Price Pattern คืออะไร? 10 Price Pattern ที่ควรรู้สำหรับมือใหม่
Price Pattern หรือ Chart Pattern เป็นเครื่ องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ถูกนำไปใช้คาดการณ์ราคาสินทรัพย์เพื่อหาโอกาสซื้อขาย ซึ่งไม่เพียงแค่ความแม่นยำในการทำนายทิศทางราคาแต่การติดตั้งเครื่องมือก็สามารถทำได้ง่ายในแบบที่นักลงทุนมือใหม่ก็สามารถทำได้ จึงไม่แปลกใจเลยที่เครื่องมือตัวนี้จะถูกนิยมใช้อย่างแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน และคราวนี้เราจึงจะขอพาไปทำความรู้จักกับ Price Pattern คืออะไร และแนะนำ 10 รูปแบบ Price Pattern พร้อมวิธีใช้งานให้นักเทรดสามารถนำไปใช้ประกอบสร้างระบบเทรดของตัวเองได้ในท้ายที่สุด
Price Pattern คืออะไรและทำง านอย่างไร
Price Pattern คือ รูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และจากสมมติฐานที่ว่ารูปแบบราคาในอดีตจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ดังนั้นเมื่อเกิดรูปแบบของราคาบางแบบ จะสามารถทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์รูปแบบราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้
ในอีกทางหนึ่ง พฤติกรรมของราคาที่เกิดขึ้นในอดีตมักเป็นตัวสะท้อนการต่อสู้กันระหว่างแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) ที่เกิดขึ้นและเป็นตัวกำหนดราคาสินทรัพย์ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อนักเทรดสามารถใช้เครื่องมือกราฟราคาบ่งชี้ปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้
กลุ่มของ Price Pattern 3 กลุ่ม
ในตำราเทรดกราฟราคามักมี Price Pattern หลากหลายรูปแบบจนนักเทรดจับหลักเลือกนำไปใช้ไม่ถูก แต่หากพูดให้ง่ายเข้าไว้ Price Pattern ที่ถูกนำมาใช้สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มง่าย ๆ ได้แก่ กลุ่มรูปแบบกลับตัว กลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา และกลุ่มที่ราคากำลังเลือกทาง
1. กลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns)
Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว เป็นสัญญาณรูปแบบราคาที่บ่งบอกว่าเทรนที่กำลังเกิดขึ้นมาก่อนหน้ากำลังสิ้นสุดลง และจะเปลี่ยนกลับไปเป็นเทรนราคาใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายของเทรน เช่น เป็นช่วงของจุดพีคของราคาในรอบนั้น ๆ หรือเป็นจุดต่ำสุดของราคาในรอบนั้น ๆ
รูปแบบราคาในกลุ่มนี้มักเป็นการต่อสู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขายเป็นช่วงเวลาหนึ่ง เช่น รูปแบบราคาแบบ double top จะเกิดขึ้นเมื่อถึงปลายแนวโน้มราคาขาขึ้น และเริ่มเกิดการต่อสู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งลงท้ายด้วยการพ่ายแพ้ของแรงซื้อจนทำให้เกิดการกลับตัวของแนวโน้มราคาเป็นขาลงในที่สุด
ตัวอย่าง Price Pattern กลุ่มกลับตัวที่เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มขาขึ้นเริ่มเปลี่ยนกลับเป็นขาลง เช่น Double Top, Head and Shoulders และ Price Pattern กลุ่มกลับตัวที่เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มขาลงเริ่มเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น เช่น Double Bottom, Rounding bottom เป็นต้น
2. ยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา (Continuation Chart Patterns)
Price Pattern ในกลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทาง เป็นสัญญาณรูปแบบราคาที่แสดงการพักตัวเพื่อลดความร้อนแรงของเทรนราคาที่กำลังอยู่ในขาขึ้น หรือชะลอการขายของเทรนราคาที่กำลังอยู่ในทิศทางขาลง หลังจากนั้นทิศทางของราคาก็จะยังดำเนินไปในแนวโน้มทิศทางเดิมต่อไป
รูปแบบราคาในกลุ่มนี้ มักเป็นการสะสมกำลังอีกครั้งเพื่อให้แนวโน้มราคาที่กำลังเกิดขึ้นสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างแข็งแรง ซึ่งรูปแบบราคาที่เกิดขึ้นมักเป็นการสวิงในกรอบราคา เพื่อให้นักเก็งกำไรบางส่วนลดความคาดหวังของเทรนราคาและขายออกมาในแนวโน้มขาขึ้น หรือเริ่มซื้อกลับในแนวโน้มขาลง ทำให้รูปแบบราคาในกลุ่มนี้มักแสดงการชะลอตัวของแนวโน้มราคา
ตัวอย่าง Price Pattern ในกลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา สามารถเกิดได้ทั้งในแนวโน้มราคาทั้งขาขึ้นและขาลง เช่น รูปแบบราคาแบบธง หรือ ชายธง เป็นต้น
3. กลุ่มที่ราคากำลังเลือกทาง (Bilateral Chart Patterns)
Price Pattern ในกลุ่มที่ราคากำลังเลือกทาง เป็นสัญญาณของรูปแบบราคาที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าทิศทางจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางไหนต่อ มักมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบราคาแบบพักตัว แต่กลุ่มรูปแบบนี้อาจตามมาด้วยการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ คือเป็นขาขึ้นก็ได้ หรือเป็นขาลงก็ได้ ซึ่งให้ผลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
รูปแบบราคาในกลุ่มนี้ มักเป็นการต่อสู้ของแรงซื้อและแรงขายทำให้รูปแบบของราคาเป็นไปในแนวทางคล้ายคลึงกับรูปแบบพักตัว แต่ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าแรงซื้อหรือแรงขายจะเป็นฝ่ายชนะ จนเมื่อเริ่มมีฝ่ายอ่อนแรง ทิศทางที่แท้จริงก็จะเริ่มปรากฎให้เห็น
ตัวอย่าง Price Pattern ในกลุ่มที่ราคากำลังเลือกทาง เช่น รูปแบบราคาแบบสามเหลี่ยมสมมาตร (Symmetrical Triangles) เป็นต้น
แนะนำ Price Pattern 10 รูปแบบ
1. รูปแบบหัวและไหล่ (Head and shoulders)
รูปแบบหัวและไหล่ (Head and shoulders) เป็น Price Pattern ที่อยู่ในรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังจะกลับตัวเป็นขาลง ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยในสินทรัพย์แทบทุกประเภท มักเกิดขึ้นบริเวณจุดสูงสุดของรอบวัฏจักรราคาขาขึ้น โดยจะฟอร์มตัวเป็นไหล่ซ้าย ย่อลงและกลับขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เป็นส่วนหัว แล้วย่อลงมาอีกครั้งเพื่อเหวี่ยงตัวกลับไปทำไหล่ซ้ายย่อตัวลงมาอีกครั้งแล้วหลุด Neck Line เพื่อเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงที่สมบูรณ์ต่อไป รูปแบบราคา Head and shoulders อาจเกิดขึ้นในช่วงปลายวัฏจักรราคาขาลงเพื่อกลับตัวเปลี่ยนเป็นขาขึ้นก็ได้ โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันเล็กน้อยว่า Inverted head and shoulder
การวัดเป้าหมายราคาของรูปแบบ Head and Shoulder ทำได้โดยการวัดจุดสูงสุดของส่วนหัว (Head) ลงมาถึง Neck Line สัดส่วนที่ได้นี้จะเป็นเป้าหมายราคานับจากส่วนที่ไหล่ซ้ายฟอร์มตัวหลุดจาก Neck Line ลงมา
2. Double top
รูปแบบราคา Double top มักพบได้บ่อยในจุดสูงสุดของรอบ มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบ Head and Shoulder ตรงที่เป็น Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายของรอบวัฏจักรราคาขาขึ้น และเมื่อฟอร์มตัวได้ครบรูปแบบเรียบร้อยแล้วราคาก็จะเปลี่ยนกลับเป็นขาลงอย่างเต็มรูปแบบ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ Double top จะมีการทำจุดสูงเพียงแค่ 2 ครั้ง คือ Top 1 และ Top 2 แทนที่ Head and Shoulder ที่ทำ 3 ครั้ง เป็นหัวและไหล่ซ้าย-ขวา
การวัดเป้าหมายราคาทำได้ด้วยการวัดจุดสูงสุดลงมาถึง Neckline จะได้เป็นเป้าหมายราคาที่จะลงไปโดยนับจากจุดที่หลุดจาก Neckline ลงไป
3. Double bottom
เป็นส่วนกลับของ Double top นั่นคือ Double bottom เป็น Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรอบวัฏจักรราคาขาลงซึ่งกำลังฟอร์มตัวกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ โดยรูปแบบของราคาจะประกอบด้วยจุดต่ำสุด 2 จุดและ Neckline และเมื่อราคาทะลุผ่าน Neckline ก็เป็นการยืนยันแนวโน้มราคาว่าได้เปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว
การวัดเป้าหมายราคาของ Double bottom ทำได้ด้วยการวัดค่าจากจุดต่ำสุดขึ้นมาถึง Neckline จากนั้นวัดจากจุด bottom ที่ 2 เมื่อราคาเหวี่ยงทะลุ Neckline ขึ้นมาเป็นระยะที่วัดเอาไว้
4. Rounding bottom
เป็นอีกหนึ่ง Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายแนวโน้มขาลงเพื่อฟอร์มตัวและกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น ลักษณะของ Price pattern รูปแบบนี้จะค่อย ๆ ลดจุดต่ำสุดของแท่งเทียนลงมาเรื่อย ๆ และยกกลับขึ้นไป จนมองดูเป็นส่วนโค้งคล้ายรูปครึ่งวงกลมในจุดต่ำสุดของรอบ
การวัดเป้าหมายราคาของรูปแบบ Rounding Bottom ทำได้โดยการหา Neckline ของรูปแบบราคา และเมื่อรูปแบบราคาทำการเบรคเอาท์ Neckline อันเป็นการยืนยันแนวโน้มเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้นเรียบร้อย เป้าหมายราคาที่คาดหวังได้จะเป็นจุดต่ำสุดของ Rounding Bottom ที่วัดจาก Neckline ลงมา
5. รูปถ้วยและหูถ้วยกาแฟ (Cup and handle)
รูปแบบราคา Cup and handle ยังอยู่ใน Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายแนวโน้มขาลง และเมื่อฟอร์มรูปแบบจนครบหูถ้วยเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะเปลี่ยนกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับลักษณะของ Price Pattern นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบ Rounding bottom คือมีลักษณะโค้งที่เกิดในช่วงปลายแนวโน้มขาลง แต่เมื่อเหวี่ยงตัวกลับขึ้นมาแล้วยังไม่สามารถเบรกเอาท์ Neckline ได้ จึงมีการฟอร์มตัวเป็นหูถ้วยกาแฟอีกครั้งก่อนจะเบรคเอาท์ Neckline กลับเป็นแนวโน้มขาขึ้น
การวัดเป้าหมายราคาของ Price Pattern รูปแบบ Cup and handle ทำได้คล้าย ๆ กับ Rounding Bottom คือวัดระยะจากจุดต่ำสุดขึ้นไปถึง Neckline และเป้าหมายราคาที่คาดหมายได้จะเป็นระยะที่วัดได้เมื่อราคาฟอร์มหูถ้วยและเบรค Neckline ไปเรียบร้อยแล้ว
6. รูปลิ่ม (Wedges)
รูปแบบราคา Wedges เป็น Price Pattern ในกลุ่มรูปแบบกลับตัว (Reversal Chart Patterns) ที่พบได้บ่อย โดยรูปแบบราคามีลักษณะเคลื่อนตัวในกรอบที่บีบแคบลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้ทั้งปลายแนวโน้มขาขึ้นและขาลง
Rising Wedge เป็นรูปแบบลิ่มที่อยู่ปลายช่วงวัฏจักรขาขึ้นเพื่อจะเปลี่ยนกลับเป็นขาลง มีลักษณะฟอร์มตัวเป็นรูปลิ่มเฉียงขึ้น ซึ่งเป็นการสู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขาย จนกระทั่งแรงขายทำลายแนวรับที่ฟอร์มตัวไว้ได้ ทิศทางแนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับเป็นขาลง
Falling Wedge เป็นรูปแบบลิ่มที่อยู่ปลายช่วงวัฏจักรขาลงเพื่อจะเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น มีลักษณะฟอร์มตัวเป็นรูปลิ่มเฉียงลง ซึ่งเป็นการสู้กันระหว่างแรงซื้อและแรงขาย จนกระทั่งแรงซื้อทำลายแนวต้านที่ฟอร์มตัวไว้ได้ ทิศทางแนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น
7. รูปชายธง หรือ ธง (Pennant or flags)
เป็น Price Pattern ในกลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา (Continuation Chart Patterns) ที่เมื่อราคามีการวิ่งในทิศทางเดียวไม่ว่าจะเป็นในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม แนวโน้มของราคาเริ่มเผชิญแรงซื้อหรือแรงขายในทางตรงกันข้าม ทำให้ราคาเกิดการพักตัวในกรอบราคาที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมสำหรับรูปแบบธง (Flags) หรือรูปสามเหลี่ยมสำหรับรูปแบบชายธง (Pennant) จนเมื่อแรงซื้อหรือแรงขายเริ่มเบรคเอาท์แนวรับออกไป ก็จะเริ่มปรากฏทิศทางแนวโน้มอีกครั้งในทิศทางเดิม
สำหรับการวัดเป้าหมายของราคา Price Pattern รูป Pennant หรือ Flags ทำได้ด้วยการวัดระยะก้านธง เทียบกับระยะที่ราคามีการเบรกเอาท์กรอบราคาออกไป จะได้เป็นเป้าหมายของราคาที่คาดหวังได้
8. รูปสามเหลี่ยมขาขึ้น (Ascending triangle)
เป็น Price Pattern ในกลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา (Continuation Chart Patterns) ที่มักเกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้นแบบต่อเนื่อง นั่นคือเมื่อราคาวิ่งมาระยะหนึ่งจะเริ่มเผชิญแรงขาย แต่แรงซื้อก็ยังคงมีอยู่จึงเกิดการปะทะกันระหว่างแรงทั้งสองทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในกรอบสามเหลี่ยมที่ยกจุดต่ำขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหมายถึงแรงซื้อยังคงได้เปรียบ จนกระทั้งสามารถเบรกเอาท์แนวต้านขึ้นไปยืนยันแนวโน้มราคาขาขึ้นได้อีกครั้ง
การวัดเป้าหมายราคาของรูปแบบราคา Ascending triangle ทำได้โดยการวัดช่วงกว้างของกรอบสามเหลี่ยม และนำมาวัดระยะทางจากจุดเบรคเอาท์ จะได้เป็นแนวราคาที่สามารถคาดหวังเป็นเป้าหมายราคาได้
9. รูปสามเหลี่ยมขาลง (Descending triangle)
เป็น Price Pattern ในกลุ่มยืนยันความต่อเนื่องของทิศทางราคา (Continuation Chart Patterns) ที่มักเกิดขึ้นในแนวโน้มขาลงแบบต่อเนื่อง นั่นคือเมื่อราคาร่วงลงมาระยะหนึ่งจะเริ่มมีแรงซื้อ แต่แรงขายก็ยังคงมีและกดดันอยู่จึงเกิดการปะทะกันระหว่างแรงทั้งสองทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในกรอบสามเหลี่ยมที่มีจุดสูงสุดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งหมายถึงแรงขายยังคงได้เปรียบ จนกระทั้งสามารถเบรกเอาท์แนวรับลงไปยืนยันแนวโน้มราคาขาลงได้อีกครั้ง
การวัดเป้าหมายราคาของรูปแบบราคา Descending triangle ทำได้เช่นเดียวกับ Ascending triangle โดยการวัดช่วงกว้างของกรอบสามเหลี่ยม และนำมาวัดระยะทางจากจุดเบรคเอาท์จะได้ระยะที่คาดหวังได้
10. รูปสามเหลี่ยมสมมาตร (Symmetrical triangle)
Symmetrical triangle เป็น Price Pattern กลุ่มที่ราคากำลังเลือกทาง (Bilateral Chart Patterns) ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในทิศทางแนวโน้มขาขึ้นและขาลง และเช่นเดียวกับการฟอร์มตัวของราคารูปแบบสามเหลี่ยมอื่น ๆ เมื่อราคาวิ่งมาถึงระดับหนึ่งจะเริ่มเผชิญแรงซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามจนเกิดการปะทะกัน เป็นผลให้ราคาเคลื่อนตัวในกรอบสามเหลี่ยมที่แคบลงเรื่อย ๆ และเนื่องจากแรงซื้อและแรงขายที่ปะทะกันนั้นมีกำลังใกล้เคียงกัน ทำให้รูปสามเหลี่ยมมีลักษณะสมมาตร จนเมื่อราคามีการเบรคเอาท์ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่แสดงว่ารู้ผลของการปะทะกันระหว่างแรงซื้อขายแล้วก็จะเป็นการยืนยันแนวโน้มใหม่ที่เกิดขึ้น
การวัดเป้าหมายราคาของรูปแบบราคา Symmetrical triangle ทำได้เช่นเดียวกับการหาเป้าหมายราคารูปสามเหลี่ยมอื่น ๆ คือวัดส่วนกว้างของรูปสามเหลี่ยม เพื่อนำไปใช้วัดระยะเป้าหมายจากจุดที่เกิดการเบรคเอาท์ราคาออกไป
ข้อควรระวังของการใช้ Price Pattern ในการเทรด
การตีความ Price Pattern ค่อนข้างเป็นอัตวิสัยจากมุมมองส่วนตัว นักเทรดสองคนที่มอง Price Pattern เดียวกันอาจตีความและคาดการณ์แนวโน้มราคาแตกต่างกันได้
Price Pattern ใน Timeframe ระยะสั้น มีโอกาสถูกบินเบือนได้ง่ายกว่า Price Pattern ที่เกิดขึ้นใน Timeframe ระยะยาว ทำให้ใน Timeframe ระยะสั้นรูปแบบราคาอาจมีความคลาดเคลื่อนได้มากกว่า
แบบการฟอร์มตัวของ Price Pattern ที่เกิดด้วยปริมาณการซื้อขายเบาบางมีโอกาสถูกบิดเบือนได้สูง การใช้ Price Pattern แต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตปริมาณการซื้อขายยืนยันควบคู่ไปด้วย
อย่างไรก็ดี การเลือกใช้ Price Pattern เป็นตัวขี้นำการเทรดเพียงอย่างเดียวอาจเป็นความเสี่ยงที่จะแม่นหรือไม่แม่นยำตามที่ตำราระบุไว้ก็ได้ นักเทรดมากประสบการณ์จึงมักใช้ Price Pattern ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การใช้อินดิเคเตอร์ เข้ามาช่วยประเมินการเทรดเพื่อเพิ่มความแม่นยำให้มากยิ่งขึ้น
โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
กำกับดูแลโดยหน่วยงานที่มีอำนาจ
ฝากถอนเงินฟรีและรวดเร็ว
เทรดด้วยเลเวอเรจสูงถึง 1:200
เงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา
นำเสนอโดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
สรุป
ทั้งหมดนี้ก็คือ Price Pattern ที่เป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักเทรด ซึ่งด้วยความง่ายในการติดตั้งและการตีความ ทำให้เครื่องมือตัวนี้ถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานตัวแรก ๆ แต่ทรงพลังสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้น รวมถึงนักเทรดมือเก่าที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องมืออันหลากหลาย ทั้งนี้ทั้งนั้นความแม่นยำของเครื่องมือยังต้องอาศัยการฝึกฝนและหมั่นสังเกตควบคู่กันไปด้วย
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย |
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน