ตราสารหนี้คืออะไร? ลงทุนตราสารหนี้ดีไหมในปี 2567? ตราสารหนี้ vs หุ้น อันไหนดีกว่ากัน?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ในภาวะที่การลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนสูง เงินที่มีอยู่ก็ไม่รู้จะเอาทำยังไง คิดจะลงทุนในหุ้นก็ไม่ไหว จะเอาไปลงทุนในทองคำก็ดูเหมือนจะไม่ทันแล้ว แต่ครั้นจะฝากธนาคารกินดอกเบี้ยเฉย ๆ ก็ออกจะน่าเสียดายเกินไปเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตอนนี้โดนกดเสียต่ำจนเรี่ยดิน อย่างนี้แล้วยังพอมีทางไหนให้การลงทุนมีส่วนต่างให้พอทำกำไรได้ แต่ก็ไม่ได้มีความเสี่ยงและผันผวนมากอย่างหุ้นและทองคำ ตราสารหนี้อาจเป็นคำตอบนั้น ว่าแต่ตราสารหนี้คืออะไร จะลงทุนตราสารหนี้ดีไหมในปี 2567? มีวิธีลงทุนในตราสารหนี้ได้อย่างไร? และตราสารหนี้กับหุ้น อันไหนดีกว่ากัน?คราวนี้เราจะไปสำรวจสินทรัพย์ตัวนี้และหาคำตอบสำหรับคำถามข้างต้นกัน

ตราสารหนี้คืออะไร?

หากพูดให้ง่ายเข้าไว้ ตราสารหนี้ก็เหมือนกับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ผู้ถือตราสาร (เจ้าหนี้หรือนักลงทุน) มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและเรียกร้องให้ชำระเงินต้นคืนได้ ขณะที่ผู้ขายตราสาร (บริษัทผู้อออกตราสาร) เมื่อระดมทุนจากการออกตราสารได้แล้วก็มีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงและคืนเงินต้นเมื่อถึงกำหนด เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน


ความเสี่ยงจากตราสารหนี้หลัก ๆ แล้วมีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่


1. ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระ 

ถ้านักลงทุนซื้อตราสารหนี้จากบริษัทที่ฐานะการเงินไม่ดี เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน หากบริษัทมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ทำให้นักลงทุนได้เงินต้นกลับมาไม่ครบ หรือแม้แต่อาจไม่ได้เงินต้นกลับมาเลยก็ได้


2. ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย 

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยก็มีความผันผวนสามารถปรับขึ้นลงได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนอาจเสียโอกาสได้หากซื้อตราสารหนี้แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับขึ้นในภายหลัง


3. ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง 

เนื่องจากตราสารหนี้ไม่ได้มีตลาดซื้อขายเหมือนตลาดหุ้น ในวันที่นักลงทุนไม่ต้องการถือต่อไปแล้วก็อาจหาคนมาซื้อต่อได้ยาก


4. ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ 

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้เราอาจได้รับเงินต้นครบพร้อมดอกเบี้ยก็จริง แต่จะทำให้อำนาจในการซื้อน้อยลง ยิ่งหากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับก็แทบจะหักลบผลตอบแทนกันไปได้เลย


5. ความเสี่ยงจากการนำเงินไปลงทุนต่อ

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดไถ่ถอน แล้วนักลงทุนไม่มีตัวเลือกดี ๆ ในการลงทุนอีก


นอกจากจะมีผลตอบแทนและความเสี่ยงดังที่กล่าวไปแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ยังต้องคำนึงถึงสิทธิแฝง (Embedded Option) ที่มากับการถือตราสารหนี้ด้วย ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ


1. สิทธิผู้ออกไถ่ถอนก่อนกำหนด (Callable)

คือ การให้สิทธิบริษัทที่ออกตราสารหนี้จ่ายเงินต้นทั้งหมดก่อนถึงกำหนดชำระเดิม ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ถือตราสารหนี้ต้องเสียประโยชน์ที่จะได้จากการรับดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือไป


2. สิทธิผู้ถือไถ่ถอนก่อนกำหนด (Puttable) 

คือ การให้สิทธิผู้ถือตราสาร (หรือผู้ซื้อพันธบัตร) ไถ่ถอนหรือขายคืนพันธบัตรคืนให้กับบริษัทที่ออกตราสารได้ก่อนถึงกำหนดที่เคยตกลงกันไว้ บนเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้า


3. การแปลงสภาพ (Convertible)

คือ การให้สิทธิผู้ถือตราสารแปลงสภาพหุ้นกู้ไปเป็นหุ้นสามัญ ในอัตราจำนวนและราคาแปลงสภาพที่กำหนด ซึ่งทำให้ผู้ออกพันธบัตรไม่ต้องชำระเงินต้นคืน และทำให้ผู้ถือพันธบัตรสามารถได้รับผลกำไร (Capital Gain & Dividend) จากการถือหุ้นสามัญแทน


ทั้งนี้สิทธิทั้งสองรูปแบบแรกจำเป็นต้องมีการแจ้งไว้ตั้งแต่วันซื้อขายเพื่อให้ผู้ซื้อ/ขายพันธบัตรทราบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาจากสิทธิแฝงในการถือตราสารหนี้นั้น ๆ ก่อนลงทุน

มีตราสารหนี้แบบไหนให้เลือกบ้าง?


ประเภทของตราสารหนี้ที่ซื้อขายอยู่ในปัจจุบันก็มีหลากหลาย และหากอ้างอิงการแบ่งประเภทตราสารหนี้จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เราก็พอจะแบ่งตราสารหนี้เหล่านั้นออกเป็นประเภทสำคัญ ๆ 5 ประเภท คือ


1. แบ่งตามผู้ออก

1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล 

หรือที่เรียกว่าตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำเพราะค้ำประกันโดยรัฐบาล ทำให้ผลตอบแทนที่จะได้รับจากดอกเบี้ยไม่สูงนัก


2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ 

ไม่ได้มีการค้ำประกันจากกระทรวงการคลัง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำเช่นกัน


3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน 

หรือที่เรียกกันว่าหุ้นกู้ มีความเสี่ยงในการชำระหนี้แตกต่างกันไป ทำให้บริษัทจำเป็นต้องเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่พันธบัตรรัฐบาลเสนอขาย


2. แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง 

1) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ 

เป็นหุ้นกู้ที่ให้สิทธิผู้ถือรับชำระหนี้หลังเจ้าหนี้รายอื่น ๆ แต่ก่อนหน้าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์และหุ้นสามัญ ทำให้มีความเสี่ยงในการชำระหนี้มากกว่าหุ้นกู้อื่น


2) หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ 

เป็นหุ้นกู้ที่ให้สิทธิผู้ถือรับชำระหนี้พร้อม ๆ กับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ


3. แบ่งตามสิทธิในการใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน 

1) หุ้นกู้มีหลักประกัน

2) หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน


4. แบ่งตามวิธีจ่ายดอกเบี้ย 

1) ตราสารหนี้ชนิดจ่ายดอกเบี้ยประจํา 

คือ ตราสารหนี้ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่จ่ายปีละสองครั้งตลอดอายุการถือพันธบัตร


2) ตราสารหนี้ชนิดทบดอกเบี้ย 

เป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยระหว่างการถือ แต่เป็นการทบดอกเบี้ยไปจ่ายครั้งเดียวตอนไถ่ถอนโดยจ่ายคืนมาพร้อมกับเงินต้นครั้งเดียว


3) ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย 

เป็นตราสารหนี้ที่มีราคาซื้อต่ำกว่าราคาที่ตราไว้ (มี discount) ทำให้เมื่อถึงกำหนดชำระเงินต้นผู้ถือตราสารจะได้ผลตอบแทนจากราคาส่วนต่างนั้น


5. แบ่งตามชนิดของอัตราดอกเบี้ย

1) ตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยคงที่  (Fixed Rate Bond)

2) ตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate Bond)


เมื่อตราสารแต่ละแบบมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ก็มีความเสี่ยงจากการถือตราสารแตกต่างกันด้วย ซึ่งความเสี่ยงของการถือตราสารแต่ละแบบสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้


ความเสี่ยงของการถือตราสารแต่ละแบบ

การซื้อขายและการทำกำไรในตราสารหนี้

แน่นอนว่าในการลงทุนนักลงทุนย่อมต้องคาดหวังผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ได้รับ สำหรับผู้ที่เคยลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นมาก่อนอาจคิดว่าการลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนน้อย แต่นั่นก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่ต่ำกว่าเช่นกัน และการคำนวณผลตอบแทนของการถือตราสารหนี้ก็ทำได้ดังที่เราจะมายกตัวอย่างกันต่อไปนี้


การคำนวณผลตอบแทนของตราสารหนี้โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เราคำนวณผลตอบแทนของตราสารหนี้ได้ง่าย  ๆ อย่างคร่าว ๆ ยกตัวอย่างเช่น ราคาหน้าคูปอง 10,000 บาท ให้ดอกเบี้ย 8% ต่อปี จ่ายปีละสองครั้ง โดยมีระยะเวลาถือ 4 ปี ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนปีละสองครั้ง โดยมีดอกเบี้ยจ่ายออกครั้งละ 10,000 x (0.008/2) = 400 บาท เป็นระยะเวลา 2 ครั้งต่อปี = 800 บาทต่อปี และทำให้ตลอดเวลา 4 ปีมีผลตอบแทน 3,200 บาท รวมเงินต้นจ่ายคืนเมื่อสิ้นปีที่ 4 เป็นเงิน 13,200 บาท เป็นต้น


เมื่อถึงตรงนี้หากนักลงทุนสนใจลงทุนในตราสารหนี้อาจไม่สามารถติดต่อซื้อขายได้ตามบริษัททั่วไป แต่การซื้อขายตราสารหนี้นั้นแบ่งออเป็น 2 ประเภท คือ


1. ตลาดแรก (Primary Market) 

เป็นการซื้อขายโดยตรงกับบริษัทหรือหน่วยงานผู้ออกตราสาร (ผ่านสถาบันงานเงินที่เป็นที่ปรึกษาหรือธนาคาพานิชย์) ในการซื้อขายจะมีการกำหนดวงเงินซื้อขาย อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย ระยะเวลาไถ่ถอน และเงื่อนไขสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในกรณีที่มีเพิ่มเติม ซึ่งผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขและพิจารณาระยะเวลาในการถือครองให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้


2. ตลาดรอง (Secondary Market) 

สำหรับนักลงทุนที่มีการถือครองตราสารหนี้อยู่แล้ว หรือต้องการซื้อต่อจากผู้ที่เคยถือตราสารหนี้อยู่แล้ว ทั้งสองฝ่ายสามารถติดต่อซื้อขายกันได้ผ่านตลาดนี้ หรือที่เรียกว่าเป็นการซื้อขายกันนอกตลาด (Over The Counter) ซึ่งสำหรับตลาดรองของตราสารหนี้ในประเทศไทยมีชื่อว่า BEX (Bond Electronics Exchange) นักลงทุนสามารถติดต่อเปิดบัญชีซื้อขายกับหลักทรัพย์และทำการซื้อขายได้เช่นเดียวกับตราสารทางการเงินอื่น ๆ โดยมีระยะเวลาเคลียร์ริ่ง หรือกำหนดชำระราคา T+2 หรือภายใน 2 วันทำการ เมื่อสิ้นสุดการซื้อขาย ตราสารหนี้จะถูกเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ TSD เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้น ระหว่างที่มีการถือครองตราสารหนี้อยู่ผู้ถือครองก็จะได้สิทธิตามที่ระบุไว้หน้าคูปองทุกประการโดยที่ไม่จำเป็นต้องถือใบตราสารหนี้เอง


ด้วยวิธีและขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนแบบนี้ ทำให้การซื้อขายตราสารหนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่ต้องไปติดต่อซื้อขายกันเองอีกต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับการซื้อขายตราสารชนิดนี้และอำนวยความสะดวกอย่างมากให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ลงทุนตราสารหนี้ดีไหมในปี 2567?


นอกจากการลงุทนในหุ้นและกองทุนแล้ว ตราสารหนี้ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของการลงทุนในปัจจุบันที่เป็นที่นิยมของนักลงทุน อันเนื่องมาจากข้อดีของการลงทุนดังต่อไปนี้


1. มีช่วงเวลาในการลงทุนให้เลือกหลากหลาย 

ระยะเวลาที่ระบุในตราสารหนี้มีหลากหลายมาก ตั้งแต่ 1 วันจนถึง 20 ปี ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้


2. เป็นการลงทุนที่ให้กระแสเงินสด (Cash Flow) ได้สม่ำเสมอ 

การเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยสม่ำเสมอทำให้มีกระแสเงินสดนอกเหนือไปจากการออมเงินต้น


3. ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าเงินฝากทั่วไป 

เนื่องจากเป็นการระดมทุนของบริษัทและรัฐบาล ผลตอบแทนที่ให้จึงมากกว่าเงินฝากเผื่อเรียกทั่วไป


4. มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุน 

ด้วยสิทธิในการเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ถือตราสารหนี้สามารถเรียกชำระได้ก่อนผู้ถือหุ้น จึงทำให้การลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยงผิดชำระหนี้ต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นที่อาจไม่เหลือส่วนของทุนชำระกลับไปให้กับผู้ถือหุ้นเลยก็ได้


5. มีสภาพคล่องพอสมควร 

นอกจากการซื้อขายโดยตรงจากบริษัทแล้วยังมีตลาดรองให้ผู้ถือตราสารหนี้ได้ซื้อขายกันด้วย

ตราสารหนี้ VS หุ้น อันไหนดีกว่ากัน?

ก่อนที่จะตอบว่าลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้น อันไหนดีกว่า เราต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการลงทุนตราสารหนี้และหุ้นเสียก่อน


1. ผลตอบแทน

ผลตอบแทนจากหุ้นมีศักยภาพที่ดีในขณะที่พันธบัตรมีผลตอบแทนคงที่


2. ความเสี่ยง

หุ้นเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากราคาจะมีความผันผวนสูงซึ่งความผันผวนของหุ้นจะเป็นประมาณ 3 เท่าของพันธบัตร ในขณะที่ตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีความเสี่ยงเลย


3. วิธีการวิเคราะห์ 

การวิเคราะห์หุ้นจะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการทำกำไรและเติบโต รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมและการประเมินมูลค่า ในขณะที่การวิเคราะห์พันธบัตรจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและสังเกตตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะยากไปเพราะอยู่ห่างจากชีวิตเราไปหน่อย


หลังจากเราได้ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างตราสารหนี้และหุ้นแล้ว เรามาดูกันว่าอันไหนดีกว่ากัน โดยผู้เขียนจะสรุปเป็น 3 ข้อดังด้านล่าง


  • หากคุณยังอายุน้อยต้องการแสวงหาผลตอบแทนสูงและยอมรับความเสี่ยงสูงได้ คุณควรพิจารณาเฉพาะหุ้นไม่ใช่ตราสารหนี้


  • หากคุณอายุมากไม่ต้องการค่าตอบแทนสูงและไม่สามารถทนต่อความผันผวนที่รุนแรง งั้นตราสารหนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า


  • หุ้น + พันธบัตรนั่นคือวิธีการจัดสรรสินทรัพย์ที่เหมาะสมกว่าสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถรักษาเสถียรภาพของผลการลงทุนได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ลดผลตอบแทนมากเกินไปแม้ว่าสึนามิทางการเงินมาก็ตาม เราก็ไม่ต้องกังวลมากเกินไป


สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้น สามารถอ่านบทความ วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียด

สรุป

คราวนี้เราก็ได้มาสำรวจและหาคำตอบกันไปเรียบร้อยแล้วว่าตราสารหนี้คืออะไร จะตัดสินใจลงทุนตราสารหนี้ดีไหม 2567 และวิธีการลงทุนในตราสารหนี้มีข้อควรคำนึงอย่างไรบ้าง ในยุคปัจจุบันที่ตลาดการเงินล้วนเชื่อมถึงกันหมด การลงทุนในตราสารแต่ละชนิดเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีอุปสรรคอีกต่อไป ด้วยความสะดวกในการลงทุนเหล่านี้ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกเครื่องมือในการลงทุนได้หลากหลาย จึงจำเป็นต้องติดอาวุธให้กับความรู้เพื่อเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมให้กับตนเองและสภาวะตลาดการเงินโลกด้วยเช่นกัน และท้ายที่สุดทางทีมงานก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการเปิดโลกการลงทุนในตราสารหนี้ในฐานะตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุนทุก ๆ ท่านให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนต่อไป



*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
How to วิธีเทรดหุ้นแบบละเอียดสำหรับมือใหม่หัดเทรด 2024การเริ่มต้นเทรดหุ้นอาจดูซับซ้อนสำหรับนักเทรดหุ้นมือใหม่ แต่ด้วยความเข้าใจพื้นฐานและการวางแผนอย่างรอบคอบ จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกของการลงทุนได้อย่างมั่นใจ บทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีเทรดหุ้นแบบละเอียด พร้อมทั้งวิธีการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้คุณเริ่มต้นการเล่นหุ้นได้อย่างมั่นใจและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในเส้นทางการลงทุน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 12 พ.ค. 2023
การเริ่มต้นเทรดหุ้นอาจดูซับซ้อนสำหรับนักเทรดหุ้นมือใหม่ แต่ด้วยความเข้าใจพื้นฐานและการวางแผนอย่างรอบคอบ จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกของการลงทุนได้อย่างมั่นใจ บทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีเทรดหุ้นแบบละเอียด พร้อมทั้งวิธีการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้คุณเริ่มต้นการเล่นหุ้นได้อย่างมั่นใจและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในเส้นทางการลงทุน
placeholder
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567การลงทุนในหุ้น คือการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรที่งดงามที่สุด หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ ลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากที่สุด เช่นเดียวกัน การลงทุนหุ้น แม้ว่าเงินทุนหลักของเราคือการจ่ายค่าซื้อหุ้นเข้ามาเก็บไว้ในพอร์ต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายจ่ายแอบแฝงที่ถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น นั่นคือ ค่าธรรมเนียมการเทรดหุ้น แต่โบรกเกอร์แต่ละแห่ง มีรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567 เพื่อช่วยสำหรับในการที่จะทำให้รายได้เราเพิ่มพูนขึ้น เรามาเลือกไปพร้อมๆ กันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 25 พ.ค. 2023
การลงทุนในหุ้น คือการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรที่งดงามที่สุด หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ ลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากที่สุด เช่นเดียวกัน การลงทุนหุ้น แม้ว่าเงินทุนหลักของเราคือการจ่ายค่าซื้อหุ้นเข้ามาเก็บไว้ในพอร์ต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายจ่ายแอบแฝงที่ถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น นั่นคือ ค่าธรรมเนียมการเทรดหุ้น แต่โบรกเกอร์แต่ละแห่ง มีรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567 เพื่อช่วยสำหรับในการที่จะทำให้รายได้เราเพิ่มพูนขึ้น เรามาเลือกไปพร้อมๆ กันครับ
placeholder
เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี? 8 โบรกเกอร์หุ้นที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2024ใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์หุ้นหรือกำลังเริ่มต้นลงทุนแล้วมองหาที่เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักวิธีการลงทุนในหุ้นผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมาประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกโบรกเกอร์หุ้นโบรกเกอร์ไหนดี คราวนี้เราได้รวบรวม 8 โบรกเกอร์หุ้นน่าสนใจปี 2024 มาไว้ให้แล้ว ตามไปดูกัน!
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 24 พ.ค. 2023
ใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์หุ้นหรือกำลังเริ่มต้นลงทุนแล้วมองหาที่เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักวิธีการลงทุนในหุ้นผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมาประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกโบรกเกอร์หุ้นโบรกเกอร์ไหนดี คราวนี้เราได้รวบรวม 8 โบรกเกอร์หุ้นน่าสนใจปี 2024 มาไว้ให้แล้ว ตามไปดูกัน!
placeholder
ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
placeholder
แนะนำ 12 หุ้นน่าลงทุน! หุ้นตัวไหนน่าลงทุนที่สุดในปี 2567ต้อนรับเข้าสู่โลกของโอกาสทางการเงินและการลงทุน ท่ามกลางเทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งมาใหม่และจบไป สินค้าและบริการต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้น และเมื่อไหร่ที่เราสามารถจับโอกาสและเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงนั้น จากคนธรรมดาสามารถแปรเปลี่ยนเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดี รายได้เติบโตหรือแม้แต่จับกระแสสั้น ๆ เพื่อหาโอกาสเก็งกำไร จึงแนะนำ 12 หุ้นน่าลงทุนในบทความนี้
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 14 ก.ค. 2023
ต้อนรับเข้าสู่โลกของโอกาสทางการเงินและการลงทุน ท่ามกลางเทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งมาใหม่และจบไป สินค้าและบริการต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้น และเมื่อไหร่ที่เราสามารถจับโอกาสและเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงนั้น จากคนธรรมดาสามารถแปรเปลี่ยนเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดี รายได้เติบโตหรือแม้แต่จับกระแสสั้น ๆ เพื่อหาโอกาสเก็งกำไร จึงแนะนำ 12 หุ้นน่าลงทุนในบทความนี้
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์