ICO (Initial Coin Offering) คืออะไร รู้ไว้ก่อนลงใน Crypto
ICO คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตลาด “Cryptocurrency” วันนี้เราจะพานักลงทุนทุกท่านมาทำความรู้จักกับ ICO (Initial Coin Offering) อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ICO มีกระบวนการทำงานอย่างไร, ยกตัวอย่างสกุลเงินดิจิทัลที่มีการเสนอขายเหรียญแบบ ICO พร้อมวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ ICO จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้นไปดูรายละเอียดได้พร้อมกันเลย
ICO (Initial Coin Offering) คืออะไร
ICO (Initial Coin Offering) คือ การระดมทุนในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างโปรเจกต์ที่น่านสนใจ ด้วยวิธีการนำเสนอการขายเหรียญหรือโทเค็นเพื่อดึงดูดกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ทั่วโลกเข้ามาลงทุนกับแพลตฟอร์มนั้นๆ โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแบ่งรายได้ หรือได้สิทธิพิเศษในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้จะมีการทำข้อตกลงกันในรูปแบบของสัญญาอัฉริยะ (Smart Contract) นั่นเอง
สำหรับรูปแบบการระดมทุนที่กลุ่มเจ้าของแพลตฟอร์มที่ทำการสร้างโปรเจกต์ใหญ่ๆนิยมใช้กันคือรูปแบบ ICO Lunchpad ที่เปิดโอกาสให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายทั้งฝั่งผู้ลงทุนและฝั่งเจ้าของแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน
เนื่องจากว่า ”ICO Lunchpad” มีความเข้มงวดในการที่จะเลือกแพลตฟอร์มให้สามารถระดมทุน จะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขทุกประการ หากผ่านการคัดเลือกแล้วนั้น ก็จะได้รับการสนับสนุนทางการตลาด แนะนำเทคนิคต่างๆ ตลอดจนถึงช่วยระดมทุนให้อีกด้วย
ICO มีกระบวนการทำงานอย่างไร
สำหรับกระบวนการทำงานของ ICO จะเริ่มต้นจากกลุ่มสตาร์ททำการระดมทุนโดยการออกโทเค็นบนบล็อคเชน (รายการบันทึกที่ปลอดภัยโดยใช้การเข้ารหัส) จากนั้นแจกจ่ายโทเค็นเพื่อแลกกับการที่นักลงทุนสนับสนุนเงินเพื่อให้พัฒนาโปรเจกต์นั้นๆ โดยโทเค็นเหล่านี้สามารถทำโอนข้ามเครือข่ายและซื้อขายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล สามารถรองรับฟังก์ชันต่างๆ ได้มากมาย ตั้งแต่การให้สิทธิ์แก่ผู้ถือในการเข้าถึงบริการเฉพาะ ไปจนถึงการให้สิทธิ์ในการรับเงินปันผลของบริษัท ซึ่งลักษณะการทำงานของโทเค็นจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท ก็คือ Utility Token และ Security Token เป็นต้น
ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่มีการเสนอขายเหรียญแบบ ICO
ในประเด็นนี้ทางผู้เขียนจะทำการยกตัวอย่างของสกุลเงินดิจิทัลที่มีการเปิดระดุมจากนักลงทุนทั่วโลก เพื่อนำเงินดังกล่าวมาพัฒนาแพลตฟอร์มและการสร้างโปรเจกต์ใหม่ๆที่น่าสนใจ อย่างเช่น
1. Ethereum
Ethereum เป็นสกุลเงินที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของ Bitcoin และมีจุดเด่นในเรื่องของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contrac) ทำให้เกิดความน่าสนใจต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก ในช่วงปี 2014 ได้ทำการจัดทำ ICO ขึ้น จบลงด้วยการระดมทุนได้ 18.4 ล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 42 วัน ถือว่าประสบความสำเร็จอยู่พอสมควร จนกลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของตลาดในปัจจุบันนี้
2. Tezos
Tezos เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการระดมทุนในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง ที่มีระบบการดูแลแบบ Onchain Governance กล่าวคือสามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้อย่างละเอียด ด้วยโปรเจกต์ที่น่าจับตามอง ทางแพลตฟอร์มจึงมีการเปิดระดมทุนได้ 232 ล้านดอลลาร์ผ่าน ICO ในเดือนกรกฎาคม 2017 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากว่ามีความล่าช้าเกี่ยวกับการแจกจ่ายโทเค็นที่ขายผ่าน ICO ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้องแบบกลุ่ม Tezos บรรลุข้อตกลงยอมความกับทุกฝ่าย และจ่ายค่าเสียหายไปมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
จากสองกรณีเราจะเห็นได้ว่าบางครั้งการเปิดระดมทุนก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของเจ้าของโครงการด้วยเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของ ICO
จากที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นก็พอจะเดาออกแล้วว่าการระดุมทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อดีของ ICO
กลุ่มสตาร์ทอัพสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว
มีโอกาสที่สร้างกำไรในระดับที่สูง เนื่องจากว่าผู้เข้าซื้อ Token ในการเปิด ICO ครั้งแรกจะได้ Token ในราคาที่ถูกและสมารถทำการแลกเปลี่ยน Token เป็นเงินสดได้เลยทันที
มีระบบความปลอดภัย สามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้ เนื่องจากว่ามีการทำข้อตกลงกันผ่านสัญญาอัจฉริยะ
ข้อเสียของ ICO
Token มีราคาที่ผันผวนสูง อาจจะไม่ได้กำไรตามที่ต้องการ
ไม่มีกฎหมายรองรับในการระดุมข้ามประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดฉ้อโกงกันเกิดขึ้น
บทสรุป
ICO (Initial Coin Offering) การระดมทุนในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัล ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เหล่าบรรดานักพัฒนาโปรเจกต์ในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลหากำลังทรัพย์เพิ่มได้ถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปพัฒนาแพลตฟอร์มให้มีความเสถียรภาพและตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากอย่างขึ้น แต่ก็ยังมีจุดโหว่ในเรื่องของกฎหมายที่ไม่ได้เกิดการคุ้มครองอย่างครอบคลุม ดังนั้นนักลงทุนท่านใดที่จะทำการบริจาคเงินเพื่อร่วมลงทุนจะต้องพิจารณาให้รอบครอบเพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง เนื้อหาในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอความรู้เท่านั้นไม่ได้เป็นการชี้ชวนให้ลงทุนอต่อย่างใด
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน