ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ (US Dollar Index) คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ถ้าพูดถึงดัชนีดอลล่าร์สหรัฐคงไม่ใช่สินทรัพย์ที่นักลงทุนคุ้นหูได้มากเท่ากับดัชนีหุ้น ทองคำ หรือ น้ำมัน แต่เชื่อหรือไม่ว่านี่คือสินทรัพย์ที่ทรงอิทธิพลตัวหนึ่งในตลาดการเงินโลกและแฝงอยู่ในเกือบทุกการเทรดของนักลงทุนอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว การเปลี่ยนแปลงของดัชนีตัวนี้ยังส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ทั้งโลกและทำให้หุ้นในตลาดหุ้นหนึ่งทะยานขึ้นหรือดิ่งฮวบลงได้ ดังนั้นหากเราเป็นนักลงทุนแต่ยังไม่รู้จักว่าดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ (Dollar Index) คืออะไรก็คงไม่ได้แล้ว คราวนี้เราจึงขอชวนทุกท่านมาไขปัญหานี้กัน


ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ (Dollar Index) คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อนักลงทุน

ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ (Dollar Index, US Dollar Index, USDX, DXY, DX) คือ เครื่องชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ของโลกที่ถ่วงน้ำหนักอยู่ในตระกร้าดัชนี นั่นคือหากโดยรวมแล้วสกุลเงินในตะกร้าอ่อนค่าลง นั่นหมายความว่าค่าเงินดอลลาร์จะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นโดยเปรียบเทียบและดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง


สาเหตุที่ต้องวัดการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์ด้วยตะกร้าถ่วงน้ำหนักของดัชนีก็เพราะค่าเงินดอลลาร์มีอิทธิพลต่อทั้งตลาดเงินและเศรษฐกิจโลก การวัดค่าเงินดอลลาร์ด้วยการเทียบค่ากับสกุลเงินใดสกุลหนึ่งอาจไม่ได้ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์ที่ชัดเจนพอ จึงมีการจัดทำดัชนีดอลลาร์สหรัฐขึ้นมาด้วยการถ่วงน้ำหนักค่าเงินดอลลาร์กับสกุลเงินหลักของโลกอีก 6 สกุลเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ที่ชัดเจนขึ้น 


สกุลเงินหลักของโลกอีก 6 สกุลที่ถ่วงน้ำหนักในตะกร้า ได้แก่ 


 สกุลเงิน   สัดส่วน
ยูโร (EUR)   57.6%
เยน (JPY)   13.6%
ปอนด์ (GBP)   11.9%
ดอลลาร์แคนาดา (CAD)   9.1%
โครนาสวีเดน (SEK)   4.2%
ฟรังก์สวิส (CHF)   3.6%


นักลงทุนในตลาดโลกมักจับตามองความเคลื่อนไหวของดัชนีดอลลาร์จาการสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลหลักที่เคลื่อนไหวในตะกร้าซึ่งทั้งหมดนั้นก็เป็นสกุลเงินขนาดใหญ่ที่กระทบกับเศรษฐกิจส่วนอื่น ๆ ในโลก และยังส่งผลต่อราคาสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เทียบค่าด้วยเงินดอลลาร์ เช่น ราคาทองคำ หรือ ราคาน้ำมันอีกด้วย


นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของดัชนีดอลลาร์ยังสะท้อนการคาดการณ์ของนักลงทุนต่อปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ด้วย เช่น การดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หรือบรรยากาศความเสี่ยงที่นักลงทุนมองต่อภาพการลงทุนในปัจจุบัน


วิธีคำนวณ US Dollar Index

การคำนวณดัชนีดอลลาร์ทำได้โดยแทนค่าจากสูตรดัชนีถ่วงน้ำหนักดังนี้


USDX = 50.14348112 × EURUSD-0.576 × USDJPY0.136 × GBPUSD-0.119 × USDCAD0.091 × USDSEK0.042 × USDCHF0.036

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาดัชนีดอลล่าร์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาดัชนีดอลลาร์ก็ไม่ต่างจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์ นั่นคือปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) เงินดอลลาร์ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่กำหนดค่าเงินของสกุลเงินอื่น ๆ ที่เหลืออีก 6 สกุลในตะกร้าถ่วงน้ำหนักด้วย 


● อัตราดอกเบี้ย 

คือผลตอบแทนสำหรับการถือสกุลเงินดอลลาร์ในช่วงขณะใดขณะหนึ่ง หากธนาคารกลางสหรัฐมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ (Demand) ก็จะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น


● นโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ 

เช่น การบริหารปริมาณเงินในระบบ ซึ่งหากมีการพิมพ์เงินออกมาในระบบจำนวนมาก ทำให้ความต้องการขายเงินดอลลาร์ (Supply) มีสูงขึ้นจะกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลดลง


● บรรยากาศความเสี่ยงในตลาดโลก 

เงินดอลลาร์มีอีกหนึ่งฐานะในระบบการเงินโลก นั่นคือได้ชื่อว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ทำให้หากนักลงทุนในโลกมองว่าระบบเศรษฐกิจการเงินมีความเสี่ยงสูงขึ้น ไม่ว่าจะจากทั้งด้านสงคราม ความขัดแย้งหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ความต้องการถือเงินดอลลาร์ (Demand) จะสูงขึ้น ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่า และดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น


● แนวนโยบายทางการเงินของประเทศอื่นที่มีสกุลเงินถ่วงน้ำหนักในตะกร้าดัชนีดอลลาร์ 

เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป/ ญี่ปุ่น ที่จะส่งผลให้ค่าเงินยูโรหรือเยนในตะกร้าถ่วงน้ำหนักเปลี่ยนไป หากธนาคารกลางเหล่านี้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบ และทำให้ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลงในที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลล่าร์กับราคาสินทรัพย์การเงินต่าง ๆ

ค่าเงินดอลลาร์ถูกใช้เป็นหน่วยเทียบราคาของสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หรือราคาหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐ การเปลี่ยนแปลงของดัชนีดอลลาร์สหรัฐจึงสามารถทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลล่าร์กับราคาสินทรัพย์การเงินต่าง ๆ เช่น


 ●  ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์


ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์

 

เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีหน่วยซื้อขายเป็นดอลลาร์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทองคำ ยางพารา หรือสินค้าเกษตร ทำให้เมื่อดัชนีดอลลาร์เปลี่ยนแปลงจะส่งผลในทางตรงข้ามกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย นั่นคือ หากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้น (ดอลลาร์แข็งค่า) หมายถึงว่าผู้ซื้อจะใช้ดอลลาร์น้อยลงในการแลกเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่น ทองคำปรับตัวลดลง


 ●  ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับผลตอบแทนจากตลาดหุ้นอื่น 


ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับผลตอบแทนจากตลาดหุ้นอื่น




การแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์สามารถบ่งชี้ทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุน (Fund Flow) ที่เข้าออกระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกได้ นั่นคือหากดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้นอาจหมายถึงมีการนำเงินที่ขายสินทรัพย์จากตลาดอื่น ๆ ในโลกมาเปลี่ยนกลับเป็นสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้เบื้องต้นว่ามีการขายดอลลาร์เพื่อนำเงินออกไปซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดโลก ส่งผลให้ผลตอบแทนในตลาดอื่นสูงขึ้น


 ●  ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับสกุลเงินอื่นในตะกร้าถ่วงน้ำหนัก 


ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีดอลลาร์แปรผันตรงข้ามกับสกุลเงินอื่นในตะกร้าถ่วงน้ำหนัก



สกุลเงินอื่น ๆ เช่น ยูโร เยน หรือสวิสฟรังก์ที่ถ่วงน้ำหนักในตะกร้าดัชนีจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับดัชนีดอลลาร์ นั่นคือ หากยูโรแข็งค่า ก็จะส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ปรับลงได้สูงเนื่องจากมีการถ่วงน้ำหนักไว้มากที่สุดในตะกร้าดัชนี


การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีดอลล่าร์ในประวัติ

ดัชนีดอลลาร์ถูกสร้างขึ้นโดยธนาคารกลางสหรัฐตั้งแต่ปี 1973 หลังการล่มสลายของข้อตกลงเบรตันวูดส์เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ของโลกซึ่งเริ่มมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นภายหลังจากการประกาศลอยตัวจากทองคำ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคือ



แนวโน้มดัชนีดอลล่าร์


1. ช่วงปี 1970s – 1985 การฟื้นตัวจากเศรษฐกิจถดถอย

หลังการประกาศยกเลิกมาตรฐานทองคำเป็นช่วงเดียวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเริ่มสิ้นสุดลง พร้อมกับวิกฤตราคาน้ำมันที่เริ่มถีบตัวสูงที่นำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อ เป็นช่วงที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลงจนถึงปลาย 1970s ที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราสูงแตะ 20% เพื่อหยุดยั้งอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น นับเป็นการหยุดการปรับตัวลงของดัชนีดอลลาร์ในรอบนี้ได้


หลังปี 1980 ภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นพร้อมกับราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลง ซึ่งแม้จะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลงแล้ว แต่ก็เป็นช่วงที่การค้าในโลกเริ่มขยายตัวและความต้องการใช้ดอลลาร์เริ่มเพิ่มมากขึ้นทำให้ดัชนีดอลลาร์เริ่มพุ่งทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดของรอบแรกที่ 163.83 วันที่ 5 มีนา 1985


2. ช่วง 1985 – 2005 วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียและ 9/11

ถัดจากนั้นสหรัฐได้กลับมาใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปี 1988 แม้ว่าดัชนีดอลลาร์จะตอบรับด้วยการปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ถูกกดดันด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแบบอ่อน ๆ ในสหรัฐ และความไม่สงบของเศรษฐกิจโลกอย่างวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียช่วงปี 1997 


ช่วงปี 2000 – 2001 ยังเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในระบบ คือ เกิดวิกฤตดอทคอม และ เหตุการณ์ 9/11 ทำให้ความคาดการณ์ต่อความเสี่ยงของนักลงทุนพุ่งสูงขึ้นพร้อม ๆ กับความต้องการดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ได้กลับมาพุ่งทะยานขึ้นอีกครั้งจนทำจุดสูงสุดใหม่ของรอบในปี 2001 หลังจากนั้นในปี 2002 สหภาพยุโรปได้เปิดตัวสกุลเงินใหม่ EUR โดยเริ่มใช้ที่เรท $0.90 ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นและดัชนีดอลลาร์ค่อย ๆ ชะลอตัวลง 


3. ช่วงหลังปี 2005 วิกฤตซับไพร์มและ QE

ความผันผวนของดัชนีดอลลาร์เกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงวิกฤตซับไพร์มที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2007 ทำให้ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มสั่นคลอน ค่าเงิน Euro แข็งค่าขึ้นมาที่ $1.47 ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลงต่ำที่สุดแถว 77 และเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐจนรัฐบาลต้องส่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาเป็น QE (เพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบและลดดอกเบี้ยเข้าใกล้ศูนย์) ถึง 3 ครั้งตั้งแต่ปลายปี 2008 – 2013 กดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง จนเริ่มกลับมาแกว่งตัวในโซน 100 – 90 ได้ในปี 2015 เมื่อธนาคารกลางสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณยุติ QE และขึ้นดอกเบี้ย แต่การแพร่ระบาดของโควิดในปี 2020 ก็ทำให้ต้องกลับมาใช้ QE อีกครั้งและกดดันดัชนีดอลลาร์ในช่วงสั้น ๆ ก่อนการถอนมาตรการจะส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์กลับมาทะยานขึ้นแต่ 114.6 ในปี 2022 

มุมมองต่อดัชนีดอลลาร์

 ●  มุมมองต่อดัชนีดอลลาร์ในเชิงพื้นฐาน

ในปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0.25% ไปถึง 4.5% ทำให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกว่า 12% ทำจุดสูงสุดในรอบกว่าสองทศวรรษ แต่สำหรับปี 2023 ดัชนีดอลลาร์ปรับลดมาแล้ว 1.91% YTD และยืนอยู่ที่ระดับ 101.55 (3 พฤษภา 2023) ท่ามกลางการคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ช่วงชะลอตัวและการคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ 


โดย Nick Bennenbroek, Brendan McKenna, และ Jessica Guo นักวิเคราะห์ค่าเงินจาก Wells Fargo มองว่าดอลลาร์จะสามารถแข็งค่าขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2023 แต่ก็จะเริ่มอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือจากการที่นักลงทุนจะเริ่มหันไปใช้สกุลเงินอื่น ๆ แทน แม้จะมีความกังวลกับนโยบายการพิมพ์ดอลลาร์ออกมาเป็นจำนวนมากที่กดดันให้ดัชนีดอลลาร์ลดลง แต่ความต้องการถือพันธบัตรรัฐบาล(จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น) จะช่วยชดเชยและดึงดัชนีดอลลาร์ให้ปรับขึ้นได้ และคาดว่าท่าทีของธนาคารสหรัฐต่อมาตรการทางการเงินจะเริ่มมีทีท่าอ่อนลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนลงได้ถึง 9.5% ในสิ้นปี 2024


สำหรับ JP Morgan ให้มุมมองที่เป็นกลางต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีดอลลาร์ในปี 2023 นี้ เนื่องจากราคาได้ซึมซับข่าวร้าย เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือการถดถอยของเศรษฐกิจไปแล้ว ขณะที่ในปีนี้เราจะได้เห็นการฟื้นตัวของภาคส่วนอื่น ๆ ในโลก เช่น ญี่ปุ่น และเอเชีย ที่จะมาดึงเงินทุนให้ไหลออกไป ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ทำให้ดัชนีดอลลาร์ยังมีช่วงให้ปรับตัวขึ้นอีกไม่มาก


 ●  มุมมองต่อดัชนีดอลลาร์ในเชิงเทคนิค


ดัชนีดอลลาร์ในเชิงเทคนิค


ในภาพใหญ่รายสัปดาห์ หลังจากที่ดัชนีดอลลาร์ขึ้นไปทำจุดสูงสุดของรอบไว้ที่ราว 114 จะพบว่าเครื่องมือ RSI ก็บ่งบอกสัญญาณขัดแย้งทำให้เกิดการปรับตัวของราคากลับลงมายืนอยู่ที่ 101 พร้อมกับ RSI เริ่มปรับตัวอยู่ในโซนต่ำ ทำให้โอกาสที่ดัชนีดอลลาร์จะปรับตัวลงต่อยังมีอยู่อย่างจำกัดและน่าจะแกว่งตัวรอปัจจัยใหม่ โดยมีแนวรับใกล้เคียงที่ 100 และ 96 ตามลำดับ


แนะนำ 3 วิธีในการลงทุนดัชนีดอลล่าร์

สำหรับการทำกำไรจากดัชนีดอลลาร์ที่เรานำมาฝากกันในคราวนี้สามารถทำได้ 4 วิธี ได้แก่


1. ซื้อเงินดอลลาร์

การแลกเงินหรือการซื้อเงินดอลลาร์แบบสป็อตเป็นวิธีลงทุนบนค่าเงินดอลลาร์แบบดั้งเดิมที่สุด นั่นคือการนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์มาเก็บไว้ และเมื่อเรทค่าเงินเปลี่ยนแปลงก็ไปแลกกลับมาโดยคิดส่วนต่างของราคาซื้อขายเป็นกำไรที่จะได้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการไปติดต่อร้านแลกเงินหรือหากต้องการเทรดค่าเงินจำนวนมากก็สามารถติดต่อดีลเลอร์ได้


อย่างไรก็ดีวิธีเทรดดัชนีดอลลาร์นี้ค่อนข้างมีข้อจำกัดสำหรับนักลงทุนที่มีเงินทุนไม่มาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินในระยะสั้นมักมีส่วนต่างผลกำไรไม่มาก ทำให้การซื้อดอลลาร์แบบสป็อตด้วยเงินจำนวนน้อยค่อนข้างยากที่จะได้กำไร และจะสามารถทำกำไรได้เฉพาะในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าเท่านั้น


คุณสมบัติ

● ข้อดี: ได้ถือและเป็นเจ้าของเงินดอลลาร์เอง

● ข้อเสีย: ทำกำไรได้เฉพาะทิศบาทอ่อนค่า มีส่วนต่างที่ทำกำไรในระยะสั้นได้ยาก ต้องไปแลกเงินที่สาขาผู้ให้บริการเอง

● ขั้นต่ำของการลงทุน: ขั้นต่ำ $50

● เหมาะกับนักลงทุน: ผู้ที่ต้องใช้เงินดอลลาร์อยู่แล้ว

● ระดับความแนะนำ: ⭐️⭐️


2. ซื้อกองทุนตลาดเงินต่างประเทศ

การซื้อกองทุนเป็นการลงทุนที่อาศัยตัวกลางคือผู้จัดการกองทุนช่วยจัดการเงินที่รวบรวมจากนักลงทุนไปบริหารจัดการตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินต่างประเทศที่ไม่ประกันความเสี่ยงค่าเงินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการลงทุนในค่าเงินดอลลาร์ เนื่องจากผลตอบแทนตลาดเงินมักมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากจึงสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินได้ เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส (SCBTMFPLUS-A)


การลงทุนด้วยวิธีนี้ทำได้ด้วยการเปิดบัญชีกองทุนแล้วส่งคำสั่งซื้อขายผ่านตัวแทนหรือแอป และได้ผลตอบแทนเป็นส่วนต่างราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งมีข้อดีในด้านที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ก็สามารถทำกำไรได้เฉพาะช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าเท่านั้น และเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ไม่อาศัยอัตราทดจึงสามารถทำกำไรในช่วงสั้นได้ยาก และเหมาะกับการถือเพื่อทำกำไรในระยะกลางถึงยาวเป็นหลัก


คุณสมบัติ

● ข้อดี: ใช้เงินลงทุนไม่มาก ส่งคำสั่งซื้อขายได้ง่าย

● ข้อเสีย: ทำกำไรได้เฉพาะทิศบาทอ่อนค่า มีส่วนต่างให้ทำกำไรในระยะสั้นได้ยาก ซื้อขายได้แค่วันละ 1 ครั้งเฉพาะวันทำการ

● ขั้นต่ำของการลงทุน: ขั้นต่ำ 100 บาท (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุน)

● เหมาะกับนักลงทุน: เน้นการลงทุนระยะกลางถึงยาว

● ระดับความแนะนำ: ⭐️⭐️⭐️


3. เทรด CFD

CFD หรือ Contract for Difference เป็นตราสารอนุพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ก็สามารถทำกำไรจากการถือสัญญาที่อ้างอิงราคาสินทรัพย์นั้นได้ ซึ่ง CFD ของดัชนีดอลลาร์นั้นสามารถเทรดบน DXY ได้โดยตรงในแบบที่ไม่ต้องอ้างอิงกับค่าเงินบาทเลย วิธีเทรด CFD ทำได้ไม่ยากด้วยการเปิดบัญชีผ่านโบรกเกอร์ ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ใช้เอกสารน้อย และเมื่อได้รับการยืนยันเปิดบัญชีก็สามารถโอนเงินเพื่อเริ่มเทรดได้ทันที


การเทรดดัชนีดอลลาร์ด้วย CFD ให้ความสะดวกและคล่องตัวกับนักลงทุนจากการใช้อัตราทด ช่วยให้แม้ใช้เงินลงทุนไม่มากบวกกับการเปลี่ยนแปลงทศนิยมเพียงไม่กี่ตำแหน่งก็สร้างผลกำไรให้กับนักลงทุนได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงอีกด้วย จึงเหมาะมาก ๆ กับนักลงทุนที่ต้องการเทรดระยะสั้น ทั้งนี้การเทรด CFD เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนควรศึกษาผลิตภัณฑ์ก่อนเริ่มต้นลงทุน


คุณสมบัติ

● ข้อดี: ใช้เงินลงทุนน้อย มีอัตราทด ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง สเปรดต่ำ เปิดบัญชีได้ง่าย

● ข้อเสีย: นักลงทุนไม่ได้เป็นเจ้าของดอลลาร์, การลงทุนมีความเสี่ยงสูง

● ขั้นต่ำของการลงทุน: บางโบรกเกอร์อาจมีขั้นต่ำ $50 ดอลลาร์

● เหมาะกับนักลงทุน: การเทรดระยะสั้น ใช้เงินลงทุนไม่มาก ซื้อขายเร็ว

● ระดับความแนะนำ: ⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️


เทรดดัชนีดอลล่าร์ USD กับ Mitrade เดี๋ยวนี้ ↓

mitrade
dago เงินทุนมีความปลอดภัยในระดับสูง
dago ฝากถอนเงินฟรีและรวดเร็ว
dago เริ่มต้นด้วยเงินต้นเพียงเล็กน้อย
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลที่เรานำมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งสำหรับใครที่เคยสงสัยว่าดัชนีดอลล่าร์สหรัฐ (Dollar Index) คืออะไรก็คงได้หายสงสัยกันไปแล้ว จริงอยู่ที่ดัชนีดอลลาร์อาจไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนติดตามบ่อยนัก แต่ดัชนีตัวนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดโลก กระทบไปถึงตลาดเงิน ตลาดทุน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ การทำความรู้จักดัชนีดอลลาร์อย่างครบถ้วนจึงช่วยเป็นแนวทางการตัดสินใจ ช่วยให้การคาดการณ์และตัดสินใจลงทุนเป็นไปได้อย่างเฉียบคมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ใครที่สนใจลงทุนในดัชนีดอลลาร์ก็สามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังได้อย่างหลากหลายแบบไม่จำกัดเลย

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
SET50 คืออะไร? SET50 มีอะไรบ้าง? และลงทุน SET50 ยังไง?บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
placeholder
S&P 500 คืออะไร?S&P 500 เป็นดัชนีชี้วัดชั้นนำและเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่แพร่หลายที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร, ทำใมต้องลงทุนใน S&P 500 และ S&P 500 ซื้อยังไงนะครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
S&P 500 เป็นดัชนีชี้วัดชั้นนำและเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่แพร่หลายที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร, ทำใมต้องลงทุนใน S&P 500 และ S&P 500 ซื้อยังไงนะครับ
placeholder
นิเคอิ225(Nikkei 225) คืออะไร? ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นผ่านดัชนีนิเคอิ225 Nikkei 225 ขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1990 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 อะไรทำให้ราคาของ Nikkei 225 พุ่งกระฉูด? เราจะทำกำไรจากกระแสของ Nikkei 225 ได้อย่างไร? บทความนี้จะแจ้งให้คุณทราบ
ผู้เขียน  เมธิณี วสุมดีInsights
วันที่ 14 มี.ค. 2023
Nikkei 225 ขึ้นสู่จุดสูงสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1990 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 อะไรทำให้ราคาของ Nikkei 225 พุ่งกระฉูด? เราจะทำกำไรจากกระแสของ Nikkei 225 ได้อย่างไร? บทความนี้จะแจ้งให้คุณทราบ
placeholder
Dow Jones(DJIA) คืออะไร? สำคัญยังไง? ทำไมต้องดูทุกวันบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ดัชนี Dow Jones คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาดหุ้นทั่วโลกพร้อมเผยรายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีหุ้น Dow Jones ปี 2025 และลงทุนในดัชนี Dow Jones ยังไง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 25 พ.ค. 2023
บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ดัชนี Dow Jones คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาดหุ้นทั่วโลกพร้อมเผยรายชื่อบริษัทที่อยู่ในดัชนี Dow Jones การวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีหุ้น Dow Jones ปี 2025 และลงทุนในดัชนี Dow Jones ยังไง ตามมาดูกันเลย
placeholder
NASDAQ 100 คืออะไร สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนลงทุนใน 100 หุ้นระดับโลกบทความนี้เราจะความรู้จักกับดัชนีหุ้นตัวนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทุกคน เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนจนเข้าใจได้ว่าทำไมดัชนีหุ้น Nasdaq 100 จึงได้รับความนิยมระดับโลก และคุณควรลงทุนกับหุ้นตัวนี้อย่างไรเพื่อสร้างกำไรให้กับตัวคุณเอง
ผู้เขียน  เมธิณี วสุมดีInsights
วันที่ 14 มี.ค. 2023
บทความนี้เราจะความรู้จักกับดัชนีหุ้นตัวนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทุกคน เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนจนเข้าใจได้ว่าทำไมดัชนีหุ้น Nasdaq 100 จึงได้รับความนิยมระดับโลก และคุณควรลงทุนกับหุ้นตัวนี้อย่างไรเพื่อสร้างกำไรให้กับตัวคุณเอง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์