งบการเงิน : งบการเงิน มีอะไรบ้าง และวิธีการอ่าน ?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos
สารบัญ
งบการเงิน คืออะไร?งบการเงิน มีอะไรบ้าง?งบการเงิน : ข้อดีและข้อเสียงบดุล - Balance Sheetงบกำไรขาดทุน - Income Statementงบกระแสเงินสด - Statement of Cash Flowsการเปลี่ยนแปลงในตราสารทุน - Changes In Equityกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ - Comprehensive Incomeงบการเงินที่ไม่แสวงหาผลกำไร - Nonprofit Financial Statementsจะตรวจสอบงบการเงินของหุ้นสหรัฐได้อย่างไร? วิธีการสอบถามงบการเงินขององค์กรทำไมต้องดูงบการเงิน ?จะลงทุนในหุ้นสหรัฐหลังจากอ่านงบการเงินได้อย่างไร?สรุป

ในสภาพการลงทุนปัจจุบันนั้น ในยุคที่มีปัจจัยกระตุ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวิเคราห์และประเมินที่จะลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆนั้น ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็น FACT มาช่วยพิจาราณา นอกเหนือจากบทวิเคราะห์ ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้แต่เชิงกราฟเทคนิคอล  ซึ่งงบการเงินเป็นอีกหนึ่งข้อมูลปัจจัยพื้นฐานที่แสดงให้เห็นข้อมูลทางการเงินต่างๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่องค์กรได้ปฏิบัติในรอบปีที่ผ่านปี รอบไตรมาส เรามารู้จักและศึกษางบการเงินกัน

งบการเงิน คืออะไร?

งบการเงิน (Financial Statement) คือ เอกสารที่สรุปแสดงข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบริษัท ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์และประเมินสถานะการเงินและประสิทธิภาพทางการเงินขององค์กรนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับการกำไร-ขาดทุน การกระจายเงินสด สินทรัพย์ หนี้สิน และข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ 


ซึ่งสามารถใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน การให้สินเชื่อ หรือการจัดการทางการเงินในองค์กรนั้น ๆ กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินเพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรพร้อมยื่นแบบภาษีเป็นประจำทุกปีแล้ว กิจการยังสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินกิจการได้หลายอย่าง


งบการเงิน มีอะไรบ้าง?

งบการเงินประกอบด้วย 3 งบหลัก ได้แก่ :


  1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) - แสดงผลกำไรหรือขาดทุนที่บริษัททำได้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยแสดงรายได้ทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิ


  2. งบแสดงสถานะการเงิน (Balance Sheet) - แสดงค่ารวมของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัท ในเวลาที่กำหนด โดยเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินเพื่อหาค่าสุทธิที่องค์กรมี


  3. งบรายได้รายจ่าย (Cash Flow Statement) - แสดงกระแสเงินสดเข้า-ออกของบริษัทในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแยกเป็นสามส่วนหลัก ได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินการ กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดการทางการเงิน


เอกสารงบการเงินเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ที่สนใจในการวิเคราะห์และเข้าใจเกี่ยวกับสถานะการเงินขององค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ เพื่อให้การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปอย่างมีความรู้สึกและมีพื้นฐานทางการเงินอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง


งบการเงิน : ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีของงบการเงิน

  1. ประเมินสถานะการเงิน :  เข้าใจสถานะการเงินปัจจุบันของธุรกิจ และสามารถระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสุขภาพทางการเงินขององค์กร

  2. ช่วยวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ :  สามารถวางแผนกิจกรรมทางธุรกิจให้เหมาะสม และตัดสินใจที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการลงทุน การขยายธุรกิจ หรือการจัดการทางการเงิน

  3. พิจารณาในการกู้ยืมหรือการเงิน : หาแหล่งทุนและทางเลือกการเงินอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม และใช้ข้อมูลในงบการเงินในการจัดหาสินเชื่อหรือการกู้ยืม

  4. ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ธุรกิจ :  เห็นภาพรวมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของธุรกิจ ว่ากำไรได้มาจากที่ไหน และทรัพย์สินและหนี้สินถูกใช้งานอย่างไร

  5. การปรับแผนการเติบโต: พบโอกาสและอุปสรรคในการเติบโตของธุรกิจ และช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจในอนาคต


ข้อเสียของงบการเงิน

  1. ความซับซ้อน งบการเงินสามารถมีข้อมูลมากมายและซับซ้อน โดยเฉพาะในองค์กรที่ใหญ่หรือมีกิจกรรมธุรกิจหลากหลาย การทำงบการเงินอาจจะต้องการความเข้าใจในเรื่องการบัญชีและการเงินที่สูง

  2. ข้อมูลไม่แม่นยำ ข้อมูลที่ใช้อาจมีความไม่แม่นยำในบางกรณี เนื่องจากข้อมูลบางส่วนอาจถูกบันทึกผิดพลาดหรือมีการปรับปรุงในภายหลัง

  3. ข้อมูลเป็นตัวเลขเท่านั้น  ซึ่งอาจไม่สามารถแสดงความซับซ้อนและสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ในทั้งหมด

  4. ความผันผวนของข้อมูล  อาจมีการปรับปรุงตามกฎหมายหรือนโยบายขององค์กร ทำให้ข้อมูลในงบการเงินไม่สามารถเปรียบเทียบกับปีที่แล้วได้โดยง่าย

รูปภาพที่แสดง งบการเงิน : ข้อดีและข้อเสีย


งบดุล - Balance Sheet

แสดงฐานะการเงิน จะทำให้เห็นว่าภาพรวมของกิจการ มีฐานะการเงิน สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของทุนรวมถึงให้ข้อมูลถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ของกิจการได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ โดยงบนี้จะบอกสถานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง เช่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2022 


รูปภาพที่แสดงตัวย่างงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล ของ โคคาโคล่า

รูปภาพที่แสดง ตัวย่างงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุลของโคคาโคล่า

ที่มา: Investing

งบกำไรขาดทุน - Income Statement

แสดงให้เห็นถึงผลประกอบการ ความสามารถในการทำกำไร รวมทั้งโครงสร้างรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการเป็นอย่างไรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (โดยปกติทุกๆ 1 ปีตามรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการ) โดยกิจการสามารถใช้งบนี้เพื่อให้ผู้บริหารกิจการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ในการตัดสินใจวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการต่อไปในอนาคต


และที่สำคัญ คือ งบกำไรขาดทุนทำให้กิจการทราบตัวเลขเพื่อใช้คำนวณภาษีที่ต้องยื่น แก่สรรพากร อีกทั้งเมื่อทราบภาษีที่ต้องเสียแล้ว ก็จะทำให้เจ้าของกิจการสามารถวางแผนจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง และประหยัดภาษีได้มากยิ่งขึ้น


รูปภาพที่แสดง ตัวย่างงบกำไร-ขาดทุน ของ Apple

รูปภาพที่แสดง ตัวย่างงบกำไร-ขาดทุน ของ Apple

ที่มา: Investing


งบกระแสเงินสด - Statement of Cash Flows

หรือ งบรายได้&รายจ่าย ทำให้เห็นที่มาที่ไปของกระแสเงินสด ว่า เพิ่มขึ้นหรือลดลง จากรายการใดบ้าง เช่น มาจากกิจกรรมดำเนินงานปกติ การลงทุน การกู้ยืม หรือชำระเงินคืนกู้ ซึ่งการจัดทำงบกระแสเงินสด จะช่วยให้เจ้าของกิจการวางแผนการใช้เงินได้ดีมากขึ้น และทำให้ทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้วางแผนการใช้จ่ายของกิจการได้


และนอกจากงบกระแสเงินสด จะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดของกิจการ ว่ามีการได้มาและใช้ไปอย่างไรแล้ว ยังเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการเงินสดของกิจการ การวางแผนการตัดสินใจทางด้านการเงินในอนาคตของกิจการอีกด้วย


รูปภาพที่แสดง ตัวย่างงบกระแสเงินสด ของ TESLA

ที่มา: Investing


การเปลี่ยนแปลงในตราสารทุน - Changes In Equity

การเปลี่ยนแปลงในตราสารทุน เป็นส่วนหนึ่งในงบทางการเงินที่บันทึกและแสดงผลของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในส่วนของส่วนทุน (Equity) หรือทุนของบริษัทในระหว่างรอบบัญชี เรื่องนี้มักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในหุ้นทุน, ทุนจดทะเบียน, กำไรสะสม, ขาดทุนสะสม, การแบ่งปันเงินปันผล, และดุลยสภาพส่วนของผู้ถือหุ้น


การเปลี่ยนแปลงในตราสารทุนมักมีส่วนต่อเนื่องกับรายการต่าง ๆ ในงบการเงินดังนี้ :


หุ้นทุน (Share Capital) : 

การออกหุ้นใหม่หรือการรับซื้อหุ้นที่มีผลให้เพิ่มทุนลงทุนของบริษัท จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตราสารทุน ที่แสดงถึงรายได้ที่บริษัทได้รับจากการขายหุ้นหรือแบ่งหุ้นใหม่


กำไรสะสม (Retained Earnings) และขาดทุนสะสม (Accumulated Losses): 

การที่บริษัททำกำไรหรือขาดทุนในแต่ละรอบบัญชีจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสมในงบการเงิน


การแบ่งปันเงินปันผล (Dividends): 

การจ่ายเงินปันผลหรือเงินปันผลแบบอื่น ๆ ให้กับผู้ถือหุ้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตราสารทุน ซึ่งแสดงถึงจำนวนเงินที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น.การเปลี่ยนแปลงในตราสารทุนเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์และเข้าใจสถานะการเงินขององค์กร และช่วยให้ผู้ใช้งานของงบการเงินสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของทุนและส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างเข้าใจและประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง


กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ - Comprehensive Income

เพื่อบ่งบอกถึงผลกระทบทางการเงินที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินขององค์กรหรือบุคคลในระยะเวลาที่กำหนด ความหมายของคำนี้อาจแตกต่างไปตามหลักการบัญชีที่ใช้และข้อกำหนดทางกฎหมายในแต่ละท้องที่ แต่ละประเทศอาจมีการนิยาม Comprehensive Income ได้ในลักษณะที่แตกต่างกันบ้าง


ค่าที่ส่งผลให้เกิดกำไร ขาดทุน เบ็ดเสร็จมาประกอบกันอาจมีหลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองส่วนหลัก ดังนี้: 


กำไรและขาดทุน (Net Income or Loss) เป็นผลตอบแทนทางการเงินจากกิจกรรมธุรกิจทั้งหมดหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และหักภาษีเงินได้


การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตามราคาตลาด (Changes in Fair Value) เป็นการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินตามราคาตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าหุ้นที่ถือครอง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสัญญาซื้อขายที่มีการประเมินใหม่


เมื่ออ่านงบกำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จเราจะรู้อะไรบ้าง  

1. รายได้เติบโตหรือไม่ 

2. ค่าใช้จ่ายมีอะไรผิดปกติหรือไม่ 

3. ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีแค่ไหน 

4. EBITDA (Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization) 

5.กำไรต่อหุ้น Vs กำไรต่อหุ้นปรับลด


งบการเงินที่ไม่แสวงหาผลกำไร - Nonprofit Financial Statements

งบการเงินที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือเอกสารทางการเงินที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือกำไรส่วนตัว ซึ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ การช่วยเหลือสังคม หรือการประโยชน์สาธารณะ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรมักเรียกว่า "องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร" หรือ "องค์กรไม่แสวงหากำไร" (Nonprofit Organizations)


งบการเงินขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรประกอบด้วยส่วนประกอบหลักต่อไปนี้ :


งบกำไรขาดทุน (Statement of Income Statement): แสดงรายรับและรายจ่ายขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในระยะเวลาที่กำหนด บันทึกกิจกรรมทางการเงินที่ส่งผลให้เกิดกำไรหรือขาดทุนในระยะเวลานั้นๆ


งบแสดงสถานะการเงิน (Statement of Balance Sheet): แสดงสถานะการเงินปัจจุบันขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รวมถึงสินทรัพย์, หนี้สิน, และส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์สถานะการเงินขององค์กรในเวลานั้นๆ


งบรายได้และรายจ่าย (Statement of Changes in Net Assets): รายงานเพิ่มเติมที่แสดงรายรับและรายจ่ายทั้งหมดขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในส่วนทรัพย์สุทธิ (Net Assets) หรือส่วนทุนขององค์กร


ตัวย่างงบการเงินขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

สมาคม …………….  งบรายรับรายจ่าย สำหรับงวด ……………….


เงินคงเหลือต้นงวดเงินสด  xx


เงินฝากธนาคาร  xx


เงินยืมทดรอง  xx xx


รายรับค่าบำรุงสมาชิก  xx


รายได้จากการรับบริจาค  xx xxxx


รายจ่ายค่าเช่า  xx


เงินเดือน  xx xx


เงินคงเหลือปลายงวดเงินฝากธนาคาร xx


เนื่องจากองค์กรมีจุดประสงค์ในการให้บริการสาธารณะหรือส่วนอื่นของสังคมการวิเคราะห์งบการเงินจะมีเป้าหมายที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะและการแบ่งปันค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินงานขององค์กร


จะตรวจสอบงบการเงินของหุ้นสหรัฐได้อย่างไร?

การตรวจสอบงบการเงินของหุ้นในสหรัฐอาจทำได้หลายวิธี และหลายช่องทางตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบของคุณ นี่คือบางวิธีที่นักลงทุนสนใจ


เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์  ส่วนใหญ่ของบริษัทที่เปิดขายหุ้นในสหรัฐจะมีเว็บไซต์เป็นตัวกลางในการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินและรายงานการเงิน คุณสามารถเข้าไปดูงบการเงินและรายงานอื่นๆ ในส่วนของ "Investor Relations" หรือ "Financials" บนเว็บไซต์เหล่านี้ได้เลย เช่น Tesla Investor Relations  หรือ  Amazon.com, Inc. - Overview (aboutamazon.com)


เว็ปไซต์ข้อมูลการเงินและเศรษฐกิจต่างๆ   เช่น Investing.com, Bloomberg, Reuters, Yahoo Finance, Google Finance เป็นต้น มักจะมีข้อมูลทางการเงินของหุ้นในรูปแบบกราฟและตาราง รวมถึงรายงานและข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

 

รายงานผู้วิเคราะห์  ผู้วิเคราะห์หุ้นในตลาดมักจะเขียนรายงานที่วิเคราะห์ข้อมูลการเงินของบริษัท และทำการให้คะแนนหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเหล่านั้น คุณสามารถเข้าไปอ่านรายงานเหล่านี้จากที่ผู้วิเคราะห์ต่างๆ


ฐานข้อมูลของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินและธนาคารในสหรัฐอาจมีฐานข้อมูลที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลการเงินของบริษัท ธนาคารอาจเสนอบริการเช่น Equity Research Reports หรือข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติม


วิธีการสอบถามงบการเงินขององค์กร

แนวทางในการสอบถามงบการเงินขององค์กร


  • งบดุล : ทรัพย์สินรวมทั้งหมดขององค์กรมีมูลค่าเท่าใด? หนี้สินรวมทั้งหมดขององค์กรมีมูลค่าเท่าใด? ทรัพย์สินสุทธิขององค์กรคือเท่าใด?


  • งบกำไรขาดทุน : องค์กรมีกำไรหรือขาดทุนในปีที่ผ่านมาเท่าใด? กำไรสุทธิขององค์กรเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีก่อนหน้าเท่าใด?


  • งบสรุปผลกำไร : มีรายได้รวมขององค์กรในปีที่ผ่านมาเท่าใด? มีค่าใช้จ่ายรวมขององค์กรในปีที่ผ่านมาเท่าใด? กำไรสุทธิขององค์กรในปีนี้เท่าใด?


  • อัตราส่วนการเงิน : อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินคือเท่าใด? อัตราส่วนทรัพย์สินสุทธิต่อทรัพย์สินรวมคือเท่าใด? อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวมเป็นเท่าใด?


  • ความเสี่ยงทางการเงิน : มีความเสี่ยงทางการเงินอย่างไรที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร?สามารถบอกถึงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้อย่างไร?


  • นักลงทุนควรเข้าใจวิธีอ่านและวิเคราะห์เหล่านี้เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทำไมต้องดูงบการเงิน ?

การประเมินสถานะการเงิน : งบการเงินเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าสำหรับการประเมินสถานะการเงินขององค์กรในขณะนั้น นักลงทุนสามารถทราบได้ว่าองค์กรมีสภาพการเงินที่แข็งแรงหรือไม่ และให้เข้าใจถึงความสามารถในการจ่ายหนี้ 


การตัดสินใจการลงทุน : นักลงทุนมีข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ลงทุนในหุ้นหรือองค์กรนั้น โดยการวิเคราะห์รายงานการเงิน คุณสามารถรับรู้เกี่ยวกับสภาพการเงินของบริษัท ปัจจัยการเติบโต และความเสี่ยงทางการเงิน


การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางการเงิน : รับรู้ถึงความสามารถในการสร้างกำไรและการบริหารทรัพยากรทางการเงินในการดำเนินธุรกิจ เช่น การตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่กระทบต่อรายได้ และการบริหารหนี้สิน


การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน : เข้าถึงปัจจัยทางการเงินที่อาจส่งผลกระทบในอนาคต ทำให้คุณสามารถวางแผนการจัดการความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต


การประเมินความสามารถในการส่งมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น : ช่วยให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจถึงการทำกำไรและการพิจารณาการเจริญเติบโตขององค์กร มีปัจจัยในการตัดสินใจเช่นการจ่ายเงินปันผลหรือการลงทุนเพิ่มเติม


จะลงทุนในหุ้นสหรัฐหลังจากอ่านงบการเงินได้อย่างไร?

หลังจากที่เข้าใจในเรื่องของงบการเงินแล้ว ต่อไปคือค้นหาเป้าหมายการลงทุนสำหรับการเทรดนอกจากการลงทุนโดยตรงในหุ้นสหรัฐกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศแล้วเรายังสามารถเลือกสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ได้อีกด้วย 


ข้อดีอย่างหนึ่งของ CFD คือ มีเลเวอเรจสูงกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้นแบบดั้งเดิมของสหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิมด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า หากคุณต้องการขายหุ้นบางตัว คุณสามารถใช้ CFD เพื่อขายหุ้นได้ตลอดเวลา และไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุน นอกจากนี้ CFD ยังสามารถตอบสนองความต้องการของการซื้อขายระหว่างวันได้อย่างไร้ขีดจำกัด


ในปัจจุบัน โบรกเกอร์แบบดั้งเดิมได้กำหนดข้อกำหนดสำหรับสินทรัพย์รวมในบัญชีสำหรับการซื้อขายระหว่างวัน แต่ถ้าใช้ CFD สำหรับการซื้อขายหุ้น เกณฑ์จะไม่สูงมากนัก เหมาะสำหรับนักลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็กในการลงทุน ในขณะเดียวกัน อัตราส่วนเลเวอเรจขนาดใหญ่ยังช่วยปรับปรุงอัตราการใช้เงินทุนได้อย่างมาก ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสในการลงทุน และยังเทรดได้ทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งขาขึ้น (เลือก BUY) ฝั่งขาลง (เลือก SELL)


เปรียบเทียบ CFD ของหุ้นกับหุ้นแบบดั้งเดิม

หุ้น CFD
หุ้นแบบเดิม
มีเลเวอเรจ(หุ้น CFD สูงถึง 1:20)ไม่มีเลเวอเรจ
เทรดได้ทั้งสองฝ่าย ขาขึ้นและขาลงทำกำไรได้เฉพาะหุ้นขึ้น
ได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นเงินปัลผล แตกพาร์ รวมพาร์ได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นเงินปัลผล แตกพาร์ รวมพาร์


นักลงทุนควรศึกษาเรื่องการใช้งานเลเวอเรจให้เหมาะสม เพราะอีกด้านหนึ่งของกำไรที่สูงก็คือการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าเช่นกัน จำเป็นต้องเข้าใจช่วงเวลาของการทำธุรกรรมอย่างถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ตลาด


ฟรี!!$50,000 จาก Mitrade ฝึกฝนเทรดผ่าน บัญชีทดลอง แบบไร้ความเสี่ยง!!
illustration

สรุป

การศึกษาและนำข้อมูลงบการเงินเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจ ช่วยวางแผนดำเนินกิจการในอนาคต ทำให้เจ้าของกิจการบริหารจัดการงานของตนเองให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่สะดุด ซึ่งหากกิจการไม่มีทีมงาน หรือพนักงานฝ่ายบัญชี กิจการสามารถเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีเพื่อบันทึกบัญชี และจัดทำงบการเงิน รวมถึง ตรวจสอบงบการเงินเพื่อให้มั่นใจว่ากิจการมีข้อมูลงบการเงิน ที่ถูกต้อง ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม


คำถามที่พบบ่อย

1.ทำไมเราจึงควรศึกษาเรื่องวิเคราะห์งบการเงิน

เหตุผลที่นักลงทุนควรศึกษาวิเคราะห์งบการเงิน มีดังนี้ สามารถวิเคราะห์สภาพการเงินช่วยให้คุณสามารถเข้าใจสภาพการเงินปัจจุบันของบริษัทได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจและวางแผนทางการเงินในอนาคต. และที่สำคัญ ตรวจสอบความสมดุลของการเงินระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของบริษัท นี้ช่วยให้เข้าใจว่าสถานะการเงินของคุณเป็นอย่างไร

2.มีงบการเงินหลายประเภท นักลงทุนควรฝึกอ่านงบการเงินประเภทไหนเป็นหลัก

1) งบแสดงผลกำไรขาดทุน เป็นรายการแสดงรายได้และรายจ่ายขององค์กรในระยะเวลาที่กำหนด การอ่านงบแสดงผลกำไรขาดทุนช่วยให้คุณเข้าใจว่าองค์กรกำไรหรือขาดทุนในระยะเวลานั้น. 2) งบสภาพทางการเงิน เป็นรายการแสดงค่าสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนขององค์กรในจุดเวลาที่กำหนด การอ่านงบสภาพทางการเงินช่วยให้คุณรู้ว่าองค์กรมีทรัพยากรและหนี้สินอย่างไร. 3) งบเงินสดเทียบกับรายรับรายจ่าย เป็นรายการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดในองค์กร รวมถึงการเปรียบเทียบกับรายรับและรายจ่าย การอ่านงบเงินสดเทียบกับรายรับรายจ่ายช่วยให้คุณเข้าใจถึงกระแสเงินสดและการบริหารเงินสดขององค์กร

3.งบการเงินช่วยบ่งบอกสถานะของบริษัทหรือราคาหุ้นอย่างไรบ้าง

การวิเคราะห์งบการเงินช่วยให้คุณรู้ว่าบริษัทมีสภาพการเงินที่ดีหรือไม่ เมื่อมองไปในงบสภาพทางการเงินอาจช่วยบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการลงทุน. และช่วยให้คุณรับข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางการเงินของบริษัท ว่าเศรษฐกิจของบริษัทกำลังเติบโตหรือไม่ ความสามารถในการผลิตกำไรจะส่งผลต่อราคาหุ้น และสุดท้าย การเรียนรู้เกี่ยวกับยอดขาย กำไรขั้นต้น และค่าใช้จ่ายของบริษัทในงบการเงินช่วยให้คุณเข้าใจถึงการดำเนินธุรกิจของบริษัท

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มี.ค. 2024
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์