PEG Ratio: คีย์ลับไขความลับหุ้นเติบโต

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การลงทุนในหุ้นเป็นเหมือนการเดิมพันในอนาคตของบริษัท แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นที่เราเลือกนั้นมีราคาที่เหมาะสม? และเคยสงสัยไหมว่าทำไมหุ้นบางตัวถึงมีราคาแพงกว่าหุ้นอื่นๆ ทั้งที่ดูเหมือนจะมีธุรกิจที่คล้ายกัน?  นั่นคือเหตุผลที่นักลงทุนหลายคนหันมาใช้ 'PEG Ratio' เป็น ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่นักลงทุนใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นและคัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง บทความนี้จะมาทำความรู้จักความมหัศจรรย์ของ PEG Ratio ไปด้วยกัน 

PEG คือ

PEG ย่อมาจาก Price-to-Earnings Growth หรือ เป็นสัดส่วนของราคาต่อกำไรต่อการเติบโต ซึ่งเป็นอีกตัวชี้วัดทางการเงินที่นักลงทุนใช้ในการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี


PEG คำนวณได้จาก: P/E (อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น) / อัตราการเติบโตของกำไรตัวอย่างเช่น หากหุ้นแห่งหนึ่งมี P/E = 20 และอัตราการเติบโตของกำไรอยู่ที่ 10% ต่อปี ค่า PEG จะเท่ากับ 20 / 10 = 2


นักลงทุนมักจะใช้ PEG เป็นตัวชี้วัดในการประเมินว่าหุ้นนั้นมีราคาที่เหมาะสมกับอัตราการเติบโตของกำไรหรือไม่ โดยทั่วไปค่า PEG ที่น้อยกว่า 1 ถือว่าหุ้นนั้นมีราคาที่ต่ำเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโต เหลือเข้าใจง่ายๆคือช่วยสะท้อนได้ถึงมิติการเติบโตหรือหดตัวด้วย

หุ้นเติบโตเป็นอย่างไร

หุ้นเติบโต คือ หุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด โดยมักเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ หรือบริษัทที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตสูงในอนาคต นักลงทุนมักดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในหุ้นเติบโตเนื่องจากคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นประเภทอื่น ๆ 


ลักษณะเด่นของหุ้นเติบโต

  • อัตราการเติบโตสูง: มีอัตราการเติบโตของรายได้ กำไร และมูลค่าบริษัทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด


  • นวัตกรรม: มักเป็นบริษัทที่เน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ


  • ตลาดเป้าหมายใหญ่: มีตลาดเป้าหมายที่กว้างขวางและมีศักยภาพในการเติบโตสูง


  • ส่วนแบ่งการตลาด: มีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


  • ราคาหุ้นสูง: มักมีราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ที่สูงกว่าหุ้นทั่วไป เนื่องจากนักลงทุนมีความคาดหวังสูง


ตัวอย่างหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ 

  • Apple (AAPL): ผู้นำด้านเทคโนโลยี มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง 


  • Microsoft (MSFT): บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ มีบริการคลาวด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว


  • Tesla (TSLA): ผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้า มีนวัตกรรมที่โดดเด่นและตลาดที่กว้างขวาง


  • Amazon (AMZN): บริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีบริการหลากหลาย


  • Shopify (SHOP): แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและกลาง

ประโยชน์ของการคำนวณหา PEG สำหรับนักลงทุนมีอะไรบ้าง

  1. ประเมินความน่าสนใจของหุ้น สำหรับค่า PEG Ratio ที่ต่ำกว่า 1 แสดงว่าหุ้นมีราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไร จึงเป็นหุ้นที่น่าสนใจ และ ค่า PEG Ratio ที่สูงกว่า 1แสดงว่าหุ้นอาจมีราคาสูงเกินไป 


  2. เปรียบเทียบหุ้นต่างๆ  นักลงทุนสามารถใช้ PEG Ratio เปรียบเทียบระหว่างหุ้นต่างๆ เพื่อหาว่าหุ้นไหนมีความน่าสนใจมากกว่า เช่น หุ้น AAPL มี PEG อยู่ที่ 3.5 แต่หุ้น COKE มี PEG อยู่ที่ 1.5 ทำให้ราคาหุ้น COKE มีความน่าสนใจกว่าเมื่อเทียบในแง่ของการเติบโตกับราคา แต่นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วยเช่นกัน 


  3. พิจารณาอัตราการเติบโตของกำไร โดย PEG Ratio จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ P/E Ratio ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงศักยภาพของบริษัทในการเติบโตของกำไรในอนาคตได้ดีขึ้น


  4. กำหนดราคาเป้าหมาย  PEG Ratio สามารถนำมาใช้ในการกำหนดราคาเป้าหมายของหุ้นโดยพิจารณาควบคู่กับปัจจัยอื่นๆ

ตัวอย่างวิเคราะห์หุ้นโดยใช้ค่า PEG

หุ้น Apple Inc. (AAPL) 

ราคาหุ้น (P) = $150 / กำไรต่อหุ้น (EPS) = $5 / PE Ratio = $150 / $5 = 30 / ประมาณการอัตราการเติบโตของกำไร = 15% ต่อปี


ดังนั้นหุ้น AAPL มีอัตราส่วนของ PEG Ratio = P/E Ratio / Growth Rate = 30 / 0.15 = 2.0  ในกรณีของ Apple, PEG Ratio = 2.0 ค่า PEG Ratio สูงกว่า 1 แสดงว่าหุ้น Apple อาจมีราคาสูงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไร


ตัวอย่างเปรียบเทียบ: หุ้น Amazon.com, Inc. (AMZN) 

ราคาหุ้น (P) = $3,200 / กำไรต่อหุ้น (EPS) = $41.83 / PE Ratio = $3,200 / $41.83 = 76.5 / ประมาณการอัตราการเติบโตของกำไร = 30% ต่อปี


ดังนั้นหุ้น AMZN มีอัตราส่วนของ  PEG Ratio = 76.5 / 0.30 = 2.55 จะเห็นว่า Amazon มีค่า PEG Ratio = 2.55 ซึ่งสูงกว่า Apple ที่ 2.0 แสดงว่าหุ้น Amazon อาจมีราคาสูงเกินกว่ามูลค่าที่สมควรเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไร

หุ้นต่างประเทศที่มีค่า PEG ที่น่าสนใจในปี 2025

ตารางเปรียบเทียบหุ้นต่างประเทศกับค่า PEG

ชื่อหุ้นราคาหุ้น Price ($)กำไรต่อหุ้นEPS ($)ค่า P/E (เท่า)ประมาณการเติบโตกำไร (%)ค่า PEG
Microsoft Corporation (MSFT4209.6543.5214%3.10
Visa Inc. (V)3087.4741.2317%2.42
Johnson & Johnson (JNJ)1589.8116.108%2.01
Salesforce.com, Inc. (CRM)3074.6266.4521%3.16
Meta Platforms, Inc. (META)57211.7748.5911%4.41

จากตารางจะเห็นว่าดังนี้ หุ้น JNJ และ VISA ค่า PEG อยู่ที่ระดับ 2 เท่า สูงกว่า 1 ถือว่าราคาสูงแต่ยังอยู่ในระดับยังน่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่สำหรับหุ้น MSFT , META และ CFM มีค่ามากกว่า 3 ให้ระมัดระวังการลงทุนในระยะกลางถึงยาว เพราะค่อนข้างมีราคาสูงกว่าราคาเติบโตในปัจจุบัน 

โอกาสในการใช้ PEG Ratio ในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ

  • คัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพ: PEG Ratio ช่วยให้นักเทรด CFD สามารถคัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการทำกำไร


  • ลดความเสี่ยง: การเลือกหุ้นที่มีค่า PEG ต่ำ อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นที่ราคาสูงเกินไป


  • ปรับกลยุทธ์การเทรด: นักเทรดสามารถนำค่า PEG Ratio มาใช้ร่วมกับตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อสร้างกลยุทธ์การเทรดที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


  • เข้าใจพฤติกรรมของตลาด: การติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่า PEG Ratio สามารถช่วยให้นักเทรดเข้าใจพฤติกรรมของตลาดและคาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นได้ดีขึ้น


ชาร์ตแสดงราคาหุ้น VISA รายวัน


ในปัจจุบันนักลงทุนสามารถเลือกลงในในหุ้นต่างประเทศได้ โดยวิธีที่เป็นที่ยอดนิยมคือ ซื้อในรูปแบบของ CFD (Contract For Difference) หรือ สัญญาส่วนต่าง ซึ่งมีข้อได้เปรียบ เช่น มีสินค้าให้เลือกเทรดได้อย่างหลากหลาย ทั้งหุ้น USA ยอดนิยม เทรดค่าเงินต่างประเทศ เทรดดัชนีหุ้น และมีอัตราทดหรือเลเวอเรจ ช่วยให้ใช้เงินลงทุนน้อยลง ทำกำไรได้มากขึ้น รวมถึงเทรดได้ทั้งสองฝั่ง BUY หรือ SELL ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด โดยที่ Mitrade มีบัญชีเทรดให้ทดลองเทรดและฟังก์ชั่นการลงทุน พร้อมเงินทุนทดลองสูงสุด 50,000 USD 


mitrade
💸 ห้ามพลาด!!! 💸
แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์! 🎁🎁🎁

ค่าคอมฯ 0 สเปรดต่ำ! เงินฝากขั้นต่ำ $50 🤑
ฝึกเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ฟรี 💰
การลงทุนมีความเสี่ยง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน

ข้อควรระวังในการใช้ PEG Ratio

  1. ไม่ใช่ตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียว: PEG Ratio เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการวิเคราะห์หุ้น ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น P/B Ratio, EV/EBITDA, และปัจจัยพื้นฐานของบริษัท


  2. ต้องตีความร่วมกับปัจจัยอื่นๆ: การตีความค่า PEG Ratio ควรพิจารณาในบริบทของอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินธุรกิจ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน


  3. ความเสี่ยงในการเทรด CFD: การเทรด CFD มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการใช้เลเวอเรจ นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

สรุป

การใช้ PEG เป็นดั่งเข็มทิศนำทางให้นักลงทุนค้นหาหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตและคุ้มค่ากับการลงทุน โดยเปรียบเทียบอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E ratio) กับอัตราการเติบโตของกำไร ทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าราคาหุ้นที่เราจ่ายไปนั้นสมเหตุสมผลกับการเติบโตที่คาดหวังหรือไม่ นักลงทุนสามารถนำหุ้นที่สนใจไปเลือกลงทุนผ่านช่องทางการลงทุนที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ต่อไป

คำถามที่พบบ่อย

ทำไม PEG ถึงสามารถใช้ดูเปรียบเทียบการเติบโตและราคาหุ้นได้เหมาะสม

ค่า PEG พิจารณาทั้งราคาและการเติบโต PEG คำนวณจาก P/E หารด้วยอัตราการเติบโตของกำไร ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างราคาที่ต้องจ่ายกับศักยภาพการเติบโต และช่วยเปรียบเทียบหุ้นต่างอุตสาหกรรม หุ้นที่เติบโตเร็วมักมี P/E สูง แต่ PEG จะช่วยปรับให้เปรียบเทียบกันได้ เช่น หุ้น A มี P/E 30 เท่า เติบโต 30% กับหุ้น B มี P/E 15 เท่า เติบโต 15% จะมี PEG เท่ากันที่ 1 เท่า

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ PEG ในการวิเคราะห์หุ้น

1. ความไม่แน่นอน: อัตราการเติบโตของกำไรเป็นเพียงการคาดการณ์ ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขันในอุตสาหกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบาย


2.ที่มาของกำไร: เช่น กำไรพิเศษ หากบริษัทมีกำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์ หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ อาจทำให้ค่า PEG ดูต่ำกว่าความเป็นจริง


3. ความแตกต่างของอุตสาหกรรม: อัตราการเติบโตที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม หุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วอาจมี PEG สูงกว่าหุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโตช้า


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์