MKR Coin คืออะไร การวิเคราะห์เหรียญ MKR น่าลงทุนหรือไม่ในปี 2024
MKR Coin คือ เหรียญ DEFI อีกหนึ่งเหรีญที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง Governance token และ Utility token ของ Marker Protocol ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม (Lending Platform) กล่าวคือ ผู้ถือเหรียญ MKR ทุกคนสามารถนำเสนอนโยบายและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม Marker Protocol ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถนำ MKR Coin ไปใช้เป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม Maker Protocol ได้อีกด้วย
เนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการรวบข้อมูลเกี่ยวกับ Maker โดยตรงว่า MKR Coin คืออะไร, Maker มีระบบการทำงานอย่างไร, การคาดการณ์อนาคตเหรียญ MKR 2024 และเหรียญ MKR ยังน่าลงทุนหรือไม่ ติดตามทุกคำตอบอย่างละเอียดได้ที่บทความนี้เลย
Maker คืออะไร?
Maker คือ หนึ่งในแอปพลิเคชันแบบกระจายอํานาจที่ใหญ่ที่สุด (dApps) ในโลกคริปโทเคอเรนซี่ โดยทำงานอยู่บนเครือข่ายบล็อคเชน Ethereum และมีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองชื่อว่า Maker Protocol ซึ่งถือว่าเป็นโปรเจกต์แรกที่สร้างขึ้นมาในปี 2014 เป็นแพลตฟอร์ม Decentralized Finance ที่ได้รับการออกแบบจาก Maker Foundation และได้ทำการเปิดตัวโปรเจกต์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการในปี 2017 ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะสร้างระบบเครดิตให้เป็น Permissionless ซึ่งโปรเจกต์นี้ถือว่าสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
หลังจากการพัฒนาแพลตฟอร์ม Maker Protocol ผ่านไปได้ด้วยดี ทาง Maker Foundation จึงเริ่มลดบทบาทในการบริหารแพลตฟอร์มของพวกเขาลง และหันไปสร้างแพลตฟอร์ม MakerDAO ที่เป็น Decentralized Autonomous Organization หรือองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ เพื่อให้เข้ามาบริหารแพลตฟอร์มด้วยหลัก Decentralized แทน
สำหรับ MakerDAO เป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ถือเหรียญ ΜRK ทั้งหมดทั่วโลก โดยผู้ถือเหรียญดังกล่าวสามารถนำเหรียญมาใช้ในเสนอนโยบายต่อการพัฒนาแพลตฟอร์ม Maker Protocol และ MakerDAO ในอนาคต ทั้งนี้ยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบความมั่นคงและความโปร่งใสของแพลตฟอร์มและการทำงานของเหรียญ DAI ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นองค์กรแรกของ Μarker ที่มีการขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งสร้างขึ้นมาในปี 2015 จาก Rune Christensen เนื่องจากเขาได้มองเห็นข้อจำกัดบางประการของ Bitcoin ว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งยากต่อการเป็นสื่อการกลางในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา ดังนั้นเขาจึงได้ทำการสร้าง Stablecoin ที่มีเสถียรภาพและความผันผวนต่ำขึ้นมา นั่นก็คือ DAI สกุลเงินที่มูลค่าเทียบเท่ากับดอลลาร์นั่นเอง
DAI คืออะไร?
DAI คือ stablecoin แบบกระจายอํานาจศูนย์กลางและมีหลักประกันที่ตรึงไว้กับดอลลาร์สหรัฐ กล่าวคือ เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีราคาใกล้เคียงกับมูลค่าของดอลลาร์โดยไม่จําเป็นต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยถูกสร้างขึ้นมาจากกลุ่ม MakerDAO ซึ่งเดิมทีมีชื่อเรียกว่า Dai Stablecoin System เนื่องจากว่าใช้สกุลเงินดิจิทัลเพียงเหรียญเดียวเพื่อค้ำประกัน ซึ่ง Sai นั้นย่อมาจาก Single-Collateral Dai หรือ SCD หลังจากได้เปิดตัว Sai ทาง Maker Governance ก็ได้มีการเสนอนโยบายเพื่อพัฒนาและอัปเกรดโทเค็นให้มีการรองรับสกุลเงินดิจิทัลประเภทต่าง ๆ ที่เรียกว่า Multiple-Collateral Dai(MCD) หรือที่เรียกว่า Maker Protocol นั่นเอง
สำหรับ DAI ถือว่าเป็น Stablecoin ที่แตกต่างจากเหรียญอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากว่า DAI ได้ถูก backup โดย Maker Protocal ที่มีการทำงานแบบไม่ผ่านธนาคารหรือรัฐบาลแต่อย่างใด และมีระบบจัดการเหรียญด้วยระบบ On-chain ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาตรวจสอบกระบวนการทำงานได้อย่างโปร่งใส ซึ่งต่างจาก USDC และ USDT ตรงที่เงินสำรองดอลลาร์สหรัฐฯไว้ในคลัง ซึ่งต้องผ่านตรวจสอบความโปร่งใสหลายขั้นตอน
Maker ทำงานอย่างไร?
หากพูดถึงระบบการทำงานของ Μaker Protocol ตามที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าแพลตฟอร์มนี้มีระบบการทำงานอยู่บนเครือข่ายบล็อคเชน Ethereum โดยมีสกุลเงินดิจิทัลสองเหรียญที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม คือ เหรียญ ΜΚR และเหรียญ DAI ซึ่งทั้งสองเหรียญนี้จะมีบทบาทในการทำงานที่แตกต่างกัน ภายใต้ระบบเทคโนโลยีที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
เทคโนโลยี DAI Stablecoin เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นสร้างเหรียญ DAI ขึ้นมาให้มีความแตกต่างจาก Stablecoin กลุ่มอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะเป็นเหรียญที่มีความผันผวนต่ำ แต่ก็มีจุดต่างที่โดดเด่นคือเหรียญนี้ทำหน้าที่รักษามูลค่าภายใต้ระบบ Smart Contract ทำให้เหรียญนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องสำรองเงินดอลลาร์ไว้คลัง
เทคโนโลยี Algorithmic Stablecoin เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เหรียญ DAI สามารถรักษามูลค่าให้มีค่าเท่ากับสกุลเงิน $USD อยู่ตลอดเวลา ภายใต้การทำงานตามกฎเศรษศาสตร์
เทคโนโลยี Multi Collateral DAI (MCD) เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาพื่อพัฒนาและอัปเกรดโทเค็นให้มีการรองรับสกุลเงินดิจิทัลประเภทอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มเหรียญที่มีเครือข่ายการทำงานบนบล็อคเชนมาตราฐาน ERC-20 ทั้งนี้ยังได้รับการตรวจสอบ มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด
MKR Coin คืออะไร?
MKR Coin คือ Governance token และ Utility token มาตราฐาน ERC-20 ที่ถูกสร้างขึ้นมาในปี 2015 ภายใต้แพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Μaker Protocol ที่เป็นแพลต Decentralized Finance) แพลตฟอร์มที่ให้บริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ โดยผู้ใช้งานสามารถเข้ามาทำการกู้ยืม หรือปล่อยกู้ได้อย่างเสรีนั่นเอง
ทีมงานเบื้องหลังของ Maker
ผู้ที่การริเริ่มสร้าง MakerDAO ขึ้นมา คือ “Rune Christensen” ที่ได้มองเห็นข้อบกพร่องของ Bitcoin ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของ Supply ของเหรียญ บวกกับการถูกนำไปใช้เก็งกำไร ส่งผลให้ราคาเหรียญมีมูลค่าที่ผันผวนสูงเกินไป ซึ่งยากต่อการที่จะนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเหมือนกับ Fiat Currency อื่นๆ ดังนั้นเขาจึงมีแนวคิดที่จะสร้างระบบการเงินที่สร้าง Stable Coin ขึ้นมา ซึ่งมีมูลค่าความผันผวนที่ต่ำสามารถใช้เป็นสื่อกลางในชีวิตประจำวันได้
ประวัติการศึกษาของ “Rune Christensen”
“Rune Christensen” จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนสาขาวิชาชีวเคมี และสาขาศึกษาธุรกิจระหว่างประเทศที่โรงเรียนธุรกิจโคเปนเฮเกน ในอดีตเขาได้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้บริหารของบริษัท Try China ก่อนจะมาสร้าง MakerDAO ร่วมกับMaker Foundation Team
ที่มา: Bitkub
อะไรทำให้ Maker ไม่เหมือนใคร? จุดเด่นของ Maker
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า Maker ถือว่าเป็นแพลตฟอร์ม DeFi อันดับต้นๆของโลกที่มีการถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากว่าเป็นโปรเจกต์ที่สร้างขึ้นมาแบบไม่เหมือนใครอย่างเห็นได้ชัด
โดยเฉพาะการผสมผสานระหว่างระบบการเงินแบบไร้คนตัวกลางและเหรียญ Stablecoin เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการกู้ยืมได้ง่ายขึ้นและสามารถคืนเงินกลับภายในตามระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากว่าสกุลเงินมีความผันผวนต่ำ ทั้งนี้ยังมีจุดเด่นอีกประการที่ทำให้ Maker ไม่เหมือนใคร
คือมีซอฟต์แวร์โปรโตคอล 2 ชนิด ได้แก่ MakerDAO (Decentralised Autonomous Organisation) และ Maker Protocol โดยทั้งสองโปรโตคอลนี้ทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum เครือข่ายบล็อคเชนที่ได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดมากที่สุดในโลกนั่นเอง ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของ Μaker โดยมีรายละเอียดดังนี้
Maker Protocol เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม (Lending) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออัปเกรดรองรับสกุลเงินที่หลาหหลาย และสามารถนำมาใช้ค้ำประกันเพื่อทำการกู้ยืมด้วยสกุลเงินที่แตกต่างกันได้
สร้าง Stablecoin ขึ้นมาเป็นของตัวเองและเป็นเหรียญที่มูลค่าราคาความผันผวนต่ำ ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเหรียญได้ง่าย
แพลตฟอร์ม Maker มีความโปร่งใสอย่างแท้จริง เนื่องจากว่าผู้ที่ทำการถือครองเหรียญ MRK สามารถเข้าตรวจสอบและเสนอความคิดแย้งได้อย่างเสรีเมื่อพบบางอย่างผิดปกติ
มีการเผาค่าธรรมเนียม เพื่อคงรักษามูลค่าของเหรียญ MRK ไว้
Maker มีความปลอดภัยอย่างไร?
สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของ Cryptocurrency ที่หลายคนต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม เพราะเรามักจะได้ยินกระแสข่าวลบเกี่ยวกับวงการนี้อยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับตลาด Defi ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการโดนแฮ็กข้อมูล การล้มสลายของแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนหลายคนเกิดความไม่สบายใจ
สำหรับแพลตฟอร์ม Μaker เป็นแพลตฟอร์มที่มีการทำงานอยู่ระบบเครือข่าย Ethereum Blockchain ทั้งนี้ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับตรวจสอบ Smart Contract โดยองค์กรรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ อย่าง Chainsecurity เพื่อเป็นการการันตีว่าแพลตฟอร์ม Μaker Protocol เป็นแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการทำงาน
Maker สามารถใช้มาทำอะไรได้บ้าง?
โทเค็น MKR ถือว่าเป็นโทเค็นหลักในการขับเคลื่อนระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม Μaker Protocol โดยตรงเลยก็ว่าได้ด้วยคุณสมบัติเฉพาะของเหรียญที่เป็นทั้ง Governance token และ Utility token ดังนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ 2 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
เหรียญ MKR ที่มีคุณสมบัติเป็น Governance token ผู้ที่ถือครองเหรียญทุกคนสามารถใช้ MRK Coin เพื่อเข้ารับสิทธิในการเข้าโหวตออกเสียงและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อพัฒนาโครงสร้างของ ΜakerDAO และ Μaker Protocol ได้ทั้งหมด
เหรียญ ΜΚR ที่มีคุณสมบัติเป็น Utility token สามารถนำไปใช้ชำระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ สามารถทำการ Stake เพื่อเก็งกำไร
ข้อเสียและความเสี่ยงของ Maker
แม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Defi ที่ค่อนข้างน่าสนใจ แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะต้องควรระวังเช่นกัน เช่น
ตัวเหรียญ ΜΚR และตัวเหรียญ DAI สามารถใช้งานได้เพียงบนเครือข่าย Ethereum Ecosystem เท่านั้น สำหรับเครือข่ายอื่นๆยังไม่มีการรองรับ ดังนั้นทุกครั้งที่ทำธุรกรรมการโอนผู้ใช้งานจะต้องดูเครือข่ายให้ดีเพื่อป้องกันการสูญเสียสินทรัพย์
ในส่วนของราคาเหรียญ MRK จะมีมูลค่าราคาการผันผวนตามความต้องการของเหรียญ DAI
ความเสี่ยงในเรื่องของการปรับสมดุลระหว่างมูลค่าที่ลดลงของหลักประกันในกรณีสภาวะ Panic ของตลาดอย่างรุนแรง อาจจะก่อให้มูลค่าความเสียต่อระบบแพลตฟอร์มโดยตรง
การคาดการณ์อนาคตเหรียญ MKR / แนวโน้มเหรียญ MKR 2024
สำหรับเหรียญ MRK มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหลายคนวิเคราะห์และคาดการ์ณราคาเหรียญในอนาคตว่าอาจจะมีประสิทธิภาพมากว่าคู่แข่ง กล่าวคือ มีแนวโน้มที่มูลค่าของ MRK สูงขึ้นแต่ในขณะเดียวกันก็มีคาดการ์ณว่าราคาอาจจะร่วงลงกว่าเดิมก็เป็นได้ ซึ่งในประเด็นนี้ทางผู้เขียนได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการ์ณเหรียญ ΜRK ในปี 2024 จากเว็บไซต์ cryptonews โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การคาดการณ์ราคา crypto MKR ของเราในปี 2024 ชี้ให้เห็นว่า Maker อาจมีระดับราคาขั้นต่ำที่ 1,280 ดอลลาร์ไปจนถึงระดับราคาสูงสุดที่ 1,750 ดอลลาร์ และราคาเฉลี่ยของ MKR crypto คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,520 ดอลลาร์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การคาดการ์ณราคาเพียงเท่านั้น ราคาดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะขึ้นอยู่สภาวะตลาดในช่วงเวลานั้นๆด้วย
MKR Coin ดีไหม? น่าลงทุนไหมในปี 2024?
จากสถานการ์ณราคาของ MKR Coin ในปัจจุบันก็ถือว่าราคาทียังไม่ค่อยนิ่งสักเท่าไหร่ ยังมีความผันผวนตามสภาวะตลาดและความต้องการใช้เงินของเหรียญ DAI เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า MKR Coin ถือว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลชนิดหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงอยู่พอตัว หากเรายึดตามหลักของการคาดการ์ณราคาจากนักวิเคราะห์ก็จะเห็นว่าเหรียญ ΜRK เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าลงทุนในปี 2024 เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักลงทุนจะต้องติดตามสถานการ์ณตลาดและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนลงทุนเพื่อป้องกันการเสียสินทรัพย์ของตนเอง
บทความนี้เป็นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ MKR Coin คืออะไร อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงานของเหรียญ วัตถุประสงค์ของการสร้างเหรียญนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร หน้าที่การใช้งาน ความเสี่ยงที่เราต้องเจอหากเราต้องลงทุนในเหรียญนี้ ตลอดจนถึงในเรื่องของการคาดการ์ณราคาของเหรียญและแนวโน้มของเหรียญในอนาคต ซึ่งข้อมูลทั้งหมดอาจจะสามารถทำให้นักลงทุนทุกคนได้วิเคราะห์ข้อมูลเองว่าเหรียญนี้มีความน่าสนใจต่อตัวเรามากน้อยแค่ไหนตัวเราเหมาะกับการที่จะลงทุนในเหรียญนี้หรือไม่ ทางผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนทุกท่าน
ทำไมเหรียญ MKR มีราคาสูง
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน