แนวโน้มค่าเงินบาท 2023 ! มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลกต่อประเทศไทย
บทความนี้ จะพานักลงทุนดูแนวโน้มของค่าเงินบาทในปี 2023 รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น-อ่อนค่าลง และมุมมองเศรษฐกิจทั่วโลกต่อประเทศไทยในปี 2023 ว่าจะเป็นอย่างไร นักลงทุนควรลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้างเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุนให้ได้กำไรกลับมา
รีวิวค่าเงินบาทในปี 2022
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ค่าเงินบาทอยู่ในทิศทางอ่อนค่ามาตั้งแต่ต้นปี 2022 อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี โดยอยู่ที่ 38.31 บาท/ดอลลาร์ หรือ อ่อนค่าลงกว่า 14% มีสาเหตุมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นมากจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ Fed และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย แต่ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.85 บาท/ดอลลาร์ จากการที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว หนุนดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มปรับดีขึ้นในปีหน้า ทำให้ ณ สิ้นปี 2023 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นเล็กน้อยอาจอยู่ที่ระดับ 36.5 บาท/ดอลลาร์
ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2023
- แนวโน้มค่าเงินบาทในไตรมาสที่ 1
“กรุงไทย” คาดไตรมาสแรกจะอยู่ที่ระดับ 33.00 บาท/ดอลลาร์ หรือลงต่ำกว่าระดับดังกล่าวได้ จากปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 34.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงต้นปี 2566 เปิดตลาดเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในภูมิภาค หรือแข็งค่าเฉลี่ยแล้ว 2% เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งทิ้งห่างอันดับ 2 ที่มีการแข็งค่าเพียงกว่า 1% เท่านั้น โดยกรอบบนจะอยู่ที่ 34.00-34.50 บาทต่อดอลลาร์
- แนวโน้มค่าเงินบาทไตรมาส 2
ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) คาดระดับแนวโน้มค่าเงินมีโอกาสจะเห็นในระดับต้น ๆ 32 บาท/ดอลลาร์ แต่คาดว่าจะไม่แข็งค่ามากกว่านั้น เนื่องจากการเปิดเมืองของจีนหลังจากนี้ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามเพราะการเปิดเมืองอาจทำให้การติดเชื้อโควิด-19 สูง ซึ่งมาตรการต่างๆ ในอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนได้
- แนวโน้มค่าเงินบาทไตรมาส 3
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ที่เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันจนอาจอ่อนค่าไปแตะระดับ 36.00-36.50 บาท/ดอลลาร์ ได้อีกครั้ง แต่ต้องระวังความผันผวนของค่าเงินบาทที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
- แนวโน้มค่าเงินบาทไตรมาส 4
SCB CIO มองค่าเงินบาทไทย สิ้นปี 2566 น่าจะอยู่ที่ 33-34 บาท/ดอลลาร์ นักลงทุนต้องป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อลงทุนในต่างประเทศ คาดเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ในการประชุม 3 ครั้งของปีนี้ในเดือน ก.พ. มี.ค. และ พ.ค. หลังจากนั้นจะค้างดอกเบี้ยกรอบบนไว้ที่ 5.25% ตลอดทั้งปี และ มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 67
การแข็งค่าและการอ่อนค่าของเงินบาทมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร?
ค่าเงินบาทของไทย เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจของไทยในภาพรวม เช่น การนำเข้าและการส่งออกสินค้า ซึ่งส่งผลต่อระดับต้นทุนการผลิต และกำไรของผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนของนักลงทุน และอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP)
จะเกิดอะไรขึ้นหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น?
ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการส่งออกจากกำไรที่ ลดลง หรือกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศได้เช่นกัน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดทุนของกิจการ ปัญหาการว่างงาน และจะส่งผลต่อการอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หน่วย (Unit) : ล้านเหรียญสหรัฐ | ธ.ค2565 | ม.ค.–ธ.ค.2565 |
มูลค่าการค้ารวม | 44,471.5 -13.2% | 590,258.5 +9.5% |
มูลค่าการส่งออก (Export value) | 21,718.8 -14.6% | 287,067.9 +5.5% |
หักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย | 19,610.3 -12.5% | 248,735.3 +4.7% |
มูลค่าการนำเข้า (Import value) | 22,752.7 -12.0% | 303,190.7 +13.6% |
ดุลการค้า (Trade Balance) | -1,033.9 | -16,122.8 |
จากตาราง การส่งออกไปประเทศคู่ค้าสำคัญส่วนใหญ่แล้วล้วนมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก ที่มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศ อีกทั้งยังเกิดความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อออกมามากแล้ว ขณะที่การส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นหดตัวตามภาคการผลิตและการบริโภคในประเทศ เกิดการชะลอตัวจากผลกระทบของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวด
จะเกิดอะไรขึ้นหากเงินบาทอ่อนค่า?
เงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้เงินบาทในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเที่ยวหรือศึกษาต่อต่างประเทศสูงขึ้น แต่เป็นผลดีกับการส่งออก เพราะรายได้ที่ได้รับมาเป็นสกุลเงินต่างประเทศสามารถแลกกลับมาเป็นเงินบาทในจำนวนค่าเงินที่มากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงในรอบนี้เกิดจาก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed เริ่มลดขนาดงบดุล
ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 65 ที่ผ่านมา Fed ปรับลดขนาดงบดุล ซึ่งในงบดุลประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย (MBS) โดยปล่อยให้ตราสารเหล่านี้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยที่ไม่มีการซื้อเพิ่ม ส่งผลให้ปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลดลง เงินไหลกลับเข้ามา ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
- การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่เปลี่ยนมาใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ Fed ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่ 1.75% เป็นผลมาจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ Fed ขณะของไทยในเดือนเดียวกันยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ทำให้มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 1.25% เมื่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย การลงทุนในสหรัฐฯ จึงมีความน่าสนใจมากกว่า เงินจึงไหลออกไปยังสหรัฐฯ และทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงนั่นเอง
ส่งผลอะไรต่อพอร์ตนักลงทุน
- เวลาเงินบาทอ่อนค่า
นักลงทุนจะสามารถซื้อหุ้นได้ในปริมาณที่น้อยลง จากการแลกเงินสกุลต่างประเทศได้น้อยลง หุ้นส่งออกจะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เกษตร เป็นต้น หุ้นท่องเที่ยว และกลุ่มที่มีรายได้จากต่างประเทศ รวมไปถึงนักลงทุนที่ถือเงินดอลลาร์ด้วย เพราะจะได้กำไรจากค่าเงินเมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาท และผู้ที่ถือครองทองคำแท่งก็ได้ประโยชน์เช่นกัน
- เวลาเงินบาทแข็งค่า
สลับกันกับเงินอ่อนค่าเลย เพราะ ผลตอบแทนในรูปเงินบาทน้อยลง ส่วนคนที่จะแลกเงินเพื่อนำไปลงทุน จะกลายเป็นโอกาสเพราะเงินเราแพงขึ้น ก็จะสามารถแลกเงินสกุลต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้ซื้อหุ้นต่างประเทศในจำนวนที่มากขึ้น หุ้นกลุ่มที่เน้นการนำเข้าจะได้ประโยชน์ เช่น TVO บริษัทน้ำมันพืชที่นำเข้าถั่วเหลือง
ผลกระทบของเศรษฐกิจโลกในอนาคตต่อประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าในอนาคต ความเสี่ยงและความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ไม่ลดลง เพราะปัจจัยสำคัญที่กำหนดค่าเงินบาทมาจากต่างประเทศ เช่น จากอเมริกา หรือจาก Brexit ในยุโรป ดังนั้น ค่าเงินจะขึ้นหรือลงไม่มีใครสามารถคาดเดาได้อยู่แล้ว
เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย
เงินเฟ้อ จะลดลงทั่วโลกในปี 2566 แต่ความเสียหายยังมีสูง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่า เงินเฟ้อโลกจะทะลุ 6.5% ในปีนี้ลดลงจาก 8.8% ในปี 2565 ขณะที่ เขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาลดลงน้อยกว่า เงินเฟ้อน่าจะเบาลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 8.1% ในปี 2566
เศรษฐกิจชะลอตัวและถดถอย
ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปี 2566 จะขยายตัวแค่ 2.7% ลดลงจาก 3.2% ในปี 2565 ส่วนปี 2566-2567 ก็ราว ๆ นั้น อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจโลกยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิค แต่หลายคนอาจรู้สึกเหมือนเศรษฐกิจถดถอยในปี 2566 เนื่องจากการผสมโรงกันระหว่างเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อสูง และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
จีนเปิดประเทศ
จีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่เคยเข้มงวด ผลพวงจากการประท้วงของประชาชนในหลายพื้นที่อย่างไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก เริ่มเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. ถือเป็นโมเมนตัมใหม่ให้การฟื้นตัวของโลก สร้างแรงหนุนให้กับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ ในเวลาเดียวกันการเปลี่ยนนโยบายกะทันหันของจีนก็แบกรับความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เพราะต่อไปอาจเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่อันตรายน้อยลงหรือมากกว่าเดิม
บริษัทล้มละลาย
ตัวอย่างเช่นในสหรัฐ ปี 2564 ธุรกิจ 16,140 แห่งยื่นขอล้มละลาย ปี 2563 จำนวน 22,391 รายเทียบกับ 22,910 รายในปี 2562 แต่เทรนด์นี้กำลังสวนทางในปี 2566 ท่ามกลางราคาพลังงานและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น บริษัทประกันสินเชื่อ Allianz Trade ประเมินว่าการล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในปี 2565 และ 19% ในปี 2566 สูงกว่าระดับก่อนโควิดมากคงต้องจับตาดูกันต่อไป
โลกาภิวัตน์สั่นคลอน
การผันแปรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการค้าและเศรษฐกิจเสรีไปสู่การกีดกันทางการค้าและหันมาพึ่งพาตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสำคัญเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ ในอนาคตอันใกล้การนำเข้าจะแพงขึ้นและเศรษฐกิจจะชะลอลงในทุกประเทศที่
2 ปัจจัยเสี่ยงรั้งการเติบโต
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจทำให้การส่งออกของไทยชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ได้ ซึ่งความกังวลเหล่านี้ ยังมีผลต่อการท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ลดลงได้ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกยังมาจาก การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ หรือภูมิรัฐศาสตร์ ที่หากรุนแรงมากขึ้น อาจกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทยให้ได้รับผลกระทบมากขึ้น
ยังมีสิ่งที่น่าห่วงอีกคือ หนี้ครัวเรือน และหนี้เอกชนในประเทศโดยเฉพาะหนี้เอสเอ็มอี ต่างๆ ที่อยู่ระดับสูง จากต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
การท่องเที่ยว
เศรษฐกิจไทย ปี 2566 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ที่ 3.4% ปัจจัยบวกหลัก ๆ มาจากท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลคาดการณ์ท่องเที่ยวมาสู่ 21.4ล้านคนปีนี้ แต่หากจีนเปิดประเทศเร็วขึ้น คาดนักท่องเที่ยวอาจเพิ่มขึ้น เป็น 22.5 ล้านคน
การส่งออก
ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยหลัก ๆ มาจากความเสี่ยง จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของประเทศต่าง ๆ ได้ ผ่านการส่งออกที่ต้องจับตาส่งผลให้ธปท. ปรับประมาณการส่งออกลดลงมาก เหลือเติบโตเพียง 1% ในปี2566 และหากความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น อาจส่งผลกระทบให้ส่งออกอาจหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ได้
เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่า สกุลเงิน USD หรือ EUR จะเป็นอย่างไร
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาจมีไม่มาก แต่ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผ่านรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่ได้แย่ลงอย่างที่ตลาดเคยกังวล รวมถึงภาพเงินเฟ้อที่ชะลอลงมากขึ้น อาจช่วยหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรงตัวที่ระดับ 64.9 จุด (หรืออาจปรับตัวขึ้นเล็กน้อยได้) นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดหลังจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดตีความถ้อยแถลงของประธานเฟดอาจไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยไปมากนักจากระดับล่าสุด
และรายงานข้อมูลตลาดแรงงานล่าสุดในวันศุกร์ที่ผ่านมากลับออกมาดีเกินคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอีกครั้ง หลังรายงานข้อมูลตลาดแรงงานล่าสุดที่ดีกว่าคาด นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหากผลประกอบการรวมถึงแนวโน้มผลประกอบการในอนาคต ออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจส่งผลให้บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาได้
เงินยุโรป (EUR)
ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่ดีขึ้นกว่าคาด จะช่วยหนุนให้บรรดานักลงทุนสถาบันและบรรดานักวิเคราะห์มีมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนโดย Sentix (Investor Confidence) เดือนกุมภาพันธ์ ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -12 จุด ดีขึ้นจากระดับ -17.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า(ดัชนีน้อยกว่า 0 สะท้อนมุมมองเชิงลบ ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า) ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 4 โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า เศรษฐกิจอังกฤษ อาจขยายตัวเพียง +0.3% ชะลอลงหนัก จากที่ขยายตัวกว่า +1.9% ในไตรมาสก่อนหน้า กดดันโดยภาวะเงินเฟ้อสูงและผลกระทบของราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูงจนกดดันการใช้จ่ายของครัวเรือน
ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดรอติดตามรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนฝั่งยุโรปอย่างใกล้ชิด เพราะหากผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจยังคงกดดันให้บรรยากาศในตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นและกดดันให้เงินยูโร (EUR) มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้
เนื่องจากธนาคารกลางทั้ง ECB และ FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น ค่าเงินยูโรและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่าขึ้นในระดับที่แตกต่าง กันเมื่อเทียบกับเงินบาท เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง เราจึงเลือกซื้อสกุลเงิน USD หรือ EUR ก็ได้
นักลงทุนมือใหม่อาจเป็นกังวลว่าจะเทรดอย่างไร เทรดกับใครดี โบรกเกอร์ไหนน่าเชื่อถือและน่าลงทุนที่สุด ผู้เขียนขอเสนอแพลตฟอร์ม Mitrade เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายเหมาะสมหรับมือใหม่หัดเทรดสุด ๆ มากไปกว่านั้นยังมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ไม่มีค่าคอมมิชชั่น และสเปรดต่ำ รองรับการเทรด Forex ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมัน ดัชนี และตราสารอื่น ๆ อีกมากมายให้นักลงทุนสามารถเข้าไปเลือกเทรดทำกำไรตามสภาวะของตลาดได้เลย
นักลงทุนควรรับมืออย่างไร?
ก่อนตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรนำปัจจัยเรื่องค่าเงินมาพิจารณาด้วยว่าหุ้นกลุ่มใดจะได้รับประโยชน์ หุ้นกลุ่มใดจะเสียประโยชน์ หรือไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทเลย เพราะปัจจัยค่าเงินมีผลกระทบต่อราคาหุ้น
ผู้ที่ลงทุนในตลาดหุ้นควรเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และ อาหาร เพราะสิ่งเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากการแปลงเงินดอลลาร์กลับมาเป็นเงินบาทที่เพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มพลังงาน โรงไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่าเนื่องจากมีการกู้เงินสกุลเงินดอลลาร์มาใช้
ผู้ที่มีทองคำในพอร์ต ถือเป็นจังหวะขายทำกำไร แล้วเหลือไว้ในพอร์ตประมาณ 10% เพราะเมื่อเงินบาทอ่อนค่า ราคาทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มมากขึ้น
การถือครองเงินดอลลาร์ ถือเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดแล้ว เพราะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้รับประโยชน์กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น เลือกลงทุนสกุลเงินดิจิทัลประเภท Stable coin และกองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ
สรุป ตลาดการเงินในการลงทุนยังมีปัจจัยความเสี่ยงหลายประการ ทั้งความเสี่ยงสงครามและความกังวลเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินเฟด ผู้เขียนอยากแนะนำว่านักลงทุนควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน