S&P 500 คืออะไร?
การลงทุนปัจจุบัน เราเลี่ยงไม่ได้เลยว่า ดัชนีตลาดหุ้นของสหรัฐมีผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ดัชนี S&P 500 เป็นดัชนีชี้วัดชั้นนำของเศรษฐกิจโลก เพราะเป็น ดัชนีที่รวมบริษัทในสหรัฐชั้นนำจำนวน 500 แห่ง เป็นตัวแทนกว่า 80% ของบริษัทจัดทะเบียนของทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ทำให้เวลาดัชนี S&P 500 ขึ้นลงก็จะมีผลกระทบต่อตลาดการเงินของโลก
บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร
S&P 500 คืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
S&P 500 คือ ดัชนีตลาดหุ้นที่ติดตามหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐจำนวน 500 บริษัท ซึ่งแสดงถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของอเมริกากว่า 500 บริษัท
ตัวอย่าง บริษัท ที่อยู่ใน ดัชนี S&P 500 เช่น Amazon,American Airlines Group
Bank of America, BlackRock, CME Group, Apple, Facebook, Microsoft, Google และ Tesla เป็นต้น
S&P 500 ได้ถูกสร้างขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1957 โดย เป็น บริษัท Standard and Poor’s เป็นบริษัทการเงินและการให้อันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อมาเป็นตัวแทนในการคำนวณดัชนีหุ้นชั้นนำ 500 กว่าบริษัทในตลาดหุ้นอเมริกา
ในฐานะดัชนีตลาดหุ้น ดัชนี S&P 500 ถือเป็นมาตรวัดที่ดีที่สุด โดยติดตามบริษัทขนาดใหญ่ 500 บริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ มีสภาพคล่องสูง รวมถึงมีการเปิดให้ซื้อและขายหุ้นในตลาดหุ้นเกิน 10% เป็นต้น ซึ่งผลจากการพิจารณาดัชนี S&P500
แม้ว่าดัชนี Dow Jones จะเป็นดัชนีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่นักลงทุนมักจะมองไปที่ S&P 500 เมื่อต้องการประเมินว่าตลาดโดยรวมเป็นอย่างไร ดังนั้นดัชนีนี้จึงถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา S&P 500 ให้ผลตอบแทนที่ 11.09% ต่อปี ณ วันที่ 14 มกราคม 2563 มีผลตอบแทนนับจากต้นปีถึงเวลาปัจจุบัน (YTD) อยู่ที่ 26.65%
S&P 500 ทำงานอย่างไร
S&P 500 ติดตามดัชนีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทต่างๆ มูลค่าตามราคาตลาด (Market cap) คือมูลค่ารวมของหุ้นทั้งหมดที่บริษัทออกให้ ซึ่งคำนวณโดยการคูณจำนวนหุ้นที่ออกให้ด้วยราคาหุ้น บริษัทที่มีมูลค่าตลาดที่ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐจะได้รับฐานะการเป็นตัวแทน 10 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าตลาดรวมของ S&P 500 อยู่ที่ 23.5 ล้านล้านเหรียญ โดยมีมูลค่าเป็น 80% ของมูลค่าของตลาดหุ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ดัชนีคิดมาจากการถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดของบริษัท โดยจะวัดเฉพาะหุ้นที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่นับรวมกลุ่มที่มีการควบคุม บริษัทอื่น หรือหน่วยงานของรัฐ
คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกบริษัทในดัชนี 500 แต่ละแห่งโดยพิจารณาจากสภาพคล่อง ขนาด และชนิดของอุตสาหกรรม โดยมีการปรับสมดุลของดัชนีเป็นรายไตรมาสในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม สำหรับบริษัทที่จะมีคุณสมบัติเป็นดัชนีได้นั้น บริษัทจะต้องอยู่ในสหรัฐอเมริกาและมีมูลค่าทางการตลาดอย่างน้อย 6.1 พันล้านเหรียญ และอย่างน้อย 50% ของหุ้นของบริษัทจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน ราคาหุ้นต้องมีมูลค่าอย่างน้อย 1 ดอลลาร์ต่อหุ้น จะต้องยื่นรายงานประจำปี 10-K และอย่างน้อย 50% ของสินทรัพย์ถาวรและรายได้จะต้องอยู่ในสหรัฐอเมริกาและท้ายที่สุดจะต้องมีผลกำไรเป็นบวกอย่างน้อยสี่ไตรมาสติดต่อกัน
หุ้นจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก Investors Exchange, NASDAQ หรือ BATS ไม่สามารถทำการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกันเองโดยตรง (over-the-counter) หรือทำการซื้อขายนอกตลาด (pink sheet) ได้
S&P 500 คำนวณอย่างไร
S&P 500 ใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market cap) โดยให้การจัดสรรเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าให้กับ บริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด
รายชื่อหุ้นใน S&P 500
รายชื่อหุ้นใน S&P 500 รวมไปถึง 500 หุ้นสามัญของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ ของสหรัฐ บริษัทที่ติด 20 อันดับแรกใน S&P 500 ณ วันที่ 31 สิงหา 2020 ตามนี้
#ชื่อบริษัท
Apple Inc.
Microsoft Corporation
Amazon.com Inc.
Facebook Inc. Class A
Alphabet Inc. Class A
Alphabet Inc. Class C
Berkshire Hathaway Inc. Class B
Johnson & Johnson
Visa Inc. Class A
Procter & Gamble Company
NVIDIA Corporation
Home Depot Inc.
JPMorgan Chase & Co.
Mastercard Incorporated Class A
UnitedHealth Group Incorporated
Verizon Communications Inc.
Walt Disney Company
PayPal Holdings Inc
Adobe Inc.
Pfizer Inc.
รายละเอียดของรายชื่อองค์ประกอบของ S&P 500 สามารถเช็คได้ที่นี่
การปรับโฉมหน้าของอุตสาหกรรม S&P 500 สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจ อ้างอิงจากดัชนี S&P ดาวโจนส์ ณ วันที่ 14 มกราคม 2563 โดยมีการแบ่งกลุ่ม S&P 500 ดังนี้คือ
เทคโนโลยีสารสนเทศ | 23.2% |
บริการด้านสุขภาพ | 14.2% |
การเงิน | 13% |
บริการการสื่อสาร | 10.4% |
สินค้าอุปโภคบริโภคชนิดฟุ่มเฟือย | 9.8% |
กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม | 9.1% |
สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น | 7.2% |
พลังงาน | 4.3% |
สาธารณูปโภค | 3.3% |
อสังหาริมทรัพย์ | 2.9% |
วัสดุก่อสร้าง | 2.7% |
S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร
Dow Jones เป็นดัชนีตลาดหุ้นอีกตัวหนึ่งที่มีบริษัทขนาดใหญ่ ข้อแตกต่างที่สำคัญของ S&P 500 และ Dow Jones มีดังนี้
Dow Jones ประกอบด้วยบริษัทเพียง 30 แห่งซึ่งแต่ละบริษัทถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
Dow Jones จะถ่วงน้ำหนักตามราคาหุ้นของแต่ละบริษัท ไม่ใช่ตามมูลค่าราคาตลาดซึ่งหมายความว่าบริษัทที่มีราคาหุ้นสูงกว่าจะได้รับน้ำหนักมากกว่า ดัชนีคำนวณโดยการบวกราคาหุ้นของทั้ง 30 บริษัท ปรับน้ำหนักแล้วหารด้วยค่าคงที่ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเรียกว่า Dow Divisor
เพื่อนๆ นักลงทุนอย่าลืมติดตามดัชนี S&P500 ก่อนการลงทุนด้วยนะครับ เพราะเป็นตัวเลขสำคัญที่จะสะท้อนภาวะตลาดในแต่ละวัน ขอให้เพื่อนๆ ลงทุนให้ประสบความสำเร็จครับ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน