Block Trade คืออะไร ทำความรู้จักตั้งแต่เริ่มต้นจนเทรดเป็น

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

Block Trade คืออะไร เป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัย เพราะแม้จะเคยได้ยินเรื่อง Block Trade มาหลายต่อหลายครั้งแต่หากไม่ใช่คนที่คุ้นเคยอยู่กับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็ยากที่จะเข้าใจได้แบบเห็นภาพ แต่เชื่อหรือไม่ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาปริมาณซื้อขาย Block Trade เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจในแบบที่หากใครไม่รู้จักถือว่าพลาด คราวนี้เราจึงจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักผลิตภัณฑ์ตัวนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนเทรดเป็น

Block Trade คืออะไร

Block Trade คือ บริการที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากสัญญาอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทยได้ด้วยสภาพคล่องสูง ซึ่งการทำรายการต้องทำคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์ หลังจากนั้นโบรกเกอร์จะบันทึกรายการ Block Trade เข้ามาในตลาด TFEX ทำให้นักลงทุนได้ถือสถานะของ Single Stock Future ด้วยปริมาณมากเท่าที่ต้องการโดยไม่เสียราคา


ด้วยจุดเด่นเรื่องสภาพคล่องนี้เองที่ทำให้ Block Trade ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาเดิมที่การเทรด Single Stock Future ซึ่งเป็นสัญญาอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีปริมาณการซื้อขายที่น้อยมาก ทำให้นักลงทุนซื้อขายได้ยากและได้ราคาไม่ดีแม้ปริมาณซื้อขายหุ้นในกระดานหลักจะมีมากก็ตาม บริษัทหลักทรัพย์จึงแก้ปัญหานี้ด้วยการเข้ามาเป็นคู่สัญญาให้กับนักลงทุนโดยใช้ราคาหุ้นในกระดานเทรดเป็นราคาอ้างอิง ทำให้แม้ Block Trade จะเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นอนุพันธ์อ้างอิงราคาหุ้นรายตัวเช่นเดียวกับ Single Stock Future แต่ก็มีเงื่อนไขบางอย่างที่แตกต่าง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป 


หากกล่าวให้ง่ายเข้าไว้ Block Trade ก็คือบริการที่โบรกเกอร์เข้ามาช่วยเป็นคู่สัญญาให้นักลงทุนสามารถ Single Stock Future (SSF) ได้ง่ายขึ้นบนราคาที่อ้างอิงกับราคาเทรดในกระดานซื้อขายปัจจุบันนั่นเอง

เทรด Block Trade มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

Block Trade


ไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวใดที่ไม่มีข้อเสีย เช่นเดียวกับ Block Trade ที่มาพร้อมจุดเด่นที่ช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับนักลงทุนในการเทรดได้ ในทางตรงกันข้ามก็มีจุดที่ควรระมัดระวังในการนำไปใช้เช่นกัน


ข้อดีของ Block Trade

  1. มีการใช้อัตราทด (Leverage) 

    เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับเงินลงทุนของนักลงทุนได้ตั้งแต่ 2 – 20 เท่า เช่น จากเดิมที่ต้องใช้เงินซื้อหุ้น PTT 3,500,000 บาทเพื่อคาดหวังผลกำไร 200,000 บาทจากการเปลี่ยนแปลงราคาจาก 35 บาทเป็น 37 บาท นักลงทุนสามารถวางเงินเพียง 178,500 บาท เพื่อคาดหวังผลกำไรจำนวนเดียวกัน และนำเงินทุนที่เหลือ 3,321,500 บาทไปลงทุนเพื่อคาดหวังผลกำไรทางอื่นได้


  2. ใช้ทำกำไรได้ทั้งแนวโน้มราคาหุ้นทั้งเป็นขาขึ้นและขาลง 

    การเปิดสถานะ Block Trade สามารถทำได้ทั้งการเปิดสถานะซื้อ (Long) เพื่อคาดหวังผลกำไรในแนวโน้มราคาขาขึ้น หรือ เปิดสถานะขาย (Short) เพื่อคาดหวังผลกำไรในแนวโน้มราคาขาลง ช่วยเพิ่มโอกาสการทำกำไรให้กับนักลงทุนแม้ในแนวโน้มตลาดที่ไม่เอื้อให้ทำกำไรจากการซื้อหุ้นได้ 


  3. ค่าธรรมเนียมซื้อขายต่ำกว่าการซื้อหุ้นจริง ๆ ในมูลค่าเท่ากัน 

    การเปิดสถานะ Block Trade มีการคิดค่าธรรมเนียม 0.10% ของมูลค่าสัญญา ขณะที่การซื้อหุ้นจริง ๆ มีการคิดค่าธรรมเนียม 0.15 - 0.25% ซึ่งจะเห็นว่าค่าธรรมเนียม Block Trade นั้นถูกกว่าการซื้อขายหุ้นจริง ๆ ที่มูลค่าเท่ากันถึงครึ่งต่อครึ่งทีเดียว


ข้อเสียของ Block Trade

  1. Block Trade ใช้เงินลงทุนเป็นก้อน

    นั่นคือแม้จะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการซื้อหุ้นจริง ๆ แต่ก็จำเป็นต้องมีเงินลงทุนเป็นก้อนสำหรับเริ่มซื้อขาย เพราะโบรกเกอร์มักจำกัดเงินลงทุนขั้นต่ำในการซื้อขายที่หลัก 500,000 – 1,000,000 บาท 


  2. การเปิดบัญชีมีขั้นตอนและต้องยื่นเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้อง

    ต้องมีการเตรียม Statement ทางการเงิน และยังใช้เวลาในการเปิดบัญชีหลายวัน ซึ่งหากเอกสารไม่ครบถ้วนขั้นตอนการเปิดบัญชีก็อาจล่าช้าออกไปอีก


  3. มีความเสี่ยงมากกว่าการเทรดหุ้น (Stock)

    นั่นคือ มีความเสี่ยงในการถูกเรียกหลักประกัน (Margin Call), มีความเสี่ยงที่สัญญาจะหมดอายุ, มีความเสี่ยงที่จะต้องปิดสัญญาก่อนกำหนดเนื่องจากหุ้นมีการขึ้น Corporate Action เป็นต้น


  4. มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมสำหรับการถือสถานะ

    นั่นคือนอกจากที่นักลงทุนจะมีต้นทุนจากค่าธรรมเนียมเมื่อมีการเปิดสถานะแล้ว ยังมีอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามระยะเวลาการเปิดสัญญาที่เป็นต้นทุนส่วนเพิ่มขึ้นมาด้วย 

เทรด Block Trade เริ่มต้นอย่างไร?

การเทรด Block Trade ต้องทำรายการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการ Block Trade ดังนั้นอันดับแรกจึงต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วจึงสามารถส่งคำสั่งเปิดสถานะซื้อขายเพื่อรอจังหวะในการทำกำไรต่อไป


ขั้นตอนที่ 1:การเปิดบัญชี

บัญชีที่ใช้เทรด Block Trade ต้องเป็นบัญชีซื้อขายอนุพันธ์ (Derivatives) เท่านั้น ซึ่งบัญชีนี้เป็นบัญชีคนละประเภทกับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ (Stock) ดังนั้นหากใครที่มีบัญชีเทรดหุ้นอย่างเดียวก็จำเป็นต้องเปิดบัญชีเพิ่ม หรือหากเป็นลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีบัญชีมาก่อนก็จำเป็นต้องเปิดบัญชีทั้งสองประเภทไปพร้อมกัน


ขั้นตอนการเปิดบัญชีทำได้ด้วยการกรอกแบบคำขอเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการ Block Trade พร้อมเอกสารประกอบดังนี้ 


  1. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนา

  2. สำเนาหน้าสมุดธนาคาร (Book Bank)  1 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนา

  3. เอกสารแสดงสถานะทางการเงิน (Financial Statement) ย้อนหลัง 3 – 6 เดือน ยอดเงินคงเหลือ 200,000 – 500,000 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์)


การอนุมัติเปิดบัญชีอนุพันธ์ใช้เวลา 3 – 7 วันทำการ ขึ้นอยู่กับระเบียบการดำเนินงานขอแต่ละโบรกเกอร์ หลังจากได้รับการยืนยันการเปิดบัญชีก็สามารถโอนหลักประกันและเริ่มส่งคำสั่งซื้อขายได้


ขั้นตอนที่ 2:การส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะสัญญา

การส่งคำสั่งซื้อขาย Block Trade ทำได้ด้วยการติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชีเพื่อตกลงราคาและปริมาณสัญญาที่ต้องการเปิด ซึ่งการเทรด Block Trade ต้องทำรายการผ่านเจ้าหน้าที่เท่านั้นโดยไม่สามารถส่งคำสั่งเองทางอินเตอร์เน็ตได้ และจำเป็นต้องส่งคำสั่งซื้อขายก่อน 16.00 ของการซื้อขายในแต่ละวัน โดยไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ราคาเปิด (ATO) หรือราคาปิด (ATC) ได้ เพราะเป็นช่วงที่ไม่สามารถกำหนดราคาที่แน่นอนได้ รวมถึง Block Trade ที่มีปริมาณการทำรายการสูงจะทำให้ราคาเปิด/ปิดผิดเพี้ยนไปจากที่ควรเป็น


การเทรด Block Trade มีขั้นต่ำในการเปิดสถานะ เช่น การเปิด Block Trade ซื้อ (Long) หุ้น PTT มีขั้นต่ำการเปิดสัญญาที่ 100 สัญญา, ADVANC มีขั้นต่ำการเปิดสัญญาที่ 20 สัญญา (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์) 


สมมติว่า นักลงทุนทำคำสั่ง เปิดสถานะ ซื้อ PTT 100 สัญญา ที่ราคา 35 บาท จะมีมูลค่าสัญญา (ไม่ครวมค่าธรรมเนียม) = จำนวนบล็อกเทรดที่เปิด x ราคาหุ้น x ขนาดสัญญา =  100 x 35 x 1,000 = 3,500,000 บาท


หลักประกันที่ต้องวางเงินก่อนการเปิดสถานะ (Intitial Margin)  = อัตราการวางหลักประกัน x จำนวนบล็อกเทรดที่เปิด = 1,785* x 100 = 178,500 บาท


* ตรวจสอบได้จากโบรกเกอร์ที่ให้บริการ


เมื่อการทำคำสั่งเปิด/ปิด Block Trade สมบูรณ์ นักลงทุนจะได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นพอร์ตการลงทุนจะแสดงสถานะ Single Stock Future ตามราคาและปริมาณที่ส่งคำสั่งซื้อขายไว้ ซึ่งหากนักลงทุนส่งคำสั่งเปิดสถานะไว้ก็จำเป็นต้องคอยดูแลหลักประกันให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถูกบังคับขาย (Force Sell) เช่นเดียวกับการเทรดสินค้าทางการเงินในกลุ่มอนุพันธ์ตัวอื่น ๆ 


ขั้นตอนที่ 3:การรักษาสถานะสัญญาและการคำนวณเงินวางประกัน

การรักษาสถานะสัญญาของ Block Trade ไม่ต่างกับการถือสถานะ Single Stock Future คือ จำเป็นต้องดูแลหลักประกันไม่ให้ลดลงจนถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือ บังคับขาย และยังต้องบริหารระยะเวลาในการถือสถานะ เนื่องจากสัญญามีวันหมดอายุทุกสิ้นไตรมาส และยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจาก Single Stock Future คือ เหากหุ้นที่ทำ Block Trade อยู่ขึ้น Corporate Action เช่น XD, XW, XR, XA, XT ฯลฯ นักลงทุนที่ถือสถานะหุ้นนั้นอยู่ต้องปิดสถานะสัญญาก่อน 16.00 น. ของสองวันก่อนหน้าการขึ้นเครื่องหมาย


การรักษาหลักประกันจะมีการวางหลักประกันเพื่อเปิดสถานะคิดเป็น 100% เช่น Block Trade PTT 100 สัญญา มีการวางหลักประกันเริ่มต้น (IM) 100% ที่ 178,500 บาท แต่หากราคาหุ้นเปลี่ยนไปในทางที่ทำให้ขาดทุน มูลค่าสัญญาจะลดลง โดยหากลดลงต่ำกว่า Maintenance Marging (MM 70% ของ IM) คิดเป็น 124,950 บาท จะถูกเรียกหลักประกันมาเติมให้มูลค่ากลับมาอย่างน้อยที่ 70% ภายในสิ้นวัน หรือหากเติมหลักประกันเข้าพอร์ตในวันทำการถัดไปจะต้องเติมให้ครบ 100% หรือ เติมให้มูลค่าสัญญาครบ 178,500 บาท แต่หากเงินวางประกันลดลงไปต่ำกว่าระดับ Force Marging (FM 30% ของ IM) จะต้องเติมหลักประกันให้ขึ้นไปถึง MM ภายในสิ้นวัน


ขั้นตอนที่ 4:การคำนวณกำไรขาดทุน

กำไรขาดทุนจาก Block Trade คำนวณได้จากส่วนต่างมูลค่าสัญญาเมื่อมีการปิดสถานะ เช่น 


การเปิดสถานะซื้อ (Long) หุ้น PTT Block Trade 100 สัญญา มีมูลค่าสัญญา 3,500,000 บาท และปิดสัญญาได้ที่ราคาหุ้น PTT 37 บาท มีมูลค่าสัญญา 3,700,000 บาท คิดเป็นกำไร 200,000 บาท หรือคิดเป็นกำไร 110% จากเงินวางประกัน 178,500 บาท เทียบกับการซื้อหุ้น PTT เต็มจำนวนด้วยการใช้เงิน 3,500,000 บาท ที่จะคิดเป็นกำไรเพียง 5.7% ของเงินต้นเท่านั้น


Block Trade จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้อัตราทด (Leverage) ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของเงินทุน ขณะเดียวกันก็ทำให้ขาดทุนได้สูงเช่นกัน ในกรณีหุ้น PTT คิดเป็นอัตราทด 19.6 เท่า (3,500,000 / 178,500) ซึ่งหมายความว่า หากราคาหุ้น PTT เปลี่ยนไป 1% จะทำให้เกิดผลกำไรขาดทุนกับสถานะ Block Trade ได้ 19.6%

ข้อแตกต่างระหว่าง Block Trade และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

 Block Trade vs ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ


เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า Block Trade คืออะไร เราลองมาดูความแตกต่างของ Block Trade กับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้วบ้าง 


▲ ซื้อหุ้นโดยตรง VS. Block Trade 

หุ้น (Stock) เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่แสดงความเป็นเจ้าของในกิจการ การซื้อหุ้นจึงหมายถึงการเข้าไปมีส่วนในความเป็นเจ้าของที่สามารถแบ่งปันผลกำไรจากบริษัทได้ ซึ่งแม้ Block Trade จะอ้างอิงจากราคาหุ้นเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกับหุ้นตรงที่ Block Trade ที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายทางการเงินต่าง ๆ เช่น ทำกำไรจากส่วนต่างราคา, ใช้ Hedge พอร์ตการลงทุน, หรือใช้สร้างความได้เปรียบในทิศทาราคาขาลง 


การถือสถานะ Block Trade ยังไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหรือมีส่วนในบริษัท จึงไม่มีสิทธิที่จะรับประโยชน์ใด ๆ จากการขึ้น Corporate Action ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น รับสิทธิ์ได้วอแรนท์ ฯลฯ แต่อาจสามารถได้รับปันผลได้ตามเงื่อนไขของโบรกเกอร์


▲ Block Trade VS. Single Stock Future

ในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน Block Trade มีส่วนคล้ายกับ Single Stock Future -SSF ตรงที่เป็นสัญญาฟิวเจอร์สอ้างอิงราคาหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือมีลักษณะการถือสัญญา การวางและรักษาหลักประกัน รวมถึงเงื่อนไขมูลค่าของสัญญาและค่าธรรมเนียมที่ Block Trade จะอ้างอิงเงื่อนไขเดียวกับ Single Stock Future


อย่างไรก็ดี ทั้ง Block Trade และ SSF ยังมีความต่างทั้งในแง่การเปิดปิดสัญญาที่โบรกเกอร์จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาให้จึงต้องส่งคำสั่งผ่านเจ้าหน้าที่เท่านั้น ขณะที่ SSF เป็นการจับคู่สถานะของนักลงทุนในตลาดจึงสามารถส่งคำสั่งได้ทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้การถือสถานะ Block Trade ยังมีการคิดดอกเบี้ยเพิ่มขณะที่ SSF ไม่มี แต่การถือสถานะ Block Trade สามารถให้เงินปันผลกับผู้ถือสถานะได้ ขณะที่ SSF จะไม่ได้ปันผล


▲ Block Trade VS. CFD

Contract for Difference - CFD หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง มีลักษณะเป็นสัญญาอนุพันธ์ที่มีการใช้อัตราทดและอ้างอิงกับราคาสินค้าอื่นเหมือนกัน มีการคิดกำไรจากส่วนต่างราคาเปิดปิดสถานะเหมือนกัน และยังมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับการถือสถานะเหมือนกัน แต่ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีรายละเอียดของสัญญาที่แตกต่างกัน 


Block Trade มีการเปิดสถานะขั้นต่ำด้วยสัญญาขนาดใหญ่ในมูลค่าที่เทียบเท่าได้กับมูลค่าหุ้นหลักหมื่นหุ้นขึ้นไปและใช้อัตราทดในระดับ 2 - 20 เท่า ในขณะที่ CFD มีการเปิดสถานะขั้นต่ำเป็น Lot ซึ่งสามารถแยกเทรดได้ต่ำสุดถึง 0.01 Lot และใช้อัตราทดได้สูงถึงหลักร้อยเท่า ทำให้ CFD สามารถเพิ่มกำลังซื้อได้มากกว่า Block Trade ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าเช่นกัน 


นอกจากนี้ Block Trade ยังใช้อ้างอิงกับราคาหุ้นไทยขนาดใหญ่เท่านั้น ขณะที่ CFD สามารถอ้างอิงราคาสินค้าทางการเงินได้หลากลาย ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นต่างประเทศ หรือสกุลเงิน ทำให้ CFD มีความยืดหยุ่นในการเทรดได้มากกว่า CFD ยังสามารถเปิดบัญชีทางออนไลน์ ด้วยเอกสารที่น้อยกว่าและมีระยะเวลาการเปิดบัญชีที่สั้นกว่ามาก สามารถเปิดบัญชีได้ง่ายและรวดเร็ว


สรุป:

ค่าอัตราทดBlock Trade < CFD
ค่าคอมฯ ข้ามคืนBlock Trade > CFD
ปริมาณเทรดขั้นต่ำBlock Trade > CFD

mitrade

เทรดหุ้น Forex ทอง คริปโต ฯลฯ ทั่วโลก
มากกว่า 400 รายแบบ CFD

dago เปิดบัญชีเร็วสุดภายใน 3 นาที
dago เทรดด้วยอัตราทดสูงถึง 1:200
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
dago ฟรีเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

FAQ

1. TFEX กับ Block Trade ต่างกันอย่างไร

TFEX ย่อมาจาก Thailand Future Exchange ซึ่งหมายถึงตลาดที่เป็นแหล่งรวมการซื้อขายสินค้าอนุพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น Equity Index Future ที่อ้างอิง SET50, Single Stock Future ที่อ้างอิงราคาหุ้นสามัญ หรือแม้แต่ Option 


ในหลายครั้ง TFEX ถูกนำมาใช้เรียกแทน Equity Index Future ที่เป็นสัญญาอนุพันธ์อ้างอิง SET50 ซึ่งในกรณีนี้ TFEX จะต่างกับ Block Trade ตรงที่สินค้าอ้างอิงที่ TFEX อ้างอิงกับ SET50 ส่วน Block Trade จะอ้างอิงกับราคาหุ้นสามัญขนาดใหญ่ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองยังแตกต่างในแง่คู่สัญญาที่ Block Trade มีโบรกเกอร์เป็นคู่สัญญาทำให้ต้องเปิดสัญญาผ่านโบรกเกอร์และมีการคิดดอกเบี้ย แต่ TFEX ที่อ้างอิง SET50 จะเป็นการจับคู่สัญญากับนักลงทุนในตลาดด้วยกันเอง สามารถส่งคำสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตได้และไม่มีดอกเบี้ยสำหรับการถือสัญญา


 2. Block Trade ได้ปันผลไหม

Block Trade เป็นสัญญาอนุพันธ์รูปแบบเดียวที่นักลงทุนสามารถได้รับปันผลได้ในกรณีที่ถือสัญญาฝั่ง Long ก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD เพราะในการเปิด Block Trade ฝั่ง Long นั้นโบรกเกอร์ที่เป็นคู่สัญญาจำเป็นต้องมีการประกันสถานะด้วยการซื้อหุ้นในจำนวนเท่ากันมาเก็บไว้ ทำให้ได้รับปันผลมาเป็นผลพลอยได้ในการถือสัญญาด้วย และจะมีการจ่ายคืนให้กับนักลงทุนเมื่อมีการปิดสัญญาตามสัดส่วน 90 – 100% ของเงินปันผลที่จ่ายออกมา ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ 


 3. Block Trade เทรดขั้นต่ำกี่สัญญา

การเทรด Block Trade มีขั้นต่ำของการเปิดสัญญาตั้งแต่ 20 – 1,000 สัญญา ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ และนักลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลจากโบรกเกอร์ได้ก่อนเริ่มต้นการซื้อขาย 


ต้นทุนการเทรด Block Trade มีอะไรบ้าง

ต้นทุนการเทรด Block Trade ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียม และ ดอกเบี้ย 


ค่าธรรมเนียม = [ ( ราคาหุ้นอ้างอิง x จํานวนสัญญา x ขนาดของสัญญา x ค่านายหน้า ) + ค่าธรรมเนียมตลาด* ] + ภาษีมูลค่าเพิ่ม**


※ ตัวอย่าง เปิดสัญญา Block Trade 100 สัญญา ที่ราคา 35 บาท 

ค่าธรรมเนียม = [ ( 35 x 100 x 1,000 x 0.10%) + (100 x 0.51) ] x 1.07

= ( 3,500 + 51 ) x 1.07 

= 3,799.57 บาท


* ค่าธรรมเนียมตลาด = 5.1 ในกรณีที่ราคาหุ้นอ้างอิง ≥ 100 บาท, หรือ 0.51 ในกรณีที่ราคาหุ้นอ้างอิง < 100 บาท

** ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%


ดอกเบี้ย = ( ราคาหุ้นอ้างอิง x จํานวนสัญญา x ขนาดของสัญญา ) x ( จำนวนวันที่เปิดสัญญา / 365 ) x อัตราดอกเบี้ย*


* อัตราดอกเบี้ยธุรกรรม SSF Block Trade ของแต่ละโบรกเกอร์อาจมีความแตกต่างกัน และมีขั้นต่ำของการคำนวณ เช่น 1 วัน หรือ 3 วัน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน

สรุป

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อควรรู้ก่อนการเริ่มเทรดว่า Block Trade คืออะไร นักลงทุนจะเริ่มเทรด Block Trade ได้อย่างไร ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวอื่นอย่างไร มีต้นทุนอะไรสำหรับการเทรดผลิตภัณฑ์ตัวนี้บ้าง รวมถึงว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีข้อดีข้อเสียที่จะสร้างความได้เปรียบและมีข้อควรระวังสำหรับการใช้เป็นเครื่องมือในการเทรดอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อควรรู้เบื้องต้นที่จะทำให้มองเห็นภาพรวมของ Block Trade และแนวทางในการนำผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไปสร้างโอกาสสำหรับการเทรดในตลาดหุ้นไทย ซึ่ง Block Trade นับเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเทรดในตลาดสร้างผลกำไรในระยะสั้นถึงกลางได้เป็นอย่างดี

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์