DEX คือ อะไร? อะไรคือโอกาส? DEX อันไหนที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นลงทุน
Decentralized exchange หรือ DEX คือกระดานซื้อขายคริปโทที่ธุรกรรมเกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง DEX ได้เติมเต็มหนึ่งความเป็นไปได้ของคริปโทคือ ดำเนินการธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ผ่านแบงก์ โบรกเกอร์ หรือตัวกลาง DEX ที่นิยมจำนวนมาก เช่น Uniswap, Sushiswap ถูกสร้างบน Ethereum บล็อกเชน เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ DEX กันเถอะ
DEX คือ อะไร?
DEX ย่อมาจาก Decentralized Exchange เป็นตลาดซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลระหว่างบุคคล-บุคคล ที่ไร้ตัวกลาง ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเชื่อมต่อกระเป๋าดิจิทัล (wallet) ของตัวเองเข้ากับ DEX นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานเป็นผู้ถือ private key ในการเข้าถึง คริปโทเคอร์เรนซีของเขาเมื่อทำการเชื่อมต่อผ่าน DEX โดยทั่วไป ผู้ใช้งานไม่ต้องทำการยืนยันตัวตน (KYC) และส่งข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อจริงหรือที่อยู่ เพื่อทำการซื้อขายเงินดิจิทัลผ่าน DEX ซึ่งแตกต่างจาก Centralized Exchange ซึ่งผู้ใช้งานต้องทำ KYC ก่อนเทรด
การทำงานของ DEX เป็นการทำงานผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) ซึ่งการทำงานของสัญญาอัจฉริยะ จะถูกดำเนินการอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้งานทำการฝากเงินดิจิทัลจากกระเป๋าดิจิทัลมายัง DEX เพื่อเทรดหรือมีเงื่อนไขคำสั่งซื้อขายของผู้ซื้อและผู้ขายบนแพลตฟอร์มที่ตรงกัน คำสั่งซื้อขายจะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติ
DEX มี 4 ประเภทหลักๆ โดยประเภทของ DEX มีดังต่อไปนี้
1.Automated market makers (AMMs)
คือโปรโตคอลสำหรับ DEX ประเภทหนึ่ง ที่อาศัยสูตรทางคณิตศาสตร์ในการกำหนดราคาสินทรัพย์และสภาพคล่อง โดยในการทำงานของ AMMs เป็นแบบ peer to contract ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ใช้งานกับ smart contract โดยตรง Smart contact นี้จะให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องใส่เงินลงไปใน pool โดยผู้ใช้งานทำการเทรดผ่านสภาพคล่องที่มีอยู่ ทั้งนี้การเทรดแบบ AMMsไม่จำเป็นจะต้องมีคู่เทรดเพราะผู้ใช้งานแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กับสภาพคล่องที่มีอยู่
2.Order Book
คือ การรวบรวมคำสั่งซื้อขายเงินดิจิทัลของผู้ซื้อและผู้ขาย สำหรับคู่เทรดเช่น BTC/USDT, ETH/USDC โดยวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องมีการวางสภาพคล่อง การเทรดแบบนี้เป็นที่รู้จักกันแบบสมัยก่อน เช่น การเทรดหุ้น ผู้ใช้สามารถเข้าไปใส่คำสั่งซื้อ (Bid) หรือขาย (Offer) ที่ราคาระดับต่าง ๆได้ เมื่อราคาซื้อกับขายตรงกันก็จะเกิดรายการซื้อขายเกิดขึ้น
3.Cross-Chain Swap
แตกต่างและมีความสำคัญจาก DEX ประเภทอื่น ๆ คือวิธีนี้เป็นการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลหนึ่งจากบล็อกเชนหนึ่งไปเป็นเหรียญดิจิทัลอื่นบนบล็อกเชนอื่น เช่น การ swap เหรียญ ETH บน Ethereum Chain ไปเป็น USDT บน Solana chain
4.DEX Aggregator
ประเภทนี้มีความพิเศษแตกต่างกับ 3 ประเภทที่ผ่านมาคือ รวบรวมสภาพคล่องจาก DEXอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องและเพื่อลดค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างราคา (Slippage) DEX ประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานได้ผลกระทบด้านราคาจากการเทรดและลดโอกาสที่จะทำธุรกรรมล้มเหลวเนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างราคาที่สูง
ประเภทของ DEX | หลักการทำงาน | ตัวอย่าง |
AMM | ดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติ โดยอาศัยสูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณราคาสินทรัพย์ | Uniswap, Balancer, Sushi, Curve |
Cross-Chain Swap | การส่งเหรียญไปยังอีกบล็อกเชนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเหรียญเดิม | Stargate, CrossChain Bridge, Arken Finance |
DEX Aggregator | รวบรวมสภาพคล่องจาก DEX อื่น ๆ | 1Inch, Open Ocean, ParaSwap |
ทำไม DEX ถึงเกิดขึ้น
เป็นที่ทราบกันว่า DEX สามารถปิดจุดอ่อนของ CEX ได้หลายอย่าง ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าอดีตทำให้มีการคิดค้น DEX ขึ้นมา โดยจุดเริ่มต้น DEX แรกถูกสร้างขึ้นมาหลักจากการเกิดขึ้นของ Ethereum ในปี 2015 DEX กับ CEX มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดย DEX สามารถแก้ปัญหาและจุดอ่อนของ DEX ดังนี้
ด้านความโปร่งใส
DEX มีความโปร่งใสมากกว่า CEX เพราะไม่มีตัวกลางมาควบคุมธุรกรรมของผู้ใช้ เพราะผู้ใช้งานทำธุรกรรมผ่านบล็อก สามารถเห็นธุรกรรมต่าง ๆ บนบล็อกเชนได้
ด้านความปลอดภัย
DEX จะไม่ครอบครองเงินของผู้ใช้งานในการเทรดเพราะพวกเขาใช้ private key ของตัวเองในการควบคุมเงินเขา ซึ่งต่างจาก CEX ที่ผู้ใช้งานต้องฝากเงินเข้ามาในระบบ ทำให้ DEX มีการป้องกันความเสี่ยงจากการโกง, การปั่นราคา หรือการใช้ข้อมูลภายใน
ด้านการต่อต้านการตรวจสอบทุกประเภท
ธุรกรรมจากการเทรดบน DEX ไม่สามารถถูกปิดกั้นการเทรดจากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่สามได้ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ใช้งานที่อยู่ในระบบการปกครองที่กดขี่หรือจากผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย เพราะหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถบังคับให้พวกเขาหยุดเทรดได้
เหตุผลที่ DEX สามารถเป็นที่นิยมและเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกได้ เพราะ คนที่มีอินเทอร์เน็ตสามารถใช้งาน DEX ได้ทั่วมุมโลก พวกเขาสามารถแค่เชื่อมต่อ wallet เขาเข้ากับ DEX โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทาง อีกทั้งคนที่อยู่ชนบทในที่ที่ไม่มีสถาบันการเงินหรือคนในประเทศที่มีกฎเกณฑ์กีดกันการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พวกเขาเหล่านี้สามารถเข้าถึง DEX โดยง่ายดาย สำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มากสามารถไปใช้ DEX แทนการลงทุนอื่นๆ เพราะ DEX ปัจจุบันมีอัลกอริทึมที่สามารถแบ่งค่าธรรมเนียมหรือสร้างกำไรให้ผู้ลงทุนได้
ข้อดีของ DEX
นักลงทุนจะต้องรู้ข้อดีและข้อเสียของ DEX เพราะจะสามารถพิจารณาลงทุนได้อย่างรอบคอบมากขึ้น โดยข้อดีของ DEX มีดังนี้
มีความโปร่งใสในการทำธุรกรรม เพราะผู้ใช้งานที่ทำธุรกรรมบน DEX สามารถมองเห็นได้
ความเป็นส่วนตัว เพราะผู้ใช้งานไม่ต้องใส่ข้อมูลส่วนตัวเช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรในการซื้อขาย
มีความปลอดภัย เพราะ DEX ถูกสร้างโดยเทคโนโลยีบล็อกเชน หมายความว่าธุรกรรมจะถูกบันทึกในนั้นซึ่งยากต่อการปรับเปลี่ยน, โดนแฮ็กหรือปั่นราคา
ความอิสระ ในการซื้อขาย เพราะ DEX ส่วนใหญ่ไม่สามารถถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานใด ๆได้ คนที่มีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถใช้งาน DEX ได้
เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของนักลงทุนในการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากการลงทุนในปัจจุบันเช่น หุ้น, ค่าเงิน, ทองคำ ราคาจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ เมื่อทิศทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงหรือมีการเมืองมาเกี่ยวข้องทำให้ ราคาสินทรัพย์เหล่านั้นมีความผันผวนสูง การลงทุนใน DEX จึงเป็นอีกตัวเลือกนึงสำหรับนักลงทุนที่ต้องกระจายความเสี่ยง
ข้อเสียของ DEX
อย่างไรก็ตาม DEX มีข้อเสียเมื่อเปรียบเทียบกับ CEX ดังนี้
มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า CEX เพราะสภาพคล่องของการซื้อขายขึ้นอยู่กับจำนวนเงินใน pool ถ้ามีคนวางเงินใน pool น้อยสภาพคล่องก็จะน้อยลง
ความเสี่ยงด้าน smart contract ถ้านักพัฒนาเขียนโปรแกรมไม่ดีก็จะทำให้มีช่องโหว่ให้ hacker สามารถขโมยเงินได้
ความเสี่ยงด้านลืม private key ไม่เหมือนกับ CEX ที่ใช้รหัส username กับ password ในการเข้าระบบหากผู้ใช้ลืมก็สามารถขอใหม่ได้ ในทางตรงข้ามหากผู้ใช้งาน DEX ลืม private key เขาไม่สามารถกู้คืนได้
ข้อดี | ข้อเสีย |
a.มีความโปร่งใส | a.มีสภาพคล่องต่ำกว่า CEX |
b.มีความเป็นส่วนตัว | b.มีความเสี่ยงด้าน smart contract |
c.มีความปลอดภัย | c.ความเสี่ยงด้านลืม private key |
อนาคตของ DEX คืออะไร
ในอนาคตจำนวนผู้ใช้งาน DEX จะเพิ่มขึ้นเรื่อยและมีมูลค่าซื้อขายต่อวันเพิ่มขึ้นตามข้อดีที่กล่าวไปข้างต้น นอกจากนี้ DEX จะถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยมากยิ่งและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงขึ้นตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ในส่วนของการออกแบบ UX/UI สามารถถูกออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้นในอนาคต DEX ในอนาคตยังสามารถต่อยอดพัฒนาเรื่องโครงสร้างค่าธรรมเนียมซึ่งอาจแชร์ให้นักลงทุนมากขึ้นจาก DEX ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น ในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อกับสินทรัพย์จริงบนโลก (Real World Asset) เข้ากับ DEX มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยนักลงทุนสามารถได้รับผลตอบแทนจากการแปลงสินทรัพย์ต่าง ๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Tokenization) นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้น ๆได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องถือครอง 100% และไม่มีตัวกลาง ตัวอย่างการทำ tokenization เช่น อสังหาริมทรัพย์ ,สินค้าโภคภัณฑ์, พลังงาน, หุ้น
DEX อันไหนที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นที่จะลงทุน
DEX ในปัจจุบันมีมากมายและแตกต่างกัน สำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนเริ่มต้น ผู้เริ่มต้นสามารถลงทุนใน DEX โดยตรงหรือลงทุนในเหรียญที่ DeFi Protocol สร้างขึ้น (Governance token) โดยสิ่งที่นักลงทุนหน้าใหม่จะต้องรู้คือ เมื่อมีคนเพิ่มสภาพคล่องใน DEX ส่วนใหญ่พวกเขาจะได้รับผลตอบแทนเป็น Governance token ซึ่งพอได้เหรียญมาจะถูกขาย ทำให้เหรียญราคาตกต่ำ ซึ่งคนที่ลงทุนในเหรียญ Governance token โดยตรง อาจจะขาดทุนได้ ในหัวข้อนี้เราจะแนะนำ Uniswap , DYDX, Sushi และ CRV เนื่องจากใช้งานง่ายและมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
1.Uniswap
Uniswap ถือว่าเป็นต้นแบบ DEX ประเภท Automated market makers (AMMs) ของหลาย DEX เช่น Sushiswap, Pancakeswap โดย Uniswap ถูกสร้างอยู่บน Ethereum บล็อกเชน ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเทรดเหรียญ ERC20 ได้โดยไม่ผ่านตัวกลางซึ่งราคาเหรียญที่เทรดขึ้นอยู่กับสภาพคล่องใน pool
อย่างไรก็ตามสภาพคล่องที่อยู่บน Uniswap ไม่ถูกมาใช้ได้อย่างเต็มที่เพราะว่าระบบ AMMs จะกำหนดราคาของเหรียญด้วยสมการ X*Y=Z โดยที่จำนวน Token A คือ X, Token B คือ Y และ K คือค่าคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีผู้ใช้งานทำการแลก A เป็นจำนวนมาก จะทำให้เหรียญ Aใน pool เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่า K ต้องเท่าเดิม ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของ B จะเพิ่มขึ้น ขณะต้นทุนของ A จะลดลง ดังนั้นยิ่งใส่เหรียญ A ไปเท่าไหร่ก็จะได้รับ B น้อยลงเนื่องจากราคาที่เพิ่มมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ UNISWAP V3 จึงเกิดขึ้นมาเพื่อใช้สภาพคล่องให้เต็มประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้งานสามารถฝากสภาพคล่องและสามารถเลือกช่วงราคาที่คิดว่าเงินที่ฝากถูกใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ด้วยสิ่งนี้เมื่อผู้วางสภาพคล่องจะได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้นเมื่อราคาเหรียญอยู่ในช่วงนั้น
2.DYDX
DYDX เป็นผู้นำ DEX ที่มี ผู้ใช้งานสามารถเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Perpetual Contract) โดยที่สัญญานี้จะไม่หมดอายุและถูกสร้างบน layer 2 ของ Ethereum มากกว่า 35 สกุลเงินดิจิทัล
ยกตัวอย่างการใช้งานเช่น ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการเทรดได้โดยการใช้ leverage เช่น x2, x3,x10 จากการเปิดสถานะ long ถ้าผู้เทรดคาดว่าราคาจะขึ้น ถ้าราคาสินทรัพย์อ้างอิงขึ้น ผู้เทรดก็จะได้รับกำไรมากกว่าปกติในทางตรงกันข้าม หากผู้ใช้งานคิดว่าราคาเหรียญจะลง เขาสามารถเปิดสถานะ short ถ้าราคาสินทรัพย์อ้างอิงลง ผู้เทรดก็จะได้รับกำไรมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ DYDX ยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานทำการ stake เหรียญ USDC เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยผู้ stake จะได้ค่าธรรมเนียมจากการเทรดและจากการทำธุรกรรมเป็นเหรียญ DYDX ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้เหรียญนี้ไปใช้ในการโหวตได้ นอกจากการ stake และการเทรด ผู้ใช้งานยังสามารถมีโอกาสได้รับ NFT จากสถิติการเทรดหรือการ stake
3.Pancakeswap
Pancake เป็นผู้ให้บริการสภาพคล่องไร้ตัวกลางอันดับ 1 บน Binance Smart Chain (BSC) Pancakeswap ใช้ระบบ AMMs เช่นเดียวกับ Uniswap แต่แตกต่างจาก Uniswap คือ ผู้เทรดสามารถเทรดเหรียญที่รองรับ BEP20 ข้อดีของ Pancakeswap คือ มีค่าธรรมเนียมถูกว่า Uniswap ซึ่งถูกสร้างบน Ethereum
Pancakeswap ยังมี function เสี่ยงโชค โดยการทำนายราคาคู่เหรียญจะขึ้นหรือลง หรือ lottery ที่ให้ผู้ใช้งานเสี่ยงโชค, นอกจากนี้มีบริการซื้อขาย NFT โดยใช้เหรียญ cake ในการซื้อขาย
ประเด็นอะไรที่ผู้เริ่มต้นจะต้องสนใจตอนที่ลงทุนใน DEX
สำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ต้องการเข้ามาใช้ DEX สิ่งที่ต้องสนใจมีดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงด้านราคา: คริปโตมีความเสี่ยงสูงเรื่องราคาเมื่อเทียบกับหลักทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และ DEX ยังมีความใหม่มาก ถ้าหากมือใหม่ไม่ศึกษาโปรเจคนั้นไม่ดี ทำให้ขาดทุนได้
ความเสี่ยงเรื่องโดนโกง: ในโลกของคริปโตมีการโกงกันมากมาย เช่น หลอกการเอา private key หรือการ hack เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนหลอกนักลงทุนหน้าใหม่ไม่ควรให้ private key กับใครทั้งสิ้นและควรจดมันลงในกระดาษไม่ควรจดลง internet นอกจากนี้ควรซื้อ hardware wallet มาเก็บเหรียญ crypto เพราะ hacker ไม่สามารถใช้ internet มา hack ได้
ความเสี่ยงด้าน smart contract: DEX บาง DEX อาจถูกเขียนมามีช่องโหว่ทำให้ hacker สามารถขโมยเงินได้ สิ่งที่นักลงทุนควรทำคือ พิจารณาว่า DEX นั้นๆ ได้ รับรองจากหน่วยงานไหน เช่น Certik, Solidity Finance, BlockSec, MixBytes นอกจากนี้ผู้ใช้งานอาจจะตรวจสอบ มูลค่าเงินธุรกรรมนั้น ๆบน DEX ว่ามีมากแค่ไหน
สรุป
DEX และ CEX มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน DEX ขึ้นอยู่ว่าผู้ใช้ถนัดแบบไหน ในปัจจุบันมี DEXหลากหลายประเภทแต่ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นักเนื่องจากยังมีความเสี่ยง และจากการแตกสลายของเหรียญ Luna, Celsius, และ FTX สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในคริปโตและ DEX
อย่างไรก็ตามการพัฒนาของ DEX ในเรื่องของความปลอดภัย,ค่าธรรมเนียม ทำให้คนมาใช้ DEX อีกครั้งหนึ่ง และในอนาคต DEX ก็ยังต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยเพื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของคนที่ต้องการผลตอบแทนที่น่าพอใจ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน