Fear and Greed Index คืออะไรในตลาดคริปโต
ในบทความนี้จะพาทุกคนรู้จักดัชนีภาพรวมเกี่ยวกับการวัดทิศทางความกลัวและความโลภในตลาดการลงทุนที่พัฒนาโดย CNN Business เป็นตัววัดความรู้สึกของนักลงทุน ซึ่งมีตั้งแต่ความกลัวสุดขีดไปจนถึงความโลภสุดขีด แนวคิดก็คือ "ความกลัวที่มากเกินไป" ส่งผลให้ราคาหุ้นตกต่ำ และ "ความโลภมากเกินไป" ส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น ตามข้อมูลของดัชนี ในบทความนี้เราจะหยิบ Fear and Greed Index ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ ไปดูในบทความกันเลยว่า Fear and Greed Index หรือ ดัชนีความกลัวและความโลภ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีการคำนวณค่าอย่างไร
Fear and Greed Index คืออะไร
ดัชนีความกลัวและความโลภเป็นดัชนีภาพรวมเกี่ยวกับอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดว่ากำลังมีอารมณ์ไปในทิศทางกลัวหรือทางโลภมากกว่ากัน เนื่องจากอารมน์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด เพราะว่าถ้านักลงทุนเมื่อมีความกลัวต่อสภาวะตลาด ก็จะพากันเทขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลง แต่ถ้ากลับกัน หากนักลงทุนเกิดความโลภ ก็จะมุ่งแห่พากันซื้อจนราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้น
ดัชนี Fear and Greed นี้คิดค้นขึ้นโดยสำนักข่าว CNN (Cable News Network) เพื่อใช้วัดสภาพตลาดของดัชนี S&P 500 ภายหลังได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้กับตลาดการลงทุนหลายแห่ง รวมไปถึงตลาดคริปโตเคอร์เรนซีเองก็มีดัชนี Crypto Fear & Greed Index ด้วยเช่นกัน โดยดัชนีจะมีการอัปเดตทุก ๆ 8 ชั่วโมง และสามารถใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์ edition
โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะใช้ดัชนีความกลัวและความโลภเพื่อวัดความเชื่อมั่นโดยรวมของตลาด และเพื่อช่วยในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลโดยเฉพาะในด้านการเทรดหุ้น ตัวบ่งชี้แต่ละตัวจะได้รับน้ำหนักนในการกำหนดดัชนีระหว่าง 0 ถึง 100 เท่ากับ เมื่อดัชนีอยู่ในระดับสูง แสดงความโลภหรือโลภมาก บ่งชี้ว่านักลงทุนมีทัศนคติเชิงบวกและกำลังซื้อหุ้น เมื่อดัชนีต่ำเป็นการแสดงถึงความกลัวหรือความกลัวสุดขีด บ่งชี้ว่านักลงทุนมีความกลัวและกำลังขายหุ้น
แม้ว่าดัชนีความกลัวและความโลภจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุน แต่ก็ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาดที่สมบูรณ์แบบ เพราะดัชนีนี้อิงตามตัวบ่งชี้จำนวนจำกัดและไม่ได้คาดการณ์ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น เช่น เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์และข้อมูลทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ดัชนีความกลัวและความโลภยังไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่นักลงทุนใช้เพื่อประเมินอารมณ์ของตลาด
ข้อดีและข้อเสียของการใช้ Fear and Greed Index
ข้อดีของการใช้ Fear and Greed Index
สามารถนำไปปรับกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เช่น เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเข้าทำกำไร
Fear and Greed Index แสดงภาพรวมของความเชื่อมั่นของนักลงทุนแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ค้าและนักลงทุนเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตลาด
ดัชนีได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและตีความได้ง่าย โดยทั่วไปจะแสดงในระดับ 0 ถึง 100 โดยค่าที่ต่ำกว่าจะแสดงถึงความกลัว และค่าที่สูงกว่าจะแสดงถึงความโลภ ความเรียบง่ายนี้ทำให้เข้าถึงได้ทั้งนักเทรดมือใหม่และผู้มีประสบการณ์
ข้อเสียของการใช้ Fear and Greed Index
Fear and Greed Index แสดงภาพรวมทั่วไปของอารมณ์ตลาด จะไม่มีความแม่นยำมากสักเท่าไหร่ สามารถแสดงความรู้สึกได้กว้าง ๆ เท่านั้น
Fear and Greed Index มุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเป็นหลัก โดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ขาดความโปร่งใสในการคำนวณดัชนีซึ่งไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพราะเราไม่รู้ว่าใช้สูตร หรือประมวลสถานการณ์ใดบ้างที่นำมาคำนวณ จึงทำให้นักลงทุนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณดัชนีว่าเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง
Crypto Fear and Greed Index คืออะไร
อย่างที่อธิบายไปในหัวข้อแรก Fear and Greed Index เป็นการวัดความโลภและความกลัวของดัชนี S&P 500 แต่ในหัวข้อนี้จะเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดคริปโตฯ เนื่องจากพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดคริปโตฯ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบมักมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดพฤติกรรมในลักษณะของการซื้อง่ายขายง่ายกว่าตลาดลงทุนอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเกิดการซื้อง่ายขายง่าย เลยทำให้มีการนำดัชนี Crypto Fear and Greed Index มาวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุน เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเป็นไปตามแผนการลงทุนที่วางไว้
โดยค่า Crypto Fear and Greed Index จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
ค่า 0 หมายถึง สภาวะที่นักลงทุนในตลาดมีความกลัวถึงขีดสุด ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงขายอย่างรุนแรง
ค่า 100 หมายถึง มีความหมายในทางตรงกันข้าม นั่นคือ นักลงทุนในตลาดมีความโลภถึงขีดสุด อาจเกิดแรงซื้อเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง
ที่มา: alternative.me
Fear and Greed Index ทำงานอย่างไรในตลาด Crypto?
Fear and Greed Index ของ Crypto คำนวณโดยใช้ปัจจัยการทำงานหลายอย่าง รวมถึงความผันผวนของตลาด ปริมาณการซื้อขาย ความรู้สึกทางโซเชียลมีเดีย และการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมตลาด ดัชนี Crypto Fear and Greed Index มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดย 0 หมายถึงความกลัวสุดขีด และ 100 หมายถึงความโลภมาก คะแนน 50 จะบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของตลาดที่เป็นกลาง ดัชนีได้รับการอัพเดททุกวันและสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการประเมินความเชื่อมั่นโดยรวมของตลาด cryptocurrency ต่อมาเรามาทำความเข้าใจสถานะของความกลัวและความโลภของ Bitcoin ผ่านตัวอย่างในชีวิตจริงกัน อย่างเช่น
- ความกลัวสุดขีด: ในเดือนพฤศจิกายน 2022 เมื่อ Bitcoin แตะระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนหลังจากการล่มสลายของ FTX ดัชนีความกลัวและความโลภของ Bitcoin แสดงค่าเป็น 12 ซึ่งหมายถึงโซนที่ต้องระมัดระวังในตลาด Bitcoin
- ความโลภมาก: เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 Bitcoin พุ่งขึ้นจากข่าวการประกาศของ Elon Musk เกี่ยวกับการลงทุนอย่างมหาศาลของ Tesla ใน Bitcoin ดัชนีพุ่งสูงขึ้นถึง 92 จาก 100 ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความโลภสุดขีดต่อ Bitcoin ในตลาด ในขณะที่ตัวอย่างล่าสุด Bitcoin ซึ่งซื้อขายด้วย "ความกลัว" ตั้งแต่กลางปี 2022 ได้ข้ามช่วงของ $20,000 และย้ายออกจากระดับ "ความกลัว" เป็น "กลาง" หลังจากช่องว่างที่ยาวนานเกือบเก้าเดือน
Fear and Greed Index คำนวณอย่างไร
ค่าวัดในดัชนี Fear & Greed Index มีตั้งแต่ 1–100 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงได้ดังนี้
ระดับดัชนี | ความเชื่อมั่นของตลาด | |
0–24 | กลัวสุดขีด (Extreme Fear) | |
24–49 | ยังมีความกลัวอยู่ (Fear) | |
50 | เกณฑ์ปกติ (Neutral) | |
51–74 | มีความโลภ (Greed) | |
75–100 | โลภสุดขีด (Extreme Greed) |
ค่าวัดดัชนี Fear & Greed Index ทุกประเภทล้วนเป็นผลลัพธ์จากการนำข้อมูลตัวเลขจากหลาย ๆ แหล่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาคำนวณร่วมกัน ซึ่ง Crypto Fear & Greed ก็เช่นกัน โดยปัจจัย (Data Sources) ที่ถูกนำมาคำนวณมีดังต่อไปนี้
Volatility (25%):
ป็นการคำนวณดูจากความผันผวน กับ Maximum Drawdown ของราคา Bitcoin และเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน และ 90 วัน ถ้ายิ่งมีความผันผวนมากเท่าไหร่ อาจสะท้อนว่าตลาดมีความความกลัว (Fear) และความกลัวขั้นสุด (Extreme Fear) มากขึ้นเท่านั้นMarket Momentum/Volume (25%):
เป็นการคำนวณปริมาณซื้อขายร่วมกับแนวโน้มของตลาด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน และ 90 วัน ถ้าหากมีปริมาณซื้อขายสูงขึ้น จะสะท้อนว่าตลาดกำลังมีความโลภเพิ่มขึ้น (Greed) และความโลภขั้นสุด (Extreme Greed) มากขึ้นเท่านั้นSocial Media (15%):
เป็นการตรวจสอบว่าคำว่า Bitcoin หรือคำที่เกี่ยวข้องทางโซเชียลมีเดีย เช่น ดูจาก # (Hashtag) บน Twitter เพราะถ้าหากยิ่งพูดถึงบ่อยก็เท่ากับว่าคนกำลังให้ความสนใจ และตลาดกำลังมีความโลภมากขึ้น (Greed)Surveys 15% (หยุดใช้ตัวนี้ชั่วคราว):
มีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นทั่วไปบนเว็บไซต์ strawpoll.com โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้วันละ 2,000–3,000 คน และนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย แต่ตอนนี้ถูกระงับชั่วคราว เนื่องจากไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรDominance 10%:
เป็นการคำนวณโดยดูว่า Bitcoin กำลังมีสัดส่วนเป็นเท่าไหร่เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดคริปโตทั้งหมด โดยมีมุมมองว่าถ้า Bitcoin มีส่วนแบ่งในตลาดเยอะ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนกังวลเพราะมีความเสี่ยงมากเกินไป จะเข้าสู่ระดับความกลัว (Fear) จึงต้องหาหลุมหลบภัย กลับกัน หาก Bitcoin มีส่วนแบ่งตลาดน้อยลง ความเป็นไปได้ที่สภาพตลาดจะเข้าสู่ระดับความโลภ (Greed) เท่ากับว่าตลาดกำลังมีความโลภมากขึ้นTrends 10%:
เป็นการวิเคราะห์จาก Google Trends โดยดูทั้งเรื่องของจำนวนการค้นหา ยิ่งมีการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ยิ่งนำไปสู่ระดับความโลภ (Greed) มากเท่านั้น
ทำไมต้องวัด Fear and Greed Index ในตลาด Crypto
อย่างที่เรารู้ว่า Fear and Greed Index ใช้ดูพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางอารมณ์ ซึ่งพฤติกรรมของตลาดคริปโตฯ นั้นผันผวนอย่างมากและเกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นอย่างมากเช่นกัน จะเห็นว่านักลงทุนจะอยากซื้อเหรียญคริปโตฯ เมื่อตลาดปรับตัวขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการ FOMO (กลัวการพลาดโอกาส) ด้วยเหตุนี้ ดัชนีความกลัวและความโลภจึงถูกคิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพตลาดในมิติของอารมณ์ มีข้อสังเกตุง่าย ๆ อย่างเช่น
เมื่อเกิดความกลัวอย่างสุดขีดอาจเป็นสัญญาณว่านักลงทุนกังวลมากเกินไป นั่นอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ
เมื่อนักลงทุนมีความโลภมากเกินไปนั่นหมายถึงตลาดถึงกำหนดปรับฐาน อาจเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยขาย
Fear and Greed Index จึงเป็นเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้ในตลาด crypto เพื่อวัดความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความผันผวน โมเมนตัมของตลาด ปริมาณการซื้อขาย และการพูดถึงในโซเชียลมีเดีย ด้วยการวัดดัชนีความกลัวและความโลภ จะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าใจอารมณ์ตลาดโดยรวมได้ดีขึ้น และตัดสินใจได้อย่างมานยำมากขึ้นเกี่ยวกับการซื้อและขายสกุลเงินดิจิทัล ตัวอย่างเช่น หากดัชนีบ่งชี้ว่าตลาดมีความกลัวในระดับสูง อาจเป็นเวลาที่ดีที่จะซื้อเนื่องจากราคาอาจต่ำกว่ามูลค่าจริง ในทางกลับกัน หากดัชนีบ่งชี้ว่ามีความโลภในระดับสูง อาจเป็นเวลาที่ดีที่จะขายเนื่องจากราคาอาจสูงเกินไป
เคล็ดลับการควบคุมอารมณ์เมื่อลงทุนในตลาด Crypto
เมื่อพิจารณาจากดัชนีความกลัวและความโลภของ Crypto เราจะเห็นว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้อย่างไม่มีเหตุผลในฐานะนักลงทุนรายย่อย เราต้องถามตัวเองก่อนว่า ฉันจะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างไร และไม่ปล่อยให้ความโลภหรือความกลัวมาขับเคลื่อนการตัดสินใจลงทุนของฉัน ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่เทรดเดอร์จำนวนมากใช้เพื่อจัดการอารมณ์ของตนเมื่อทำการตัดสินใจในการเทรดคริปโต:
1. จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ และโลภเมื่อคนอื่นกลัว
วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยกล่าวไว้ว่า เป็นการฉลาดสำหรับนักลงทุน “ที่จะกลัวเมื่อคนอื่นโลภ และโลภเฉพาะเวลาที่คนอื่นกลัว” ข้อความนี้ค่อนข้างมีมุมมองที่ขัดแย้งกัน แต่ความหมายโดยนัยคือ เมื่อผู้อื่นโลภ ราคามักจะพุ่งสูงขึ้นและควรระมัดระวัง ในเวลาเดียวกันก็อาจได้รับโอกาสในการลงทุนที่คุ้มค่าเมื่อคนอื่นกลัว
2. ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging
เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากช่วยขจัดอารมณ์ในการลงทุนได้อย่างดีเยี่ยม แนวทางปฏิบัติในการลงทุนด้วยเงินดอลลาร์คงที่หรือเงินบาทเป็นประจำ โดยไม่คำนึงถึงราคาสินทรัพย์ เป็นวิธีที่ดีในการพัฒนานิสัยการลงทุนที่มีระเบียบวินัย มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการลงทุน และอาจลดระดับความเครียด รวมถึงต้นทุนของคุณด้วย โดยสรุปแล้วกลยุทธ์นี้เกี่ยวข้องกับการลงทุนเล็กๆ เป็นประจำเมื่อเวลาผ่านไป แทนที่จะพยายามจับเวลาตลาดด้วยการลงทุนขนาดใหญ่เพียงครั้งเดียวนั่นเอง
3. กระจายความหลากหลายของการลงทุน
กระจายการลงทุนของคุณไปยังประเภทสินทรัพย์และเครื่องมือการลงทุนที่แตกต่างกัน เพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นระบบ วิธีนี้เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยจัดการการตอบสนองทางอารมณ์ของคุณในช่วงที่ตลาดผันผวนได้อย่างดีเยี่ยม
วิธีการซื้อขาย Crypto ในกรณีของ Fear and Greed Index
Fear and Greed Index ไม่ใช่กลยุทธ์การซื้อขาย แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย เพราะว่านักเทรดบางคนอาจใช้ดัชนีความกลัวและความโลภในช่วงที่ตัวเองเกิดความกลัวหรือความโลภอย่างสุดขีด แต่บางรายอาจใช้ดัชนีนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยของการตัดสินใจซื้อขาย จึงทำให้ดัชนีความกลัวและความโลภสามารถปกป้องเงินทุนจากการลงทุนได้
คราวนี้ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะลงทุนเทรดคริปโตฯ ในกรณีของ Fear and Greed Index ยังไง?
โดยส่วนใหญ่นักเทรดจะนิยมลงทุนคริปโตฯ ด้วยวิธีการเทรด CFD ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายส่วนต่างทางการเงิน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยให้นักเทรดสามารถเก็งกำไรได้ โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริง ๆ เราจะเห็นได้ว่าใคร ๆ ก็นิยมเลือกเทรด CFD เพราะนอกจากจะใช้เงินลงทุนน้อยแล้ว ยังสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงอีกด้วย
ข้อดีของการลงทุนใน crypto
เปิด 24 ชั่วโมง มีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้ตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด
มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เนื่องจากคริปโตฯ ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
เข้าถึงได้ง่ายและมีขั้นต่ำการลงทุนที่น้อยมาก
ประโยชน์ของการซื้อขาย CFD
ใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากระบบของ Margin และ leverage ทำให้สามารถขยายเงินการลงทุนโดยเราใช้หลักประกันเพื่อไม่ให้ขาดทุนเกินเงินประกันที่เรามีอยู่ในพอร์ท
ให้ประโยชน์และความเสี่ยงทั้งหมดแก่นักลงทุนในการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของจริง
เราสามารถลงทุนในตลาด CFD ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
เปิดบัญชีเทรดคริปโตฯ กับโบรกเกอร์ Mitrade
ดาวน์โหลด Application หรือแพลตฟอร์มสำหรับเทรด คริปโตฯ จากโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชี
เลือกประเภทของเหรียญคริปโตฯ ที่ต้องการเทรด
เก็งกำไรโดยคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับขึ้นหรือลง
บนเว็บไซต์ Mitrade ไม่เพียงแต่ให้บริการเทรดเฉพาะแค่เหรียญคริปโตฯ เท่านั้น แต่ยังให้นักเทรดใช้บริการเลือกเทรดสกุลเงินอื่น ๆ ได้อีก อย่างเช่น เทรด Forex, ทองคำ, หุ้น, ดัชนี, น้ำมันดิบและตราสารอื่น ๆ ได้อย่างครบครันเลยทีเดียว
สรุป
Fear and Greed Index เป็นดัชนีที่ใช้ดูภาพรวมอารมณ์ของตลาดว่าเรากำลังมีความกลัวหรือความโลภในการลงทุน โดยคำนวณมากจากหลายปัจจัยส่วนรวม โดยข้อมูลที่ได้จากดัชนีสามารถให้เรานำมาปรับใช้ในการลงทุนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่จมอยู่กับอารมณ์ของตนเอง อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการเทรด หรือการซื้อขายสินทรัพย์ ดัชนีต่าง ๆ เราไม่ควรยึดติดกับตัวบ่งชี้เพียงตัวเดียวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ แต่เราควรมองหาตัวบ่งชี้ หรือค่าส่วนประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วยนะคะ
คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมต้องวัดความกลัวและความโลภ
ตอบ พฤติกรรมของตลาดคริปโตนั้นผันผวนและเกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นอย่างมาก
2. Fear and Greed Index ดูจากไหน?
ตอบ สามารถดูได้บนเว็บไซต์ edition
3. Fear and Greed Index สามารถปกป้องการลงทุนได้หรือไม่?
ตอบ ต้องทราบว่า Fear and Greed Index ยังไม่ใช่ตัวบ่งชี้โดยตรงของการปกป้องเงินทุน ดัชนีสามารถช่วยให้นักลงทุนระบุช่วงเวลา หรือสภาวะที่เกิดความกลัวหรือโลภมากได้เท่านั้น แต่นักลงทุนสามารถใช้ตัวเลขดัชนีความกลัวกับความโลภไปใช้ทำกำไรได้
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน