MSCI คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

MSCI คืออะไร? MSCI คือดัชนีเปรียบเทียบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักลงทุนได้ใช้เป็นมาตรฐานวัดผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่าง ๆ ว่าดีหรือไม่ เมื่อเทียบกับมาตรวัด (Benchmark) ของ MSCI ตัวดัชนีนี้มีการคิดค้นขึ้นมาใช้ยาวนานกว่า 35 ปี มักถูกใช้อ้างอิงกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นที่มีการทำดัชนีไว้กว่า 68 ประเทศทั้งในตลาดเศรษฐกิจพัฒนแล้วและตลาดเกิดใหม่ แต่ MSCI คืออะไร? ส่งผลอย่างไรกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยไปจนถึงการลงทุนในระดับโลก? ซึ่งหากใครที่กำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่คราวนี้เราจะมาหาคำตอบในเรื่องนี้กัน

MSCI คืออะไร?

MSCI คือ


เดิม MSCI คือชื่อย่อของบริษัท Morgan Stanley Capital International (MSCI Inc.) เป็นบริษัทให้บริการด้านการเงินสัญชาติอเมริกาที่มีสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ค มีต้นกำเนิดมาจากการที่บริษัท Morgan Stanley ได้รับสิทธิในดัชนีที่สร้างขึ้นโดยบริษัท Capital International แล้วนำมาสร้างเป็นแบรนด์ MSCI คอยจัดทำดัชนีสินทรัพย์ เพื่อเป็นมาตรเทียบ (Benchmark) ผลการดำเนินงานของกองทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกและยังเป็นผู้บริหารกองทุน MSCI ที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก นับถึงปี 2023 MSCI มีสินทรัพย์กว่า $13 ล้านล้านที่อ้างอิงมูลค่าอยู่กับดัชนีของบริษัทนี้


MSCI ที่นักลงทุนรู้จักและได้ยินกันบ่อยมักหมายถึง ดัชนี MSCI ที่ถูกใช้เป็นมาตรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนและตัวบ่งชี้การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รอบโลก ครอบคลุมสินทรัพย์ทั้งหุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงตลาดเงิน แต่มักรู้จักกันดีในฐานการใช้เป็นตัวเทียบ (Benchmark) ในการลงทุนหุ้นเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น MSCI Japan ที่สะท้อนภาพตลาดหุ้นญี่ปุ่น, MSCI EAFE ที่จัดทำขึ้นจากหุ้นบริษัทใน 21 ประเทศจากกลุ่มยุโรป โอเชียเนีย และตะวันออกไกล, MSCI Emerging Market รวมเอาดัชนีตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่รวม 24 ประเทศ เช่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ แม็กซิโก มาถ่วงน้ำหนักเพื่อสะท้อนการเติบโตของตลาดหุ้นในกลุ่มนี้


ดัชนี MSCI ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบการลงทุนของกองทุนยักษ์ใหญ่ที่ต้องการกระจายเงินลงทุนไปในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ทำให้ดัชนีนี้ถูกนำมาใช้ได้ในหลายวัตถุประสงค์ เช่น 


  • เป็นแหล่งข้อมูลสินทรัพย์ที่หลากหลาย นอกจากการจัดทำดัชนีแล้ว MSCI ยังจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่จัดทำดัชนีไว้ด้วย


  • เป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตของตลาดหุ้นในประเทศหรือกลุ่มประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เห็นแนวโน้มและเป็นไอเดียในการลงทุนสำหรับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไป


  • ใช้เป็นมาตรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนต่าง ๆ ว่าดีหรือแย่กว่า Benchmark ของ MSCI ที่ได้ทำไว้


  • ใช้ดูแนวโน้มทิศทางการลงทุนของกองทุนของกองทุนระดับโลก กองทุนยักษ์ใหญ่ของโลกที่มีนโยบายแบบ Passive มักอ้างอิงการจัดน้ำหนักการลงทุนตาม MSCI ทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเห็นแนวทางการลงทุนของเงินทุนขนาดใหญ่จากการปรับ (Rebalance) ดัชนีได้

เกณฑ์การคำนวณน้ำหนักและการปรับมุมมองของ MSCI

MSCI


การถ่วงน้ำหนักในการคำนวณดัชนี MSCI มีหลายแนวทาง เช่น การถ่วงน้ำหนักอ้างอิงราคา (Price Index Weight), การถ่วงน้ำหนักอ้างอิงกับมูลค่าตามราคาตลาด (Index Market Cap), การถ่วงน้ำหนักอ้างอิงจีดีพี (GDP Weight) ฯลฯ ซึ่งแต่ละวิธีมีการคำนวณแตกต่างกันไป สำหรับดัชนี MSCI ประเทศไทยใช้แนวทางการคำนวณอ้างอิงมูลค่าตามราคาตลาด ซึ่งมีหลักเกณฑ์การคำนวณดัชนีดังนี้


  • ต้องเป็นหุ้นที่มีขนาดขั้นต่ำตามที่กำหนด

    ซึ่งขนาดที่ว่านี้ก็คือมูลค่าตามราคาตลาดที่เมื่อนำมาคูณกับฟรีโฟลตต้องสูงว่าขั้นต่ำที่กำหนด สำหรับประเทศไทยกำหนดขนาดขั้นต่ำไว้ที่ $250 ล้าน


  • ต้องเป็นหุ้นที่มีฟรีโฟลต (Free Float)

    ขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งกำหนดไว้ที่ 15% เพื่อให้การซื้อขายหุ้นสามารถทำได้ในจำนวนมาก ๆ โดยไม่ส่งผลต่อราคามากนัก


  • ต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง

    ซึ่งจะคิดจากมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยในรอบปีเทียบกับมูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นนั้น ๆ


  • ต้องเป็นหุ้นที่ไม่ติดข้อจำกัดการซื้อขายของต่างชาติ

    นั่นคือต้องมีจำนวนหุ้นต่างประเทศที่ต่างชาติซื้อขายได้ตามที่กำหนดและมีรูมสำหรับการซื้อขายหุ้นของต่างชาติเพียงพอ


MSCI มีการทบทวน (Review) หุ้นและการจัดน้ำหนักทุกไตรมาสและมีการปรับ (Rebalance) ปีละ 2 ครั้งในวันทำการสุดท้ายของเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายนของทุกปี ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีความผันผวนของราคาหุ้นมากกว่าปกติ

ดัชนี MSCI ที่น่าสนใจ

MSCI index


ตัวอย่างดัชนี MSCI ที่ได้รับความนิยมและน่าสนใจที่นำมาฝากในคราวนี้มีดัชนี MSCI กลุ่มประเทศ 3 กลุ่ม ได้แก่ MSCI ACWI, MSCI EAFE, MSCI Emerging Markets และดัชนี MSCI รายประเทศ 1 ประเทศคือ MSCI Thailand


1. MSCI ACWI (All Country World Index)

ดัชนี MSCI All Country World Index - ACWI คำนวณแบบถ่วงน้ำหนักจากมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) จากหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่รวมกว่า 2,946 ตัวจากตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Markets – DM) 23 แห่ง และตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets – EM) 24 แห่ง ซึ่งครอบคลุม 85% ของโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นโลก จึงถือเป็นตัวแทนภาพรวมและตัวชี้วัด (Benchmark) ของดัชนีการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก (All Country World Index) ได้เป็นอย่างดี


5 อันดับประเทศที่มีการให้น้ำหนักมากที่สุด


  • สหัฐอเมริกา 62.72%

  • ญี่ปุ่น 5.46%

  • อังกฤษ 3.57%

  • จีน 2.98%

  • ฝรั่งเศส 2.91%


5 อันดับหุ้นที่มีการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด


  • Apple 4.64%

  • Mircrosoft Corp 4.15%

  • Amazon.com 2.09%

  • NVIDIA 1.79%

  • Alphabet A 1.22%


2. MSCI EAFE

ดัชนี MSCI Europe, Australasia, Far East เป็นดัชนีที่เริ่มคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1969 และนับเป็นดัชนีที่เก่าแก่ที่สุดของ MSCI คำนวณจากการถ่วงน้ำหนักจากมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของหุ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วในภูมิภาคยุโรป โอเชียเนีย และตะวันออกไกล รวม 21 ประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นดัชนีวัดการเติบโตของกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่ไม่รวมสหรัฐและแคนาดา รวมเรียกสั้นน ๆ ว่ากลุ่มประเทศ EAFE นับถึงเดือนธันวา 2018 ดัชนีนี้รวมเอาหุ้น 900 ตัวมาร่วมคำนวณ ครอบคลุม 85% ของหุ้นฟรีโฟลตที่ปรับโดยมูลค่าตามราคาตลาดในตลาดหุ้นที่นำมาคำนวณ 


5 อันดับประเทศที่มีการให้น้ำหนักมากที่สุด


  • ญี่ปุ่น 24.61%

  • อังกฤษ 16.94%

  • ฝรั่งเศส 11.10%

  • เยอรมนี 8.82%

  • สวิตเซอร์แลนด์ 8.65%


5 อันดับหุ้นที่มีการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด


  • Nestlé 2.07%

  • ASML Holding N.V. 1.67%

  • Novo Nordisk B 1.56%

  • LVMH Moet Hennessy 1.54%

  • Shell 1.48%


3. MSCI Emerging Markets 

MSCI Emerging Markets เป็นอีกหนึ่งดัชนีที่มีการคิดค้นมายาวนานตั้งแต่ปี 1988 คำนวณจากการถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาด เริ่มแรกใช้หุ้นจาก 10 ประเทศในการคำนวณ นับถึงปัจจุบันได้เพิ่มการคำนวณครอบคลุมหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ใน 25 ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets – EM) ด้วยหุ้นกว่า 1,435 บริษัท คิดเป็น 85% ของหุ้นฟรีโฟลตที่ปรับโดยมูลค่าตามราคาตลาดในตลาดหุ้นที่นำมาคำนวณ ดัชนีตัวนี้มีไว้เพื่อเป็นมาตรวัด (Benchmark) การเติบโตของหุ้นในตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล จีน โคลัมเบีย กรีซ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ ไทย ตุรกี ฯลฯ


5 อันดับประเทศที่มีการให้น้ำหนักมากที่สุด


  • จีน 28.39%

  • ไต้หวัน 15.8%

  • อินเดีย 15.68%

  • เกาหลีใต้ 12.7%

  • บราซิล 5.67%


5 อันดับหุ้นที่มีการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด


  • Taiwan Semiconductor MFG 6.73%

  • Tencent 4.15%

  • Samsung 3.99%

  • Alibaba 2.26%

  • PDD Holding 1.30%


>> ซื้อหุ้น TSMC ยังไง?

>> ซื้อหุ้น Alibaba ยังไง? 

>> ซื้อหุ้น Tencent ยังไง? 


4. MSCI Thailand

MSCI Thailand เป็นดัชนี MSCI รายประเทศที่สะท้อนภาพตลาดหุ้นไทยโดยเฉพาะ โดยคำนวณจากการถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาดจากหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 41 ตัว กินสัดส่วนฟรีโฟลตปรับด้วยมูลค่าตามราคาตลาด 85% ของตลาด ซึ่งนอกจากดัชนีตัวนี้จะเป็นตัวชี้วัด (Benchmark) ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นไทยแล้ว MSCI Thailand ยังเป็นแผนสัดส่วนการลงทุนของกองทุนแบบ Passive อ้างอิงผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทย ทำให้การปรับน้ำหนัก MSCI Thailand แต่ละครั้งมีผลต่อราคาหุ้นที่ถูกปรับน้ำหนักในช่วงปลายเดือนพฤษภาและพฤศจิกาของแต่ละปี


10 อันดับหุ้นที่มีการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด


  • PTT 8.3%

  • CPALL 7.25%

  • BDMS 6.97%

  • Advance 6.19%

  • AOT 6.09%

  • Delta 5.79%

  • SCC 5.35%

  • PTTEP 5.03%

  • CPN 3.27%

  • GULF 3.22%



สรุป

MSCI คืออะไรคงไม่ใช่คำถามที่ยากจะหาคำตอบอีกแล้ว เพราะ MSCI คือดัชนีที่นำมาใช้เป็นมาตรวัด (Benchmark) ของสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะดัชนีหุ้นในกลุ่มประเทศที่รวมเอาประเทศกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจเกิดใหม่ และยังมีผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนสถาบันต่างประเทศต่อตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเหล่านั้นรวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังนั้นดัชนีตัวนี้จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยไม่รู้ไม่ได้เลย

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
SET50 คืออะไร? SET50 มีอะไรบ้าง? และลงทุน SET50 ยังไง?บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
placeholder
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 หรือ ดัชนี S&P 500 คืออะไร?บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร
placeholder
นิเคอิ225(Nikkei 225) คืออะไร? ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นผ่านดัชนีนิเคอิ225 Nikkei 225 ขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1990 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 อะไรทำให้ราคาของ Nikkei 225 พุ่งกระฉูด? เราจะทำกำไรจากกระแสของ Nikkei 225 ได้อย่างไร? บทความนี้จะแจ้งให้คุณทราบ
ผู้เขียน  เมธิณี วสุมดีInsights
วันที่ 14 มี.ค. 2023
Nikkei 225 ขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1990 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 อะไรทำให้ราคาของ Nikkei 225 พุ่งกระฉูด? เราจะทำกำไรจากกระแสของ Nikkei 225 ได้อย่างไร? บทความนี้จะแจ้งให้คุณทราบ
placeholder
Dow Jones(DJIA) คืออะไร? สำคัญยังไง? ทำไมต้องดูทุกวันบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ดัชนี Dow Jones คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาดหุ้นทั่วโลกพร้อมเผยรายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีหุ้น Dow Jones ปี 2025 และลงทุนในดัชนี Dow Jones ยังไง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 25 พ.ค. 2023
บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ดัชนี Dow Jones คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาดหุ้นทั่วโลกพร้อมเผยรายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีหุ้น Dow Jones ปี 2025 และลงทุนในดัชนี Dow Jones ยังไง ตามมาดูกันเลย
placeholder
NASDAQ 100 คืออะไร สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนลงทุนใน 100 หุ้นระดับโลกบทความนี้เราจะความรู้จักกับดัชนีหุ้นตัวนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทุกคน เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนจนเข้าใจได้ว่าทำไมดัชนีหุ้น Nasdaq 100 จึงได้รับความนิยมระดับโลก และคุณควรลงทุนกับหุ้นตัวนี้อย่างไรเพื่อสร้างกำไรให้กับตัวคุณเอง
ผู้เขียน  เมธิณี วสุมดีInsights
วันที่ 14 มี.ค. 2023
บทความนี้เราจะความรู้จักกับดัชนีหุ้นตัวนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทุกคน เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนจนเข้าใจได้ว่าทำไมดัชนีหุ้น Nasdaq 100 จึงได้รับความนิยมระดับโลก และคุณควรลงทุนกับหุ้นตัวนี้อย่างไรเพื่อสร้างกำไรให้กับตัวคุณเอง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์