งบดุล (Balance Sheet) คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

งบดุล คือ ข้อมูลหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของกิจการได้ นอกจากใช้ตรวจสอบระดับความเข้มแข็งทางการเงินภายในกิจการแล้วยังสามารถใช้เปรียบเทียบฐานะทางการเงินและผลการดำเนินการกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้อีกด้วย ซึ่งการวิเคราะห์งบดุลสามารถพบจุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ที่จะพัฒนากิจการต่อไปได้ ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับงบดุล ว่า งบดุล คืออะไรและวิธีการอ่านงบดุลที่เหมาะกับทั้งนักลงทุน เจ้าของกิจการ และผู้ที่สนใจ ให้เข้าใจได้ง่ายสามารถนำไปใช้ได้ทันที

งบดุลคืออะไร?

งบดุล (Balance Sheet) คือ รายการทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินของบริษัทว่ามี “สินทรัพย์” หรือความมั่งคั่งเท่าไร และอยู่ในรูปสินทรัพย์ได้บ้าง ซึ่งงบดุลช่วยให้มองภาพรวมด้านการเงินของแต่ละบริษัทได้ง่ายขึ้น ณ เวลานั้น ๆ


สมการงบดุล

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ


งบดุลเกิดจาก 2 ส่วน ได้แก่ สินทรัพย์ (ทรัพยากรที่บริษัทจัดหามาระหว่างดำเนินกิจการ) และ หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (แหล่งเงินทุนที่ใช้จัดหาทรัพยากร)

สาเหตุที่เรียกว่างบดุล เนื่องจากทั้งสองข้างของสมการต้องเท่ากันเสมอ (สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ)

ในปัจจุบันเรียกงบดุลว่า “งบแสดงฐานะทางการเงิน” แต่ยังใช้หลักการต่าง ๆ เช่นเดิม


องค์ประกอบของงบดุล

งบดุล


งบดุลประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้


1. สินทรัพย์ (Assets)

สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่ก่อให้เกิดรายได้ภายในกิจการหรือทรัพยากรที่ใช้ทั่วไปในการดำเนินกิจการ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 


  • สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)

    คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด, ลูกหนี้การค้าและลูกค้าหมุนเวียนอื่น (บริษัทขายสินค้าแบบเงินเชื่อให้ลูกค้า), สินค้าคงเหลือ, ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า, สินทรัพย์ทางภาษี เป็นต้น


  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets)

    คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น โรงงาน, เครื่องจักร, ที่ดิน, อสังหาริมทรัพย์, พาหนะ, เงินลงทุนระยะยาว, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, แฟรนไชส์ เป็นต้น


2. หนี้สิน (Liabilities)

หนี้สิน คือ ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนให้กับบุคคลภายนอก ตั้งแต่อดีตและต้องคืนในอนาคต โดยหนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่


  • หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

    คือ หนี้สินที่กิจการต้องจ่ายคืนให้บุคคลภายนอก ภายในระยะเวลา 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่น, หนี้สินทางภาษี เป็นต้น


  • หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-current Liabilities)

    คือ หนี้สินที่กิจการต้องจ่ายคืนให้บุคคลภายนอกในระยะเวลามากกว่า 1 ปี เช่น เงินกู้ระยะยาวจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน, การออกหุ้นกู้ระยะยาว เป็นต้น


3. ส่วนของเจ้าของ (Equity) 

ส่วนของเจ้าของ คือ สินทรัพย์สุทธิที่เกิดจากสินทรัพย์หักออกด้วยหนี้สิน กล่าวง่าย ๆ ส่วนของเจ้าของ หมายถึงสินทรัพย์จริง ๆ ที่เจ้าของและผู้ถือหุ้นจะได้รับ มี 2 ส่วน คือ


  • เงินทุนจากผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ

    คือ เงินทุนที่ผู้ร่วมถือหุ้นได้ระดมทุนเพื่อดำเนินกิจการนั้น ๆ 


  • กำไร (ขาดทุน) สะสม

    คือ กำไรในแต่ละปีที่สะสมไว้ โดยจะหักเงินปันผลกับผู้ถือหุ้นแล้ว หรือหากการดำเนินกิจการเกิดการขาดทุน ยอดการขาดทุนก็จะสะสม เรียกว่า ยอดขาดทุนสะสมได้เช่นกัน

ประเภทการทำงบดุล

การบันทึกบัญชีในการจัดทำงบดุล มี 2 แบบ คือ


1. งบดุลแบบบัญชี (Accounting Form) 

คือ งบดุลที่แสดงรายการทางการเงินสองส่วน ด้านซ้ายคือสินทรัพย์ ด้านขาวคือหนี้สินและส่วนของเจ้าของ คล้ายกับตัว T ซึ่งงบดุลแบบบัญชีเป็นรูปแบบงบดุลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากง่ายต่อการอ่านและเข้าใจ 


▲ ขั้นตอนการทำงบดุลแบบบัญชี

ขั้นตอนที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ได้แก่

  • บรรทัดที่1: ชื่อกิจการ

  • บรรทัดที่2: เขียนคำว่า “งบดุล”

  • บรรทัดที่3: วันเดือนปีที่จัดทำงบดุล


ขั้นตอนที่ 2 เขียนแสดงรายละเอียดรายการของ “สินทรัพย์” ทั้งหมดของกิจการ ทางด้านซ้ายมือ

ขั้นตอนที่ 3 เขียนแสดงรายละเอียดรายการของ “หนี้สิน” และ “ส่วนของเจ้าของ” ทั้งหมดของกิจการ ทางด้านขวามือ

ขั้นตอนที่ 4 รวมทั้งสองด้านให้ดุลกัน โดยต้องมีค่าเท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน


2. งบดุลแบบรายงาน (Report Form) 

คือ รูปแบบการจัดทำงบดุลที่แสดงรายการเรียงกันตามลำดับของหมวดบัญชี โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ


▲ ขั้นตอนการทำงบดุลแบบรายงาน

ขั้นตอนที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ได้แก่


  • บรรทัดที่1: ชื่อกิจการ

  • บรรทัดที่2: เขียนคำว่า “งบดุล”

  • บรรทัดที่3: วันเดือนปีที่จัดทำงบดุล


ขั้นตอนที่ 2 เขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดของสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมีอยู่ แล้วรวมยอดของสินทรัพย์ทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 3 เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” และแสดงรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โดยเขียนส่วนของ “หนี้สิน” ก่อน จากนั้นตามด้วย “ส่วนของเจ้าของ” แล้วรวมยอดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของทั้งหมด ซึ่งจะต้องได้เท่ากับส่วนของสินทรัพย์

ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อจาก งบดุล เป็น งบแสดงฐานะทางการเงิน?

จากเดิมที่เรียกงบการเงินนี้ว่า “งบดุล” นั้นแสดงความหมายเพียงแค่ว่า งบนี้สมดุลกันทั้งด้านซ้ายและขวาตามชื่อเรียก แต่มิได้แสดงถึงความหมายอื่น ๆ ที่อธิบายได้ว่างบประเภทนี้มีลักษณะอย่างไร 


ทำให้มาตรฐานรายการทางการเงินของต่างประเทศดำเนินการเปลี่ยนชื่อจาก Balance Sheet เป็น Statement of Financial Position ซึ่งชื่อนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของงบการเงินได้ชัดเจนขึ้น 


หลังจากนั้นมาตรฐานรายการทางการเงินของประเทศไทยก็ได้ปรับชื่อจาก งบดุล เป็น งบแสดงฐานะทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของต่างประเทศด้วยนั่นเอง

งบดุลมีความสำคัญอย่างไร?

งบดุล งบแสดงฐานะการเงินเป็นเครื่องมือทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา รวมถึงสามารถวิเคราะห์งบดุลเพื่อประเมินสถานะทางการเงินของกิจการในด้านต่าง ๆ ได้


  • วิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ: สามารถวิเคราะห์ได้ว่ากิจการนั้นจะมีความสามารถในการชำระหนี้สินตามกำหนดเวลาได้หรือไม่ จากสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน


  • วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร: นักลงทุนและผู้ถือหุ้นสามารถประเมินความสามารถในการทำกำไรได้จากรายการงบดุล งบกําไรขาดทุน หากมีการขาดทุนสะสมต่อเนื่องก็ถือว่ากิจการนั้น ๆ มีความสามารถในการทำกำไรน้อยและอาจไม่น่าสนใจอีกต่อไป


ดูงบดุลของกิจการได้ที่ไหน?

สำหรับนักลงทุนที่อยากทราบฐานะทางการเงินของกิจการต่าง ๆ ที่กำลังสนใจ สามารถเข้าไปดูงบดุลของแต่ละกิจการได้ที่ เว็บไซต์ Datawarehouse.dbd.go.th


วิธีดูงบการเงินของกิจการด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการเปิดดูงบดุลของกิจการต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. เข้าไปที่เว็บไซต์ >>  Datawarehouse.dbd.go.th


เข้าไปที่เว็บไซต์


2. เลือก “ข้อมูลนิติบุคคลและงบการเงิน” 


เลือก “ข้อมูลนิติบุคคลและงบการเงิน”



3. พิมพ์ชื่อกิจการที่ต้องการดูงบการเงิน


 พิมพ์ชื่อกิจการที่ต้องการดูงบการเงิน


4. เลือกแท็บ “ข้อมูลงบการเงิน”


เลือกแท็บ “ข้อมูลงบการเงิน”


5. สามารถเลือกปีงบการเงิน, งบกำไรขาดทุน, อัตราส่วนทางการเงิน, เปรียบเทียบรายปี และเปรียบเทียบในประเภทธุรกิจได้ด้วย

วิธีอ่านงบดุล

การอ่านงบดุลให้มีประสิทธิภาพนั้น สามารถทำได้ดังนี้


1. ทำความรู้จักกับงบดุล

ก่อนอื่นควรทำความรู้จักกับงบดุลเสียก่อน โดยงบดุลเป็นเอกสารทางการเงินที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยแสดงรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ


2. เข้าใจโครงสร้างของงบดุล

งบดุลมีโครงสร้างดังนี้

  • สินทรัพย์

    แสดงรายการทรัพย์สินของกิจการที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของกิจการ เช่น เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและเครื่องจักร เป็นต้น


  • หนี้สิน

    แสดงรายการภาระผูกพันของกิจการที่ต้องชำระคืนแก่บุคคลภายนอก เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้น เงินกู้ยืมระยะยาว เป็นต้น


  • ส่วนของเจ้าของ

    แสดงรายการทุนของกิจการและกำไรสะสมของกิจการ


3. วิเคราะห์รายการในงบดุล

เมื่อเข้าใจโครงสร้างของงบดุลแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาวิเคราะห์รายการในงบดุล โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้


  • สภาพคล่องของกิจการ หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้สินตามกำหนดเวลา โดยพิจารณาจากสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน

  • ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ หมายถึง ความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรให้แก่กิจการ โดยพิจารณาจากรายการกำไรขาดทุน

  • ความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ หมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้สินทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยพิจารณาจากสินทรัพย์และหนี้สินรวม


4. เปรียบเทียบงบดุลของกิจการในแต่ละช่วงเวลา

นอกจากการวิเคราะห์งบดุล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ยังควรเปรียบเทียบงบดุลของกิจการในแต่ละช่วงเวลา เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของฐานะทางการเงินของกิจการได้อีกด้วย

ข้อควรระวังในการอ่านงบดุล

งบดุล


แม้ว่าการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ จากการดูงบดุลจะสามารถช่วยวิเคราะห์กิจการต่าง ๆ ได้ แต่ยังมีข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้


  • แสดงข้อมูลการเงินในอดีต

    งบดุลเป็นรายงานที่แสดงสถานะทางการเงิน ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว ไม่ได้เป็นข้อมูลทางการเงินแบบ Real Time โดยเฉพาะหากกิจการมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นหลังวันที่จัดทำงบดุล


  • ความน่าเชื่อถือของงบดุล

    งบแสดงฐานะการเงิน คือรายการทางการเงินที่อาจมีข้อผิดพลาดหรือถูกตกแต่งขึ้นเพื่อบิดเบือนสถานะทางการเงินของกิจการ ส่งผลให้อัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์งบการเงินไม่น่าเชื่อถือ


  • ความสัมพันธ์ของข้อมูลกับสิ่งแวดล้อม

    สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้อัตราส่วนนำมาเปรียบเทียบไม่ได้ เช่น ภาวะเงินเฟ้อผันผวนรุนแรง, ภาวะดอกเบี้ยผันผวน หรือการลดค่าเงิน เป็นต้น ดังนั้นนอกจากจะพิจารณาสถานะทางการเงินจากตัวเลขแล้วควรดูสภาพเศรษฐกิจ ณ เวลานั้น ๆ ร่วมด้วยเสมอ


สรุป

งบดุล คือรายการทางการเงินที่แสดงข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ สินทรัพย์, หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งส่วนของสินทรัพย์ จะต้องเท่ากับผลรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ เป็นการแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ โดยการใช้งบดุลมีประโยชน์ต่อผู้ใช้หลายกลุ่ม เช่น ผู้บริหารสามารถใช้งบดุลเพื่อประเมินฐานะทางการเงินของกิจการ นำไปสู่การวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ส่วนนักลงทุนสามารถใช้งบดุลในการประเมินความน่าเชื่อถือและศักยภาพการเติบโต เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ควรพิจารณาข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ ของบริษัทที่สนใจลงทุนอย่างรอบด้านประกอบกันซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์