Dow Jones(DJIA) คืออะไร? สำคัญยังไง? ทำไมต้องดูทุกวัน
ดัชนี Dow Jones คือ ดัชนีที่มีการคำนวณมาจาก ราคาหุ้นของ 30 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา โดยตัวดัชนีดาวน์โจนส์ คือ สิ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของบริษัทใน Dow Jones Industrial Average (DJIA) ว่าเป็นไปในทิศทางใด ทั้งยังส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและตลาดหุ้นทั่วโลกอีกด้วย หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมทุกครั้งที่ตลาดดาวโจนส์ปิดด้วยผลบวก ในเวลาเช้าวันต่อมาทำไมตลาดหุ้นในเอเชียถึงดูสดใสเช่นกัน แสดงว่าดัชนีหุ้นดาวโจนส์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นเนื้อหาในบทความนี้เราจะพานักลงทุนทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “ดัชนี Dow Jones” อย่างละเอียดว่า ดัชนี Dow Jones คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาดหุ้นทั่วโลกพร้อมเผยรายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones วิธีการคำนวณดัชนี Dow Jones ทำอย่างไร พร้อมหยิบยกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีหุ้น Dow Jones ปี 2025 มาให้นักลงทุนทุกท่านได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการลงทุนของตัวเองภายในปีนี้
ดัชนี Dow Jones คืออะไรและสำคัญอย่างไร
ดัชนีดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Industrial Average (DJIA) คือดัชนีชั้นนำที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและโลก โดยคำนวณจากราคาหุ้นของ 30 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE และ NASDAQ
ในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลระดับโลก มีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุมทั่วทุกมุมโลก และสามารถสร้างรายได้จากตลาดระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคัดเลือกบริษัทเข้าดัชนีดำเนินการโดย Wall Street Journal และ Dow Jones & Company ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมหลายมิติ ทั้งด้านผลประกอบการ ความมั่นคงทางการเงิน และศักยภาพการเติบโตในอนาคต ดัชนีนี้มีประวัติอันยาวนานนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1896 ที่เริ่มต้นด้วยเพียง 12 บริษัท และผ่านการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบมาแล้ว 48 ครั้งใน 114 ปี สะท้อนให้เห็นถึงตัวชี้วัดของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทำให้ดัชนีนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วโลกใช้อ้างอิงในการประเมินสภาวะและคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
ความสำคัญของดัชนีดาวโจนส์สามารถพิจารณาได้ในสองระดับ ระดับแรก คือในระดับประเทศสหรัฐอเมริกา ดัชนีนี้เป็นเครื่องชี้วัดสุขภาพของเศรษฐกิจผ่านการจ้างงาน การลงทุน และการสร้างรายได้ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจประเทศ ระดับที่สอง คือส่วนในระดับโลก การเคลื่อนไหวของดัชนีส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกและทิศทางของตลาดทุน เมื่อดัชนีปรับตัวขึ้นแสดงถึงผลประกอบการที่แข็งแกร่งและความเชื่อมั่นในการลงทุน ส่งผลให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน การปรับตัวลงของดัชนีอาจนำไปสู่การเทขายหุ้นในวงกว้าง การชะลอตัวของการลงทุน และการหดตัวของเศรษฐกิจโลก
ในยุคที่เศรษฐกิจและตลาดการเงินเชื่อมโยงกันอย่างไร้พรมแดนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและการค้าระหว่างประเทศ ดัชนีดาวโจนส์จึงทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะเครื่องชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจระดับโลกที่นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้กำหนดนโยบายต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์และปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
รายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones
แหล่งอ้างอิง: stockanalysis.com ณ เดือนธันวาคม 2024
ดัชนี Dow Jones Industrial Average (DJIA) มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 59 ครั้งตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1896 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้แก่ Apple เข้าแทน AT&T ในปี 2015 Walgreens แทน GE ในปี 2018 และในปี 2020 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อ Salesforce Amgen และ Honeywell เข้าแทนที่ Exxon Mobil Pfizer และ Raytheon ตามลำดับ ส่วนปีล่าสุดอย่าง 2024 นั้น มีการเปลี่ยนแปลงโดย Amazon เข้าแทน Walgreens Boots Alliance ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ NVIDIA เข้าแทน Intel และ Sherwin-Williams เข้าแทน Dow Inc.
วิธีการคำนวณดัชนีหุ้น Dow Jones
ดัชนีดาวโจนส์ใช้วิธีการคำนวณที่แตกต่างจากดัชนีหลักอื่นๆ อย่าง S&P 500 หรือ NASDAQ โดยใช้การถ่วงน้ำหนักตามราคาหุ้น แทนการถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดที่ดัชนีส่วนใหญ่ใช้กัน วิธีนี้หมายความว่าหุ้นที่มีราคาต่อหน่วยสูงจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีมากกว่า แม้ว่าบริษัทนั้นอาจมีมูลค่าตลาดน้อยกว่าก็ตาม โดยสูตรการคำนวณดัชนีดาวโจนส์ในปัจจุบันคือ
DJIA = ผลรวมของราคาหุ้นทั้ง 30 บริษัท / Divisor (0.1474) |
ค่า Divisor คือตัวหารพิเศษที่ปรับเปลี่ยนเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น การแยกหุ้น การจ่ายหุ้นปันผล หรือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของดัชนี โดย ณ ต้นปี 2025 อยู่ที่ 0.1474 ลดลงจาก 0.152 ในปี 2020 สะท้อนการปรับตัวของดัชนีตามตัวชี้วัดของตลาดในช่วงที่ผ่านมา
ยกตัวอย่างเช่น Goldman Sachs ราคา 574 เหรียญ มีผลต่อดัชนีมากกว่า Apple ราคา 253 เหรียญ แม้ Apple จะเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลก ในขณะที่ Verizon ราคาเพียง 40 เหรียญ มีผลต่อดัชนีน้อยมาก แม้จะเป็นบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ก็ตาม นี่คือลักษณะเฉพาะของดัชนีดาวโจนส์ที่ยังคงได้รับการยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน
หลักทรัพย์ที่มีสิทธิ์บรรจุเข้าดัชนีหุ้น Dow Jones จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
สำหรับคุณสมบัติของตัวหลักทรัพย์ที่จะถูกบรรจุเข้าในดัชนีหุ้น Dow Jones Industrial Average (DJIA) จะต้องเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีบทบาทต่ออิทธิพลทั่วโลก กล่าวคือ สินค้าหรือผลผลิตจากบริษัทนั้นจะต้องมีมูลค่าที่สูง โดยหลักการการคัดเลือกหลักทรัพย์ะเข้าดัชนีหุ้นดาวโจนส์นั้นจะเน้นที่ราคาของหุ้นเป็นหลัก แน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทไหนที่มีมูลค่าสูง และผ่านคำนวณการตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 30 อันแรก ก็จะถูกนำมาบรรจุเข้าดัชนีหุ้น Dow Jones นั่นเอง ซึ่งจะแตกต่างจากดัชนีอื่นๆของอเมริกา
ในทุกๆปีดัชนีดาวโจนส์จะมีการคำนวณดัชนีด้วยระบบ Wall Street Journal และ Dow Jones & Company อยู่เป็นประจำ เพื่อต้องการดูว่าจะต้องปรับหุ้นตัวไหนออกและควรนำหุ้นตัวไหนเข้ามาแทนที่ ตัวอย่างหุ้นที่โดนถอนออกจาก Dow Jones ก็คือ General Motors และ Citigroup เนื่องจากราคาหุ้น และขนาดทุนจดทะเบียนต่ำกว่าเกณฑ์การคำนวณนั้นเอง จากนั้นก็ถูกแทนที่โดย Travelers Companies และ Cisco Systems
ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี Dow Jones
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนี Dow Jones หลักๆเลยก็คือ ข่าวจากบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหุ้นดัชนีดาวโจนส์ โดยเฉพาะข่าวจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น American Express, Apple, Boeing, Caterpillar และ Chevron เป็นต้น ทั้งนี้ยังปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดาวโจนส์อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ปัจจัยจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา : ข้อนี้ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลดัชนีหุ้นดาวโจนส์เป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าเป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอัตราการว่างงานของในประเทศ ดุลการค้า อัตราการเติบโต GDP ของประเทศ อัตราเงินเฟ้อ ยอดการค้าปลีกและสินค้าคงทน ตลอดถึงจนถึงคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยในข้อนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศ ทำให้นักลงทุนสามารถคาดการ์ณราคาดัชนีหุ้นดาวโจนส์ได้นั่นเอง
ปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยนตราดอลลาร์สหรัฐ : ค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ถือว่าเป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อดัชนีดาวโจนส์ได้เช่นกัน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรจากการส่งออกหรือนำเข้าของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง ทำให้ดัชนีหุ้นเกิดแปรผันไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจัยจากข่าวสารจากธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา : ปัจจัยข้อสุดท้ายที่ส่งผลดัชนีดาวโจนส์ก็คือ การประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางของประเทศ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวชี้วัดว่า สถานเศรษฐกิจภาพรวมในประเทศนี้เป็นไปในทิศทางใด มีภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว ภาคอุตสาหกรรมชะลอการผลิตเป็นต้น
การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนี Dow Jones ในปี 2025
ดัชนีDow Jones คาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่องในปี 2025 โดยการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ชี้ว่าจะมีการซื้อขายในช่วงระหว่าง 38,000 ถึง 44,000 จุด การคาดการณ์รายเดือนแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากประมาณ 41,749 จุดในเดือนมกราคม 2025 และอาจไปถึง 55,623 จุดภายในเดือนธันวาคม 2025
มุมมองเชิงบวกนี้ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ การคาดการณ์การเติบโตของกำไรของบริษัท ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง และความแข็งแกร่งของตลาดโดยรวมในหุ้นขนาดใหญ่ ความเชื่อมั่นของตลาดยังได้รับการเสริมแรงจากรูปแบบผลการดำเนินงานในอดีตของดัชนี ที่แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่นักลงทุนกล้าเสี่ยงมักจะกินเวลา 18 ถึง 24 เดือน โดยวัฏจักรขาขึ้นปัจจุบันได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2023
แม้ว่าคาดว่าจะมีความผันผวนบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากตัวชี้วัดการหมุนเวียนในตลาดระหว่างหุ้นขนาดใหญ่และหุ้นขนาดเล็ก แต่ทิศทางโดยรวมยังคงเป็นบวก โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยและการเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องของบริษัทขนาดใหญ่ในภาคส่วนต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพ
ลงทุนในดัชนี Dow Jones ยังไง
สำหรับใครที่มีความสนใจที่อยากจะลงทุนในดัชนี Dow Jones สามารถเลือกวิธีการลงทุนได้ 2 ช่องทาง ดังต่อไปนี้
1.ลงทุนผ่านสัญญาฟิวเจอร์ส (Futures)
วิธีแรกคือการลงทุนผ่านสัญญาฟิวเจอร์ส (Futures) ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีดาวโจนส์โดยตรง วิธีนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์สูงและมีเงินทุนมาก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงสูงจากการใช้เงินลงทุนที่มาก นักลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างดี
2.ลงทุนผ่านสัญญา CFD (Contract for Difference)
วิธีที่สองซึ่งเหมาะสมกับนักลงทุนทั่วไปมากกว่าคือการลงทุนผ่านสัญญา CFD (Contract for Difference) ซึ่งเป็นตราสารที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงการลงทุนในดัชนีดาวโจนส์ได้ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่า วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถใช้เลเวอเรจ (Leverage) ได้ตั้งแต่ 10-100 เท่า ทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้มากกว่าเงินทุนที่มีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม การใช้เลเวอเรจสูงก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน นักลงทุนควรศึกษาและเข้าใจความเสี่ยงให้ดีก่อนการลงทุน
สำหรับการเริ่มต้นลงทุน นักลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขาย CFD อย่างเช่น Mitrade ได้ โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการซื้อขายที่รองรับทั้งบนสมาร์ทโฟนระบบ Android และ iOS รวมถึงคอมพิวเตอร์ระบบ Windows ทำให้สามารถซื้อขายได้สะดวกจากทุกที่ ผู้ที่สนใจควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีประวัติการให้บริการที่ดี และได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เทรดดัชนี Dow Jones ด้วย CFD กับโบรกเกอร์ชั้นนำของโลก ฝึกเทรดด้วยเงินเสมือนจริงฟรี $50, 000 ดอลลาร์ ↓↓↓
ดาวโจนส์ย้อนหลัง - วันสำคัญทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนี Dow Jones ย้อนหลัง
ในหัวข้อนี้เราจะทำการอธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีดาวโจนส์ย้อนหลัง โดยเริ่มต้นจากปี 2009 - 2024 ซึ่งเป็นประเด็นที่ค่อนข้างน่าสนใจโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ช่วงฟื้นตัวหลังวิกฤตการเงิน (2009-2015)
หลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ตลาดหุ้นได้แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง โดยดัชนี Dow Jones สร้างผลตอบแทนถึง 185% ในระยะเวลา 5 ปี การฟื้นตัวนี้ได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คงดอกเบี้ยในระดับต่ำและใช้มาตรการ Quantitative Easing (QE) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบ นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่กลับมาก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดหุ้นในช่วงนี้
2. ยุคทรัมป์ 1.0 (2016-2018)
การชนะการเลือกตั้งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นำมาซึ่งนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ที่ลดภาษีนิติบุคคลจาก 35% เหลือ 21% การผ่อนคลายกฎระเบียบทางธุรกิจ และนโยบาย America First ที่มุ่งเน้นการสร้างงานในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวขึ้น 48% ในเวลาเพียง 2 ปี สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
3. วิกฤต COVID-19 (2020)
การระบาดของ COVID-19 สร้างความตื่นตระหนกให้ตลาดการเงินทั่วโลก ส่งผลให้ดัชนี Dow Jones ร่วงลงอย่างรุนแรงถึง 38.6% ในระยะเวลาอันสั้น การล็อกดาวน์ทั่วโลกและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหนัก สร้างความผันผวนในตลาดที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2008
4. การฟื้นตัวหลัง COVID-19 (2020-2021)
การตอบสนองอย่างรวดเร็วของรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งการแจกเช็คเงินสดให้ประชาชน การเพิ่มวงเงินประกันการว่างงาน และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ส่งผลให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวแบบ V-Shape อย่างรวดเร็ว โดยดัชนีปรับตัวขึ้น 76.8% จากจุดต่ำสุด การพัฒนาวัคซีนที่รวดเร็วและการปรับตัวของภาคธุรกิจสู่ดิจิทัลก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
5. ยุคเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย (2022-2024)
ในช่วงปี 2022 เศรษฐกิจโลกเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากระดับใกล้ 0% สู่ระดับสูงกว่า 5% ทำให้ตลาดหุ้นเผชิญกับความผันผวนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารกลางเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 ดัชนี Dow Jones ก็แสดงความแข็งแกร่ง โดยสามารถทะลุระดับ 38,000 จุดได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในเดือนมกราคม 2024 และทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งที่ 45,073 จุดในเดือนธันวาคม 2024
(ที่มาของรูปภาพ atfx.com และ tradingview)
สรุป
เนื้อหาในบทความนี้ไม่ได้เป็นการชักชวนให้ทุกท่านเข้ามาลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average (DJIA) ) ดัชนีหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา และเป็นดัชนีที่ถูกนำมาใช้วัดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับมาที่สุดอีกด้วย พร้อมอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของดัชนีดังกล่าว พร้อมนำข้อมูลการคาดการ์ณการแนวโน้มดัชนี Dow Jones ในปี 2025 มาให้ทุกคนได้ศึกษาเป็นแนวทางการลงทุนในอนาคตอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นนักลงทุนทุกท่านจำเป้นที่จะต้องศึกษารายละเอียดข้อมูลให้ดีก่อนลงทุนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดารสูญเสียสินทรัพย์ ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน