วิเคราะห์ราคาทองวันนี้|วิเคราะห์ทองคํา forex วันนี้|วิเคราะห์ XAUUSD วันนี้ - วันที่ 14 ก.พ. 2568
![coverImg](https://tw.mitrade.com/cms_uploads/img/20230815/6b4b1b7e39a4e071354bae48bd970774.jpeg)
ราคาทองคำวันนี้
กราฟแสดงราคาทองคำวันนี้
*ค่าคอม ฯ 0 และสเปรดต่ำ 0️⃣
*เงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์ 💰
*โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 🎁
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> |
วิเคราะห์ราคาทองวันนี้|วิเคราะห์ทองคํา forex วันนี้|วิเคราะห์ XAUUSD วันนี้
วิเคราะห์ราคาทองวันนี้ ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ราคาทองคำ (XAUUSD) ปรับตัวเพิ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันที่ผ่านมา หลังจากการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ประกอบกับการข่าวลือที่ว่าแผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมของประธานาธิบดี Donald Trump ที่ประกาศก่อนหน้านี้จะยังคงต้องใช้เวลาอีกซักพักก่อนจะดำเนินการได้ ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งแตะระดับ 2,933 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จ่อใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,942 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดี Trump ได้ลงนามในคำสั่งเก็บภาษีตอบโต้ โดยประกาศว่า “พวกเขาเรียกเก็บภาษีจากเราเท่าไหร่ เราก็จะเรียกเก็บจากพวกเขาเท่านั้น” พร้อมเสริมว่าจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา และยังเตรียมประกาศมาตรการภาษีนำเข้ารถยนต์เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วสำหรับเหล็กและอลูมิเนียม
นอกจากนี้ตลาดทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยดัชนีดอลลาร์ (US Dollar Index: DXY) ซึ่งวัดค่าเงินดอลลาร์เทียบกับตะกร้าเงิน 6 สกุลหลัก ปรับตัวลดลง 0.61% มาอยู่ที่ระดับ 107.32 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน แม้ว่ารายงานเงินเฟ้อล่าสุดในด้านผู้ผลิตจะแสดงให้เห็นว่ากระบวนการชะลอตัวของเงินเฟ้อได้หยุดลงแล้วก็ตาม
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง อาจส่งผลให้ราคาทองคำทดสอบระดับที่สูงขึ้นในระยะสั้น นอกจากนี้ ตามที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลกอาจสร้างแรงกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น
เงินเฟ้อผู้ผลิตสหรัฐฯ พุ่งเกินคาด กดดันเฟดชะลอลดดอกเบี้ย
ตัวเลขเศรษฐกิจในวันที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมกราคม หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนธันวาคม ตามรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น 3.5% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2% และสูงกว่าตัวเลขเดือนธันวาคมที่ 3.3%
ทางด้านดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมกราคม สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 3.6% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.3%
ตลาดแรงงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง หนุนราคาทองทรงตัวเหนือ 2,900 ดอลลาร์
ทางฝั่งจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 7,000 ราย มาอยู่ที่ 213,000 รายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 217,000 ราย ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งเป็นมาตรวัดที่น่าเชื่อถือมากกว่าเนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 216,000 ราย จาก 217,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้า
จำนวนผู้รับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องอยู่ที่ 1.85 ล้านรายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ลดลงจาก 1.886 ล้านรายในสัปดาห์ก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯ
นักวิเคราะห์ระบุว่าตลาดทองยังคงได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
นักวิเคราะห์ชี้โอกาสทองแตะระดับสูงสุดใหม่ หลังธนาคารกลางทั่วโลกเร่งซื้อสะสม
World Gold Council (WGC) เปิดเผยว่าธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำเกิน 1,000 ตันเป็นปีที่สามติดต่อกันในปี 2024 โดยหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งของ Trump การซื้อทองคำโดยธนาคารกลางพุ่งขึ้นกว่า 54% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ 333 ตัน ตามข้อมูลของ WGC
Daniel Ghali นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านสินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities ระบุว่า แม้ในอดีตการแข็งค่าของดอลลาร์มักส่งผลลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงโลหะมีค่า แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว โดยทองคำมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งมากในขณะนี้
Ghali เสริมว่าเมื่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากพอ จะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการซื้อจาก “ผู้ซื้อรายใหม่” โดยเฉพาะจากเอเชีย ทั้งจากธนาคารกลาง นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน ซึ่งทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับการป้องกันความเสี่ยงจากการเสื่อมค่าของเงิน Fiat
วิกฤตทองคำในจีน-รัสเซีย ธนาคารขนาดใหญ่ประกาศสต็อกหมด ท่ามกลางดีมานด์พุ่งทะยาน
ด้านธนาคารจีนก็กำลังเผชิญภาวะทองคำขาดแคลนอย่างหนัก ขณะที่รัสเซียก็ประสบปัญหาทองคำสำรองทั้งในระดับธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทองคำภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากของสองประเทศสมาชิก BRICS ท่ามกลางราคาทองคำที่ทำสถิติสูงสุดใหม่
สำนักข่าว Yicai รายงานว่า แอปพลิเคชันของ Industrial and Commercial Bank of China แสดงสถานะทองคำแท่งขนาด 5, 20, 50, 100 และ 200 กรัมว่าหมดสต็อก โดยมีเพียงทองคำแท่งขนาด 10 กรัมเท่านั้นที่ยังมีจำหน่ายแต่ก็มีจำนวนจำกัด
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลของแต่ละธนาคารจีนก็แสดงให้เห็นว่าทองคำแท่งขนาด 10 และ 20 กรัมหมดสต็อก ส่วนขนาด 100 และ 200 กรัมก็เหลือน้อย และมีเพียงทองคำแท่งเพื่อการลงทุนขนาด 50 และ 100 กรัมเท่านั้นที่ยังมีจำหน่าย นอกจากนี้ ยังแสดงสถานะทองคำแท่งทุกขนาดอยู่ในสถานะพรีออเดอร์ ซึ่งหมายความว่าไม่มีสินค้าพร้อมจำหน่ายในขณะนี้
Wu San นักวิจัยจาก Bank of China Research Institute กล่าวว่า แม้ราคาทองคำอาจจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้น แต่ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก็มีแนวโน้มที่จะสะสมเพิ่มขึ้นเช่นกัน นักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณากลยุทธ์ที่แตกต่างกัน เช่น การกระจายการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ เพื่อกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์ของแต่ละคน
ด้านรัสเซีย อีกหนึ่งประเทศมหาอำนาจในกลุ่ม BRICS ก็กำลังเผชิญกับภาวะทองคำสำรองที่ลดลงทั้งในระดับธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์เช่นกัน โดยสำนักข่าว RBC รายงานโดยอ้างข้อมูลจากธนาคารกลางรัสเซียว่า ทองคำสำรองลดลง 46.4% ในปี 2024 คิดเป็นปริมาณที่ลดลงกว่า 33 เมตริกตัน
ธนาคารกลางรัสเซียระบุว่าทองคำสำรองลดลง 23.6% ในแง่มูลค่า แต่ในแง่ปริมาณลดลงถึง 46.4% ซึ่งเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงที่การระบาดของโควิด-19 รุนแรงที่สุดในปี 2020 ปัจจุบันทองคำสำรองที่ถือครองโดยธนาคารรัสเซียอยู่ที่ 38.1 ตัน มูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 325.4 พันล้านรูเบิล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022
World Gold Council รายงานว่าผู้บริโภคชาวรัสเซียซื้อทองคำ 75.6 ตันในปี 2024 เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นถึง 62% เมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งเป็นปีก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครน สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการถือครองทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากของประชาชนชาวรัสเซียท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ
![mitrade](https://resource.mistorebox.com/operation/seo-admin-pubilc/templates/assets/ad-th/mitrade.png)
วิเคราะห์กราฟทองวันนี้
ราคาทองคำยังคงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งมากขึ้น โดย โดยราคาสามารถยืนเหนือบริเวณ 2,906 ดอลลาร์ ซึ่งการเคลื่อนครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นในระยะกลาง และอาจเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นรอบการปรับตัวขึ้นใหม่ที่มีเป้าหมายที่ระดับ 3,000 ดอลลาร์
ด้านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งระยะสั้นและระยะกลางยังคงชี้ขึ้น และราคายังคงเคลื่อนตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสอง ซึ่งเป็นสัญญาณของแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ RSI ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในโซนเหนือระดับ 60 แต่ยังไม่ถึงระดับ 70 ซึ่งเป็นโซน Overbought แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มขาขึ้นยังมีพื้นที่ในการขึ้นต่อ และ Stochastic RSI ยังคงแสดงสัญญาณเชิงบวก โดยทั้งสองเส้นเคลื่อนตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยืนยันแรงซื้อที่ยังคงแข็งแกร่ง
สำหรับกลยุทธ์การเทรดในระยะถัดไป ควรให้ความสำคัญกับแนวรับใหม่ที่บริเวณ 2,900-2,906 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่เคยเป็นแนวต้านมาก่อน รวมถึงแนวต้านถัดไปที่ระดับ 2,940 และ 2,960 ดอลลาร์ ตามลำดับ โดยควรสังเกตปริมาณการซื้อขายที่จุดสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อราคาทดสอบแนวต้านใหม่
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรระมัดระวังการพักตัวระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากราคาได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว แต่หากพิจารณาภาพรวมแล้ว แนวโน้มหลักยังคงเป็นขาขึ้น และมีโอกาสสูงที่ราคาจะทดสอบระดับ 3,000 ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้
แนวรับสำคัญที่ต้องจับตามอง
$2,906
$2,884
$2,870
แนวต้านสำคัญที่ต้องจับตามอง
$2,940
$2,960
$2,980
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน