Black Swan คืออะไร? สิ่งที่ไม่เคยเจอ... ไม่ได้แปลว่าจะไม่เจอ
หลายคนไม่เคยได้ยินคำว่าทฤษฎี Black Swan ที่เปรียบเสมือนการปรับตัวภายใต้วิกฤตให้เจอโอกาสจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ในบทความนี้เราจะพานักลงทุนไปทำความรู้จักกับ Black Swan หรือ หงส์ดำ ไปหาความรู้ในบทความกันได้เลย
Black Swan คืออะไร?
“หงส์ดำ” หรือ Black Swan เป็นคำใช้เรื่องที่ไม่คาดคิด ใช้เพื่ออธิบายอุบัติเหตุทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่ไม่อาจคาดเดาได้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีความเป็นไปได้ยาก แต่เมื่อเกิดขึ้นมักจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาล หลายครั้ง Black Swan ถูกใช้เรียกปรากฏการณ์ในโลกการเงินเพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อผู้คนในวงกว้าง ตัวอย่าง Black Swan ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คงหนีไม่พ้น “วิกฤต COVID-19”
ที่มาของ Black Swan
เรื่องของ Black Swan นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว ที่ในอดีตนั้นมนุษย์เชื่อกันว่าหงส์จะต้องมีแต่สีขาวล้วนเท่านั้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1697 Willem de Vlamingh (วิลเลิม เดอ วลามิง) กัปตันเรือชาวดัตช์ที่สำรวจชายฝั่งได้มีการค้นพบหงส์สีดำขึ้นจริง ๆ ในออสเตรเลียเป็นครั้งแรก การเปรียบเปรยหงส์ดำก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่มีทางเกิดขึ้นนั้น สุดท้ายก็เป็นไปได้
ทฤษฎี Black Swan
ในปี 2550 หนึ่งปีก่อนที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะเริ่มต้นขึ้น Nassim Nicholas Taleb พ่อค้าชาวอเมริกันเชื้อสายเลบานอนได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “The Black Swan: The Impact of the Fully Improbable” เขาได้เขียนหนังสือที่อธิบายทฤษฎีของ “Black Swan” ในแง่ของการเงินและเศรษฐกิจ และอ้างถึงอุบัติภัยขนาดใหญ่ที่กระทบทุกด้านของชีวิต
Taleb บอกว่า Black Swan นั้นมีคุณลักษณะ 3 อย่าง
1.เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย
2.เหตุการณ์สร้างผลกระทบอย่างมหาศาล
3.เมื่อเกิดสิ่งไม่คาดคิด ผู้คนมักจะหาข้อมูลมาอธิบายได้ว่าเหตุเกิดจากอะไร
ตัวอย่างเหตุการณ์ Black Swan
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยลดลง
ในปัจจุบันประเทศไทยทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมากกว่าประเทศอื่นๆ เมื่อเทียบกับตอนสิ้นปี 2564 รวมถึงมูลค่าทุนสำรองก็ลดลงมากเป็นอันดับ 2 เป็นรองจากอินเดีย หรือลดลงไป 3.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยราว 1.3 ล้านล้านบาท1 จากช่วงปลายปีที่แล้ว 10 ล้านล้านบาทลงมาอยู่ที่ ประมาณ 8.8 ล้านล้านบาท จาก 3 สาเหตุอย่าง
1. ผลตอบแทนการลงทุน
2. การตีมูลค่าสินทรัพย์ (Valuation)
3. การดำเนินนโยบายค่าเงินของ ธปท.
4. เมื่อดอลลาร์แข็งค่า ทำให้การตีมูลค่าสินทรัพย์มาอยู่ในรูปดอลลาร์แล้วทุนสำรองฯ ลดลง
ที่มา:statista
ประเด็นนี้เองดึงดูดความสนใจของคนไทยจำนวนมาก และทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวล ว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และอาจจะเสี่ยงซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งในอดีตหรือไม่
สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ช่วงหกเดือนที่ผ่านมาได้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิตเป็นเหตุให้ทั้งโลกได้รับผลกระทบทั้งจากราคาน้ำมัน ทำให้ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งขึ้น และดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเป็นประวัติการณ์ สกุลเงินอื่น ๆ รวมถึง เงินบาทอ่อนค่าลง ความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งก่อให้เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัย ด้วยเหตุการทั้งหมดเหล่านี้เป็นผลกระทบต่อการค้าในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหารัสเซียและยูเครนมีผลกระทบโดยตรงต่อไทยในแง่ของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเป็นอย่างมาก! ในขณะที่ในส่วนอื่น ๆ ไม่มีผลกระทบมากนัก ไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอยู่เสมอ โดยเฉพาะจากปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาในห่วงโซ่อุปทานซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย
ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำควรชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนให้เป็นที่แน่ใจอีกครั้ง ในขณะที่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และอาจมองว่าปัญหารัสเซียและยูเครนจะจบเร็ว อาจมองเป็นโอกาสทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากไทยไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง และอาจได้ประโยชน์จากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ก็อาจตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมกับตนเองได้ค่ะ
วิกฤต COVID-19
การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 เป็นโรคที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อปลายปี 2562 และมีมาตรการ Lockdown ในเวลาต่อมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ซึ่งต้องแลกด้วยเศรษฐกิจที่ถดถอย ไม่เพียงแต่กระทบเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังค้นพบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้ในทุกด้านของสังคม
หลายอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลงเพราะขาดรายได้ ไม่มีอุปสงค์ เพราะคนถูกไล่ออกจากงานก็ไม่มีกำลังซื้อ ทั้งนี้ เศรษฐกิจปิดตัวลงเป็นภาคเอกชนมากถึง 90% นี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐกำลังประสบกับภาวะเงินฝืด (ราคาที่ต่ำลง) เนื่องจากความต้องการลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งผลจากการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รูปแบบการบริโภคของประชาชนที่ประหยัดมากขึ้น (เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต) เหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 ถือเป็น Black Swan เลยก็ว่าได้ ทุกคนลองคิดดูว่าแปลกดีมั้ยที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอยู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมาเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นเลย
5 เหตุการณ์ Black Swan 2566
Black Swan เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุการณ์ ดังหัวข้อด้านล่างต่อไปนี้
1.ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
ในปี 2566 นี้เป็นปีที่องค์กรระดับโลกหลายองค์กร ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจโลก จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ หลายประเทศในสหภาพยุโรป หรือหลาย ๆ ประเทศ ที่ต่างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแตกต่างกันไป แต่ในภาพรวม ทุกประเทศก็หนีภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปไม่ได้อยู่ดี
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เกิดจากปัญหาหลัก คือ ผลพวงจากสงครามรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้หลายประเทศนำมาตรการขึ้นดอกเบี้ยมาใช้ ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว
ในส่วนของไทยเรานั้น ก็ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพปรับเพิ่มขึ้น ราคาปุ๋ยเคมีในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นทางในการผลิตปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาอาหาร ก็ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งได้เพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าหนักหนาเช่นเดียวกัน
ที่มา: nesdc
จากรูปภาพแสดงถึงการว่างงานลดลงต่อเนื่อง ผู้ว่างงานมีจำนวน 4.9 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.23 เช่นเดียวกันกับการว่างงานในระบบที่ปรับตัวลดลง อยู่ที่ร้อยละ 1.99
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ของปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 | |||||
(% YoY) | 2564 | 2565 | 2566 (f) | ||
ทั้งปี | ทั้งปี | Q3 | Q4 | ทั้งปี | |
GDP (CVM) | 1.5 | 2.6 | 4.6 | 1.4 | 2.7- 3.7 |
การลงทุนรวม | 3.1 | 2.3 | 5.5 | 3.9 | 2.2 |
ภาคเอกชน | 3.0 | 5.1 | 11.2 | 4.5 | 2.1 |
ภาครัฐ | 3.4 | -4.9 | -6.8 | 1.5 | 2.7 |
การบริโภคภาคเอกชน | 0.6 | 6.3 | 9.1 | 5.7 | 3.2 |
การอุปโภคภาครัฐบาล | 3.7 | 0.0 | -1.5 | -8.0 | -1.5 |
มูลค่าการส่งออกสินค้า | 19.2 | 5.5 | 6.7 | -7.5 | -1.6 |
ปริมาณ | 15.5 | 1.3 | 2.1 | -10.3 | -0.6 |
มูลค่าการนำเข้าสินค้า | 27.7 | 15.3 | 23.2 | -0.3 | -2.1 |
ปริมาณ | 17.9 | 2.0 | 8.0 | -9.2 | 0.4 |
ดุลบัญชีเดินสะพัด | -2.1 | -3.4 | -6.4 | 1.0 | 1.5 |
ต่อ GDP (%) เงินเฟ้อ | 1.2 | 6.1 | 7.3 | 5.8 | 2.5 - 3.5 |
จากตารางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 (%YoY) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่สามของปี 2565 หลังปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ลดลงจากไตรมาสที่สามของปี 2565 ร้อยละ 1.5 (%QOQ_SA)
- ด้านการใช้จ่าย การส่งออกบริการขยายตัวขึ้น การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลปรับตัวลดลง
- ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง
รวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP
2.ตลาดหุ้นและอัตราดอกเบี้ย
หุ้นไทยในปี 2566 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ด้วยหลายปัจจัย เศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น หลังอัตราเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลายด้วยตัวเอง รวมถึงการบริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตเศรษฐกิจ ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยยังคงแบบค่อยเป็นค่อยไป
โอกาสของหุ้นไทยในปี 2566 มีความน่าสนใจในกลุ่มที่มีโอกาสฟื้นตัวสูงที่สุด โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว จะเติบโตจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งคือ นักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวรับการเปิดประเทศของไทย
และในส่วนการค้าปลีกผลประกอบการของหลาย ๆ บริษัทในกลุ่มค้าปลีก ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ หลังสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลง
3.Cryptocurrency crash
Crypto Crash คือการที่ราคาเหรียญคริปโตฯ นั้นล่วงลง มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การเทขายเหรียญจำนวนมากส่งผลให้เกิดอุปสงค์ลดลง ราคาเหรียญจึงตกลงอย่างรุนแรง อาจมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือ Black Swan ที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดคริปโตทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทำให้ราคาบิทคอยน์ลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ และราคาเหรียญคริปโตฯ ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ได้เกิดเหตุการณ์ Bitcoin Crash ในปี 2564 ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ราคาของ Bitcoin ได้ร่วงลงแตะ 30,000 USD ซึ่งเป็นการร่วงลงของราคาที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก
และนี่คือเหตุการณ์ Black Swan ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกครั้งในตลาดคริปโตฯ อาจกลายเป็นขาลงหรือมีแรงขายแรง ๆ อีกครั้ง แม้ทุกเหตุการณ์จะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนักแต่นักลงทุนเองก็อย่าพึ่งประมาทไปนะคะ
4.ราคาทองคำจะพุ่งสูงขึ้นในปี 2566 หรือไม่?
ปี 2566 ราคาทองคำกลับสู่ขาขึ้น มองว่าจะเป็นปีที่ดีสำหรับทองคำ หลังจากทองคำเผชิญปัจจัยลบมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจประเทศอินเดียและจีนที่จะขยายตัวได้ดีขึ้น ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่มีสัดส่วนการซื้อทองคำมากที่สุด รวมกันอยู่ที่ประมาณ 50% ของทั้งโลก
ส่วนจีน แม้ว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะโตเพียง 3-5% ซึ่งก็พอไปได้ ประกอบกับแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID ที่จะมีมากขึ้น รวมถึงการที่จีนพยายามปรับนโยบายในเรื่องเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของประเทศ ดังนั้นปีหน้าก็น่าจะได้เห็นแรงอัดฉีดที่จะช่วยเหลือภาคเอกชน เพื่อให้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัว จึงคาดว่าจะมีอุปสงค์ในฝั่งธุรกิจจิวเวลรี่และฝั่งการลงทุนจากประเทศจีนเพิ่มขึ้นด้วย
ปี 2566 หลายคนถามว่าราคาทองคำจะขึ้นไปแตะ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้หรือเปล่า ซึ่งต้องบอกว่าทิศทาง 2 ครั้งที่ผ่านมา ที่ขึ้นไปแตะ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็ขึ้นไปแตะแค่ชั่วคราวแล้วก็ลงทันที เพราะฉะนั้น เราให้กรอบไว้ที่ประมาณ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ก่อน แล้วรอดูว่าถ้าสามารถยืนได้ดี ก็อาจมีโอกาสที่จะขึ้นต่ออีก 100 เหรียญ ไปที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองโลกด้วย
5.ดอลลาร์อ่อน
เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ในการซื้อขายช่วงต้นของตลาดยุโรป โดยเป็นการเทขายจากเซสชั่นก่อนหน้านี้ หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นหลังจากการหดตัวเล็กน้อยของการเติบโตในไตรมาสที่สาม อย่างไรก็ตาม นี่คือการร่วงลงครั้งแรกใน 6 ไตรมาส และคาดว่าจะแสดงถึงการเริ่มต้นของการชะลอตัวที่ยาวนาน โดยธนาคารแห่งประเทศอังกฤษระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นเวลา 2 ปีหากอัตราดอกเบี้ยยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ
นักลงทุนจะเตรียมตัวอย่างไรสำหรับ Black Swan ในปี 2566?
- ยอมรับความคิดที่ว่าหงส์ดำตัวต่อไปนั้นจะต้องมา การเคลื่อนไหวของตลาดจะเห็นได้ชัดว่าเหตุการณ์ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ควรเครียดกับเหตุการณ์ Black Swan ที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่อาจเกิดขึ้นก็เป็นได้
- ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่หงส์ดำมอบให้ เมื่อราคาหุ้นตกจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ควรพิจารณาลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคง จะทำให้นักลงทุนสามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ และมูลค่าทรัพย์สินก็จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งนั่นเองค่ะ
- กระจายพอร์ตการลงทุนของคุณ จำไว้ว่าถ้าคุณมีทรัพย์สินเพียงชิ้นเดียวในพอร์ตโฟลิโอ คุณจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากเหตุการณ์หงส์ดำ เพื่อความปลอดภัยในการลงทุนของคุณ โปรดกระจายการลงทุนของคุณไปยังเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
เคล็ดลับการลงทุนของ Black Swan
เหตุการณ์หงส์ดำอาจคาดเดาได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ Black Swan ในตอนไหน แต่ผู้เขียนมีเคล็ดลับขั้นตอนที่นักลงทุนสามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบโดยรวมต่อพอร์ตการลงทุนมาแนะนำ
แนวทางหนึ่ง คือการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร โลหะมีค่า และอสังหาริมทรัพย์ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนสามารถลดระดับความเสี่ยงของคุณและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ Black Swan ในพอร์ตโฟลิโอ
แนวทางที่สอง คือการมีขอบเขตการลงทุนระยะยาว แม้ว่าเหตุการณ์หงส์ดำจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในระยะสั้น แต่ตลาดมักจะดีดกลับและฟื้นตัวเมื่อเวลาผ่านไป
แนวทางที่สาม ใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น ออปชันหรือฟิวเจอร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์หงส์ดำ เครื่องมือเหล่านี้สามารถใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและช่วยลดผลกระทบของเหตุการณ์หงส์ดำในพอร์ตโฟลิโอ
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างคะ เนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้วในบทความล้วนเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนหุ้น เศรษฐกิจโลก บริษัทและธุรกิจขนาดเล็ก แม้ทฤษฎี Black Swan หรือ หงส์ดำ จะเป็นเรื่องราวที่เลวร้าย และเป็นสิ่งย้ำเตือนถึงประวัติศาสตร์อันขมขื่น แต่ถ้าเรารู้จักรับมือให้ดี หมั่นท้าทายมุมมอง ความคิด ความเชื่อของตัวเองอยู่เสมอ มีสติ ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท มีแผนสำรอง และฝึกมองด้านลบของเรื่องต่าง ๆ ล่วงหน้า ไม่ว่าจะวิกฤตไหน ใหญ่โตสักเท่าไร ก็ย่อมเปลี่ยนจากด้านลบให้กลายเป็นด้านบวกได้ไม่ยาก ใช้ Black Swan เป็นตัวช่วงเตือนสติให้ตั้งรับภัยจากด้านลบของมัน และขอให้คิดเสมอว่าทุกอย่างเป็นไปได้แม้โอกาสจะน้อยมากก็ตามค่ะ
อ้างอิง
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน