Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

สัญญาเป็นส่วนสำคัญที่ไม่สามารถขาดแคลนในธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ แต่กับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, สัญญาในรูปแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในบางเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของความเร็ว, ความถูกต้อง, และความปลอดภัย ในยุคดิจิทัลนี้, Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) ได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความซับซ้อนของการดำเนินธุรกิจและธุรกรรมในโลกออนไลน์ 


ซึ่งในบทความนี้เรามาเรียนรู้ด้วยกันว่า Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง การใช้งานของ Smart Contracts มีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

ความเป็นมาของคำว่า Blockchain กับ Smart Contract

เริ่มต้นความเป็นมาของนิยามคำว่า Blockchain คือ เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่มีการพัฒนาบนเครือข่ายให้มีความมั่นคงปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนกลางแต่อย่างใดในการเข้าทำธุรกรรมแต่ละครั้ง เนื่องจากว่าเป็นแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมแบบ P2P ( Peer-to-Peer) ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์อย่างแท้จริง


สำหรับเทคโนโลยี Blockchain ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในปี 2008 ที่ถูกเรียกว่าเป็นเทคโนโลยี Blockchain 1.0 ที่มีการพัฒนามาปรับใช้ในภาคของการเงิน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency เลยก็ว่าได้ โดยสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกที่มีการมีระบบการทำงานภายใต้เครือข่ายบล็อคเชนและทำหน้าที่ใช้จ่ายแทนสกุลเงินได้ก็คือ “Bitcoin” นั่น


ต่อมาในปี 2014 เทคโนโลยีเครือข่ายบล็อคเชน ได้มีการพัฒนาเครือข่ายมาเป็น Blockchain 2.0 ที่เป็นการนำเทคโนยีมีชื่อว่า Smart contract มาใช้บนเครือข่ายบบล็อคเชน เรียกว่าเป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมขึ้นมาได้อย่างเสรี และเป็นที่มาของการเกิดสกุลเงินดิจิทัลชื่อดังอย่าง Ethereum ในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน


ในยุคปัจจุบันนี้ Blockchain ได้มีการพัฒนามาเป็นระบบ Blockchain 3.0 ที่เกิดขึ้นมาในปี 2017 จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เราคุ้นหูกันดีกับคำว่า Dapp (Decentralized application) ที่เป็นพัฒนามาจากรุ่นที่ 2.0 คือมีการนำแนวคิดของ Smart Contract มาปรับใช้ด้วย แต่เพิ่มโอกาสที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้มากกกว่าการเขียนโปรแกรมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุตสาหกรรมเกม อุตสาหกรรมทางด้านศิลปะ NFTs ทั้งนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์กับโมเดลธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริงได้อีกด้วย


มาถึงจุดนี้ทุกคนอาจจะเข้าว่าใจ Smart Contract ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 2014 อย่างแน่นอน แต่แท้จริงแล้วสำหรับประวัติความเป็นมาของ Smart Contract ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 1994 จากนักวิศกรคอมพิวเตอร์ชื่อดังชาวอเมริกา “Nick Szabo” ภายใต้แนวคิดที่เขามองเห็นถึงปัญหาความยุ่งยากในการจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูล จึงเสนอแนวคิดเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมา นอกจากนี้หลายคนคิดว่าตัวเขานั้นเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสกุลเงินดิจิทัลอย่าง “Bitcoin” เนื่องจากว่าตัวเขานั้นก็เคยที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลก่อนหน้านี้ที่มีชื่อว่า “Bit Gold”ขึ้นมาในปี 1998 แต่ตัวเขานั้นก็ได้ให้การปฏิเสธไปว่าเป็นผู้สร้าง Bitcoin

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คือ โปรแกรมที่ดำเนินการเองซึ่งดำเนินการตามที่กำหนดในข้อตกลงหรือสัญญาโดยอัตโนมัติ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ธุรกรรมจะสามารถติดตามและไม่สามารถย้อนกลับได้ โดยสัญญาอัจฉริยะอนุญาตให้ธุรกรรมและข้อตกลงที่เชื่อถือได้ดำเนินการระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ไม่เปิดเผยตัวตน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยงานกลาง ระบบกฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ)


  • Smart contracts  คือ สคริปต์ที่ทำให้การดำเนินการเฉพาะกับสัญญาระหว่างสองฝ่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ

  • Smart contracts ไม่มีภาษาทางกฎหมาย ข้อกำหนด หรือข้อตกลง มีเพียงรหัสที่ดำเนินการเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่ระบุเท่านั้น

  • Nick Sza วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันผู้คิดค้นสกุลเงินเสมือนที่เรียกว่า "Bit Gold" ในปี 1998 โดยได้ทำการกำหนดสัญญาอัจฉริยะเป็นโปรโตคอลธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญา


ความเชื่อมั่นกับ Contract

Contract ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ‘กฎหมาย’ ในชีวิตจริง แต่มันคือกฎหมายใน Blockchain ที่เราจะใส่เงื่อนไขและรางวัลในการทำอะไรซักอย่าง ปกติเราจะเขียนใส่กระดาษ แต่ในโลกแห่งอินเทอร์เน็ตเราเขียนมันบน Blockchain ที่จะให้คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องรัน


ปัญหานึงของสัญญาในชีวิตจริงคือ เราไม่สามารถที่จะเชื่อใจปัจเจกชนได้ เราไว้ใจที่มันมีผลบังคับทางกฎหมาย แต่ถ้าเราอยู่ในนานาชาติที่กฎหมายบังคับใช้ยาก มันจะเป็นเช่นไร?


เราลองมาดูตัวอย่างกัน


ยกตัวอย่างการใช้ Smart contract ด้วยการแข่งจักรยานกัน


น้องปูและน้องกอล์ฟกำลังแข่งจักรยานกัน น้องปูพนันน้องกอล์ฟ $10 ว่าเธอจะชนะแข่ง น้องกอล์ฟคิดว่าเขาน่าจะชนะการพนันนี้เช่นกัน สุดท้ายแล้ว น้องกอล์ฟเป็นฝ่ายชนะ แต่น้องปูโกงไม่จ่ายดื้อๆ


แต่ปัญหานี้จะหมดไปถ้าหากเราเปลี่ยนไปใช้ Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) โดยที่เราตั้งสมการไว้ตั้งแต่แรกว่าผู้ชนะได้เงิน เมื่อผลรายการออกมา มันจะส่งเงินให้ผู้ชนะทันที

Smart contract ทำงานอย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สัญญาอัจฉริยะ ก็ถือว่าเป็นรูปแบบของข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย สัญญาอัจฉริยะใช้โค้ดเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัย ผลลัพธ์อาจเป็นนวัตกรรมได้ แต่การใช้สัญญาอัจฉริยะก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยจะมีลักษณะการทำงานอย่างระบบขั้นตอน ซึ่งมีระบบการทำงานทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้


1. คู่สัญญาตกลงตามข้อกำหนดและเงื่อนไข

เนื่องจากว่าการสร้างสัญญาอัจฉริยะนั้นจะมีการเริ่มต้นด้วยข้อตกลงของทุกคน โดยฝ่ายที่ประสงค์จะทำธุรกรรมหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการจะต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังต้องตัดสินใจว่าสัญญาอัจฉริยะจะทำงานอย่างไร รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดในการดำเนินการตามสัญญาและจะดำเนินการโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นต้น


2. สัญญาอัจฉริยะที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว

เนื่องจากว่าบุคลลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมมีหลายทางเลือกในการสร้างสัญญาอัจฉริยะ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนโค้ดด้วยตนเองไปจนถึงการทำงานร่วมกับผู้พัฒนาสัญญาอัจฉริยะ เงื่อนไขของข้อตกลงได้รับการแปลเป็นภาษาโปรแกรมเพื่อสร้างสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งระบุกฎและผลที่ตามมาเช่นเดียวกับสัญญาทางกฎหมายแบบดั้งเดิม การสร้างสัญญาอัจฉริยะอาจเป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งสำคัญที่วรทราบคือสัญญาอัจฉริยะที่ออกแบบมาไม่ดีนั้นถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญ การตรวจสอบความปลอดภัยของสัญญาอัจฉริยะอย่างครบถ้วนในระหว่างขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน


3. มีการปรับใช้สัญญาอัจฉริยะ

เมื่อสัญญาอัจฉริยะที่ออกแบบอย่างปลอดภัยพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับใช้กับบล็อกเชน สัญญาอัจฉริยะจะออกอากาศไปยังบล็อคเชนเช่นเดียวกับธุรกรรม crypto อื่นๆ โดยมีรหัสของสัญญาอัจฉริยะรวมอยู่ในช่องข้อมูลของธุรกรรม สัญญาอัจฉริยะจะเผยแพร่บนบล็อกเชนเมื่อธุรกรรมได้รับการยืนยัน และไม่สามารถเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสุดท้ายนั้นสำคัญ การปรับใช้สัญญาอัจฉริยะกับบล็อกเชนก็เหมือนกับการซื้อสินค้าและจงใจทิ้งใบเสร็จรับเงิน ไม่มีการคืนสินค้า ไม่มีการคืนเงิน และไม่มีการแลกเปลี่ยน ไม่มีข้อยกเว้น


4. ตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์(Trigger)

เนื่องจากว่าสัญญาอัจฉริยะทำงานโดยการตรวจสอบบล็อกเชนหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพื่อดูเงื่อนไขหรือสิ่งกระตุ้นบางอย่าง ดังนั้นทริกเกอร์เหล่านี้อาจรวมถึงเกือบทุกอย่างที่สามารถตรวจสอบได้แบบดิจิทัล เช่น วันที่มาถึง การชำระเงินที่เสร็จสิ้น การรับใบเรียกเก็บเงินรายเดือน หรือเหตุการณ์อื่นใดที่สามารถตรวจสอบได้ อาจตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายในสัญญาดำเนินการเฉพาะเจาะจง


5. สัญญาอัจฉริยะถูกดำเนินการ

ขั้นตอนการทำงานในข้อนี้จะต่อมาจากเงื่อนไขของทริกเกอร์ กล่าวคือ เมื่อตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์ สัญญาอัจฉริยะจะดำเนินการ สัญญาอัจฉริยะที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติอาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น การโอนเงินไปยังผู้ขาย หรือการลงทะเบียนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของผู้ซื้อ


6. ผลสัญญาจะถูกบันทึกลงในบล็อคเชน

ขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานของ Smart Contract นั่นก็คือ การดำเนินการของสัญญาอัจฉริยะจะออกอากาศไปยังบล็อคเชนทันที เครือข่ายบล็อกเชนตรวจสอบการดำเนินการที่ทำโดยสัญญาอัจฉริยะ บันทึกการดำเนินการเป็นธุรกรรม และจัดเก็บสัญญาอัจฉริยะที่เสร็จสมบูรณ์บนบล็อกเชน โดยทั่วไปบันทึกของสัญญาอัจฉริยะพร้อมให้ทุกคนตรวจสอบได้ตลอดเวลา


◆ ตัวอย่างการทำงานของ Smart contract


Smart contract ทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ



Smart contract นั้นทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ การตั้ง Output ซักอย่างเมื่อใส่ Input ที่กำหนดลงไป


  • เลือก ‘ของ’

  • ใส่ ‘เงินที่กำหนด’ เพื่อซื้อของที่ต้องการ

  • ใส่เงินจำนวณเท่านั้น

  • ตู้กดของตรวจสอบจำนวณเงินที่แน่นอน

  • ตู้ส่งของตามจำนวณเงินที่ใส่ไว้


ตู้กดอัตโนมัติจะส่งเงินของที่คุณต้องการเมื่อประจวบกับเงินที่มันกำหนดเอาไว้ทีแรก ถ้าคุณไม่ได้ใส่เงินเข้าไปตามที่กำหนดไว้ ของจะไม่ได้ออกมา

ข้อดีของ Smart contract

 ●  การทำงานแบบอัตโนมัติ

เรื่องนึงที่สำคัญมากๆสำหรับ Smart contract ก็คือมันสามารถสร้างผลลัพธ์ให้ได้อย่างที่เราเขียนโค้ดไว้ได้เลย โดยที่เราไม่ต้องให้คนมาทำงานหรือส่งเงินแทน ทุกๆคนเชื่อใน Code ที่ถูกเขียนไว้ตั้งแต่แรก เราเรียกการทำงานของ Code เหล่านี้ว่า ‘Smart contract’


เช่น หากเรากำหนดไว้ว่าหากเด็กเติบโตจนถึงอายุที่กำหนด เขาจะสามารถถอนเงินที่ฝากไว้ได้ ระบบมันจะทำตามนั้น หากมันไม่สามารถตรวจจับข้อมูลเหล่านั้นที่ถูกตรวจสอบอยู่บน Blockchain ได้ Smart contract ก็จะไม่ทำงานหรือปฎิเสธมันไป


 ●  Blockchain เป็นข้อมูลสาธารณะ

Smart contract ยังสามารถถูกตรวจสอบและเข้าไปไล่ดูได้เพราะมันเป็น Public Blockchain คุณสามารถตรวจสอบดูกระเป๋าใครก็ได้หากคุณมี address กระเป๋าของเขา


 ●  การปกปิดข้อมูลเป็นส่วนตัว

Smart contract ยังจะสามารถเก็บข้อมูลของคุณให้เป็นส่วนตัวได้อีกด้วย เพราะมันจะถูกระบุไว้แค่ชื่อกระเป๋าของคุณ แต่กระเป๋าของคุณนั้นจะไม่ได้ถูกผูกติดกับหลักฐานในชีวิตจริงคุณแต่อย่างใด ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณไม่ถูกตรวจสอบตัวจริงได้


 ●  ตรวจสอบการทำงานได้

เนื่องจาก Smartcontract นั้นสามารถดูได้ตั้งแต่วันแรกที่คุณใช้ Code จะเป็นแบบ Public ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูวิธีการทำงานของมันได้

ข้อเสียของ Smart contract

  • การที่ Smart contract ไม่มีตัวกลางในการควบคุมอะไรก็ตามนั้น มันอาจจะมีข้อเสียในเหตุหลายอย่างที่ต้องใช้คนจัดการ แต่อาจจะทำไม่ได้เนื่องจากมันเป็น Blockchain ที่ไม่มีใครสามารถมาแก้โค้ดได้


  • กฎหมาย มันยังไม่รองรับการใช้งาน Smart contracts นี้ แปลว่าหากมีอะไรที่ต้องการใช้กฎหมายช่วยเหลือนั้น มันไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าคุณจะถูกโกงหรืออะไรก็ตาม เนื่องจากมันเป็นระบบอนาธิปไตย ทุกคนดูแลตัวเอง


  • ทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับ Code นั้นทำให้เราต้องมั่นใจใน Developer ว่าโค้ดทุกๆบรรทัดของพวกเขานั้น ไร้ข้อบกพร่อง ทำงานได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะหาก Code ของพวกเขานั้นถูกเขียนมาให้โดนแฮ็คง่ายตั้งแต่แรก คำตอบอาจจะเป็นว่าคุณไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย

การใช้งานของ Smart Contracts

Smart contracts นั้นคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกรันบน Blockchain ซึ่งมันทำงานโดยอัตโนมัติ คุณสามารถที่จะตรวจสอบ Transaction ย้อนหลังได้สะดวกและสร้างมันเองได้อย่างอิสระไม่มีค่าใช้จ่าย แต่คำถามคือมันเอาไปสร้างอะไรได้บ้าง? หลังจากที่เรารู้ถึงข้อดีของมันแล้ว เรามาดูกันว่ามันทำอะไรได้


ทุกวันนี้เราใช้มันไปในการคำนวณ การสร้างเหรียญ การเก็บ Data การสร้าง NFT หรือแม้กระทั่งการสร้างรูปภาพเองก็ตาม เราจะยกตัวอย่างให้ฟังกัน


Use case of Smart Contract - Stablecoin


1.  Stablecoin

Stablecoin คือคริปโตเคอเรนซี่ที่ถูกออกแบบมาให้มันมีมูลค่าคงที่ไม่ผันผวน มันยังสามารถที่จะใช้กับ ETH ได้อีกด้วย คุณค่าของมันจะใกล้เคียงกับค่าเงินปัจจุบัน เรามาลองดูว่ามี Stablecoin ไหนบ้างที่สร้างบน Ethereum


ข้อดีของ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นใช้ส่งกันได้ทั่วโลก เราสามารถที่จะส่งเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต มันยังสามารถส่งผ่าน ETH account หรือ Wallet ได้อีกด้วย

  • ความต้องการของ Stablecoin นั้นสูงกว่าคริปโตแบบปกติ คุณสามารถฝากเงินไว้ในแพลตฟอร์มที่รับฝาก Stablecoin เพื่อให้พวกเขาไปปล่อยเงินกู้ได้อีก

  • Stablecoin นั้นสามารถแลกเปลี่ยนไปมาระหว่างเหรียญของ ETH ตัวอื่นได้ มีหลายๆ Daaps ที่รับ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นถูกปกป้องด้วย Cryptograhpy ไม่มีใครสามารถสร้างมันหรือขโมยมันไปจากคุณได้


Stablecoin ที่ถูกสร้างบน Ethereuem Blockchain

  • Dai - เหรียญ Stablecoin แบบ Crypto-backed ที่มีชื่อเสียงในด้าน Decentralized มากที่สุด มีมูลค่า 1 Dai = 1 USD ถูกใช้บน Dapps หลากหลายในปัจจุบัน

  • USDC - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ที่มีมูลค่า = 1USD โดย Coinbase และ Circle bank

  • Tether - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ตัวแรกบนตลาดที่มีอายุการใช้งานสูงที่สุด 


Use case of Smart Contract - NFT



2.  Non-fungible tokens (NFT)

NFT คือ Token ที่ถูกปรับมาให้ใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของผู้ถือ ซึ่งจะสามารถสอดคล้องกับ Usecase บนโลกจริงได้คือ Art, Real estate ที่ซึ่งคุณสามารถมี Identity แบบ Digital ได้ที่น่าเชื่อถือว่าหลักฐานจริง ไม่มีใครสามารถก็อปปี้ได้หรือดัดแปลงได้


NFT ในปัจจุบันถูกใช้เพื่อเพิ่มความเป็นเจ้าของของสินค้าอะไรก็ตามที่คุณอยากให้มันแตกต่าง เช่น File เพลง, File รูปภาพ หรืออะไรก็ได้ที่อยู่บนโลกออนไลน์


Fungible item นั้นหมายถึงสินค้าที่แลกเปลี่ยนได้ในอัตราที่เท่าเทียม เช่น การจะแลก 1 USD กับ 1 BUSD นั้นสามารถทำได้เนื่องจากมันถูกผลิตออกมามาก มีโค้ดที่หน้าตาเหมือนกันๆ แต่ Non-fungible token ในทางเทคนิคแล้วแต่ละ Token จะมีโค้ดที่ต่างกัน ทำให้มันแลกเปลี่ยนกันไม่ได้ในอัตราที่เท่าเทียม


ตัวอย่าง NFT usecase ที่ใช้งานปัจจุบัน

  • Foundation - Dapps สำหรับแสดงงานศิลปะ ซื้อ/ขาย/สะสม ได้ในเว็ปเดียว

  • The X - รองเท้า Sneaker NFT ที่ถูกลงสีโดย AI และสามารถใช้ได้บนโลก Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปแลกเป็นรองเท้าบนโลกจริง, Snapchat, Sandbox

  • Decentraland - พวกสินค้าในโลก Metaverse เครื่องประดับต่างๆ ที่เราจ่ายกันเป็นมูลค่าจริง

  • ENS - Ethereum Name Service ที่คุณสามารถตั้งชื่อกระเป๋าของคุณได้เป็นภาษาอังกฤษ


3.  Decentralized Exchanges (DEXs)

Decentralized Exchange คือตลาดการแลกเปลี่ยนเหรียญระหว่าง ETH หรือเหรียญอะไรก็ได้ระหว่างกัน เพื่อจับความต้องการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้ตรงกัน


แทนที่เราจะต้องใช้บริการของพ่อค้าคนกลางแบบในอดีต เราสามารถที่จะใช้ Smart contracts ในการทำธุรกรรมแลกเงินเหล่านั้นได้


นั้นหมายความว่าเรากำลังจะเปลี่ยนโลกของการแลกเงินไปโดยสิ้นเชิง เรามีทางเลือกในการไม่ใช่แพลตฟอร์มที่รวมศูนย์เหล่านั้น เราสามารถใช้เงินอะไรก็ได้ในการซื้อของอะไรก็ได้ง่ายขึ้นด้วย DEX สามารถที่จะทำหน้าที่ส่งเงินหรือซื้อเหรียญผ่านแพลตฟอร์มนี้ก็ได้นะ


แพลตฟอร์มตัวอย่าง

Uniswap, Kyber, dYdX, 1nch


4. Making an agreement

คือ การทำข้อตกลง การทำสัญญาร่วมกัน ตลอดจนการทำการ Vote การเสนอความคิดเห็นต่อหน่วยงาน หรือ องค์กรต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงก็ได้มีการนำเทคโนโลยี Smart Contract มาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่น Open Law Forms ที่ทำให้การสร้างและดำเนินการข้อตกลงทางกฎหมายเป็นเรื่องง่าย เปลี่ยนข้อตกลงทางกฎหมาย (รวมถึงข้อตกลงที่มีสัญญาอัจฉริยะ) ให้เป็นแบบสอบถามหรือแบบฟอร์มง่ายๆ เพียงแค่ผู้ใช้งานหรือผุ้มีส่วนรวมเข้าไปกรอกแบบฟอร์มตามข้อตกลงนั่นเอง โดยข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกจัดเก็บไว้ในบล็อคเชนอย่างปลอดภัย


5. Insurance claims

นอกจากระบบ Smart Contract ยังถูกมาปรับใช้ในรูปแบบของการเคลมประกันภัยอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเรามักที่จะต้องการให้ประกันภัยต่างๆ นั้นทำงานอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำสัญญาอัจฉริยะหรือ Smart Contract มาประยุกต์ใช้ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เราสามารถใช้เพื่อดำเนินการเคลมประกันและกระบวนการจ่ายเงินอัตโนมัติได้ สามารถตั้งโปรแกรมสัญญาอัจฉริยะให้จ่ายเงินทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ที่ตรวจสอบได้บางอย่าง เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น หรือ ประกันรถยนต์เกิดขึ้น เป็นต้น 


อนาคตของ Smart contract

จะเห็นได้ว่าจากหอดีตจนมาถึงปัจจุบัน หลังจากที่มีพัฒนา Smart Contract ก็เริ่มมีการนำไปประยุกต์กับการใช้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะไปในภาคการเงิน หรือตลอดจนถึงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เราไม่สามารถปฏิบัติเสธได้เลยว่าปัจจุบันนี้โลกของเรามีการขับเคลื่อนเข้ายุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมหรือดำเนินธุรกิจใดๆก็ผ่านโลกออนไลน์หมด แน่นอนว่าหลายหน่วยงานหรือธุรกิจขนาดใหญ่ก็มีการนำสัญญาอัจฉริยะมาปรับใช้ เนื่องจากว่ามีประสิทธิภาพ โปร่งใส และปลอดภัยและสามารถอุดรอยรั่วของการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญได้ 


จะเห็นได้ความสำคัญของ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ก็คือ อนาคตของการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากว่ามีศักยภาพในการลดความซับซ้อนและปรับปรุงกระบวนการที่ซับซ้อน ลดต้นทุน และเพิ่มความโปร่งใสและความปลอดภัย ด้วยการขจัดความจำเป็นในการมีคนกลาง ทั้งนี้ยังมีความสามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในโลกอนาคต Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ก็จะสามารถพรที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่างๆ และเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจของผู้คนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็เป็นได้


อ้างอิง

Introduction to smart contracts

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุดสำหรับปี 2025จากข้อมูลล่าสุดในปี 2024 Bitcoin กลับมาฟื้นตัวอย่างน่าทึ่ง โดยทะลุ 3 ล้านบาท การพุ่งขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้ลงทุนระยะยาวและผู้ที่ทำเงินจากความผันผวนของราคาในระยะสั้นได้รับกำไรอย่างมาก นอกจากที่เราจะสามารถเทรดเหรียญได้แล้วเรายังสามารถทำการขุดบิตคอยน์ได้ด้วย ในบทความนี้เราได้นำเสนอ 10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุดสำหรับปี 2025
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
จากข้อมูลล่าสุดในปี 2024 Bitcoin กลับมาฟื้นตัวอย่างน่าทึ่ง โดยทะลุ 3 ล้านบาท การพุ่งขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้ลงทุนระยะยาวและผู้ที่ทำเงินจากความผันผวนของราคาในระยะสั้นได้รับกำไรอย่างมาก นอกจากที่เราจะสามารถเทรดเหรียญได้แล้วเรายังสามารถทำการขุดบิตคอยน์ได้ด้วย ในบทความนี้เราได้นำเสนอ 10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุดสำหรับปี 2025
placeholder
Bitcoin Wallet อันไหนดี? 9 กระเป๋าบิทคอยน์ที่คนไทยนิยมใช้กัน 2024ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
placeholder
8 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุน 2024 ฉบับมือใหม่!เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 8 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 12 พ.ค. 2023
เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 8 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
placeholder
5 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะยาวในปี 2023เพื่อให้นักลงทุนไม่พลาดรถขบวนนี้เราจึงมาชวนดูว่าสกุลเงินแห่งโลกอนาคตอ่างเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนยาวนั้น เราจะสามารถลงทุนกับมันได้อย่างไร และมีโอกาสอะไรแฝงอยู่ในการลงทุนกับเหรียญคริปโตนั้นบ้าง
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 18 พ.ค. 2023
เพื่อให้นักลงทุนไม่พลาดรถขบวนนี้เราจึงมาชวนดูว่าสกุลเงินแห่งโลกอนาคตอ่างเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนยาวนั้น เราจะสามารถลงทุนกับมันได้อย่างไร และมีโอกาสอะไรแฝงอยู่ในการลงทุนกับเหรียญคริปโตนั้นบ้าง
placeholder
วิเคราะห์แนวโน้มราคาบิทคอยน์ 2024 จะไปในทิศทางใดบทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 19 พ.ค. 2023
บทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์