใด และมีการ settle ราคาเป็นส่วนต่างในการเปิดและปิดสถานะนั่นเอง และด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้ CFD ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยนำ Leverage เข้ามาเป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ซึ่งหากมองให้ใกล้ตัวขึ้นมาอีกนิด CFD จะคล้ายคลึงกับสัญญา TFEX ที่คนไทยรู้จักกันมากกว่าตราสารอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ


ประเภท

คอนเซปต์

ข้อดี

ข้อเสีย

CFD

เป็นตราสารใช้ในการเก็งกำไร ‘ส่วนต่างราคา’ ของสินค้าอ้างอิง

- เทรดด้วยเลเวอเรจสูงช่วยขยายกำไร

- ใช้เงินทุนน้อยในการลงทุน

- มีสภาพคล่องสูง

- ขั้นตอนการซื้อขายไม่ซับซ้อน ทำรายการผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ได้ทุกที่

- เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

- เหมาะกับการเก็งกำไรแบบระยะสั้น

- เทรดด้วยเลเวอเรจสูงจะขายกำไรได้แต่ก็ขยายสูญเสียได้ด้วย

- ไม่เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว

ฟอร์เวิร์ด

เป็นตราสารที่ใช้ประกันความเสี่ยงราคาสินค้าในอนาคต

- ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้ามั่นใจได้ว่าจะมีผู้สินค้าในราคาที่ตกลงไว้ในอนาคตอย่างแน่นอน ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้นอกตลาดเงิน ภาคการเกษตรแทน

- มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ เพราะใช้วิธีต่อรองกันโดยตรง จึงไม่เหมาะกับการเก็งกำไร

- มีความเสี่ยงในการส่งมอบ ต้องมีการส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ เมื่อถึงกำหนดระยะเวลา

ฟิวเจอร์ส

เป็นตราสารที่ใช้ประกันความเสี่ยงราคาสินค้าในอนาคต (แบบเป็นทางการ)

- มีการซื้อขายกันในตลาดที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง

- มีความเสี่ยงในการส่งมอบสินค้า ต้องมีการส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ ยกเว้นแต่จะมีการทำสัญญาในฝั่งตรงข้ามเพื่อ settle สถานะก่อนถึงกำหนดส่งมอบ

- หน่วยมาตรฐานในการซื้อขายต่อสัญญามีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับรายย่อย

ออปชั่น

เป็นตราสารที่ใช้ประกันความเสี่ยงในอนาคตโดยเพิ่มเงื่อนไขที่ผู้ซื้อออปชั่นสามารถใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ในอนาคต

- เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีทางเลือกในอนาคต เป็นการจำกัดความเสี่ยงไว้ที่ค่าพรีเมี่ยม (ต้นทุนที่ใช้ในการซื้อออปชั่น) ขณะที่สามารถทำกำไรได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต

- เป็นเครื่องมือที่นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายและช่วยจำกัดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- มีความซับซ้อนของเครื่องมือที่ต้องศึกษารายละเอียด

- การเลือกลงทุนออปชั่นผิดวิธีอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นการจำกัดความสามารถในการทำกำไร แต่เปิดโอกาสให้เกิดการขาดทุนอย่างไม่จำกัดแทน

สว็อป

เป็นตราสารที่ใช้ประกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสดและอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

- ช่วยประกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสดในอนาคต

- เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างมีความเฉพาะที่ไม่ใช่นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

- มีสภาพคล่องน้อย ไม่มีตลาดซื้อขายเป็นการเฉพาะ ทำให้ซื้อขายได้ยาก

ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์

จากลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ที่กล่าวมาข้างต้น เราจะพบว่าตราสารเหล่านี้ถูกเทรดเดอร์ นักลงทุนรวมถึงกองทุนนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น


1. ใช้ล็อกผลตอบแทนที่จะได้ในอนาคต 

การใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นการตกลงราคาและปริมาณซื้อขายล่วงหน้า ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าในอนาคตไม่ว่าราคาสินค้าอ้างอิงในตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็จะสามารถซื้อขายได้ ณ ราคาที่ตกลงกันไว้อย่างแน่นอน


2. ใช้ประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน 

เนื่องจากตราสารอนุพันธ์บางประเภทเช่น สัญญาฟิวเจอร์สและ CFD มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง-ใช้ทำกำไรได้ทั้งราคาขาขึ้นและขาลง ทำให้นักลงทุนนำมาใช้ประกันความเสี่ยงของการลงทุนในพอร์ตการลงทุนในช่วงที่ภาวะราคาผันผวนได้ เช่น นักลงทุนที่ถือทองคำแท่ง ในภาวะที่ราคาทองคำกำลังดิ่งลง การขายทองคำแท่งออกไปแล้วกลับไปซื้อใหม่นั้นมีความยุ่งยากและเสียค่าธรรมเนียมตัวกลางมาก นักลงทุนสามารถใช้ตราสารอนุพันธ์อย่าง สัญญาฟิวเจอร์หรือ CFD ในสถานะ Short เพื่อประกันความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้


3. ใช้กระจายพอร์ตการลงทุน 

เนื่องจากตราสารอนุพันธ์เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถซื้อขายสินค้านั้น ๆ ได้แม้ไม่มีสินค้าในมือ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดในการซื้อขายสินค้าบางอย่าง เช่น น้ำมัน ทองคำ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้นักลงทุนสามารถกระจายพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4. ใช้เป็นเครื่องมือเก็งกำไรจากส่วนต่างราคา 

ตราสารอนุพันธ์บางประเภท โดยเฉพาะสัญญาซื้อขายส่วนต่างราคาหรือ CFD เป็นตราสารที่มีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ง่าย เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์เข้าเก็งกำไรส่วนต่างของราคาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงของตราสารอนุพันธ์

เนื่องจากตราสารอนุพันธ์มีความยืดหยุ่นสูงซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุน ขณะเดียวกันด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนลงในหลายอย่างทำให้ตราสารตัวนี้มีความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องคำนึงอยู่เช่นเดียวกัน ได้แก่


ความเสี่ยงจากการใช้อัตราทด

การใช้อัตราทดหมายถึงการที่ตราสารอนุพันธ์มีเงื่อนไขที่เปิดให้นักลงทุนวางเงินเพียงบางส่วน และอาศัยประโยชน์จากอัตราทดหรือ Leverage เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้นักลงทุนมีโอกาสขาดทุนเป็นจำนวนมากหากผิดทางและไม่มีการควบคุมความเสี่ยงที่ดีได้เช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนควรบริหารความเสี่ยงให้ดี เช่น เลือกเทรดกับโบรกเกอร์ที่ได้เสนอระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบ stop loss / trailing stop


ความเสี่ยงในการส่งมอบสินค้า 

ตราสารบางประเภทจำเป็นต้องมีการส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ ในวันครบกำหนด ซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไขการลงทุนของแต่ละตราสารก่อนทุกครั้ง


ความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด 

เมื่อปัจจัยที่มากระทบราคาสินค้าเปลี่ยนไป ราคาสินค้าบางชนิดอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรุนแรง เช่น เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอาจมีผลต่อราคาทองคำให้ผันผวนรุนแรงตามไปด้วย และความผันผวนนี้หากไม่มีการจัดการความเสี่ยงที่ดีก็จะทำให้นักลงทุนขาดทุนได้

สรุป

สำหรับคำถามที่ว่าตราสารอนุพันธ์ หรือ derivative คืออะไร ถึงตรงนี้เราก็คงได้คำตอบกันไปเรียบร้อยแล้ว และแม้ว่าเครื่องมือตัวนี้จะได้รับการพูดถึงทั้งในแง่ที่ดีอย่างทำให้ร่ำรวยได้หรือในแง่ลบที่ทำให้คนหมดตัว ก็ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้นเนื่องจากเครื่องมือนี้มีความเสี่ยงสูงดังที่เราได้กล่าวถึงไปแล้ว แต่เมื่อเราได้ทราบความเสี่ยงและข้อดีของเครื่องมือตัวนี้ไปแล้วก็น่าจะทำให้เราสามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือเตรียมใจกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ และสามารถนำเครื่องมือตัวนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดบนความเสี่ยงในระดับที่แต่ละคนรับได้ในท้ายที่สุด


คำถามที่พบบ่อย

ตราสารอนุพันธ์ขายที่ไหน?

ขึ้นอยู่กับตราสารอนุพันธ์ โดยปกติจะซื้อและขายในการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์หรือผ่านการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) ตราสารอนุพันธ์บางตัวมีการซื้อขายในการแลกเปลี่ยนที่ไม่มีการควบคุม


Equity Option เป็นการลงทุนอนุพันธ์หรือไม่?

ใช่ การลงทุนในตราสารอนุพันธ์คือการลงทุนที่ได้มาหรือสร้างขึ้นจากสินทรัพย์อ้างอิง ออปชั่นหุ้นคือสัญญาที่ให้สิทธิ์ในการซื้อหรือขายหุ้นภายใต้สัญญา การเทรดออปชั่นเป็นสิทธิของตนเองและมูลค่าจะเชื่อมโยงกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิง



*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์