Commodity คืออะไร? วิธีการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับมือใหม่
ในนาทีนี้หลาย ๆ คนหันมาให้ความสนใจในการลงทุนมากขึ้น ก่อนตัดสินใจเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ นักลงทุนต้องรู้ก่อนว่าสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร ในบทความจะพานักเทรดทุกคนไปทำความรู้จักวิธีการเทรด สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity ว่าคืออะไร สินค้าในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร น่าลงทุนหรือไม่ มาติดตามกัน
สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity คืออะไร
สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ สินค้า Commodity เป็นวัตถุดิบพื้นฐานสำหรับใช้ผลิตสินค้าหรือส่งต่อเป็นบริการทั่วไปสำหรับใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น ทองแดง น้ำมันดิบ ข้าวสาลี เมล็ดกาแฟ และทองคำ สามารถแบ่งสินค้าโภคภัณฑ์ได้เป็น 2 กลุ่มประเภท คือ Hard Commodities และ Soft Commodities
ประเภทของ Commodity สินค้าโภคภัณฑ์
ภาคเกษตรกรรม (Agricultural) - เช่น วัตถุดิบ เช่น น้ำตาล ฝ้าย และเมล็ดกาแฟ
ภาคปศุสัตว์ (Livestock and Meat) - เช่น เนื้อหมูสามชั้น วัวเป็น และปศุสัตว์ทั่วไป
ภาคพลังงาน (Energy) - เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น น้ำมัน และก๊าซ
กลุ่มโลหะมีค่า (Metal)- เช่น ทองคำ เงิน ทองคำ แพลทินัม และแร่โลหะหายากอื่นๆ
นอกจากนี้ จะแบ่งตามลักษณะการกำเนิดของแหล่งที่มาว่าเป็นอย่างไร ต้องใช่วิธีปลูกหรือเลี้ยง, การสกัดจากแหล่งธรรมชาติ หรือวิธีการทางเหมือง ซึ่งจะแบ่งภาพรวมของ Commodity เป็น 2 ประเภท ดังนี้
Soft Commodities | Hard Commodities |
ผลิตภัณฑ์จากการเพาะปลูก มีอายุการเก็บรักษาจำกัด ไม่สามารถเก็บไว้ได้เป็นนาน เช่น เมล็ดกาแฟ เมล็ดโกโก้ น้ำส้ม และ น้ำตาล เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความผันผวนสูงเนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้เช่นสภาพอากาศ | ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการขุดหรือสกัด เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ หรือโลหะที่มีมูลค่า เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป มนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้ เช่น เงิน ทองแดง ทองคำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ |
Commodity ที่มีการซื้อขายบ่อยในตลาดการเงิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟ (COFFEE) และน้ำตาล (SUGAR)
ผลิตภัณฑ์พลังงาน เช่น น้ำมันดิบ Brent (UKOIL) และก๊าซธรรมชาติ (NATGAS)
ผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น ทอง (XAUUSD) ทองแดง (COPPER) แพลทินัม (XPTUSD) และแพลเลเดียม (XPDUSD)
Commodity นอกจาก ทองคำ ที่คนไทยนิยมเก็บไว้รักษามูลค่าแล้ว ยังมี กาแฟ น้ำตาล และถั่วเหลือง ซึ่งไทยถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่
อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา Commodity
1. กลุ่มอุปสงค์ (Demand Factors) ที่สำคัญคือรายได้และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low and Lower middle income) จะมีความยืดหยุ่นของรายจ่ายหมวดอาหารต่อรายได้สูง ดังนั้น เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นก็จะใช้จ่ายในสินค้าประเภทอาหารมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง
พฤติกรรมการบริโภค การใช้จ่ายและอายุจะกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละประเภทเช่นกัน อย่างเช่นแนวโน้มการหันมาบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Meat and Dairy products) มากขึ้นกว่าพวกธัญญาหารซึ่งจะกลายเป็น Inferior goods เมื่อรายได้สูงขึ้นก็จะยิ่งส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตและราคาอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน
2. กลุ่มอุปทาน (Supply Factors) ขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิต แรงงาน ทุน ที่ดินเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำ วัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ ประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ และเวลา นอกจากนี้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้องอาศัยการลงทุน การวิจัยและพัฒนา แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกในปี 2008 การลงทุนทางด้านการผลิตซบเซาลง
3. ความไม่แน่นอน (Uncertainties) เป็นตัวแปรที่ควบคุมยาก เช่น ความรุนแรงและแปรปรวนของสภาพอากาศจากภาวะโลกร้อน ซึ่งจะส่งผลต่อภาคเกษตรโดยตรง
4. วงจรสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กับปัจจัยอื่น ๆ (Feedback loops) ได้แก่ การลงทุนและการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้น และเมื่อราคาสูงขึ้นก็จะจูงใจให้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรเพิ่มขึ้น
ดังนั้นสิ่งที่ทำให้ราคาผันผวนก็คือความไม่สมดุลของกลุ่มอุปสงค์และกลุ่มอุปทาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ราคาอาจพุ่งสูงขึ้นหากอุปสงค์เพิ่มขึ้นหรืออุปทานถูกจำกัด
ข้อดีข้อเสียของการเทรด Commodity
ข้อดีของการเทรด Commodity
การเทรด Commodity มีข้อดีหลายประการ ให้เราเข้าใจรายละเอียดเหล่านั้นด้วยตัวอย่าง
1. ป้องกันอัตราเงินเฟ้อ Commodity
เช่น ทองคำ เงิน และน้ำมัน มักถูกมองว่าป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเช่นกัน
2. การกระจายการลงทุน การเทรด Commodity
สามารถช่วยกระจายพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน ลดความเสี่ยงโดยรวมของการขาดทุน สินค้าโภคภัณฑ์มักมีความสัมพันธ์ต่ำกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ เช่น หุ้นและพันธบัตร ซึ่งช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้
3. มีสภาพคล่อง ราคาหลักทรัพย์และพันธบัตรเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
ซึ่งจะสามารถช่วยปกป้องตนเองจากการลงทุน และเสริมสร้างสภาพคล่องในการลงทุนในหุ้นได้
4. ได้รับผลตอบแทนสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน ราคาสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน สถานการณ์ต่าง ๆ หรือภัยธรรมชาติ
5. โอกาสในการเติบโตสูงตามระยะเวลา
เนื่องจากอุปสงค์ใน Commodity บางตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีทรัพยากรลดน้อยลงเรื่อย ๆ
ข้อเสียของการเทรด Commodity
การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เป็นโอกาสที่น่าสนใจและช่วยให้ดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ได้มากมาย แต่การตระหนักถึงข้อเสียก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจว่าการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์เหมาะกับคุณหรือไม่สามารถตรวจสอบได้จากเช็คลิสต์ดังต่อไปนี้:
1. อย่ามองข้ามเลเวอเรจ
การซื้อของออนไลน์มักจะมีเลเวอเรจมากกว่าคนเล่นหุ้น เพราะยิ่งเลเวอเรจสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าอัตราเลเวอเรจที่สูงมากนั้นก็ทำให้ยากแก่การควบคุม และอาจทำให้คุณลืมตัวจนกระทั่งทำการเทรดมากเกินไปเสียแล้ว ท้ายที่สุดเมื่อการคำนวณในตลาดผิดพลาดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณสูญเสียเงินทั้งหมดได้โดยไม่รู้ตัว
2. ความผันผวนอาจนำไปสู่ความสับสนเมื่อต้องเทรด
จากการคำนวณโดยทั่วไปแล้วพบว่าสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนมากกว่าการเทรดหุ้นมากถึง 2 เท่า และยังมีความผันผวนมากกว่าพันธบัตรมากถึง 4 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น สินค้าโภคภัณฑ์อย่าง น้ำมันดิบ ทองคำ ฯลฯ พบว่ามีความผันผวนมากกว่าสินค้าอื่น ๆ ด้วยการแกว่งตัวของราคาที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจส่งผลให้คุณไม่สามารถควบคุมสติและนำไปสู่การคำนวณที่คลาดเคลื่อนได้
3.ทิศทางที่ตรงกันข้ามกับตราสารทุน
ข้อควรระวังนี้อาจไม่กฎหรือข้อบังคับ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการทำกำไรของสินค้าโภคภัณฑ์มักจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มของตลาดตราสารทุน
4.ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ในภาวะโลกร้อนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะกับภาคปศุสัตว์ เกษตรกรรม การทำเหมืองและการสกัดสารจากพืช ที่มีขั้นตอนและกลไกการผลิตที่มักส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคืออุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและน้ำมันดิบ
วิธีการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับมือใหม่
การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นเหมือนการสะสมมูลค่า เนื่องจากในระยะยาว Commodity จะมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากความต้องการของคนทั่วไป แต่การลงทุนแบบปกติคงไม่ตอบโจท์เท่าไร เช่น เราไม่สามารถซื้อก๊าซธรรมชาติ ซื้อน้ำมันดิบสะสมไว้บ้านได้ ดังนั้น จึงมีการคิดค้น การเทรด Commodity ขึ้นมา และถือเป็นวิธีที่ดีในการกระจายพอร์ตการลงทุน ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของสินทรัพย์ในพอร์ตสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่สนใจลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) สามารถทำได้ 4 วิธี ดังนี้เลย
วิธีที่ 1. ETF สินค้าโภคภัณฑ์
เป็นการซื้อสินค้าชนิดนั้นเก็บไว้ โดยไม่ได้ครอบครองสินค้านั้นจริง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ETF สินค้าโภคภัณฑ์จะเน้นลงทุนในอนุพันธ์หรือสัญญา Futures เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละชนิดได้มากที่สุด
นักลงทุนที่ต้องการเริ่มลงทุนในจำนวนเงินลงทุนที่ไม่สูงมาก สามารถเข้าลงทุน 1 หน่วย ETF ได้ แทนการเข้าลงทุนแบบโดยตรง ที่อาจต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนสูงกว่า เช่น ทองคำ 1 แท่ง
มีความคล่องตัวในการซื้อหรือขายมากกว่าการถือสินทรัพย์โดยตรง เนื่องจาก ETFs สามารถส่งคำสั่งผ่านออนไลน์ได้ตลอดระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์นั้น ๆ เปิดทำการ
มีความสะดวกมากกว่า เนื่องจากนักลงทุนไม่จำเป็นต้องคำนึงหรือกังวลในเรื่องการเก็บรักษา การโดนขโมย หรือแม้แต่การเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
วิธีที่ 2. ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์
จะเป็นการเทรดในรูปแบบของสัญญาซื้อขายหุ้นล่วงหน้า ซึ่งเป็นสัญญาที่ตกลงราคากันในวันนี้ แต่สินทรัพย์ไม่มีมูลค่าในตัวเอง ต้องใช้อ้างอิงราคาหรือส่งมอบสินค้าในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่การเทรดในรูปแบบนี้มักจะใช้กันกับทองคำ น้ำมัน หุ้น พันธบัตรหรือเงินตราต่างประเทศ ก็คือนักลงทุนสามารถทำกำไรผ่านการถือครองตราสารอนุพันธ์ที่มีราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ้างอิงอยู่ได้เลย
Futures สามารถทำกำไรได้หลายทาง เพราะนักลงทุนที่เลือกลงทุนแบบ Futures สามารถทำกำไรได้จากการเคลื่อนไหวของราคาขึ้น - ลงของสินทรัพย์อ้างอิง
Futures ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง การลงทุนใน Futures สามารถลงทุนผ่านหลักประกัน (Margin) โดยไม่ต้องลงเงินแบบเต็มจำนวน เหมาะสำหรับนักเทรดงบน้อย
วิธีที่ 3. หุ้นของบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์
หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์คือหุ้นของบริษัทที่ผลิตหรือซื้อขายวัตถุดิบ เช่น โลหะ น้ำมัน ก๊าซ สินค้าเกษตร และอื่นๆ หรือที่เป็นบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์ยอดนิยมบางแห่งที่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ BHP Group Ltd., Rio Tinto Group, Vale SA, Wheaton Precious Metals Corp. และ Barrick เป็นต้น
เป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ต ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุน
เป็นวิธีในการป้องกันความเสี่ยงในภาวะเงินเฟ้อ
วิธีที่ 4. CFD สินค้าโภคภัณฑ์
การเทรด CFD คือ การเทรดออนไลน์ผ่านโบรกเกอร์ เปรียบเสมือนการเข้าไปลงทุนโดยตรง แต่เป็นลักษณะการถือสัญญา นักลงทุนที่เทรด CFD ไม่ต้องส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ โดย Position ที่ถือครองจะอยู่มูลค่าหรือลดลงตามราคาที่เปลี่ยนแปลงไปของ Commodity Product นั้น ๆ
ทำให้สามารถเก็งกำไรได้ทั้ง ขาขึ้น และ ขาลง หมายความว่า คุณจะเลือก Buy เพื่อทำกำไรในตลาดขาขึ้น หรือเลือก Sell เพื่อทำกำไรในตลาดขาลงก็ได้ ซึ่งในกรณีที่ต้องการ Sell ก็ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องครอบครอง Commodity ไว้ในพอร์ตอยู่ก่อน
CFD อนุญาตให้นักลงทุนถือครอง Position ข้ามเดือนข้ามปีได้ โดยไม่ต้อง Rollover สัญญาแบบ Futures ที่ทำให้ต้นทุนในการเข้าซื้อเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม CFD จะเรียกเก็บดอกเบี้ยข้ามคืน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากเพื่อเทียบกับการต้อง Rollver แบบ Futures
ข้อดีของการเทรด Commodity CFD
** การเทรด CFD ทำให้นักลงทุนเพิ่มโอกาสของการซื้อขาย ซึ่ง CFD สามารถทำกำไรได้ 2 ทางทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง
** สามารถเทรด CFD ด้วยการใช้เรเวอเรจ จะช่วยให้นักลงทุนทำการซื้อขายโดยใช้เงินลงทุนไม่มาก ถึงแม้การเปิดออเดอร์ใหญ่จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
**ตลาด CFD เปิดตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ สามารถให้นักลงทุน Commodity ทำการเทรดได้ทุกที่ทุกเวลา และ CFD สามารถเลือกลงทุนได้มากมายไม่เพียงแต่ลงทุนในตลาดโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังสามารถลงทุนหุ้นในประเทศและต่างประเทศได้ รวมถึงดัชนี และตราสารหุ้นต่าง ๆ อีกด้วย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนใน ETF, Futures, CFD และหุ้นบริษัทโภคภัณฑ์ ตามประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตนเองสนใจได้เลย แต่ต้องไม่ลืมที่จะจัดสรรเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของพอร์ตตนเอง สินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนสูงไม่เหมาะกับการลงทุนเป็นพอร์ตหลักนะคะ
ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร
ในการเทรดหลายคนมักจะคิดว่าต้องทำกำไรให้ได้เยอะที่สุด แต่จริง ๆ แล้วควรขาดทุนให้น้อยที่สุดต่างหาก นักลงทุนควรทราบว่ากำไรของคุณเมื่อเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงความแตกต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของการซื้อขายเท่านั้น คุณต้องคำนึงถึงต้นทุนการทำธุรกรรมด้วย ในการเทรดสินค้า มีค่าใช้จ่าย 3 ข้อที่ต้องพิจารณา:
1. สเปรด: สเปรดคือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของเครื่องมือทางการเงิน ตัวอย่างเช่น หากราคาเสนอซื้อทองคำคือ 1949.02 และราคาเสนอขายคือ 1949.47 สเปรดคือ 0.37 ในการเทรดอย่างมีกำไร คุณต้องมีมาร์จิ้นเกินนี้
2. Swap: สำหรับการถือ Position ข้ามคืน ค่าธรรมเนียมจะถูกเรียกเก็บในเวลา 23:59 น.
3. ค่าคอมมิชชั่น: ตราสารบางตัวยังเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเปิดและปิดการซื้อขาย แต่ใน Mitrade คุณสามารถใช้บัญชีทดลอง>>ก่อน เพลิดเพลินกับค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
ดังนั้นในการคำนวณกำไรจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์คุณต้องลบต้นทุนการทำธุรกรรมออกจากสูตรข้างต้น และต้องพิจารณาต้นทุนเหล่านี้อย่างรอบคอบก่อนที่จะเข้าสู่การซื้อขายสินค้าใดๆ
หากมือใหม่ต้องการเรียนรู้การเทรดแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มีเงินทุนไม่เพียงพอหรือไม่คุ้นเคยกับระบบ ไม่ต้องเป็นกังวลเลย!!
มือใหม่สามารถลองใช้บัญชีทดลองของ Mitrade เพื่อฝึกฝนการเทรดเงินเสมือนจริงฟรี $50,000 เพื่อทดลองเทรดและทำคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มของ Mitrade โดยที่ไม่มีความเสี่ยง
ช่วงเวลาการเทรด Commodity
ชั่วโมงเวลาการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ จะไม่ได้ซื้อขายกัน 24 ชั่วโมง มีช่วงเวลาเปิดปิด และขึ้นอยู่กับภูมิภาค ต้องตรวจสอบตารางเวลากับทางโบรกเกอร์ที่อนุญาตให้เทรดได้
ที่ Mitrade ตารางเวลาสำหรับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์หลัก ตามเวลาของประเทศไทยเป็นดังตารางด้านล่างนี้
ลำดับ | สัญลักษณ์ | ชื่อ | การซื้อขายรายสัปดาห์ | เวลาเปิด | เวลาปิด |
1 | ทอง | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 06.00 น. 00.00 น. 06.00 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 05.00 น. 24.00 น. 05.00 น. - | |
2 | เงิน | ||||
3 | แพลเลเดียม | ||||
4 | แพลทินัม | ||||
5 | น้ำมันดิบ WTI | ||||
6 | น้ำมันดิบ Brent | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 06.00 น. 00.00 น. 08.00 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 05.00 น. 24.00 น. 05.00 น. - | |
7 | ก๊าซธรรมชาติ | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 06.00 น. 00.00 น. 06.00 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 05.00 น. 24.00 น. 05.00 น. - | |
8 | WTI Futures | ||||
9 | อะลูมิเนียม | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 08.00 น. 00.00 น. 08.00 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 02.00 น. 24.00 น. 02.00 น. - | |
10 | ทองแดง | ||||
11 | กาแฟ | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 16.15 น. 00.00 น. 16.15 น. - | 24.00 น. 01.30 น. 24.00 น. - | |
12 | น้ำตาล | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 15.30 น. 00.00 น. 15.30 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 01.00 น. 24.00 น. 01.00 น. - | |
13 | Brent Futures | วันจันทร์: วันอังคารถึงวันศุกร์: วันเสาร์: ปิดวันอาทิตย์ | 06.00 น. 00.00 น. 08.00 น. 00.00 น. - | 24.00 น. 06.00 น. 24.00 น. 05.00 น. - |
สรุป Commodity คืออะไร
ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้และความหมายของการเทรด Commodity ซึ่งกระแสการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ถือว่ามาแรงมาก หากใครกำลังสนใจการลงทุน สิ่งที่ควรคำนึงถึงเลยคือ การเลือกโบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์นักลงทุน ยกตัวอย่าง เช่น ต้องเป็นโบรกเกอร์ที่สามารถเทรดได้หลากหลายตลาด, มีการฝาก-ถอนที่รวดเร็ว และค่า Commission ต่ำ อย่างไรก็ตาม การเทรด Commodity ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งอย่างเดียว เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดและเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนในสินทรัพย์นั้น ๆ ก่อนการลงทุนด้วยนะคะ
ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าโภคภัณฑ์และตราสารอนุพันธ์คืออะไร?
ทำไมคุณต้องรู้เกี่ยวกับ Commodity
Commodity Composite Index คือ?
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน